วันที่ 29 เมษายน 2556 01:00
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ศศิกาญจน์ ตันธนสิน
พลิกตำรา “พ่อสอนออม” ของสองพี่น้อง “พลอย-ศศิกาญจน์” & “พีช-พัชรพงศ์” ทายาทของ “พูลพิพัฒน์ ตันธนสิน” เจ้าของ คิวทีซี เอนเนอร์ยี่
“ถึงเวลาเรียนรู้งานแล้ว” 1 สัปดาห์ หลังสิ้นคำสั่งของผู้เป็นพ่อ “พูลพิพัฒน์ ตันธนสิน” ผู้ก่อตั้ง “คิวทีซี เอนเนอร์ยี่”(QTC) ที่ต่อสายตรงข้ามทวีปถึง “ลูกสาวคนโตวัย 27 ปี” จากจำนวนพี่น้อง 2 คน “พลอย” ศศิกาญจน์ ตันธนสิน ในฐานะผู้ถือหุ้น QTC อันดับ 1 จำนวน 45 ล้านหุ้น คิดเป็น 22.50% (ตัวเลข ณ วันที่ 11 มี.ค.56) ก็รีบจัดแจงโทรจองตั๋วเครื่องบิน เหินฟ้าจากประเทศออสเตรียกลับเมืองไทยทันที
เธอรู้ดีอยู่แก่ใจ สิ่งที่รออยู่ข้างหน้า “ไม่หมู” เอาซะเลย แต่ “สาวอารมณ์ดี ช่างเจรจา” ก็ยินยอมถอด “เสื้อเชฟ” มาช่วยพ่อทำงานด้วยความเต็มใจ หลังเรียนจบการทำอาหารมาหมาดๆชนิดยังไม่ได้ลองวิชาที่ Certificate lll in Hospitality Commercial Cookery at Carrick Education, Australia
ในแวดวงหม้อแปลงไฟฟ้า “พูลพิพัฒน์ ตันธนสิน” ถือเป็นบุคคลหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญ เพราะทันทีที่เขาเรียนจบวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รุ่น วศ.2515) “ชีวิตมุนษย์เงินเดือน” ก็เริ่มต้นขึ้นทันทีในตำแหน่งวิศวกรโรงงานผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า บริษัท ศิริวัฒน์ (2515) จำกัด ก่อนจะลาออกมาร่วมก่อตั้งบริษัท เอกรัฐวิศกรรม จำกัด ในปี 2524 ช่วงนั้นเขาประสบความสำเร็จในการจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้าไทยในตลาดอาเซียน แถมยังเป็นผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่จนเป็นที่ยอมรับของต่างชาติ
“เพิ่งกลับมาเมืองไทยช่วงเดือนพ.ย.2555 พ่อให้เข้ามาเริ่มทำงานในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจในเดือนก.พ.2556 ยังไม่รู้พ่อจะขยับตำแหน่งให้ตอนไหน ท่านบอกเพียงว่าเรียนรู้งานไปเรื่อยๆก่อน ตอนนี้พ่อรับหน้าที่เป็นเทรนเนอร์ คอยสอนระบบการทำงานทุกอย่าง “พลอย” ศศิกาญจน์ ตันธนสิน ควงน้องชายวัย 26 ปี “พีช” พัชรพงศ์ ตันธนสิน ผู้ถือหุ้นอันดับ 2 จำนวน 45 ล้านหุ้น คิดเป็น 22.50% มาเล่าถึง “คำสอนของพ่อ” ให้ “กรุงเทพธุรกิจ Biz Week” ฟัง
“สาวพลอย” เริ่มต้นพรีเซนต์การศึกษาให้ฟังก่อนว่า หลังเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ก็เรียนต่อปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
จากนั้นก็ไปต่อปริญญาโท 2 ใบ ในสาขา Master of International Business, Queensland University of Technology, Australia และสาขา Master of Marketing, Griffith University ,Australia หลังจบการศึกษาพลอยและน้องพีช ก็ขอคุณพ่อไปเรียนทำอาหารต่ออีก 1 ปี ที่ Certificate lll in Hospitality Commercial Cookery at Carrick Education, Australia พลอยและน้อง รักการทำอาหารมาก (ลากเสียงยาว)
“พีช-พัชรพงศ์” แทรกขึ้นว่า เขาเพิ่งจบปริญญาตรี Bachelor of Design major in visual communication design, Griffith University, Brisbane, Australia ตอนนี้กำลังเตรียมตัวศึกษาต่อปริญญาโทในเมืองประเทศไทย ถามว่าทำไมไม่เรียนต่อปริญญาโทที่โน่น พีชตอบว่า "บังเอิญผมติดพี่สาว (หัวเราะ) พอพี่พลอยเรียนจบ ขอพ่อบินกลับมาเรียนต่อในเมืองไทย ระหว่างรอเรียนต่อ คุณพ่อจะหนีบผมไปตีกอล์ฟด้วยเป็นประจำ ท่านอยากไปรู้จักเพื่อนนักธุรกิจของท่าน ถือเป็นการสร้างคอนเน็กชั่นทางหนึ่ง (ยิ้ม)"
