สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
- พระองค์เจ้าวัลภาเทวี ทรงถอนหมั้นโดยสาเหตุเส้นประสาทไม่ปรกติ ยังพระราชทาน
โซ่ทองไปเกาะไม่ให้ออกจากพระราชวัง (อันนี้ยิ่งสงสัยคืออะไร)
เรื่องพระราชทานโซ่ทองไปเกาะให้ออกจากพระราชวัง เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกัน เพราะเสด็จพระองค์วัลลภาเทวีมิได้ถุฏจำสนมเช่นเจ้านายที่ต้องรับพระราชอาญา เพียงแต่เมื่อทรงเลิกการพระราชพิธีหมั้นแล้ว โปรดให้เสนาบดีกระทรวงวังเชิญไปประทับที่พระตำหนักใหญ่องค์หนึ่งในพระบรมมหาราชวัง และได้ประทับอยู่ในพระราชฐานชั้นในจนสิ้นรัชกาลที่ ๖ ต่อมารัชกาลที่ ๗ โปรดให้จัดตำหนักที่ประทับพระราชทานที่มุมถนนพิชัยตัดกับถนนสุโขทัยให้เป็นที่ประทับจนสิ้นพระชนม์ ตำหนักนี้ประทานชื่อว่า "พระกรุณานิวาสน์" ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสภาสตรีไทย
- พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ
เมื่อทรงถอนหมั้นจากพระองค์วัลลภาเทวีแล้ว ล้นเกล้าฯ ทรงหมั้นกับพระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ เป็นการทรงหมั้นเงียบๆ ไม่มีประกาศเป็นทางราชการ แต่เพียง ๖ เดือนก็ทรงเลิกรากัน หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงเล่าว่า ที่ทรงหมั้นนั้นเป็นเพราะทรงประชดพระองค์วัลลภาเทวี จึงทรงเลิกรากันไปในเร็ววัน แต่ก๋ไม่มีการถอนหมั้น จนทรงราชาภิเษกสมรสกับพระสุจริตสุดาแล้ว จึงทรงถามว่า จะทรงเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารับพระราชทานเงินเลี้ยงชีพเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท หรือจะเป็นพระนางเธอ จะได้รับพระราชทานเงินปีในฐานะพระมเหสีๆ ปีละ ๒๐,๐๐๐ บาท ทรงปรึกษากรมหมื่นนราธิพงศ์ประพันธ์พระเชษฐาต่างมารดาแล้ว ทรงเลือกเป็นพระนางเธอ แล้วโปรดให้เสด็จไปประทับที่พระราชวังดุสิต
- พระสุจริตสุดา
เป็นผู้ทรงราชาภิเษกสมรสด้วยเป็นคนแรก และโปรดสถาปนาเป็นพระสนมเอก แต่ทรงอยู่ด้วยกันได้ไม่นาน คุณพระใหญ่ (พระสุจริตสุดา) ก็ถวายน้องสาว คือคุณประไพ สุจริตกุล เป็นบาทบริจาริกาอีกคน
- พระอินทรศักดิ์ศจี ท่านนี้ยิ่งหน้าเห็นใจท่าน ในพระราชพินัยกรรมของ ร.๖ สั่งห้าม
เมื่อคุณพระใหญ่ถวายน้องสาว และทรงราชาภิเษกด้วยคุณประไพ สุจริตกุล แล้ว โปรดสถาปนาเป็นพระอินทราณี ในช่วงเวลานี้หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงกล่าวว่า เมื่อทรงราชาภิเษกกับพระอินทราณีแล้ว เวลานั้นเวลาเสด็จออกงาน ก็จะโปรดให้พระนางเธอลักษมีลาวัณประทับคู่ ส่วนพระสนมทั้งสองนั้นนั่งด้านหลัง แต่เวลาประทับที่ฝ่ายใน ล้นเกล้าฯ จะเสด็จไปประทับกับพระอินทราณีเพียงองค์เดียว สุดท้ายเมื่อพระอินทราณีเริ่มมีครรภ์ จึงโปรดสถาปนาเป็นพระวรราชชายา