สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
จขกท.ถามว่า
"ถ้าหลังเวลาฉันมื้อเช้า และในช่วงระหว่างก่อนฉันเพล พระสามารถฉันได้หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นข้าว หรือขนมอะไรต่างๆ"
ก็แสดงว่าพระรูปดังกล่าวท่านคงจะฉันในช่วงก่อนเพลใช่ไหมครับ
ตอบว่า "ไม่ผิด"
เวลาที่พระสามารถฉันอาหารได้ คือเวลาตั้งแต่เช้า อรุณขึ้น จนถึงเวลาเที่ยง ถ้าแบบเมืองไทยก็ถือกันว่า ๖ โมงเช้าก็คือเช้าแล้ว อรุณขึ้นกันโดยส่วนมากแล้ว (บางจังหวัดแค่ตีห้าครึ่งก็สว่างโร่แล้ว ก็ถือว่าได้เหมือนกันเพราะเอาที่อรุณขึ้น แต่ถ้ากรณีหน้าหนาวที่อรุณขึ้นช้า ควรถือตามเวลาอรุณขึ้น ท้องฟ้ามีแสงเงินแสงทองขึ้นแล้ว)
ในช่วงเวลานี้ ถ้ากำหนดตามเวลานาฬิกาก็คือ ๖ โมง ถึงเที่ยงตรง พระจะฉันข้าวฉันน้ำ ฉันขนมขบเคี้ยวอะไรก็ได้ และถือว่าเป็นการฉัน"มื้อเดียว" ทั้งหมดด้วย เพราะมื้ออาหารในทางบาลี มีเพียงสองมื้อ คือมื้อเช้า เรียกว่า ปาตราสะภัต (อาหารที่กินในเวลาเช้า) กำหนดเวลาตั้งแต่ อรุณขึ้นถึงเที่ยงตรง และมื้อเย็น เรียกว่า สายมาสะภัต กำหนดเวลาตั้งแต่หลังเที่ยงแล้วไปจนถึงก่อนอรุณอีกวันหนึ่ง (กำหนดเวลานาฬิกาก็ ๑๒.๐๐ - ๕.๕๙)
อรรถกถายังอธิบายสำทับอีกว่า "ภิกษุฉันในมื้อเช้า (ปาตราสะภัต) นี้ แม้จะฉันซัก ๑๐ ครั้ง ก็ชื่อว่าฉันมื้อเดียว"
แต่บางทีคนอาจจะเข้าใจกันว่าพระ "จะต้อง" ฉันแค่สองรอบคือเช้ากับเพล ถ้าไม่ได้อยู่ในช่วงเช้ากับเพล แม้จะไม่เลยเที่ยง เช่น หลังฉันเช้าก่อนเพล จะฉันไม่ได้ อันนี้เป็นความเข้าใจผิด หรือการเอาประเพณีบางที่บางแห่งมาใช้กับพระ ซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องพระวินัยโดยตรง
เพิ่มเติมว่า คำว่า ฉันมื้อเดียว กับ ฉันครั้งเดียวนั้นต่างกัน บางวัดเช่นที่เป็นวัดป่า หรือวัดธรรมยุตบางแห่ง ท่านจะถือฉัน "ครั้งเดียว" อันนี้ไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติในพระวินัย แต่เป็นการปฏิบัติธุดงค์ข้อหนึ่ง คือ เอกาสนิกังคะธุดงค์ (องค์แห่งผู้ถือธุดงค์ฉันอาสนะเดียว) อันนี้คือเมื่อท่านฉันเสร็จแล้ว ลุกจากอาสนะเมื่อไหร่ จะไม่ฉันอีกเลยในวันนั้น ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ฉันมื้อเดียว" ตามความเข้าใจของคนไทย ซึ่งที่จริงควรเรียกว่า "ฉันครั้งเดียว" หรือ "ฉันอาสนะเดียว" ตามพระบาลี จะถูกต้องกว่า
