คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
สวัสดีครับ
ก่อนอื่นต้องเรียนก่อนว่าประเด็นเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีระบบอินเวอร์เตอร์เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานนั้น การตอบปัญหาหรือสนทนากันในประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่อาจต้องอ้างอิงวิชาการ (ทางวิศวกรรมไฟฟ้า) ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความเข้าใจประมาณนึงครับ ดังนั้นกระทู้นี้ผมจะพยายามตอบให้ละเอียด และพยายามสื่อสารกับทุกๆ ท่านที่อ่านกระทู้ เพื่อให้เข้าใจมากที่สุดเท่าที่จะทำได้นะครับ
ขอเกริ่นก่อนว่า มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่
1. มอเตอร์เหนี่ยวนำ (Induction Motor)
2. มอเตอร์ซิงโครนัส (Synchronous motor)
ความเหมือนของมอเตอร์ทั้งสองประเภท
- มอเตอร์ทั้งสองประเภทต้องอาศัยการป้อนไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อให้ทำงาน
- ใช้การเปลี่ยนความถี่ทางไฟฟ้าเพื่อเปลี่ยนความเร็วรอบ (ความถี่ไฟฟ้ามาตรฐานเมืองไทยอยู่ที่ 50 Hz) ซึ่งตรงนี้ต้องอธิบายนิดนึงนะครับว่าที่พัดลมตั้งพื้นเบอร์ 1,2,3 ไม่ได้ควบคุมความเร็วโดยการเปลี่ยนความถี่ไฟฟ้านะครับ ใช้หลักการคนละแบบ
- การ start motor โดยวิธีต่อตรง (Direct On-Line) ในช่วงวินาทีแรกๆ จะกินไฟสูงมาก (สูงมากถึง 6 เท่าในช่วงเสี้ยววินาทีแรก)
ความต่างของมอเตอร์ทั้งสองประเภท
- หลักการทางแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้เพื่อทำให้มอเตอร์ทำงานไม่เหมือนกัน
- มอเตอร์ซิงโครนัสมีความเร็วรอบคงที่ (ตามความถี่ซิงโครนัส) ตามสูตร n=120f/p เมื่อ f คือความถี่ไฟฟ้า (หน่วย Hz) n คือความเร็วรอบ (หน่วย rpm) และ p คือจำนวนขั้วของแม่เหล็ก ซึ่งความเร็วดังกล่าวคงที่แม้ว่าโหลดจะเพิ่มขึ้น
- มอเตอร์เหนี่ยวนำมีความเร็วขณะทำงานแกว่งในช่วงไม่กว้างมากนัก ซึ่งแปรตามโหลด
- ปกติมอเตอร์ซิงโครนัสจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเมื่อเทียบกับมอเตอร์เหนี่ยวนำ (และจะสูงกว่ามากถ้าเป็นมอเตอร์ซิงโครนัสประเภทแม่เหล็กถาวร, Permanet Magnet Synchronous Motor: PMSM)
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้กันในอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วๆ ไปส่วนใหญ่ เช่น พัดลม เครื่องปรับอากาศ ปั๊มน้ำ เครื่องซักผ้า ฯลฯ เป็นมอเตอร์เหนี่ยวนำนะครับ