พระนางเธอลักษมีลาวัฯจึงแยกไปประทับลำพังพระองค์ จากนั้นโปรดสถาปนาพระวรราชชายาขึ้นเป็นพระบรมราชินี ด้วยทรงหวังว่าจะมีพระราชกุมาร แต่พระราชินีก็ตกพระครรภ์ (แท้ง) เสียหลายครั้ง การจึงมิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์ แล้วต่อมามีเรื่องที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวันในวันเฉลิมพระชนม์พรรษาพระราชินี จึงทรงแยกกันอยู่กับพระราชินีมาแต่บัดนั้น เมื่อสมเด็จฯ เสด็จกลับกรุงเทพฯ ก็คงประทับที่พระราชวังพญาไทมาจนปลายรัชกาลจึงโปรดให้เชิญเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งวิมานเมฆ เมื่อสวรรคตแล้วได้เสด็จกลับไปประทับที่ตำหนักเดิมที่ปากคลองภาษีเจริญ
- พระนางเจ้าสุวัทนา มีพระประสูติกาล สมเด็จฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์
เรื่องของล้นเกล้าฯ กับพระนางเจ้าสุวัทนา เริ่มมาจากทรงละครที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และเมื่อทรงแยกกับพระบรมราชินีแล้ว ต่อมาจึงทรงราชาภิเษกสมรสกับคุณเครือแก้ว อภัยวงศ์ ที่โปรดสถาปนาเป็นเจ้าจอมสุวัทนา พระสนมเอก และเมื่อเจ้าจอมสุวัทนามีครรภ์แก่ก็โปรดสถาปนาเป็นพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เพื่อผดุงพระอิสริยยศพระราชกุมารที่จะมีพระปรสูติกาลในเวลาต่อมา ซึ่งจะได้ประสูติเป็นเจ้าฟ้า และก่อนจะเสด็จสวรรคตไม่นานก็โปรดให้ออกพระนามสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี เป็น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระวรราชชายา และที่ทรงห้ามนำพระอัฐของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีมาไว้คู่กับพระบรมอัฐของพระองค์นั้น ก็ด้วยมีพระบรมราชโองการสั่งให้เชิญพระอัฐิพระนางเจ้าสุวัทนามาตั้งแทน คงจะเป็นเพราะมีพราชดำริว่าถ้าทรงมีพระราชกุมารก็คงจะโปรดสถาปนาพระนางเจ้าสุวัทนาเป็นพระบรมราชินีต่อไป
ส่วนคำถามที่ว่า "การจะกลับไปใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไปก็คงจะลำบาก" นั้น
เป็นธรรมเนียมในพระราชสำนักว่า หากสตรีใดถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายในแล้ว ก็จะเป็น "คนของหลวง" ไปตลอดชีวิต ยิ่งถ้าเป็นพระมเหสี พระสนมหรือเจ้าจอม หรือพระคู่หมั้นก็จะต้องดำรงเกียรติยศนั้นไปจนตลอดชีวิต
แต่กรณีคุณพนักงานที่เป็นคนหลวง หากจะสมรสกับชายใด ชายนั้นต้องขอพระราชทานหญิงนั้นไปสมรส เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วจึงจะสมรสด้วยได้ หากมิได้สมรสก็ต้องใช้ชีวิตอยู่ในพระบรมมหาราชวังไปตลอดชีวิต
โซ่ทองไปเกาะไม่ให้ออกจากพระราชวัง (อันนี้ยิ่งสงสัยคืออะไร)