ท่านข้างบนพูดถึงเรื่องฉันได้จนถึงบ่ายสอง อันนี้เป็นความเชื่อผิดอย่างหนึ่งในพระสงฆ์ไทยบางหมู่บางคณะรวมถึงชาวบ้านบางส่วน ยังมีความเข้าใจผิดอีกเกี่ยวกับการขบฉัน
ยกตัวอย่างเช่นว่า "ถ้าไม่ลุกจากอาสนะ ฉันจนถึงบ่ายโมงบ่ายสองก็ได้"
หรือเชื่อว่า "แม้หลังเที่ยง* ถ้าเป็นผลไม้ที่ขึ้นต้นด้วย มะ ฉันได้ทั้งหมด" อันนี้ก็เป็นความเข้าใจผิดอีกเหมือนกัน
อย่างกรณีไม่ลุกจากอาสนะนี้ เป็นการเอาเอกาสนิกังคะธุดงค์มาอธิบายผิด เพราะเอกาสนิกังคะธุดงค์นี้ จะฉันได้จนถึงหยุดฉันแล้วลุกจากอาสนะก็ตาม ก็ยังมีระยะเวลากำหนดตามพระวินัยว่าไม่เลยเที่ยงอยู่ดี
ส่วนเรื่อง "ผลไม้ที่ขึ้นต้นด้วยมะ" ข้อนี้เป็นการนำเอาเรื่องที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผลไม้ที่เป็นเภสัชที่ฉันได้หลังเที่ยง คือ "มะขามป้อม" (รวมถึงสมอ) มาประยุกต์อย่างผิด ๆ โดยใช้คำว่า "มะ" ในมะขามป้อม มาใช้กับผลไม้อย่างอื่น จนบางวัดในบางภาค ถือกันว่าผลไม้ทุกชนิดขึ้นต้นด้วย มะ ก็ฉันได้หมด ทั้งมะม่วง มะยม มะนาว มะซาง หรือแม้แต่มะพร้าวก็ด้วย (มะพร้าวนี่ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะมะพร้าวเป็นมหาผล แม้แต่น้ำมะพร้าวก็ฉันเป็นน้ำปานะหลังเที่ยงไม่ได้)
---------------
* เพิ่มคำว่าหลังเที่ยง เพื่อให้ความชัดขึ้นกรณีผลไม้
"ถ้าหลังเวลาฉันมื้อเช้า และในช่วงระหว่างก่อนฉันเพล พระสามารถฉันได้หรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นข้าว หรือขนมอะไรต่างๆ"
ก็แสดงว่าพระรูปดังกล่าวท่านคงจะฉันในช่วงก่อนเพลใช่ไหมครับ
ตอบว่า "ไม่ผิด"
เวลาที่พระสามารถฉันอาหารได้ คือเวลาตั้งแต่เช้า อรุณขึ้น จนถึงเวลาเที่ยง ถ้าแบบเมืองไทยก็ถือกันว่า ๖ โมงเช้าก็คือเช้าแล้ว อรุณขึ้นกันโดยส่วนมากแล้ว (บางจังหวัดแค่ตีห้าครึ่งก็สว่างโร่แล้ว ก็ถือว่าได้เหมือนกันเพราะเอาที่อรุณขึ้น แต่ถ้ากรณีหน้าหนาวที่อรุณขึ้นช้า ควรถือตามเวลาอรุณขึ้น ท้องฟ้ามีแสงเงินแสงทองขึ้นแล้ว)
ในช่วงเวลานี้ ถ้ากำหนดตามเวลานาฬิกาก็คือ ๖ โมง ถึงเที่ยงตรง พระจะฉันข้าวฉันน้ำ ฉันขนมขบเคี้ยวอะไรก็ได้ และถือว่าเป็นการฉัน"มื้อเดียว" ทั้งหมดด้วย เพราะมื้ออาหารในทางบาลี มีเพียงสองมื้อ คือมื้อเช้า เรียกว่า ปาตราสะภัต (อาหารที่กินในเวลาเช้า) กำหนดเวลาตั้งแต่ อรุณขึ้นถึงเที่ยงตรง และมื้อเย็น เรียกว่า สายมาสะภัต กำหนดเวลาตั้งแต่หลังเที่ยงแล้วไปจนถึงก่อนอรุณอีกวันหนึ่ง (กำหนดเวลานาฬิกาก็ ๑๒.๐๐ - ๕.๕๙)
