เมื่อนักจิตวิทยาและ Neuroscientist ร่วมกันอธิบายพุทธออกมาเป็นวิทยาศาสตร์ได้อย่างน่าสนใจ
สมองแห่งพุทธะ 1 : intro
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ริค แฮนสัน (Dr. Rick Hanson) นักจิตวิทยา (Neuropsychologist)
ผมเริ่มสนใจธรรมะตั้งแต่ปี 2517 ตอนนั้นผมยังหนุ่มๆ ผมเริ่มอ่านหนังสือธรรมะ รวมทั้งสนใจปรัชญาและศาสนาตะวันออก ผมเหมือนคนอเมริกันทั่วไปที่ไม่ได้เคร่งศาสนาเท่าไหร่ แต่พลังแห่งความจริง วิธีมองโลกแบบพุทธทำให้ผมประทับใจในทันที ความจริงที่ว่าทุกสิ่งเปลี่ยนแปลง ทุกสิ่งเชื่อมโยงกัน ถ้าเราอยู่อย่างประสานสอดคล้องกับความจริงข้อนี้ เราก็จะมีความสุขโดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น
นิ้วกลม : คุณทำสมาธิทุกวันหรือเปล่า?
ริค : ครับ ทุกวัน เดิมผมศึกษาเซน แล้วค่อยๆหันมาในแนวทางวิปัสสนามากขึ้นเรื่อยๆ ฝึกอานาปานสติ ศึกษาสติปัฏฐานสูตร ปฏิบัติตามแนวเถรวาทอย่างในตะวันตกเป็นส่วนใหญ่ ผมปฏิบัติตามแนวทางของพระอาจารย์หลายรูป อย่างเช่น หลวงพ่อชา, มหาสีสยาดอ, ท่านอู เทจนียะ พระอาจารย์ชาวพม่า รวมทั้งพระอาจารย์ไทยหลายท่าน
สมองแห่งพุทธะ 2 : สมองคืออะไร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สมองแห่งพุทธ 2 : สมองคืออะไร?
สมอง เป็นวัตถุที่สลับซับซ้อนมากที่สุดในักรวาลเท่าที่นักวิทยาศาสตร์รู้ มันซับซ้อนมาก สมองประกอบด้วยจุดประสานเซลล์สมอง หรือ Synapse จำนวน 500 ล้านล้านจุด และจุดประสานเซลล์สมองแต่ละจุด จะทำงาน 5-50 ครั้งต่อวินาที มันเกิดอะไรต่างๆเยอะ มากมายในสมอง เหมือนที่เรานั่งอยู่ในวันนี้ เราได้รับประโยชน์จากวิวัฒนาการในช่วง 3,500 ล้านปีที่ผ่านมา หรือจากพัฒนาการของระบบประสาทในช่วง 600 ล้านปีที่ผ่านมา สิ่งมีชีวิตจำนวนนับไม่ได้ หรือเป็นแสนๆล้านชนิด ที่ตายไปและสะสมอยู่ใน DNA ทีละน้อย จะกระทั่งกลายเป็นชุดคำสั่งต่างๆในสมองมนุษย์ เราเหมือนอยู่บนยอดภูเขาเอเวอร์เรสต์ ที่ด้านล่างกองด้วยซากศพมากมายมหาศาล ซากศพของสิ่งมีชีวิตที่อุทิศชีวิตตนเอง เพื่อให้เรามีสมองแบบปกติธรรมดาที่ใช้กันในทุกวันนี้ ทำให้เราดูโทรทัศน์ได้ อ่านหนังสือได้ ฟังเพลงได้ หัวเราะกับเพื่อนได้ ขี่มอเตอร์ไซค์ได้ เปิดสวิทไฟได้ ว้าว! และทำให้เรามีสมองที่จะเกิดความบันเทิงจากหลักธรรมทั่วโลก คุณสามารถใช้สมาทโฟนเพื่อต่ออินเตอร์เน็ต เข้าเว็บธรรมะได้จากทุกมุมของโลก มันน่ามหัศจรรย์ไหมล่ะ
นิ้วกลม : ได้ยินมาว่าคุณศึกษาประสาทวิทยา จิตวิทยา ทำไมคุณถึงสนใจศึกษาหัวข้อเหล่านี้