ก่อนจะพูดถึง “แรงกดดัน” ถึงการทำงานใน QTC “พลอย-พีช” เล่าถึงคำสอนของพ่อว่า ตอนเด็กๆพ่อจะสอนให้รู้จักการ “ออมเงิน” ถ้าวันนั้นท่านไม่สอนเรื่องนี้ วันนี้พลอยและน้องอาจไม่อินกับการออมเงิน ด้วยการลงทุนในตลาดหุ้นก็เป็นได้
"คุณพ่อจะซื้อกระปุกออมสินรูปลายสวยๆให้พลอยหยอดเงินทุกวัน เมื่อเงินเต็มกระปุกก็จะนำไปฝากธนาคารแบบออมทรัพย์ เวลามีเทศกาลพิเศษ เช่น วันตุรุษจีน และวันปีใหม่ พ่อจะให้เงินเพิ่ม พลอยก็จะนำไปฝากแบงก์"
จุดนั้น ทำให้วันนี้ “พลอย” กล้าที่จะลงทุนใน “ความเสี่ยง” ที่เพิ่มขึ้น เธอเล่า
“หนุ่มพีช” พูดแทรกขึ้นว่า... "คุณพ่อจะซื้อกระปุกออมรูปหุ่นยนต์ให้ผมหยอดเงินเหมือนกัน พ่อชอบชวนแข่งหยอดเงิน ใครหยอดเงินเต็มก่อนจะมีรางวัลพิเศษ มันเหมือนเป็นแรงกระตุ้นให้มุ่งมั่นออมเงิน เชื่อมั้ย!! ทุกเย็นผมจะเหลือเงินจากโรงเรียนมาหยอดกระปุกออมสินทุกวัน พอเงินเต็มก็จะนำไปฝากธนาคาร"
“มือใหม่หัดลงทุน” เล่าต่อว่า เริ่มต้นลงทุนในธุรกรรมที่มี “ความเสี่ยงต่ำ” ก่อนเป็นอันดับแรกๆ
"บังเอิญช่วงนั้นต้องไปทำธุรกรรมที่แบงก์บ่อยๆ เห็นเขาโฆษณาเรื่องกองทุน และฉลากออมสิน พลอยสนใจเลยซื้อลงทุน เมื่อเรียนมหาวิทยาลัย เริ่มรู้สึกว่า เราสามารถรับ “ความเสี่ยงสูง” ได้แล้ว จึงตัดสินใจไปเปิดพอร์ตลงทุน ตอนนั้นก็ปรึกษาคุณแม่ ท่านก็เห็นดีด้วยนะ"
เธอยังเล่าว่า ตอนนั้นนำเงินเก็บมาเปิดพอร์ตลงทุน (ไม่ยอมบอกเงินตั้งต้น) จำได้ว่าเปิดพอร์ตก่อนเดินทางไปเรียนต่อต่างประเทศ เน้นลงทุนหุ้นบูลชิพในหุ้นธนาคาร 2 ตัว จำไม่ได้จริงๆว่าซื้อหุ้นตัวไหน ตอนนั้นลงทุนไม่เยอะ ได้กำไรนิดหน่อย ช่วงนั้นตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้น (ไม่ยอมเผยตัวเลขกำไร)
ถามว่าวันนี้มีหุ้นในพอร์ตกี่ตัว? เธอยิ้มก่อนตอบว่า ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธนาคาร เช่น หุ้น ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) หุ้น ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และหุ้นธนาคารกรุงไทย (KTB) ตอนเข้าไปลงทุนแรกๆ นับว่า “โชคดี” เพราะเข้าไปซื้อช่วงราคาหุ้นไม่แพง
"วันนี้บอกเสียงดังๆ เลยว่า ชอบ หุ้นปันผล เพราะมีสัดส่วนมากถึง 70% ส่วนใหญ่เน้นลงทุนระยะยาว อีก 30% ที่เหลือจะเป็นการลงทุนระยะสั้น มูลค่าพอร์ตลงทุนวันนี้ยังต่ำเพียง แค่หลัก “ล้านบาท” เท่านั้น" พลอย เล่า
นอกจากลงทุนในตลาดหุ้นแล้วยังซื้อลงทุน 3 กองทุน การออมแบบหยอดกระปุกออมสิน ทุกวันนี้ก็ยังทำอยู่ (ยิ้ม) แต่วัตถุประสงค์ในการออมเปลี่ยนไป เมื่อใดที่เงินในกระปุกเต็มแล้วกะจะนำไปซื้ออาหารบริจาคสุนัข และซื้ออาหารกลางวันบริจาคเด็กๆ
ถามถึงกลยุทธ์การลงทุน? เจ้าตัวบอกว่า ไม่มีอะไรพิเศษไปกว่านักลงทุนรายอื่นๆ โดยจะเน้นดูพื้นฐานเป็นหลัก พิจารณาจากธุรกิจเป็นหลักดูว่าแนวโน้มดีหรือไม่ ที่ผ่านมาลงทุนไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะมีข้อจำกัดเรื่องเวลาและข้อมูล ตอนนั้นยังเรียนอยู่ต่างประเทศ ข้อมูลก็รู้ไม่มาก ส่วนใหญ่จะอาศัยถามเพื่อนๆ ที่เล่นหุ้น (หัวเราะ) บางครั้งก็โทรถามคุณพ่อว่า “บริษัทนี้ดีหรือเปล่า” ควรซื้อลงทุนดีมั้ย!!