สำหรับการนำอินเวอร์เตอร์มาเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องใช้ไฟฟ้า มีเหตุผลหลักคือความต้องการเปลี่ยนความเร็วรอบมอเตอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าหมายบางอย่าง (เช่น อุณหภูมิห้องที่นิ่ง ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ) ดังที่ผมได้เรียนไปว่าการจะเปลี่ยนความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับทั้งสองประเภท อาศัยการเปลี่ยนความถี่ทางไฟฟ้า ด้วยเหตุนี้อินเวอร์เตอร์จึงได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่างๆ ที่มีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบ
ปัจจัยที่ทำให้แอร์ระบบอินเวอร์เตอร์นั้นประหยัดไฟกว่าแอร์ระบบที่ไม่ใช้อินเวอร์เตอร์ได้แก่
1. ประเภทของมอเตอร์ โดยทั่วไปแอร์อินเวอร์เตอร์จะใช้มอเตอร์ซิงโครนัส (ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่ามอเตอร์เหนี่ยวนำ) ทว่าจริงๆ มอเตอร์เหนี่ยวนำก็ใช้ได้ แต่เนื่องจากวิธีควบคุมมอเตอร์แต่ละประเภทแทบไม่ต่างกัน คือหลักๆ ปรับแค่ความถี่ ดังนั้นโดยทั่วไปผู้ผลิตจึงเลือกใช้มอเตอร์ซิงโครนัสมากกว่าเพื่อแข่งขันในเรื่องประสิทธิภาพ ซึ่งก็เป็นผลดีต่อผู้บริโภค
หมายเหตุ: จริงๆ ถ้าว่ากันด้วยความได้เปรียบเพราะประเภทมอเตอร์ที่ใช้นั้นมีรายละเอียดมากกว่านี้ครับ แต่ขอสรุปเท่านี้ก่อน
2. การ start - stop ตามจังหวะวัฏจักรการทำงาน (Duty Cycle) ของคอมเพรสเซอร์ในแอร์ระบบธรรมดาที่ช่วงเวลา start จะมีกระแสสูงมาก ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบลดลง (บ้าง) ในขณะที่แอร์อินเวอร์เตอร์ การ start มอเตอร์ใช้วิธีค่อยๆ เพิ่มความถี่การทำงาน การ start จึงนิ่มนวลกว่าและไม่กินกระแสขณะ start มาก ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ (แต่จริงๆ แอร์อินเวอร์เตอร์ก็ไม่มี duty cycle นะครับ start ครั้งเดียวทำงานยาวเลย)
ก่อนอื่นต้องเรียนก่อนว่าประเด็นเกี่ยวกับเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีระบบอินเวอร์เตอร์เป็นส่วนหนึ่งในการทำงานนั้น การตอบปัญหาหรือสนทนากันในประเด็นดังกล่าวเป็นเรื่องที่อาจต้องอ้างอิงวิชาการ (ทางวิศวกรรมไฟฟ้า) ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความเข้าใจประมาณนึงครับ ดังนั้นกระทู้นี้ผมจะพยายามตอบให้ละเอียด และพยายามสื่อสารกับทุกๆ ท่านที่อ่านกระทู้ เพื่อให้เข้าใจมากที่สุดเท่าที่จะทำได้นะครับ
ขอเกริ่นก่อนว่า มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับแบ่งเป็น 2 ประเภทหลักๆ ได้แก่
1. มอเตอร์เหนี่ยวนำ (Induction Motor)
2. มอเตอร์ซิงโครนัส (Synchronous motor)
ความเหมือนของมอเตอร์ทั้งสองประเภท
- มอเตอร์ทั้งสองประเภทต้องอาศัยการป้อนไฟฟ้ากระแสสลับเพื่อให้ทำงาน
