ล่าสุดวันนี้ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืนตามศาลชั้นต้น
ให้จำคุกผู้ต้องหาคตลอดชีวิตที่กระทำความผิดร้ายแรง ร่วมกันเผาศาลากลางจังหวัด คือ
1. น.ส.ปัทมา มูลมิล
2. นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ
3. นายสนอง เกตุสุวรรณ
4. นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์
แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์ เหลือจำคุก 33 ปี 12 เดือน และศาลจะได้ส่งรายละเอียดคำพิพากษาให้จำเลยรับทราบ
เนื่องจากจำเลยทั้ง 4 ไม่ได้มาฟังคำพิพากษ าเพราะถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำพิเศษบางเขน กรุงเทพฯ
http://www.manager.co.th/south/ViewNews.aspx?NewsID=9560000052923
นายสนอง เกตุสุวรรณ์ ถูกจับระหว่างทำหน้าที่แทนนายท่ารถที่ตลาดเทศบาลเมืองวารินชำราบ ตำรวจนอกเครื่องแบบจับเขาใส่กุญแจมือไขว้หลังโดยไม่มีหมายจับแต่อย่างใด เมื่อไปถึง สภ.เมืองอุบลฯ ตำรวจข่มขู่ให้เขายอมรับว่าเป็นคนเผาศาลากลาง สนองให้การว่า เขาถูกตำรวจและทหารการข่าวขอร้องให้เข้าไปห้ามปรามไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าไปทำลายทรัพย์สินของทางราชการ เขาห้ามผู้ชุมนุมและช่วยดับไฟที่อาคารธนารักษ์สำเร็จ แต่กลับถูกถ่ายภาพ และใช้เป็นหลักฐานกล่าวหาว่าเขาร่วมเผา ซ้ำร้ายตำรวจยังบันทึกคำให้การของเขาเพี้ยนจาก “อย่าเผาอาคารธนารักษ์ เผายงเผายางอะไรก็เผาไป” กลายเป็น “ไปเผาศาลากลางเลย”
นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ ตำรวจมาที่บ้านพ่อของเขา และเชิญตัวไปให้การที่โรงพักโดยไม่มีหมายศาล สมศักดิ์ให้การต่อศาลว่า เขาเป็นอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อป.พร.) และเป็นเหยี่ยวข่าวอาชญากรรมให้กับ สภ.วารินชำราบ ในวันเกิดเหตุ เขาได้รับแจ้งทางวิทยุสื่อสารจากประธาน อป.พร. ให้ไปช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยที่ศาลากลาง เขาไปถึงศาลากลางตอนเที่ยง ต่อมา ในช่วงบ่าย เมื่อผู้ชุมนุมพังรั้วศาลากลางเข้าไป เขาได้ยินเสียงปืน และผู้ชุมนุม 2 คนล้มลงห่างจากเขาเพียง 30 เมตร จึงวิ่งเข้าไปช่วย และนำขึ้นรถเพื่อส่งโรงพยาบาล จากนั้น เขาก็ยังเฝ้าดูเหตุการณ์อยู่อีกจนกระทั่งศาลากลางไฟไหม้
น.ส.ปัทมา มูลมิล ถูกจับกุมที่สถานีขนส่ง จ.สุรินทร์ โดยก่อนหน้านั้นตำรวจได้ควบคุมตัวเพื่อนของปัทมาซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เผาไปที่โรงพัก จ.สุรินทร์ ข่มขู่ จนถึงตบหน้าเพื่อให้บอกว่าปัทมาอยู่ที่ใด ตัวปัทมาเอง ขณะเข้าจับกุมตำรวจได้จับเธอกดคอลงกับพื้น เมื่อเธอเงยหน้าขึ้นก็เห็นปืนกำลังจ่อหัว เมื่อไปถึงโรงพัก เธอถูกข่มขู่ว่า หากไม่รับสารภาพจะแจ้งข้อหากับเพื่อนของเธอว่า ให้ที่พักพิงผู้ต้องหา ปัทมาจึงจำต้องรับสารภาพ หลังจากนั้น เธอก็ถูกบังคับให้แถลงข่าวว่าเป็นคนเผาศาลากลาง แต่เธอเลือกนั่งนิ่งแทน
นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ ถูกจับกุมในเวลาประมาณ 06.00 น. ขณะนอนหลับอยู่ที่บ้าน ตอนแรกตำรวจแจ้งว่าต้องการให้ธีระวัฒน์มาเป็นพยานในคดีเสื้อแดง แต่เมื่อไปถึงสถานีตำรวจ เขาก็ถูกนำตัวไปกักขัง จากนั้น ตำรวจก็ข่มขู่ ตลอดจนใช้แฟ้มตีศีรษะ เพื่อให้เขารับสารภาพ และเซ็นรับว่าชายชุดดำปิดหน้าในภาพถ่ายเป็นตัวเขา แต่เขาไม่ยอม เพราะไม่ใช่เขาจริงๆ เขายอมรับว่าเขาไปที่ศาลากลาง แต่ไม่ได้แต่งตัวแบบนั้น และได้แต่ยืนดูเหตุการณ์อยู่รอบๆ ในที่สุด ตำรวจเกลี้ยกล่อมว่าจะกันตัวไว้เป็นพยานแล้วจะปล่อยกลับบ้าน เขาจึงยอมเซ็น แต่แล้วก็โดนตั้งข้อหาร้ายแรง
http://prachatai.com/journal/2011/08/36615
ทั้ง 4 คน คือสี่ในจำนวน 21 คนที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี
พวกเขาเผาศาลากลางจริงไหม ?