ลงทุนในตลาดหุ้นไปได้สักพัก เริ่มหันมาใส่ใจในงบการเงินมากขึ้น เรียกว่าลงลึกในแง่ของรายได้และกำไร ส่วนใหญ่จะดูผลประกอบการย้อนหลัง 3-5 ปี พวกเส้นเทคนิคดูบ้างเหมือนกัน พอดีช่วงนั้นเรียนเกี่ยวไฟแนนซ์พอดี ทำให้นำมาประกอบการตัดสินใจลงทุน เธอเล่าออกรส
นั่งฟัง “พี่สาว” ร่ายเรื่องหุ้นมาสักพักใหญ่ “พีช”-พัชรพงศ์” แทรกขึ้นว่า .. "ผมก็นิยมออมเงินด้วยการลงทุนในตลาดหุ้นเหมือนพี่พลอย ตอนนี้พอร์ตลงทุนมีมูลค่าแค่หลักล้านบาทเท่านั้น ผมชอบกลุ่มโรงพยาบาล กลุ่มบริการ และกลุ่มพลังงานขนาดเล็ก เปิดพอร์ตลงทุนครั้งแรกสมัยเรียนอยู่ที่ออสเตรเลีย ตอนนั้นเพื่อนที่ทำงานเป็นมาร์เก็ตติ้ง เขาเชียร์ให้เปิดพอร์ต"
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนของหนุ่มพีช รักที่จะถือยาว โดยจะพิจารณาพื้นฐานของธุรกิจ และผลประกอบการเป็นหลัก ยิ่งเรื่องการลงทุนในอนาคตของบริษัทที่หมายตา จะไม่พลาดที่จะนำมาประกอบการตัดสินใจ ตอนนี้ในพอร์ตลงทุนมีหุ้น กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) คิดเป็น 40% ของพอร์ตลงทุน ที่เหลือจะเป็นหุ้น ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ (UAC) และหุ้น คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ (QTC)
ทำไมชอบหุ้นโรงพยาบาล “หนุ่มพีช” ตอบว่า "ตอนเด็กๆเข้าโรงพยาบาลบ่อยมาก ทำให้เห็นว่า วันๆหนึ่งมีคนไข้เข้ามาใช้บริการมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้นอนาคตหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลจะต้องมีการเติบโตที่ดี ดังนั้นโรงพยาบาลจะต้องมีการขยายการลงทุนต่อไปเรื่อยๆ เพื่อรองรับการใช้บริการของคนไข้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อนาคตหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลดีแน่ (พูดด้วยความมั่นใจ)"
ใช้เวลาเล่าเรื่องการลงทุนสักพัก “พลอย” ก็เปลี่ยนมาพูดเรื่องการทำงานใน QTC ว่า "กลับมาเมืองไทยได้แค่ 2 เดือน พ่อเดินมาบอก ถึงเวลาต้องไปทำงานใน QTC จริงๆแล้วนะ แว๊บแรกรู้สึกได้ถึง ความกดดัน เพราะที่ผ่านมาเราไม่รู้เรื่องระบบการทำงานเลย แม้ว่าช่วงปิดเทอมจะเคยฝึกงานในบริษัทผลิตหม้อแปลงในประเทศมาเลเซียประมาณ 3 เดือนก็ตาม แต่มันไม่เหมือนกับการทำงานจริงๆที่ต้องมีความรับผิดชอบหลายๆอย่าง
“งานชิ้นแรก” เชื่อหรือไม่!!! คุณพ่อให้ดูแลโครงการระดับช้างเลย (หัวเราะ) ท่านยก โรงงานผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าในประเทศลาวให้พลอยดูแล ท่านบอกให้ไปเจรจากับพันธมิตรที่ประเทศลาว ตอนนี้พ่อเริ่มโอนงานอื่นๆให้ทำแล้ว ล่าสุดให้ไปดูแลเกี่ยวกับเรื่องเครื่องจักรที่จะนำมาใช้ในโรงงานในประเทศลาว พ่อบอกให้เจรจาซื้อเครื่องจักรกับประเทศจีน"
ในฐานะลูกสาวคนโต เธออยากเห็น QTC เติบโตสม่ำเสมอ แต่ต้องขยายตัวต่อปีเท่าไร "ขอเวลาเรียนรู้งานอีกสักพักแล้วจะกลับมาตอบใหม่!!"