- ใช้การเปลี่ยนความถี่ทางไฟฟ้าเพื่อเปลี่ยนความเร็วรอบ (ความถี่ไฟฟ้ามาตรฐานเมืองไทยอยู่ที่ 50 Hz) ซึ่งตรงนี้ต้องอธิบายนิดนึงนะครับว่าที่พัดลมตั้งพื้นเบอร์ 1,2,3 ไม่ได้ควบคุมความเร็วโดยการเปลี่ยนความถี่ไฟฟ้านะครับ ใช้หลักการคนละแบบ
- การ start motor โดยวิธีต่อตรง (Direct On-Line) ในช่วงวินาทีแรกๆ จะกินไฟสูงมาก (สูงมากถึง 6 เท่าในช่วงเสี้ยววินาทีแรก)
ความต่างของมอเตอร์ทั้งสองประเภท
- หลักการทางแม่เหล็กไฟฟ้าที่ใช้เพื่อทำให้มอเตอร์ทำงานไม่เหมือนกัน
- มอเตอร์ซิงโครนัสมีความเร็วรอบคงที่ (ตามความถี่ซิงโครนัส) ตามสูตร n=120f/p เมื่อ f คือความถี่ไฟฟ้า (หน่วย Hz) n คือความเร็วรอบ (หน่วย rpm) และ p คือจำนวนขั้วของแม่เหล็ก ซึ่งความเร็วดังกล่าวคงที่แม้ว่าโหลดจะเพิ่มขึ้น
- มอเตอร์เหนี่ยวนำมีความเร็วขณะทำงานแกว่งในช่วงไม่กว้างมากนัก ซึ่งแปรตามโหลด
- ปกติมอเตอร์ซิงโครนัสจะมีประสิทธิภาพสูงกว่าเมื่อเทียบกับมอเตอร์เหนี่ยวนำ (และจะสูงกว่ามากถ้าเป็นมอเตอร์ซิงโครนัสประเภทแม่เหล็กถาวร, Permanet Magnet Synchronous Motor: PMSM)
มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับที่ใช้กันในอุปกรณ์ไฟฟ้าทั่วๆ ไปส่วนใหญ่ เช่น พัดลม เครื่องปรับอากาศ ปั๊มน้ำ เครื่องซักผ้า ฯลฯ เป็นมอเตอร์เหนี่ยวนำนะครับ
สำหรับการนำอินเวอร์เตอร์มาเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องใช้ไฟฟ้า มีเหตุผลหลักคือความต้องการเปลี่ยนความเร็วรอบมอเตอร์ เพื่อให้ได้มาซึ่งเป้าหมายบางอย่าง (เช่น อุณหภูมิห้องที่นิ่ง ประสิทธิภาพที่สูงขึ้น ) ดังที่ผมได้เรียนไปว่าการจะเปลี่ยนความเร็วของมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับทั้งสองประเภท อาศัยการเปลี่ยนความถี่ทางไฟฟ้า ด้วยเหตุนี้อินเวอร์เตอร์จึงได้เข้ามามีบทบาทมากขึ้นเรื่อยๆ ในเครื่องใช้ไฟฟ้าประเภทต่างๆ ที่มีมอเตอร์เป็นส่วนประกอบ
ปัจจัยที่ทำให้แอร์ระบบอินเวอร์เตอร์นั้นประหยัดไฟกว่าแอร์ระบบที่ไม่ใช้อินเวอร์เตอร์ได้แก่
1. ประเภทของมอเตอร์ โดยทั่วไปแอร์อินเวอร์เตอร์จะใช้มอเตอร์ซิงโครนัส (ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงกว่ามอเตอร์เหนี่ยวนำ) ทว่าจริงๆ มอเตอร์เหนี่ยวนำก็ใช้ได้ แต่เนื่องจากวิธีควบคุมมอเตอร์แต่ละประเภทแทบไม่ต่างกัน คือหลักๆ ปรับแค่ความถี่ ดังนั้นโดยทั่วไปผู้ผลิตจึงเลือกใช้มอเตอร์ซิงโครนัสมากกว่าเพื่อแข่งขันในเรื่องประสิทธิภาพ ซึ่งก็เป็นผลดีต่อผู้บริโภค
หมายเหตุ: จริงๆ ถ้าว่ากันด้วยความได้เปรียบเพราะประเภทมอเตอร์ที่ใช้นั้นมีรายละเอียดมากกว่านี้ครับ แต่ขอสรุปเท่านี้ก่อน