ริค : พระพุทธเจ้าสอนว่า ความทุกข์เกิดขึ้นมาเพราะมีสาเหตุ และดับไปก็เพราะสาเหตุบางประการ คำถามคือ เราจะค้นหาสาเหตุนั้นได้อย่างไร สาเหตุบางอย่างอยู่ในโลกภายนอก รัฐบาลที่เลว ธุรกิจที่เลว คนบางคนที่เลว บางสาเหตุอยู่ในเรื่องชีววิทยา และสุขภาพทางกายของเรา แต่ผมคิดว่า สาเหตุส่วนใหญ่อยู่ในความคิดของเรา ผมจึงสนใจจิตวิทยา และประสาทวิทยา เพราะเป็นศาสตร์สองอย่างที่พูดถึงความคิด จิตวิทยาเป็นเรื่องของความคิดจิตใจแน่นอน
แต่ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ประสาทวิทยาทำให้เราเข้าใจมากขึ้น ถึงกลไกเบื้องหลังการทำงานของสมอง กระบวนการต่างๆในสมองที่ป็นพื้นฐานของกระบวนการด้านจิตใจ ถ้าคุณเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นในสมองมากขึ้น ถ้าคุณรู้ว่าแบบไหนที่ทำให้เกิดทุกข์ แบบไหนที่ทำให้ดับทุกข์ได้ เราก็สามารถใช้อุบายบางอย่าง เปลี่ยนกลไกในสมองเพื่อให้เกิดผลที่ดีขึ้น
ผมคิดว่าเป็นส่วนผสมที่มหัศจรรย์ระหว่าง ธรรมะ กับ จิตวิทยาตะวันตก หรือจิตวิทยาทั่วไป รวมทั้งประสาทวิทยา
องค์ความรู้เกี่ยวกับสมอง เติบโตเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าแค่ในช่วง 20 ปีมานี้เอง เป็นการก้าวกระโดดอย่างมากขององค์ความรู้ด้านสมอง
สมองแห่งพุทธะ 3 : ความคิดคืออะไร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สมองแห่งพุทธะ 3 : ความคิดคืออะไร
นิ้วกลม : คำถามง่ายๆนะครับ ความคิดคืออะไร?
ริค : เป็นคำถามที่ใหญ่มาก ขึ้นอยู่กับว่าเรานิยามมันอย่างไรด้วย ในแง่ประสาทวิทยา พวกเราใช้คำว่าความคิด หรือจิตใจ ในลักษณะที่หมายถึงข้อมูล อย่างเช่น ถ้าเราอ่านหนังสือหน้าหนึ่ง กระดาษและสัญลักษณ์ที่ปรากฎเป็นตัวหนังสือบนกระดาษ หรือที่เรียกว่าตัวอักษรหรือประโยค นั่นคือสิ่งที่เป็นกายภาพ เป็นสสารวัตถุ (Physical) แต่มันก็เป็นรูปปรากฎหรือตัวแทนของข้อมูล(Information) ความหมาย(Meanings) ความคิด(Ideas) และคำสั่งว่าควรจะทำอย่างไร(Instructions) เราจะเอาข้อมูลมาชั่งน้ำหนักได้ไหม จับต้องได้ไหม ไม่ได้หรอก เพราะมันไม่ใช่สิ่งที่เป็นกายภาพ ข้อมูลไม่ใช่สสาร แต่อย่างน้อยในโลกที่เราอยู่ใบนี้ ข้อมูลจะแสดงออกมาในรูปสสารวัตถุต่างๆเสมอ (Information represent by something physical)
ในทำนองเดียวกัน ระบบประสาทของเราก็เป็นรูปปรากฎของข้อมูล เป็นที่เก็บข้อมูล เป็นที่บันทึกข้อมูล ให้ข้อมูลบางอย่าง สื่อสารข้อมูลบางอย่าง ในข้อมูลนั้นก็ประกอบด้วยคำสั่ง อย่างเช่น จะเอื้อมมือไปหยิบถ้วยได้อย่างไร นั่นก็เป็นข้อมูล ลองนึกถึงเด็กแรกเกิด เด็กทารกต้องเรียนรู้สิ่งต่างๆมากมาย แล้วเราเรียนรู้ได้อย่างไร เขาเรียนรู้ด้วยการเปลี่ยนแปลงสมองตนเอง ผมใช้คำว่า ความคิด