[บทความผีแดง 2013-04-30] แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด = เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน

มีบางคนบอกว่า สตีฟ จ๊อบคือแอบเปิ้บ เซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสันคือแมนเชสเตอร์ยูไนเต็ด



หนึ่งในเหตุผลสำคัญที่แมนฯยูไนเต็ดคว้าแชมป์ 13 สมัยใน 20 ปีของพรีเมียร์ลีก คงไม่มีใครกล้าปฏิเสธว่า ไม่เป็นเพราะ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน  



แต่ทั้งหลายทั้งปวงนี้ต้องยอมรับว่ากลไกการบริหารจัดการของ แมนฯยูไนเต็ด นั้นเอื้อและสนับสนุนงานของเขาอย่างเต็มที่

นับครั้งได้ที่ ผจก. กับทีม (ผู้บริหาร) มีปัญหากัน ซึ่งแตกต่างจากแทบทุกทีม

มีเพียงอาร์เซน่อลเท่านั้นที่ อาร์แซน เวนเกอร์ ไม่มีปัญหากับฝ่ายบริหาร  ตรงกันข้ามยังเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน  นั่นย่อมทำให้งานของ ผจก. ปลอดโปร่ง  เพราะลำพังแค่คิดเรื่องแผนการเล่น, แก้ทางบอลคู่แข่ง จัดการปัญหาภายในทีมก็แย่แล้ว หากมารบรบกับบอร์ดบริหารอีก … นั่นเท่ากับแพ้ตั้งแต่ยังไม่ออกไปจากนอกบ้านแล้ว

การได้รับแรงหนุนที่ดีย่อมเกิดจากแนวคิดในการทำงานทีดีของเชา



… ผมว่าหลักการขชอง เซอร์อเล็กซ์ มาก่อนและถือว่าสำคัญ  คนเราจะทำงานให้ประสบความสำเร็จ ต้องยึดมั่นในหลักการแล้วเดินตามนั้น  ซึ่งข้อนี้ เราก็บอกไม่ได้เช่นกันนว่าหลักการของแต่ละคนของเขาใครจะไปถึงความสำเร็จงายกว่ากัน … แต่มันต้องมีและยึดมั่นให้ได้ตลอดเวลา

จากซีซั่น 1992-93 ที่คว้าแชมป์พรีเมียร์ลีก ตอนนั้น สยามสปอร์ตฯ ผลิตหนังสือเอ็กซ์ตร้าฉลองแชมป์ “ปีศาจแดง”  ออกมาจำหน่าย โดย บก. ผู้รับผิดชอบปิดต้นฉบับคือ “อาบิ๊กจ๊ะ” สาธิต กรีกลุ  ผมจะบอกว่า กว่าครึ่งเล่มของเอ็กซ์ตร้าฉบับนั้น ผมเป็นผู้แปล

หนึ่งในเรื่องทีแปลแล้วได้ประโยชน์สำหรับตัวเองและคนทำงนทั่วไปมากที่สดคือเรื่อง “The Boss” ที่หมายถึง เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ตอนนั้นยังเป็นแค่ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน ยังไม่มีบรรดาศักดิ์ชั้นอัศวิน หรือ Knighhood ของราชวงส์เวสต์มินเซอร์

ผมเขียนเรื่องนี้อยู่บ้างในหลายๆ ครั้งที่ต้องอ้างถึงความสำเร็จของ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน

ยิ่งยุคสมัยปัจจุบัน ผม (คนเขียนคอลัมน์) ยิ่งต้องตอกย้ำวิธีทำงานของเฟอร์กี้  ตอนนี้ความสำเร็จของเกมฟุตบอลเป็นความสำเร็จแบบฟาสต์ฟู้ด อาหารจานด่วนเกินไป  ไม่ยอมเสียเวลาปรุงอาหารเพื่อรสชาติกลกล่อม  แน่นอนนั่นก็มีหลักการของกลุ่มคนที่คิดว่า “เงิน” ซื้อความสำเร็จได้