2. การ start - stop ตามจังหวะวัฏจักรการทำงาน (Duty Cycle) ของคอมเพรสเซอร์ในแอร์ระบบธรรมดาที่ช่วงเวลา start จะมีกระแสสูงมาก ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบลดลง (บ้าง) ในขณะที่แอร์อินเวอร์เตอร์ การ start มอเตอร์ใช้วิธีค่อยๆ เพิ่มความถี่การทำงาน การ start จึงนิ่มนวลกว่าและไม่กินกระแสขณะ start มาก ไม่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ (แต่จริงๆ แอร์อินเวอร์เตอร์ก็ไม่มี duty cycle นะครับ start ครั้งเดียวทำงานยาวเลย)
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
คำตอบสำหรับคำถามที่ 2
ถ้าตามหลักของมอเตอร์ทั่วๆ ไปแล้ว มอเตอร์จะได้ประสิทธิภาพสูงสุดตอนทำงานที่พิกัดครับไม่ใช่ที่โหลดต่ำ (ถ้าให้อธิบายมันจะยาวและออกนอกประเด็น ขอสรุปเพียงเท่านี้แล้วกัน) ยกเว้นมอเตอร์แบบแม่เหล็กถาวรที่ประสิทธิภาพจะสูงมากและถึงแม้จะไม่ได้ทำงานที่พิกัด ประสิทธิภาพก็แทบไม่เปลี่ยนแปลงครับ
ตอบในกรอบ spoil นะครับ อันนี้ต้องทดลองกันจริงจังแล้วหาข้อสรุป และควบคุมตัวแปรต่างๆ ด้วยครับ แต่ส่วนตัวผมว่าแอร์อินเวอร์เตอร์ติดที่ไหนก็ได้ครับ เพราะไม่ว่าแอร์แบบใด หากมีโหลดมาก ก็ต้องทำงานหนักเป็นธรรมดา
คำตอบสำหรับคำถามที่ 3
เพราะว่าการปรับความเร็วรอบให้กับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับต้องปรับที่ความถี่ไฟฟ้าเท่านั้นครับ ส่วนในพัดลมตัวละไม่กี่ร้อยบาทปรับเบอร์ 1-2-3 ได้เพราะใช้ตัวต้านทานมารับแรงดันบางส่วนทำให้แรงดันคร่อมมอเตอร์เหนี่ยวนำ (ต้องเป็นมอเตอร์เหนี่ยวนำเท่านั้นครับ) มีค่าเปลี่ยนไป จุดทำงานของมอเตอร์จึงเลื่อนไปที่ความเร็วอื่นได้แต่แค่ในช่วงแคบๆ ครับ ท่านลองสังเกตดูก็ได้จะพบว่าพัดลมเบอร์ 1-2-3 ความเร็วรอบต่างกันไม่มากครับ ที่สำคัญโหลดทางกลของพัดลม (ปริมาณอากาศที่ไหลผ่านใบพัด) มีขนาดไม่มากเมื่อเทียบกับโหลดทางกลของแอร์ (การเพิ่มความดันให้กับสารทำความเย็น) ดังนั้นเราจึงใช้หลักการนี้กับแอร์ไม่ได้ เพราะโหลดทางกลมีผลต่อจุดทำงานของมอเตอร์ ถ้าให้คอมเพรสเซอร์แอร์ปรับเบอร์ 1-2-3 โดยใช้หลักการแบบพัดลม สิ่งที่ตามมาคือความเร็วรอบของเบอร์ 1-2-3 แทบจะไม่ต่างกันครับ (อันนี้อธิบายยากนิดนึง ต้องมีกราฟมาประกอบ)
สุดท้ายครับ หากมีคำถามอะไรหรือต้องการให้ผมลงรายละเอียดตรงไหนสามารถบอกผมได้นะครับ เพราะอย่างที่ได้เรียนไปว่าประเด็นนี้เป็นเรื่องที่อาจต้องอ้างอิงวิชาการ (ทางวิศวกรรมไฟฟ้า) ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความเข้าใจประมาณนึงครับ