หรือเป็นเหยื่อของสถานการณ์ ?
หรือเป็นแพะรับบาปจากความผิดที่ไม่ได้ก่อ เพื่อตอบสนองการทำลายล้างกันทางการเมือง ?
ดูชื่อแต่ละคน ดูอาชีพแต่ละคน ดูชีวิตแต่ละคน พวกเขาคืออาชญากรที่ไม่สมควรได้รับการนิรโทษกรรมหรือ ?
ศาลากลางหนึ่งหลัง มีค่ากว่าชีวิตพลเมืองหนึ่งชีวิตอย่างนั้นหรือ
หรือเพราะศาลากลางคือเครื่องหมายของ "อำนาจ" ที่ต้องสั่งสอนให้รู้ว่าอย่ามาหาญต้าน
แม้กระทั่งการประกันตัวก็ยังไม่ได้รับความเมตตาและความเป็นธรรม
ไม่มีการเข็ดหลาบจากผู้โดนกระทำ จะมีแต่การแข็งขืนยืนสู้
ความเข้าใจ ความเป็นธรรมต่างหากคือแนวทางที่ประชาชนต้องการ
กว่าสามปีที่ไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวสู้คดี มาดูกันสิว่าพวกเขาคือ "อาชญากร" ที่ควรติดคุกตลอดชีวิตไหม
ให้จำคุกผู้ต้องหาคตลอดชีวิตที่กระทำความผิดร้ายแรง ร่วมกันเผาศาลากลางจังหวัด คือ
1. น.ส.ปัทมา มูลมิล
2. นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ
3. นายสนอง เกตุสุวรรณ
4. นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์
แต่จำเลยให้การเป็นประโยชน์ เหลือจำคุก 33 ปี 12 เดือน และศาลจะได้ส่งรายละเอียดคำพิพากษาให้จำเลยรับทราบ
เนื่องจากจำเลยทั้ง 4 ไม่ได้มาฟังคำพิพากษ าเพราะถูกควบคุมตัวอยู่ในเรือนจำพิเศษบางเขน กรุงเทพฯ
http://www.manager.co.th/south/ViewNews.aspx?NewsID=9560000052923
นายสนอง เกตุสุวรรณ์ ถูกจับระหว่างทำหน้าที่แทนนายท่ารถที่ตลาดเทศบาลเมืองวารินชำราบ ตำรวจนอกเครื่องแบบจับเขาใส่กุญแจมือไขว้หลังโดยไม่มีหมายจับแต่อย่างใด เมื่อไปถึง สภ.เมืองอุบลฯ ตำรวจข่มขู่ให้เขายอมรับว่าเป็นคนเผาศาลากลาง สนองให้การว่า เขาถูกตำรวจและทหารการข่าวขอร้องให้เข้าไปห้ามปรามไม่ให้ผู้ชุมนุมเข้าไปทำลายทรัพย์สินของทางราชการ เขาห้ามผู้ชุมนุมและช่วยดับไฟที่อาคารธนารักษ์สำเร็จ แต่กลับถูกถ่ายภาพ และใช้เป็นหลักฐานกล่าวหาว่าเขาร่วมเผา ซ้ำร้ายตำรวจยังบันทึกคำให้การของเขาเพี้ยนจาก “อย่าเผาอาคารธนารักษ์ เผายงเผายางอะไรก็เผาไป” กลายเป็น “ไปเผาศาลากลางเลย”
นายสมศักดิ์ ประสานทรัพย์ ตำรวจมาที่บ้านพ่อของเขา และเชิญตัวไปให้การที่โรงพักโดยไม่มีหมายศาล สมศักดิ์ให้การต่อศาลว่า เขาเป็นอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน (อป.พร.) และเป็นเหยี่ยวข่าวอาชญากรรมให้กับ สภ.วารินชำราบ ในวันเกิดเหตุ เขาได้รับแจ้งทางวิทยุสื่อสารจากประธาน อป.พร. ให้ไปช่วยรักษาความสงบเรียบร้อยที่ศาลากลาง เขาไปถึงศาลากลางตอนเที่ยง ต่อมา ในช่วงบ่าย เมื่อผู้ชุมนุมพังรั้วศาลากลางเข้าไป เขาได้ยินเสียงปืน และผู้ชุมนุม 2 คนล้มลงห่างจากเขาเพียง 30 เมตร จึงวิ่งเข้าไปช่วย และนำขึ้นรถเพื่อส่งโรงพยาบาล จากนั้น เขาก็ยังเฝ้าดูเหตุการณ์อยู่อีกจนกระทั่งศาลากลางไฟไหม้