เธอยังไม่ได้ลงลึกถึงรายละเอียดอื่นๆเกี่ยวกับโครงการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าประเทศลาว แต่ก่อนหน้านี้ "พูลพิพัฒน์ ตันธนสิน" เคยพูดว่า กลางปี 2556 จะสรุปพันธมิตรในโครงการดังกล่าว หากประสบความสำเร็จ QTC พร้อมขยายการลงทุนไปยังประเทศอื่นๆ ส่วนนักลงทุนรายใดที่มีความกังวลว่า QTC อาจปฏิบัติการณ์เพิ่มทุน บอกตรงนี้เลยว่า “ไม่” เพราะเรามีอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) ต่ำเพียง 0.16 เท่า ฉะนั้นยังมีช่องว่างในการกู้ยืมอีกมาก
ส่วนโครงการร่วมลงทุนระหว่าง “ไฮโดรเท็ค” (HYDRO), “เอเชีย กรีน เอนเนอจี” (AGE) และ “ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์” (UAC) เพื่อร่วมกันทำโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพขนาด 10 เมกะวัตต์ ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่ละฝ่ายจะถือหุ้นในสัดส่วน 25% คาดว่าอีก 6 เดือนข้างหน้าทุกอย่างจะชัดเจน
“รายได้ปี 2556 “ทะลุ 1,000 ล้านบาท” แน่นอน หลังปรับกลยุทธ์ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เน้นเจาะตลาดต่างประเทศ ด้วยการเพิ่มตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ"
“สาวอารมณ์ดี” เล่ายังต่อว่า ทุกครั้งที่มีโอกาสอยู่ด้วยกัน พ่อมักเล่าบทเรียนต่างๆที่เคยผ่านมาให้ลูกๆฟัง "ท่านจะย้ำ เสมอว่า ห้ามประมาท จงจำประสบการณ์ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 ให้ขึ้นใจ ฉะนั้นหากจะลงมือทำอะไรต้องมองรอบด้าน ทุกครั้งที่พลอยทำงานจะนำหลักการต่างๆที่พ่อสอนมาใช้กับงานประจำวันเสมอ โดยเฉพาะ ความรอบคอบ ยิ่งเราได้รับมอบหมายให้ทำงานที่ต้องใช้ความรับผิดชอบมากๆ เราต้องละเอียด หากสามารถลงไปคุยงานกับฝ่ายวิศวกรรมได้ หรือแม้กระทั่งเดินตรวจโรงงานทุกวัน เราก็ต้องทำ พลอยโชคดีตรงที่มีพนักงานทุกฝ่ายให้ความช่วยเหลือ"
ถามว่า “แรงกดดัน” เกิดจากความคาดหวังของพ่อหรือไม่ ? เธอบอกว่า "พ่อไม่เคยกดดัน แต่จะค่อยๆให้เรียนรู้ไปเรื่อยๆ บางครั้งพ่อจะบอกว่า “ส่งรายงานมาดูสิ” เวลาส่งงานกลับมา ท่านมีติบ้างให้แก้ไขบ้างเป็นบางครั้ง พ่อจะคอยแนะนำว่า ตรงนี้มันใช้ไม่ได้นะสิ่งที่ถู
“ออมเงิน” สูตรพ่อรวยสอนลูก “พลอย-พีช ตันธนสิน”
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ศศิกาญจน์ ตันธนสิน
พลิกตำรา “พ่อสอนออม” ของสองพี่น้อง “พลอย-ศศิกาญจน์” & “พีช-พัชรพงศ์” ทายาทของ “พูลพิพัฒน์ ตันธนสิน” เจ้าของ คิวทีซี เอนเนอร์ยี่
“ถึงเวลาเรียนรู้งานแล้ว” 1 สัปดาห์ หลังสิ้นคำสั่งของผู้เป็นพ่อ “พูลพิพัฒน์ ตันธนสิน” ผู้ก่อตั้ง “คิวทีซี เอนเนอร์ยี่”(QTC) ที่ต่อสายตรงข้ามทวีปถึง “ลูกสาวคนโตวัย 27 ปี” จากจำนวนพี่น้อง 2 คน “พลอย” ศศิกาญจน์ ตันธนสิน ในฐานะผู้ถือหุ้น QTC อันดับ 1 จำนวน 45 ล้านหุ้น คิดเป็น 22.50% (ตัวเลข ณ วันที่ 11 มี.ค.56) ก็รีบจัดแจงโทรจองตั๋วเครื่องบิน เหินฟ้าจากประเทศออสเตรียกลับเมืองไทยทันที