เหมือนที่นักประสาทวิทยาคนอื่นๆใช้ ซึ่งหมายถึงข้อมูลต่างๆ ทั้งหลายที่อยู่ในระบบประสาท แต่ข้อมูลในนั้นส่วนใหญ่อยู่ในระดับจิตใต้สำนึก อันที่จริงเรารับรู้ได้เพียงยอดของภูเขาน้ำแข็งของความรู้ทั้งหมดในระบบประสาท ความรู้เหล่านั้นก่อตัวเป็นสถาปัตยกรรมที่ซับซ้อน วางทับกันเป็นชั้นๆ จนกลายเป็นสิ่งที่เรารับรู้ได้โดยผ่านอายตนะทั้งหก ทั้งรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส และธรรมารมณ์ นั่นเป็นเพียงความรู้เสี้ยวเล็กๆ ของความรู้ทั้งหมดในระบบประสาท
แล้วกระบวนการในระบบประสาท เปลี่ยนเป็นประสบการณ์ที่เรารับรู้ได้อย่างไร ยังเป็นคำถามที่ตอบไม่ได้ ยังไม่มีนักวิทยาศาสตร์คนไหนตอบได้ การเคลื่อนไหวของระบบประสาททำให้เราเห็นเป็นสีแดง หรือทำให้เราได้กลิ่นกุหลาบ หรือทำให้เรานึกถึงคนรักหรือเด็กๆ ไม่มีใครรู้หรอกว่า กระบวนการนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ไม่มีใครตอบได้
แต่ที่ชัดเจนก็คือว่า กระบวนการด้านจิตใจ รวมทั้งกระบวนการที่รับรู้ได้ ทั้งของสัตว์และมนุษย์ ในขณะที่ความคิดเราเปลี่ยนไป ความทรงจำเราเปลี่ยนไป ตอนที่เราได้ยินเสียง ได้เห็นบางสิ่ง หรือกังวลกับบางสิ่ง หรือยินดีกับบางสิ่ง ภายใต้ประสบการณ์ทั้งหมดนี้ มีกิจกรรมบางอย่างเกิดขึ้นในระบบประสาทของเรา ขั้นตอนที่เรายังไม่เข้าใจก็คือ กระบวนการทางไฟฟ้าในระบบประสาท ทำให้เกิด "ความคิดหรือจิตสำนึก" ได้อย่างไร ตอนนี้เรามั่นใจได้แค่ว่า ทั้งสองส่วนนี้เกิดขึ้นพร้อมๆ กันและเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน เราพูดได้อย่างมั่นใจในจุดนี้ เมื่อความคิดเปลี่ยนไป เมื่อเราคิดถึงสิ่งต่างๆ เมื่อเรามุ่งความสนใจไปที่สิ่งดีๆ เช่น ฝึกนั่งสมาธิ เมื่อความคิดเปลี่ยนไป เซลล์ประสาทก็เปลี่ยนแปลงไปด้วย นั่นคือเราสามารถใช้การฝึกจิตเพื่อค่อยๆปรับเปลี่ยนโครงสร้างของสมองเราได้ เราพบแล้วว่าเมื่อความคิดเปลี่ยน สมองเราก็เปลี่ยนไปชั่วขณะหนึ่ง แต่ความเปลี่ยนแปลงชั่วขณะนั้น ทำให้เกิดร่อยรอยถาวรขึ้นในสมอง เป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นและน่าสนใจมาก
สมองแห่งพุทธ 4 : ความคิดเปลี่ยนสมอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้สมองแห่งพุทธะ 4 : ความคิดเปลี่ยนแปลงสมอง
นิ้วกลม : ประเด็นนึงที่น่าสนใจมากเลยก็คือ คุณริคบอกว่า โครงสร้างของสมองของเราเกิดขึ้น ก่อรูปขึ้นจากพฤติกรรมของเราในชีวิตประจำวัน เพราะฉะนั้น ถ้าเราสามารถมีรูปแบบชีวิตหรือความคิดที่มีความสุข และมีความสงบ มันก็จะสร้างสมองที่สามารถมีความสุขและความสงบขึ้นมาได้
นิ้วกลม : สมองเปลี่ยนแปลงตัวเองได้จริงหรือ?