เรื่องพระราชทานโซ่ทองไปเกาะให้ออกจากพระราชวัง เป็นเรื่องที่เข้าใจผิดกัน เพราะเสด็จพระองค์วัลลภาเทวีมิได้ถุฏจำสนมเช่นเจ้านายที่ต้องรับพระราชอาญา เพียงแต่เมื่อทรงเลิกการพระราชพิธีหมั้นแล้ว โปรดให้เสนาบดีกระทรวงวังเชิญไปประทับที่พระตำหนักใหญ่องค์หนึ่งในพระบรมมหาราชวัง และได้ประทับอยู่ในพระราชฐานชั้นในจนสิ้นรัชกาลที่ ๖ ต่อมารัชกาลที่ ๗ โปรดให้จัดตำหนักที่ประทับพระราชทานที่มุมถนนพิชัยตัดกับถนนสุโขทัยให้เป็นที่ประทับจนสิ้นพระชนม์ ตำหนักนี้ประทานชื่อว่า "พระกรุณานิวาสน์" ปัจจุบันเป็นที่ตั้งสภาสตรีไทย
- พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ
เมื่อทรงถอนหมั้นจากพระองค์วัลลภาเทวีแล้ว ล้นเกล้าฯ ทรงหมั้นกับพระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ เป็นการทรงหมั้นเงียบๆ ไม่มีประกาศเป็นทางราชการ แต่เพียง ๖ เดือนก็ทรงเลิกรากัน หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงเล่าว่า ที่ทรงหมั้นนั้นเป็นเพราะทรงประชดพระองค์วัลลภาเทวี จึงทรงเลิกรากันไปในเร็ววัน แต่ก๋ไม่มีการถอนหมั้น จนทรงราชาภิเษกสมรสกับพระสุจริตสุดาแล้ว จึงทรงถามว่า จะทรงเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารับพระราชทานเงินเลี้ยงชีพเดือนละ ๑,๐๐๐ บาท หรือจะเป็นพระนางเธอ จะได้รับพระราชทานเงินปีในฐานะพระมเหสีๆ ปีละ ๒๐,๐๐๐ บาท ทรงปรึกษากรมหมื่นนราธิพงศ์ประพันธ์พระเชษฐาต่างมารดาแล้ว ทรงเลือกเป็นพระนางเธอ แล้วโปรดให้เสด็จไปประทับที่พระราชวังดุสิต
- พระสุจริตสุดา
เป็นผู้ทรงราชาภิเษกสมรสด้วยเป็นคนแรก และโปรดสถาปนาเป็นพระสนมเอก แต่ทรงอยู่ด้วยกันได้ไม่นาน คุณพระใหญ่ (พระสุจริตสุดา) ก็ถวายน้องสาว คือคุณประไพ สุจริตกุล เป็นบาทบริจาริกาอีกคน
- พระอินทรศักดิ์ศจี ท่านนี้ยิ่งหน้าเห็นใจท่าน ในพระราชพินัยกรรมของ ร.๖ สั่งห้าม
เมื่อคุณพระใหญ่ถวายน้องสาว และทรงราชาภิเษกด้วยคุณประไพ สุจริตกุล แล้ว โปรดสถาปนาเป็นพระอินทราณี ในช่วงเวลานี้หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล ทรงกล่าวว่า เมื่อทรงราชาภิเษกกับพระอินทราณีแล้ว เวลานั้นเวลาเสด็จออกงาน ก็จะโปรดให้พระนางเธอลักษมีลาวัณประทับคู่ ส่วนพระสนมทั้งสองนั้นนั่งด้านหลัง แต่เวลาประทับที่ฝ่ายใน ล้นเกล้าฯ จะเสด็จไปประทับกับพระอินทราณีเพียงองค์เดียว สุดท้ายเมื่อพระอินทราณีเริ่มมีครรภ์ จึงโปรดสถาปนาเป็นพระวรราชชายา พระนางเธอลักษมีลาวัฯจึงแยกไปประทับลำพังพระองค์ จากนั้นโปรดสถาปนาพระวรราชชายาขึ้นเป็นพระบรมราชินี ด้วยทรงหวังว่าจะมีพระราชกุมาร แต่พระราชินีก็ตกพระครรภ์ (แท้ง) เสียหลายครั้ง การจึงมิได้เป็นไปตามพระราชประสงค์ แล้วต่อมามีเรื่องที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวันในวันเฉลิมพระชนม์พรรษาพระราชินี จึงทรงแยกกันอยู่กับพระราชินีมาแต่บัดนั้น เมื่อสมเด็จฯ เสด็จกลับกรุงเทพฯ ก็คงประทับที่พระราชวังพญาไทมาจนปลายรัชกาลจึงโปรดให้เชิญเสด็จไปประทับที่พระที่นั่งวิมานเมฆ เมื่อสวรรคตแล้วได้เสด็จกลับไปประทับที่ตำหนักเดิมที่ปากคลองภาษีเจริญ