ขณะที่เซอร์อเล็กซ์ เองยอมรับว่ามั้นยากขึ้นสำหรับผกก. เพราะผู้บริหาร กระทั่งแฟนบอลเองมีความอดทนรอคอยความสำเร็จไม่ได้  ทุกอย่างต้องได้ทันที ทำทีมแล้วต้องชนะ ทำไมทีมอื่นยังทำได้

นี่ไงครับ .. คือเสน่ห์ของฟุตบอล



ขนาดใช้วิธีการเดียวกัน กลยุทธเดียวกัน แต่ความสำเร็จแตกต่างกัน นั่นเป็นเพราะอะไร  ข้อนี้แหล่ะที่น่าสนใจอย่างยิ่ง

บทความเรื่องเดอะบอส  ทำให้ผมรู้จักตัวตนของเซอร์ อเล็กซ์มากขึ้น  ผมเคยสัภาษณ์และติดตามการทำงานของเขาแบบใกล้ชิดที่สนามซ้อมเดิมของแมนฯยู คือ คลิฟฟ์ กรานด์ ทำห้ภาพที่เคยอ่านในหนังสือนั้นเด่นชัดยิ่งขึ้นว่า เขาเป็น เดอะ บอส จริงๆ

หลักการของเซอร์อเล็กซ์ ในการทำงานส่วนตัวคือ “วินัย”  เขามาถึงสนามซ้อมตั้งแต่ 06.30 น.  ทั้งที่นัดซ้อม 10.00 น.  เป็นคนตรงต่อเวลา มืออาชีพมาก เป๊ะทุกอย่าง ยึดมั่นกับความรับผิดชอบทั้งงานและเรื่องครอบครัว  โดยเฉพาะเรื่องที่บ้านนั้นนักข่าวอังกฤษนินทากันว่าท่านเซอร์อาจเก่งนอกบ้าน ทำทีมเก่ง แต่พออยู่บ้านแปลงร่างจากเสือเป็นแมวเหมียว เพราะ แคธี ศรีภรรยาคือผู้บัญชาการที่บ้านตัวจริง 555

อีกมุมหนึ่งที่น่าสนใจคือท่านเซอร์ชอบไปนั่งดูบอลระดับลีกภูมิภาค หรือ ลีกต่ำกว่าพรีเมียร์ลีก ถ้ามีโอกาส  ส่วนเรื่องไปซุ่มดูฟอร์มทีมคู่แข่งนั้น คือ งานหลักเลยหล่ะครับ  และเป็นหน้าที่ของ ผจก. ทุกคนอยู่แล้ว

นอกเหนือจากวินัยในการทำงานอย่งเคร่งครัดแล้ว มันยังส่งผ่านมาให้ลูกทีมของเขาตระหนักและรับรู้  ดังนั้นทีมของเขาจึงต้องเป็นทีมที่มีวินัย  ใครแกตแถวเมื่อไหร่เป็นเจอดี  ข้อนี้ เพราะนี่ไม่ใช่การวางกลยุทธ  การคุมทีมฟุตบอลคือการบิหารคนกว่าครึ่งร้อยชีวิต

สต๊าฟ, ทีมงาน, นักบอลตัวจริง ตัวสำรอง ถ้าคุมคนไม่ได้  ทีมบอลจะเล่นตามกลยุทธได้อย่างไร

ส่วนรายละเอียดปลีกย่อยที่เกิดขึ้นอย่างยุคแรกของการสร้างเด็กเยาวชนนั้น ท่านเซอร์เป็น “เด็กๆ ที่เชียร์แมนฯยู” จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษในยุคแรกๆ  จึงเห็นได้ว่า “เฟอร์กี้ เบ็บส์” ยุคแรกนั้นเชียร์แมนฯยู และก็ยกทีมเยาวชนขึ้นมาเป็นแกนในทีมชุดใหญ่