ริค : เปลี่ยนได้มากมาย มีงานวิจัยมากมาย แม้แต่ในงานเขียนของผมและงานเขียนของคนอื่นด้วย มีภาพแสดงให้เห็นการเปลี่ยนแปลงของสมองด้วยซ้ำ อย่างเช่น ตอนที่เราทำสมาธิภาวนา ตอนเราทำวิปัสสนา แผ่เมตตา หรือจดจ่ออยู่กับความคิดเชิงบวก สิ่งเหล่านี้ทำให้สมองเปลี่ยนแปลงไป ถ้าจิตใจมีการเรียนรู้ สมองต้องมีการเปลี่ยนแปลงแน่นอน
เหมือนการเรียนรู้ที่เกิดขึ้นทั่วไปอย่างเด็กที่หัดเดิน หรือผู้ใหญ่ที่มาหัดเรียนภาษาอื่นตอนโตแล้ว หรือหัดเรียนเปียนโน หรือหัดทำกับข้าวใหม่ๆ การเรียนรู้เหล่านี้ทำให้สมองเปลี่ยนรูปไป เป็นที่เข้าใจกันทั่วไปว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของสมอง และตอนนี้เราเริ่มเข้าใจกระบวนการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มากขึ้น และเราสามารถจำลองภาพของกระบวนการในสมองได้ โดยใช้ MRI และเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อศึกษาว่าสมองเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรบ้าง
แต่เดิมนั้นเราเชื่อว่า จิตใจจะเป็นอย่างไรก็ขึ้นอยู่กับสมองของเรา แต่ตอนนี้เราพบว่าสมองจะเป็นอย่างไรขึ้นกับความคิดจิตใจของเราเอง ถ้าเราจดจ่อความคิดอยู่กับความโกรธ การวิจารณ์ตนเอง สมองก็จะเปลี่ยนรูปไปตามนั้น ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า รู้สึกไม่ดีกับตัวเอง กลายเป็นคนอ่อนไหวง่าย อารมณ์ปรวนแปร แต่ถ้าเราจดจ่อความคิดกับความกตัญญู กับคำสอนของครูบาอาจารย์ กับภูมิปัญญา หรือความรัก สมองก็จะเปลี่ยนรูปไปในอีกแบบหนึ่ง เปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น มีความแข้มแข็ง ยืดหยุ่น และอดทนมากขึ้น มีสติปัญญา มีความมั่นใจ และมีความสุขมากขึ้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ดี
เมื่อเรารู้ว่าความคิดจิตใจของเราส่งผลกระทบต่อสมอง เมื่อเรารู้ว่าการปฏิบัติตัวของเราทั้งที่ตั้งใจและไม่ตั้งใจ มีส่วนเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของระบบประสาท ก็ยิ่งทำให้เราเกิดศรัทธามากขึ้นต่อพุทธศาสนา ซึ่งศรัทธานี้เองเป็นหนึ่งในพละ 5 ทำให้เรารู้สึกว่า "ไช่เลย การปฏิบัติธรรมมีประโยชน์มากๆ" ซึ่งก็เป็นอย่างนั้น
สมองแห่งพุทธะ ( Buddha's Brain )
เมื่อนักจิตวิทยาและ Neuroscientist ร่วมกันอธิบายพุทธออกมาเป็นวิทยาศาสตร์ได้อย่างน่าสนใจ
สมองแห่งพุทธะ 1 : intro
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สมองแห่งพุทธะ 2 : สมองคืออะไร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สมองแห่งพุทธะ 3 : ความคิดคืออะไร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
สมองแห่งพุทธ 4 : ความคิดเปลี่ยนสมอง
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้