เธอรู้ดีอยู่แก่ใจ สิ่งที่รออยู่ข้างหน้า “ไม่หมู” เอาซะเลย แต่ “สาวอารมณ์ดี ช่างเจรจา” ก็ยินยอมถอด “เสื้อเชฟ” มาช่วยพ่อทำงานด้วยความเต็มใจ หลังเรียนจบการทำอาหารมาหมาดๆชนิดยังไม่ได้ลองวิชาที่ Certificate lll in Hospitality Commercial Cookery at Carrick Education, Australia
ในแวดวงหม้อแปลงไฟฟ้า “พูลพิพัฒน์ ตันธนสิน” ถือเป็นบุคคลหนึ่งที่มีความเชี่ยวชาญ เพราะทันทีที่เขาเรียนจบวิศวกรรมไฟฟ้า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รุ่น วศ.2515) “ชีวิตมุนษย์เงินเดือน” ก็เริ่มต้นขึ้นทันทีในตำแหน่งวิศวกรโรงงานผลิตหม้อแปลงไฟฟ้า บริษัท ศิริวัฒน์ (2515) จำกัด ก่อนจะลาออกมาร่วมก่อตั้งบริษัท เอกรัฐวิศกรรม จำกัด ในปี 2524 ช่วงนั้นเขาประสบความสำเร็จในการจำหน่ายหม้อแปลงไฟฟ้าไทยในตลาดอาเซียน แถมยังเป็นผู้ผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าขนาดใหญ่จนเป็นที่ยอมรับของต่างชาติ
“เพิ่งกลับมาเมืองไทยช่วงเดือนพ.ย.2555 พ่อให้เข้ามาเริ่มทำงานในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจในเดือนก.พ.2556 ยังไม่รู้พ่อจะขยับตำแหน่งให้ตอนไหน ท่านบอกเพียงว่าเรียนรู้งานไปเรื่อยๆก่อน ตอนนี้พ่อรับหน้าที่เป็นเทรนเนอร์ คอยสอนระบบการทำงานทุกอย่าง “พลอย” ศศิกาญจน์ ตันธนสิน ควงน้องชายวัย 26 ปี “พีช” พัชรพงศ์ ตันธนสิน ผู้ถือหุ้นอันดับ 2 จำนวน 45 ล้านหุ้น คิดเป็น 22.50% มาเล่าถึง “คำสอนของพ่อ” ให้ “กรุงเทพธุรกิจ Biz Week” ฟัง
“สาวพลอย” เริ่มต้นพรีเซนต์การศึกษาให้ฟังก่อนว่า หลังเรียนจบมัธยมศึกษาตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ก็เรียนต่อปริญญาตรี คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม สาขาภาษาอังกฤษเฉพาะกิจ จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
จากนั้นก็ไปต่อปริญญาโท 2 ใบ ในสาขา Master of International Business, Queensland University of Technology, Australia และสาขา Master of Marketing, Griffith University ,Australia หลังจบการศึกษาพลอยและน้องพีช ก็ขอคุณพ่อไปเรียนทำอาหารต่ออีก 1 ปี ที่ Certificate lll in Hospitality Commercial Cookery at Carrick Education, Australia พลอยและน้อง รักการทำอาหารมาก (ลากเสียงยาว)
“พีช-พัชรพงศ์” แทรกขึ้นว่า เขาเพิ่งจบปริญญาตรี Bachelor of Design major in visual communication design, Griffith University, Brisbane, Australia ตอนนี้กำลังเตรียมตัวศึกษาต่อปริญญาโทในเมืองประเทศไทย ถามว่าทำไมไม่เรียนต่อปริญญาโทที่โน่น พีชตอบว่า "บังเอิญผมติดพี่สาว (หัวเราะ) พอพี่พลอยเรียนจบ ขอพ่อบินกลับมาเรียนต่อในเมืองไทย ระหว่างรอเรียนต่อ คุณพ่อจะหนีบผมไปตีกอล์ฟด้วยเป็นประจำ ท่านอยากไปรู้จักเพื่อนนักธุรกิจของท่าน ถือเป็นการสร้างคอนเน็กชั่นทางหนึ่ง (ยิ้ม)"
ก่อนจะพูดถึง “แรงกดดัน” ถึงการทำงานใน QTC “พลอย-พีช” เล่าถึงคำสอนของพ่อว่า ตอนเด็กๆพ่อจะสอนให้รู้จักการ “ออมเงิน” ถ้าวันนั้นท่านไม่สอนเรื่องนี้ วันนี้พลอยและน้องอาจไม่อินกับการออมเงิน ด้วยการลงทุนในตลาดหุ้นก็เป็นได้