อรรถกถายังอธิบายสำทับอีกว่า "ภิกษุฉันในมื้อเช้า (ปาตราสะภัต) นี้ แม้จะฉันซัก ๑๐ ครั้ง ก็ชื่อว่าฉันมื้อเดียว"
แต่บางทีคนอาจจะเข้าใจกันว่าพระ "จะต้อง" ฉันแค่สองรอบคือเช้ากับเพล ถ้าไม่ได้อยู่ในช่วงเช้ากับเพล แม้จะไม่เลยเที่ยง เช่น หลังฉันเช้าก่อนเพล จะฉันไม่ได้ อันนี้เป็นความเข้าใจผิด หรือการเอาประเพณีบางที่บางแห่งมาใช้กับพระ ซึ่งไม่เกี่ยวกับเรื่องพระวินัยโดยตรง
เพิ่มเติมว่า คำว่า ฉันมื้อเดียว กับ ฉันครั้งเดียวนั้นต่างกัน บางวัดเช่นที่เป็นวัดป่า หรือวัดธรรมยุตบางแห่ง ท่านจะถือฉัน "ครั้งเดียว" อันนี้ไม่ใช่เรื่องการปฏิบัติในพระวินัย แต่เป็นการปฏิบัติธุดงค์ข้อหนึ่ง คือ เอกาสนิกังคะธุดงค์ (องค์แห่งผู้ถือธุดงค์ฉันอาสนะเดียว) อันนี้คือเมื่อท่านฉันเสร็จแล้ว ลุกจากอาสนะเมื่อไหร่ จะไม่ฉันอีกเลยในวันนั้น ซึ่งเป็นที่มาของคำว่า "ฉันมื้อเดียว" ตามความเข้าใจของคนไทย ซึ่งที่จริงควรเรียกว่า "ฉันครั้งเดียว" หรือ "ฉันอาสนะเดียว" ตามพระบาลี จะถูกต้องกว่า
ท่านข้างบนพูดถึงเรื่องฉันได้จนถึงบ่ายสอง อันนี้เป็นความเชื่อผิดอย่างหนึ่งในพระสงฆ์ไทยบางหมู่บางคณะรวมถึงชาวบ้านบางส่วน ยังมีความเข้าใจผิดอีกเกี่ยวกับการขบฉัน
ยกตัวอย่างเช่นว่า "ถ้าไม่ลุกจากอาสนะ ฉันจนถึงบ่ายโมงบ่ายสองก็ได้"
หรือเชื่อว่า "แม้หลังเที่ยง* ถ้าเป็นผลไม้ที่ขึ้นต้นด้วย มะ ฉันได้ทั้งหมด" อันนี้ก็เป็นความเข้าใจผิดอีกเหมือนกัน
อย่างกรณีไม่ลุกจากอาสนะนี้ เป็นการเอาเอกาสนิกังคะธุดงค์มาอธิบายผิด เพราะเอกาสนิกังคะธุดงค์นี้ จะฉันได้จนถึงหยุดฉันแล้วลุกจากอาสนะก็ตาม ก็ยังมีระยะเวลากำหนดตามพระวินัยว่าไม่เลยเที่ยงอยู่ดี
ส่วนเรื่อง "ผลไม้ที่ขึ้นต้นด้วยมะ" ข้อนี้เป็นการนำเอาเรื่องที่พระผู้มีพระภาคทรงอนุญาตผลไม้ที่เป็นเภสัชที่ฉันได้หลังเที่ยง คือ "มะขามป้อม" (รวมถึงสมอ) มาประยุกต์อย่างผิด ๆ โดยใช้คำว่า "มะ" ในมะขามป้อม มาใช้กับผลไม้อย่างอื่น จนบางวัดในบางภาค ถือกันว่าผลไม้ทุกชนิดขึ้นต้นด้วย มะ ก็ฉันได้หมด ทั้งมะม่วง มะยม มะนาว มะซาง หรือแม้แต่มะพร้าวก็ด้วย (มะพร้าวนี่ยิ่งแล้วใหญ่ เพราะมะพร้าวเป็นมหาผล แม้แต่น้ำมะพร้าวก็ฉันเป็นน้ำปานะหลังเที่ยงไม่ได้)
---------------
* เพิ่มคำว่าหลังเที่ยง เพื่อให้ความชัดขึ้นกรณีผลไม้
แสดงความคิดเห็น
นอกเวลาฉัน พระสงฆ์สามารถฉันอาหารได้หรือไม่