อีกประเด็นที่น่าศึกษาสำหรับโค้ชบอลทั่วโลกนั้น คือ … “คาแรกเตอร์” ของนักเตะ

เชื่อว่า ทุกคนพอมีทักษะในการเล่นบอลพื้นฐานอยู่แล้ว  แต่ “คาแรกเตอร์” สำคัญยิ่งในสนาม  “จิตใจ” ต้องมาก่อน  นักบอลต้องมีเลือดนักสู้ ไม่ยอมท้อทอย ท้อแท้ ตรงนี้ทำให้ทีมยกระดับการต่อสู้ขึ้นจากเดิมได้เยอะ และทำให้การปรับใช้กลยุทธ์เกิดผลเร็วและง่ายขึ้น

นักเตะแมฯยู ส่วนใหญ่มีเลือดนักสู้ เพราะท่านเซอร์เลือกนักเตะด้วยข้อนี้เป็นเหตุผลหลักๆ  ไม่ใช่สะเงาะสะแงะ เล่นบอลแบบโชว์ทักษะแต่ปอดแหก เจอความกดดันหน้าถอดสี จิตใจไม่นิ่ง สั่นไหวกับสถานการณ์ สุดท้ายก็ยอมแพ้

นักเตะแมนฯยู จึงไม่มีพวกปอดแหกครับ … มีความเป็นเลือดนักสู้เต็มเปี่ยม

แมนฯยู ชอบยิงประตูช่วงทดเวลา ก็มาจากแคแรคเตอร์แบบนี้ ไม่มีถอดใจยอมแพ้ใครง่ายๆ  แม้กระทั่งว่าวันนั้นวิธีการเล่นเป็นรอง แต่การมีเลือดนักสู้เข้ามาผสมผสาน เท่ากับยกระดับให้ทีมมีโอกาสลุ้นพบชัยชนะได้ และการมีเลือดนักสู้นั้นก็มีจากตัวตนของ เซอร์ อเล็กซ์ นั่นแหล่ะครับ  แพ้แบบเละเทะกี่ครั้งก็ยังลุยขึ้นมาได้ เพราะมันคือการพ่ายแพ้เพียงครั้งเดียว ครั้งต่อไปเราต้องกลับมาชนะ



ชัยชนะและแชมป์อยู่ได้นานและคงทน ความพ่ายแพ้กินเวลาแค่แวบเดีวก็หาย หากเรากลับมาชนะและได้แชมป์

มีอีกมากมาย … ในรายละเอียดการทำงานของเซอร์ อเล็กซ์ ในการทำงาน  อย่างเช่น ช่วงหลัง เลือดนักเตะละติดอเมริกา เพราะต้องการใช้ทักษะมาผสมผสานกับนักเตะอังกฤษ ซึ่งมีหัวใจเป็นนักต่อสู้ และเป็นการตอกย้ำคนอังกฤษ ซึ่งมีหัวใจเป็นนักต่อสู้ และเป็นการตอกย้ำให้สังคมอังกฤษเห็นว่า ท่ามกลางเงินยูโรสะพัดทวีป  การทุ่มซื้อสตาร์ต่างชาติเป็นเรื่องที่ทุกทีมทำ  แต่ท่านเซอร์กลับเลือกใช้นักเตะในสหราชอาณาจักรเป็นแกนของทีม

การทำงานของเซอร์อเล็กซ์จึงเปี่ยมด้วยหลักการที่สัมผัสและปฏิบิตให้เห็นจริงได้  ที่สำคัญ ต้องยึดมั่นไม่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย

วาทกรรมลูกหนังอาชีพที่ปฏิบัติเห็นจริงมักพูดกันอยู่เสมอว่า “ผลงานของทีมในสนามสะท้อนถึงผู้จัดการทีมคนนั้น”

ความยิ่งใหญ่ของแมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ดยุคนี้ก็คือตัวตนของ เซอร์ อเล็กซ์ เฟอร์กูสันนั่นแหล่ะครับ



credit : นสพ.สตาร์ซอคเกอร์  คอลัมน์ สนทนาภาษาลูกหนัง โดย แจ็คกี้ แฟนพันธ์แท้ลิเวอร์พูล และเซอร์อเล็กซ์ เฟอร์กูสัน
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่