สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
มีคล้ายๆ ไป copy มาให้
การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ และเนื้อเยื่อภายหลังตาย
1. ตัวเย็นลง (Algor mortis)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หลังจากสัตว์ตาย อุณหภูมิร่างกายจะลดลง (Gradual cooling of the body after death) เนื่องจากเมตาบอลิสมในร่างกายหยุดไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงหลังจากสัตว์ตายจะช้าหรือเร็ว จะขึ้นกับอัตราการเย็นตัวลงในสัตว์ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
1.อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม ถ้าอุณหภูมิสูงจะไปเร่งขบวนการเน่าให้เกิดเร็วขึ้น การแช่แข็งซากสัตว์จะช่วยชะลอหรือยับยั้งการทำงานของ enzyme และการเจริญของแบคทีเรียได้
2.สภาพของสัตว์ก่อนตาย ถ้าอุณหภูมิสูงก่อนตายจะเน่าเร็ว
3.สภาพการทำงานของกล้ามเนื้อก่อนสัตว์ตาย ถ้าสัตว์ใช้กล้ามเนื้อมากก่อนตาย จะทำให้มี Lactic acid สะสมในเซลล์ทำให้เน่าเร็วขึ้น
4.ขนาดลำตัวของสัตว์ สัตว์ขนาดใหญ่ลำตัวหนาทำให้ความร้อนสะสมนานจึงเน่าเร็ว
5.ขนและหนัง สิ่งปกคลุม ถ้ามีขนหรือหนังหนาจะทำให้เกิดฉนวนกันความร้อนขึ้นมีผลทำให้ซากเน่าเร็วขึ้น
6.ความอ้วน ผอม สัตว์อ้วนมีไขมันมากทำให้สะสมความร้อนไว้ได้ดี จึงเกิดการเน่าได้เร็ว
7.การติดเชื้อ มีไข้ สัตว์ที่ตายเพราะการติดเชื้อ จะทำให้เกิดการเน่าเนื่องจากเชื้อนั้นได้เร็วกว่าการตายด้วยสาเหตุอื่นๆ
2. สภาพกล้ามเนื้อเกร็งหลังสัตว์ตาย (Rigor mortis)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้ซากสัตว์แข็งทื่อ (Stiffening of all muscles after death) กล้ามเนื้อที่เกร็งจะเกิดกับกล้ามเนื้อที่ทำงานมากๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจ เปลือกตา กล้ามเนื้อที่หาง จากนั้นจะเกิดที่กล้ามเนื้อหัว ขา แขน ลำตัว ซึ่งจะเกิดขึ้นภายใน 1-6 ชั่วโมงหลังตาย อาจกินเวลาประมาณ 1-2 วัน แต่โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 20-30 ชั่วโมงหรือจนตาย เนื่องจากขบวนการ autolysis การเกร็งของกล้ามเนื้อจะเกิดจากการสลาย ATP ในกล้ามเนื้อ สัตว์ที่ก่อนตายมีสภาพสมบูรณ์ และอยู่ที่เย็น อุณหภูมิต่ำ จะเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อช้า รวมถึงสัตว์ที่มีภาวะโภชนาการดี ส่วนในสัตว์ที่ผอมโซขาดอาหารจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งเร็วกว่า
3. การเกิดสีสันหลังตาย(Post mortem staining หรือ Discoloration)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หลังจากสัตว์ตาย เม็ดเลือดแดงจะแตก (hemolysis) ทำให้ฮีโมโกลบิน (Hb) มีสีแดงคล้ำติดอยู่ที่ผนังหลอดเลือดทั่วไป และการเจริญของแบคทีเรีย ทำให้เกิดการเน่าและเกิดก๊าซไข่เน่า (H2S) ขึ้น โดยเฉพาะตรงบริเวณลำไส้หรือบริเวณที่ติดกับลำไส้ H2S จะรวมตัวกับ Hb ซึ่งมีเหล็กเป็นองค์ประกอบ จึงได้สารประกอบสีดำของเหล็กซัลไฟด (Fe2S) บริเวณดังกล่าว จึงมีสีดำ หรือเขียวปนแดง (blue green and purple) สภาพสีที่เกิดขึ้นเรียก การเกิดรงควัตถุเมลานินเทียม (Pseudomelanosis) นอกจากนี้ยังอาจพบ Red or red clear edema fluid ใต้ผิวหนังซึ่งอาจพบได้ในโรค Black leg, Malignant edema เป็นผลจากการสร้าง gas และเกิด hemorrhage
4. ซากเปื่อยยุ่ยหลังตาย(Post mortem softening)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เกิดจากการเน่าเปื่อยเนื่องจากขบวนการทำงานของ proteolytic enzyme ในเซลล์ และเกิดจากแบคทีเรียทำให้เกิดสภาพเปื่อยยุ่ยของอวัยวะทั้งซากสัตว์ แบคทีเรียนี้ได้แก่พวก Normal floron และ Saphrophytic bacteria ของเนื้อเยื่อนั้นๆ เช่นในตับ ไต ตับอ่อน ซึ่งจะเน่าได้เร็วในวันที่มีอากาศร้อน และตับอ่อนจะเน่า เปื่อยยุ่ย ได้เร็ว เนื่องจากการทำงานของเอ็นไซม์ภายในตับอ่อนนั่นเอง การเปื่อยยุ่ยของซากและอวัยวะต้องแยกออกจากสภาพเนื้อเยื่อของสัตว์ก่อนตาย เช่น กระเพาะอาจยุ่ยและบาง หรือทะลุเป็นรู น้ำย่อยจากตับอ่อนจะย่อยไขมันที่อยู่โดยรอบ และผนังลำไส้จะพบการลอกหลุดจากเยื่อเมือก (mucosa)