ถ้าตามหลักของมอเตอร์ทั่วๆ ไปแล้ว มอเตอร์จะได้ประสิทธิภาพสูงสุดตอนทำงานที่พิกัดครับไม่ใช่ที่โหลดต่ำ (ถ้าให้อธิบายมันจะยาวและออกนอกประเด็น ขอสรุปเพียงเท่านี้แล้วกัน) ยกเว้นมอเตอร์แบบแม่เหล็กถาวรที่ประสิทธิภาพจะสูงมากและถึงแม้จะไม่ได้ทำงานที่พิกัด ประสิทธิภาพก็แทบไม่เปลี่ยนแปลงครับ
ตอบในกรอบ spoil นะครับ อันนี้ต้องทดลองกันจริงจังแล้วหาข้อสรุป และควบคุมตัวแปรต่างๆ ด้วยครับ แต่ส่วนตัวผมว่าแอร์อินเวอร์เตอร์ติดที่ไหนก็ได้ครับ เพราะไม่ว่าแอร์แบบใด หากมีโหลดมาก ก็ต้องทำงานหนักเป็นธรรมดา
คำตอบสำหรับคำถามที่ 3
เพราะว่าการปรับความเร็วรอบให้กับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับต้องปรับที่ความถี่ไฟฟ้าเท่านั้นครับ ส่วนในพัดลมตัวละไม่กี่ร้อยบาทปรับเบอร์ 1-2-3 ได้เพราะใช้ตัวต้านทานมารับแรงดันบางส่วนทำให้แรงดันคร่อมมอเตอร์เหนี่ยวนำ (ต้องเป็นมอเตอร์เหนี่ยวนำเท่านั้นครับ) มีค่าเปลี่ยนไป จุดทำงานของมอเตอร์จึงเลื่อนไปที่ความเร็วอื่นได้แต่แค่ในช่วงแคบๆ ครับ ท่านลองสังเกตดูก็ได้จะพบว่าพัดลมเบอร์ 1-2-3 ความเร็วรอบต่างกันไม่มากครับ ที่สำคัญโหลดทางกลของพัดลม (ปริมาณอากาศที่ไหลผ่านใบพัด) มีขนาดไม่มากเมื่อเทียบกับโหลดทางกลของแอร์ (การเพิ่มความดันให้กับสารทำความเย็น) ดังนั้นเราจึงใช้หลักการนี้กับแอร์ไม่ได้ เพราะโหลดทางกลมีผลต่อจุดทำงานของมอเตอร์ ถ้าให้คอมเพรสเซอร์แอร์ปรับเบอร์ 1-2-3 โดยใช้หลักการแบบพัดลม สิ่งที่ตามมาคือความเร็วรอบของเบอร์ 1-2-3 แทบจะไม่ต่างกันครับ (อันนี้อธิบายยากนิดนึง ต้องมีกราฟมาประกอบ)
สุดท้ายครับ หากมีคำถามอะไรหรือต้องการให้ผมลงรายละเอียดตรงไหนสามารถบอกผมได้นะครับ เพราะอย่างที่ได้เรียนไปว่าประเด็นนี้เป็นเรื่องที่อาจต้องอ้างอิงวิชาการ (ทางวิศวกรรมไฟฟ้า) ซึ่งจำเป็นต้องใช้ความเข้าใจประมาณนึงครับ
แสดงความคิดเห็น
เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้ระบบ inverter ช่วยให้ประสิทธิภาพดีขึ้นด้วยหลักการอะไร
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
2. ถ้ามอเตอร์หมุนต่อเนื่องไม่หยุด ตอนโหลดต่ำจะกินไฟมีประสิทธิภาพมากกว่า (จ่ายค่าไฟเท่ากันได้งานมากกว่า) ตอนโหลดเกือบเต็มที่ จริงรึเปล่า
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
3. ทำไมคอมเพรสเซอร์แอร์ถึงไม่มีใครทำระบบที่ปรับทำงานหนัก 3 ระดับเหมือนพัดลม เท่าที่รู้คือคอมแอร์แบบปกติทำงานเต็มที่หรือไม่ก็ตัดไปเลย
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
ถ้าผมถามไม่ตรงคำตอบ ก็ช่วยตอบมาเลยครับ อยากรู้ว่าหลักการที่แอร์แบบเดิมมันด้อยประสิทธิภาพกว่าแอร์ inverter ตรงไหน ภาคจ่ายไฟหรือตัวมอเตอร์ อะไรยังไงเพราะอะไร