"คุณพ่อจะซื้อกระปุกออมสินรูปลายสวยๆให้พลอยหยอดเงินทุกวัน เมื่อเงินเต็มกระปุกก็จะนำไปฝากธนาคารแบบออมทรัพย์ เวลามีเทศกาลพิเศษ เช่น วันตุรุษจีน และวันปีใหม่ พ่อจะให้เงินเพิ่ม พลอยก็จะนำไปฝากแบงก์"
จุดนั้น ทำให้วันนี้ “พลอย” กล้าที่จะลงทุนใน “ความเสี่ยง” ที่เพิ่มขึ้น เธอเล่า
“หนุ่มพีช” พูดแทรกขึ้นว่า... "คุณพ่อจะซื้อกระปุกออมรูปหุ่นยนต์ให้ผมหยอดเงินเหมือนกัน พ่อชอบชวนแข่งหยอดเงิน ใครหยอดเงินเต็มก่อนจะมีรางวัลพิเศษ มันเหมือนเป็นแรงกระตุ้นให้มุ่งมั่นออมเงิน เชื่อมั้ย!! ทุกเย็นผมจะเหลือเงินจากโรงเรียนมาหยอดกระปุกออมสินทุกวัน พอเงินเต็มก็จะนำไปฝากธนาคาร"
“มือใหม่หัดลงทุน” เล่าต่อว่า เริ่มต้นลงทุนในธุรกรรมที่มี “ความเสี่ยงต่ำ” ก่อนเป็นอันดับแรกๆ
"บังเอิญช่วงนั้นต้องไปทำธุรกรรมที่แบงก์บ่อยๆ เห็นเขาโฆษณาเรื่องกองทุน และฉลากออมสิน พลอยสนใจเลยซื้อลงทุน เมื่อเรียนมหาวิทยาลัย เริ่มรู้สึกว่า เราสามารถรับ “ความเสี่ยงสูง” ได้แล้ว จึงตัดสินใจไปเปิดพอร์ตลงทุน ตอนนั้นก็ปรึกษาคุณแม่ ท่านก็เห็นดีด้วยนะ"
เธอยังเล่าว่า ตอนนั้นนำเงินเก็บมาเปิดพอร์ตลงทุน (ไม่ยอมบอกเงินตั้งต้น) จำได้ว่าเปิดพอร์ตก่อนเดินทางไปเรียนต่อต่างประเทศ เน้นลงทุนหุ้นบูลชิพในหุ้นธนาคาร 2 ตัว จำไม่ได้จริงๆว่าซื้อหุ้นตัวไหน ตอนนั้นลงทุนไม่เยอะ ได้กำไรนิดหน่อย ช่วงนั้นตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้น (ไม่ยอมเผยตัวเลขกำไร)
ถามว่าวันนี้มีหุ้นในพอร์ตกี่ตัว? เธอยิ้มก่อนตอบว่า ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มธนาคาร เช่น หุ้น ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) หุ้น ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) และหุ้นธนาคารกรุงไทย (KTB) ตอนเข้าไปลงทุนแรกๆ นับว่า “โชคดี” เพราะเข้าไปซื้อช่วงราคาหุ้นไม่แพง
"วันนี้บอกเสียงดังๆ เลยว่า ชอบ หุ้นปันผล เพราะมีสัดส่วนมากถึง 70% ส่วนใหญ่เน้นลงทุนระยะยาว อีก 30% ที่เหลือจะเป็นการลงทุนระยะสั้น มูลค่าพอร์ตลงทุนวันนี้ยังต่ำเพียง แค่หลัก “ล้านบาท” เท่านั้น" พลอย เล่า
นอกจากลงทุนในตลาดหุ้นแล้วยังซื้อลงทุน 3 กองทุน การออมแบบหยอดกระปุกออมสิน ทุกวันนี้ก็ยังทำอยู่ (ยิ้ม) แต่วัตถุประสงค์ในการออมเปลี่ยนไป เมื่อใดที่เงินในกระปุกเต็มแล้วกะจะนำไปซื้ออาหารบริจาคสุนัข และซื้ออาหารกลางวันบริจาคเด็กๆ
ถามถึงกลยุทธ์การลงทุน? เจ้าตัวบอกว่า ไม่มีอะไรพิเศษไปกว่านักลงทุนรายอื่นๆ โดยจะเน้นดูพื้นฐานเป็นหลัก พิจารณาจากธุรกิจเป็นหลักดูว่าแนวโน้มดีหรือไม่ ที่ผ่านมาลงทุนไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วย เพราะมีข้อจำกัดเรื่องเวลาและข้อมูล ตอนนั้นยังเรียนอยู่ต่างประเทศ ข้อมูลก็รู้ไม่มาก ส่วนใหญ่จะอาศัยถามเพื่อนๆ ที่เล่นหุ้น (หัวเราะ) บางครั้งก็โทรถามคุณพ่อว่า “บริษัทนี้ดีหรือเปล่า” ควรซื้อลงทุนดีมั้ย!!