น.ส.ปัทมา มูลมิล ถูกจับกุมที่สถานีขนส่ง จ.สุรินทร์ โดยก่อนหน้านั้นตำรวจได้ควบคุมตัวเพื่อนของปัทมาซึ่งไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์เผาไปที่โรงพัก จ.สุรินทร์ ข่มขู่ จนถึงตบหน้าเพื่อให้บอกว่าปัทมาอยู่ที่ใด ตัวปัทมาเอง ขณะเข้าจับกุมตำรวจได้จับเธอกดคอลงกับพื้น เมื่อเธอเงยหน้าขึ้นก็เห็นปืนกำลังจ่อหัว เมื่อไปถึงโรงพัก เธอถูกข่มขู่ว่า หากไม่รับสารภาพจะแจ้งข้อหากับเพื่อนของเธอว่า ให้ที่พักพิงผู้ต้องหา ปัทมาจึงจำต้องรับสารภาพ หลังจากนั้น เธอก็ถูกบังคับให้แถลงข่าวว่าเป็นคนเผาศาลากลาง แต่เธอเลือกนั่งนิ่งแทน
นายธีรวัฒน์ สัจสุวรรณ ถูกจับกุมในเวลาประมาณ 06.00 น. ขณะนอนหลับอยู่ที่บ้าน ตอนแรกตำรวจแจ้งว่าต้องการให้ธีระวัฒน์มาเป็นพยานในคดีเสื้อแดง แต่เมื่อไปถึงสถานีตำรวจ เขาก็ถูกนำตัวไปกักขัง จากนั้น ตำรวจก็ข่มขู่ ตลอดจนใช้แฟ้มตีศีรษะ เพื่อให้เขารับสารภาพ และเซ็นรับว่าชายชุดดำปิดหน้าในภาพถ่ายเป็นตัวเขา แต่เขาไม่ยอม เพราะไม่ใช่เขาจริงๆ เขายอมรับว่าเขาไปที่ศาลากลาง แต่ไม่ได้แต่งตัวแบบนั้น และได้แต่ยืนดูเหตุการณ์อยู่รอบๆ ในที่สุด ตำรวจเกลี้ยกล่อมว่าจะกันตัวไว้เป็นพยานแล้วจะปล่อยกลับบ้าน เขาจึงยอมเซ็น แต่แล้วก็โดนตั้งข้อหาร้ายแรง
http://prachatai.com/journal/2011/08/36615
ทั้ง 4 คน คือสี่ในจำนวน 21 คนที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดี
พวกเขาเผาศาลากลางจริงไหม ?
หรือเป็นเหยื่อของสถานการณ์ ?
หรือเป็นแพะรับบาปจากความผิดที่ไม่ได้ก่อ เพื่อตอบสนองการทำลายล้างกันทางการเมือง ?
ดูชื่อแต่ละคน ดูอาชีพแต่ละคน ดูชีวิตแต่ละคน พวกเขาคืออาชญากรที่ไม่สมควรได้รับการนิรโทษกรรมหรือ ?
ศาลากลางหนึ่งหลัง มีค่ากว่าชีวิตพลเมืองหนึ่งชีวิตอย่างนั้นหรือ
หรือเพราะศาลากลางคือเครื่องหมายของ "อำนาจ" ที่ต้องสั่งสอนให้รู้ว่าอย่ามาหาญต้าน
แม้กระทั่งการประกันตัวก็ยังไม่ได้รับความเมตตาและความเป็นธรรม
ไม่มีการเข็ดหลาบจากผู้โดนกระทำ จะมีแต่การแข็งขืนยืนสู้
ความเข้าใจ ความเป็นธรรมต่างหากคือแนวทางที่ประชาชนต้องการ