- พระนางเจ้าสุวัทนา มีพระประสูติกาล สมเด็จฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์
เรื่องของล้นเกล้าฯ กับพระนางเจ้าสุวัทนา เริ่มมาจากทรงละครที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน และเมื่อทรงแยกกับพระบรมราชินีแล้ว ต่อมาจึงทรงราชาภิเษกสมรสกับคุณเครือแก้ว อภัยวงศ์ ที่โปรดสถาปนาเป็นเจ้าจอมสุวัทนา พระสนมเอก และเมื่อเจ้าจอมสุวัทนามีครรภ์แก่ก็โปรดสถาปนาเป็นพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เพื่อผดุงพระอิสริยยศพระราชกุมารที่จะมีพระปรสูติกาลในเวลาต่อมา ซึ่งจะได้ประสูติเป็นเจ้าฟ้า และก่อนจะเสด็จสวรรคตไม่นานก็โปรดให้ออกพระนามสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี เป็น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระวรราชชายา และที่ทรงห้ามนำพระอัฐของสมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจีมาไว้คู่กับพระบรมอัฐของพระองค์นั้น ก็ด้วยมีพระบรมราชโองการสั่งให้เชิญพระอัฐิพระนางเจ้าสุวัทนามาตั้งแทน คงจะเป็นเพราะมีพราชดำริว่าถ้าทรงมีพระราชกุมารก็คงจะโปรดสถาปนาพระนางเจ้าสุวัทนาเป็นพระบรมราชินีต่อไป
ส่วนคำถามที่ว่า "การจะกลับไปใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไปก็คงจะลำบาก" นั้น
เป็นธรรมเนียมในพระราชสำนักว่า หากสตรีใดถวายตัวเข้ารับราชการฝ่ายในแล้ว ก็จะเป็น "คนของหลวง" ไปตลอดชีวิต ยิ่งถ้าเป็นพระมเหสี พระสนมหรือเจ้าจอม หรือพระคู่หมั้นก็จะต้องดำรงเกียรติยศนั้นไปจนตลอดชีวิต
แต่กรณีคุณพนักงานที่เป็นคนหลวง หากจะสมรสกับชายใด ชายนั้นต้องขอพระราชทานหญิงนั้นไปสมรส เมื่อได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตแล้วจึงจะสมรสด้วยได้ หากมิได้สมรสก็ต้องใช้ชีวิตอยู่ในพระบรมมหาราชวังไปตลอดชีวิต
แสดงความคิดเห็น
อยากทราบข้อมูลเกี่ยวกับบรรดาพระคู่หมั้นของ ร.๖
เลยสงสัยว่าชีวิตหลังจากนั้นแล้ว พวกท่านเหล่านั้นมีบั้นปลายชีวิตความเป็นอยู่กันอย่างไรบ้าง
เพราะเป็นถึงอดีตพระคู่หมั้นกษัตริย์ จะกลับไปใช้ชีวิตเหมือนคนทั่วไปคงลำบากแน่ๆ
- พระองค์เจ้าวัลภาเทวี ทรงถอนหมั้นโดยสาเหตุเส้นประสาทไม่ปรกติ ยังพระราชทาน
โซ่ทองไปเกาะไม่ให้ออกจากพระราชวัง (อันนี้ยิ่งสงสัยคืออะไร)
- พระองค์เจ้าลักษมีลาวัณ
- พระสุจริตสุดา
- พระอินทรศักดิ์ศจี ท่านนี้ยิ่งหน้าเห็นใจท่าน ในพระราชพินัยกรรมของ ร.๖ สั่งห้าม
ไม่ให้นำพระอัฐของพระนางมาไว้คู่กับพระบรมอัฐของพระองค์
- พระนางเจ้าสุวัทนา มีพระประสูติกาล สมเด็จฯ เจ้าฟ้าเพชรรัตน์
การจะกลับไปใช้ชีวิตเหมือนคนปกติทั่วไปก็คงจะลำบาก