ลงทุนในตลาดหุ้นไปได้สักพัก เริ่มหันมาใส่ใจในงบการเงินมากขึ้น เรียกว่าลงลึกในแง่ของรายได้และกำไร ส่วนใหญ่จะดูผลประกอบการย้อนหลัง 3-5 ปี พวกเส้นเทคนิคดูบ้างเหมือนกัน พอดีช่วงนั้นเรียนเกี่ยวไฟแนนซ์พอดี ทำให้นำมาประกอบการตัดสินใจลงทุน เธอเล่าออกรส
นั่งฟัง “พี่สาว” ร่ายเรื่องหุ้นมาสักพักใหญ่ “พีช”-พัชรพงศ์” แทรกขึ้นว่า .. "ผมก็นิยมออมเงินด้วยการลงทุนในตลาดหุ้นเหมือนพี่พลอย ตอนนี้พอร์ตลงทุนมีมูลค่าแค่หลักล้านบาทเท่านั้น ผมชอบกลุ่มโรงพยาบาล กลุ่มบริการ และกลุ่มพลังงานขนาดเล็ก เปิดพอร์ตลงทุนครั้งแรกสมัยเรียนอยู่ที่ออสเตรเลีย ตอนนั้นเพื่อนที่ทำงานเป็นมาร์เก็ตติ้ง เขาเชียร์ให้เปิดพอร์ต"
สำหรับกลยุทธ์การลงทุนของหนุ่มพีช รักที่จะถือยาว โดยจะพิจารณาพื้นฐานของธุรกิจ และผลประกอบการเป็นหลัก ยิ่งเรื่องการลงทุนในอนาคตของบริษัทที่หมายตา จะไม่พลาดที่จะนำมาประกอบการตัดสินใจ ตอนนี้ในพอร์ตลงทุนมีหุ้น กรุงเทพดุสิตเวชการ (BGH) คิดเป็น 40% ของพอร์ตลงทุน ที่เหลือจะเป็นหุ้น ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ (UAC) และหุ้น คิวทีซี เอนเนอร์ยี่ (QTC)
ทำไมชอบหุ้นโรงพยาบาล “หนุ่มพีช” ตอบว่า "ตอนเด็กๆเข้าโรงพยาบาลบ่อยมาก ทำให้เห็นว่า วันๆหนึ่งมีคนไข้เข้ามาใช้บริการมากขึ้นทุกวัน โดยเฉพาะชาวต่างชาติที่มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ฉะนั้นอนาคตหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลจะต้องมีการเติบโตที่ดี ดังนั้นโรงพยาบาลจะต้องมีการขยายการลงทุนต่อไปเรื่อยๆ เพื่อรองรับการใช้บริการของคนไข้ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อนาคตหุ้นกลุ่มโรงพยาบาลดีแน่ (พูดด้วยความมั่นใจ)"
ใช้เวลาเล่าเรื่องการลงทุนสักพัก “พลอย” ก็เปลี่ยนมาพูดเรื่องการทำงานใน QTC ว่า "กลับมาเมืองไทยได้แค่ 2 เดือน พ่อเดินมาบอก ถึงเวลาต้องไปทำงานใน QTC จริงๆแล้วนะ แว๊บแรกรู้สึกได้ถึง ความกดดัน เพราะที่ผ่านมาเราไม่รู้เรื่องระบบการทำงานเลย แม้ว่าช่วงปิดเทอมจะเคยฝึกงานในบริษัทผลิตหม้อแปลงในประเทศมาเลเซียประมาณ 3 เดือนก็ตาม แต่มันไม่เหมือนกับการทำงานจริงๆที่ต้องมีความรับผิดชอบหลายๆอย่าง
“งานชิ้นแรก” เชื่อหรือไม่!!! คุณพ่อให้ดูแลโครงการระดับช้างเลย (หัวเราะ) ท่านยก โรงงานผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าในประเทศลาวให้พลอยดูแล ท่านบอกให้ไปเจรจากับพันธมิตรที่ประเทศลาว ตอนนี้พ่อเริ่มโอนงานอื่นๆให้ทำแล้ว ล่าสุดให้ไปดูแลเกี่ยวกับเรื่องเครื่องจักรที่จะนำมาใช้ในโรงงานในประเทศลาว พ่อบอกให้เจรจาซื้อเครื่องจักรกับประเทศจีน"
ในฐานะลูกสาวคนโต เธออยากเห็น QTC เติบโตสม่ำเสมอ แต่ต้องขยายตัวต่อปีเท่าไร "ขอเวลาเรียนรู้งานอีกสักพักแล้วจะกลับมาตอบใหม่!!"
