การบีบแตร ในเมืองไทย คุณๆเข้าใจในความหมายใด

กระทู้สนทนา
เชื่อหลายๆคน เวลาถูกบีบแตร จากข้างหลัง
คงจะรู้สึกหงุดหงิด โมโห หรือเสียหน้า เกิดความไม่พอใจกับคนที่บีบแตรใส่  
ถึงขั้นบางครั้งอาจจะมีการบีบแตรคืนตอบโต้กันไปมา  และสุดท้ายลงด้วยการทะเลาะวิวาท

ผมเองเคย ถูกบีบแตรใส่

แต่การบีบแตรใส่ จะให้ผมรู้สึก 2 กรณี
กรณีแรก ถ้าบีบแตรใส่ผม ในกรณี ผมผิดหรือขวางเส้นทางเขาจริงๆ ผมจะรู้สึกผิด แล้วเปิดกระจก พยักหน้าขอโทษ
หรือบางครั้ง ผมหลงขับข้ามเลน เข้าไปในเลนอื่น โดยลืมเปิดไฟเลี้ยว ก็จะถูกบีบแตรเตือนให้ระวัง ผมก็จะรู้สึกผิด  ยอมหลบให้เขาไปก่อนแล้วค่อยตามหลังเขาไป

แต่อีกกรณี พวกที่บีบแตรพร่ำเพื่อ ถ้าพูดอีกอย่าง คือ (เราอุทาน) "พวกจะรีบไปตายที่ไหน"
คนพวกนี้ เห็นใครขวางทางไม่ได้ บีบแตรไปหมด ทั้งๆมาหลังเราอยู่หลังเรา บางครั้งอยู่ซ้ายหรือกลาง ขวาว่าง กลับไม่แซงไป มาบีบแตรไล่เรา ให้หลบให้  
หรือบางครั้ง อยู่ขวา แต่รถหน้าก็ติดแถวยาว ยังมาบีบแตรไล่ขอทางอีก แต่กลับไม่ดูสภาพจราจรจรเลยว่าตอนนั้น สถานะการณ์เป็นเช่นไร
และพวกที่ชอบเบียดเข้าทางร่วม หรือเวลาจะขึ้นสะพานหรือทางแยกร่วม พวกชอบมาลักไก่ แล้วมาบีบแตร ให้เราหลบให้ พวกนี่น่ารำคาน
(โดยปกติ ถ้าเจอแบบนี้ผมจะไม่หลบครับ ถ้าผมมาในทางที่ถูก ก็จะยอมเบียดให้มันเลย )


เชื่อว่าคนไทยส่วนใหญ่ เข้าใจความหมายการใช้แตร ผิดกันในทางเจตนา

บางคน บีบแตร เพื่อ ด่า เพื่อ ตอบโต้กัน เพื่อระบายอารมณ์

แต่ความจริงแล้ว แตรรถ นั้น ใช้เพื่อ บีบ ขอทางยามเร่งรีบขับขัน หรือ เตือนอีกฝ่ายให้ระวัง การขับรถบนท้องถนน ใช่หรือไม่

แล้วในรัชดา เพื่อนๆ บีบแตรกัน ในลักษณะใดบ้าง

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่