เธอยังไม่ได้ลงลึกถึงรายละเอียดอื่นๆเกี่ยวกับโครงการผลิตหม้อแปลงไฟฟ้าประเทศลาว แต่ก่อนหน้านี้ "พูลพิพัฒน์ ตันธนสิน" เคยพูดว่า กลางปี 2556 จะสรุปพันธมิตรในโครงการดังกล่าว หากประสบความสำเร็จ QTC พร้อมขยายการลงทุนไปยังประเทศอื่นๆ ส่วนนักลงทุนรายใดที่มีความกังวลว่า QTC อาจปฏิบัติการณ์เพิ่มทุน บอกตรงนี้เลยว่า “ไม่” เพราะเรามีอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E) ต่ำเพียง 0.16 เท่า ฉะนั้นยังมีช่องว่างในการกู้ยืมอีกมาก
ส่วนโครงการร่วมลงทุนระหว่าง “ไฮโดรเท็ค” (HYDRO), “เอเชีย กรีน เอนเนอจี” (AGE) และ “ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์” (UAC) เพื่อร่วมกันทำโครงการโรงไฟฟ้าก๊าซชีวภาพขนาด 10 เมกะวัตต์ ในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ มูลค่าประมาณ 1,000 ล้านบาท แต่ละฝ่ายจะถือหุ้นในสัดส่วน 25% คาดว่าอีก 6 เดือนข้างหน้าทุกอย่างจะชัดเจน
“รายได้ปี 2556 “ทะลุ 1,000 ล้านบาท” แน่นอน หลังปรับกลยุทธ์ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ เน้นเจาะตลาดต่างประเทศ ด้วยการเพิ่มตัวแทนจำหน่ายในต่างประเทศ"
“สาวอารมณ์ดี” เล่ายังต่อว่า ทุกครั้งที่มีโอกาสอยู่ด้วยกัน พ่อมักเล่าบทเรียนต่างๆที่เคยผ่านมาให้ลูกๆฟัง "ท่านจะย้ำ เสมอว่า ห้ามประมาท จงจำประสบการณ์ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจต้มยำกุ้งในปี 2540 ให้ขึ้นใจ ฉะนั้นหากจะลงมือทำอะไรต้องมองรอบด้าน ทุกครั้งที่พลอยทำงานจะนำหลักการต่างๆที่พ่อสอนมาใช้กับงานประจำวันเสมอ โดยเฉพาะ ความรอบคอบ ยิ่งเราได้รับมอบหมายให้ทำงานที่ต้องใช้ความรับผิดชอบมากๆ เราต้องละเอียด หากสามารถลงไปคุยงานกับฝ่ายวิศวกรรมได้ หรือแม้กระทั่งเดินตรวจโรงงานทุกวัน เราก็ต้องทำ พลอยโชคดีตรงที่มีพนักงานทุกฝ่ายให้ความช่วยเหลือ"
ถามว่า “แรงกดดัน” เกิดจากความคาดหวังของพ่อหรือไม่ ? เธอบอกว่า "พ่อไม่เคยกดดัน แต่จะค่อยๆให้เรียนรู้ไปเรื่อยๆ บางครั้งพ่อจะบอกว่า “ส่งรายงานมาดูสิ” เวลาส่งงานกลับมา ท่านมีติบ้างให้แก้ไขบ้างเป็นบางครั้ง พ่อจะคอยแนะนำว่า ตรงนี้มันใช้ไม่ได้นะสิ่งที่ถู