5. การมีก๊าซสะสมอยู่ในกระเพาะและลำไส้ และการอยู่ผิดที่ของอวัยวะ (Distention or P.M. tympany and P,M. displacement)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้การมีก๊าซสะสมเนื่องจากเกิดการเน่า แล้วเกิดก๊าซไข่เน่า (H2S) ขึ้นในกระเพาะลำไส้ โดยเฉพาะใน กระเพาะ Rumen ของ Ruminant หรือในลำไส้ตัน (cecum) หรือลำไส้ใหญ่ (colon) ของม้า ทำให้เกิดแรงกดไปที่อวัยวะภายในช่องท้อง จึงอาจทำให้กระเพาะหรือกระบังลม (diaphragm) แตกได้ หรือ กล้ามเนื้อช่องท้องฉีก เกิดภาวะ hernia ได้ แรงดันที่เกิดขึ้นและกดอวัยวะข้างเคียง ทำให้สีอวัยวะนั้นซีด เนื่องจากเลือดเข้าไปในบริเวณกดทับได้น้อยลง ลำไส้ที่ขดไปมาและกดทับอวัยวะอื่นโดยเฉพาะตับจะทำให้มีเลือดซึมไปติดที่อวัยวะอื่นๆ และมีร่องรอยขอบเขตของการกดทับชัดเจน บางครั้งที่กล้ามเนื้อหัวใจจะพบพื้นที่ที่มีสีซีดเป็นบริเวณกว้าง เนื่องจากเกิดแรงกด และอาจพบในกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ เมื่อตัดดูหน้าตัดจะพบสีคล้ายการเกิดเนื้อตาย (necrosis) แต่จะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ในบริเวณนี้ อาจเป็นฟองอากาศภายในเนื้ออวัยวะ (Gas bubbles) ทำให้วินิจฉัยผิดพลาดได้
บางครั้งการมีก๊าซสะสมมากในอวัยวะทำให้เกิดการขยายตัวและเกิดการบิดหมุนของอวัยวะ เช่น ลำไส้บิดหมุน (volvulus) หรือเกิดลำไส้กลืนกันหรือไส้สวม (intussusception) หรือเกิดไส้เลื่อน (hernia) ซึ่งต้องวินิจฉัย หรือแยกออกจากลำไส้บิดหรือไส้สวมก่อนตาย (antemortem volvulus or intussusception) โดยดูจากปฏิกิริยาการอักเสบเป็นเกณฑ์
บางครั้งอวัยวะอยู่ผิดที่ ทำให้เกิดการฉีกหรือแตกของอวัยวะด้วย ทำให้มีรอยเลือดออกบริเวณขอบของรอยโรค เมื่อเกิดรอยโรคขึ้นก่อนตาย แต่ถ้าเกิดหลังตายจะไม่ปรากฎรอยเลือดออกแต่อย่างใด ในกรณี สุกร ม้า และโค ที่ตายอย่างรวดเร็วจากภาวะ shock เมื่อเกิด torsion บริเวณขั้ว (entire root of the mesentery) ของ mesentery การเปลี่ยนแปลงของสีจะเกิดเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ยังจะพบการลอกหลุดของ luminal mucosa ของลำไส้ และมีการสะสมเซล และเมือกในท่อลำไส้ด้วย ทำให้สับสนกับการอักเสบได้
6. การเปื้อนสีน้ำดี (P.M.bile imbibition)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ในอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับถุงน้ำดี จะติดสีเขียวเหลืองของน้ำดี เช่น ตับ กระเพาะอาหาร mesentery fat และลำไส้ นอกจากการเปื้อนสีน้ำดีแล้ว ยังเกิด P.M. hemoglobin imbibitioin เกิดการแพร่ผ่านของ Hb พร้อมๆ กับของเหลวจากเส้นเลือดหลังสัตว์ตายทำให้อวัยวะนั้นมีสีแดงเปื้อนสีของเลือด โดยเกิดจากก่อนที่จะเกิดเม็ดเลือดแดงแตก Hb จะถูกปล่อยเข้าสู่ blood plasma ขณะเดียวกับที่ผนังเส้นเลือดจะมีความสามารถปล่อยผ่านน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้ plasma มีสีแดงเรื่อๆ และซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อรอบๆ หรือแผ่กระจายไป (imbied) จึงเกิดสีแดงคล้ำ (Dark red) เป็นแนวยาว ตลอดหลอดเลือดขึ้น โดยเฉพาะใน Mesentery และ Omentum
7. เลือดคั่งในอวัยวะที่อยู่ส่วนต่ำ (Hypostotic congestion)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เกิดการคั่งในส่วนที่อยู่ด้านล่างตามแรงโน้มถ่วงของโลก เช่นสัตว์ที่นอนตะแคงด้านซ้ายตาย จะเกิดเลือดคั่งสีแดงคล้ำในปอด ตับ และ ไต ซีกซ้าย เป็นต้น
8. การแข็งตัวของเลือดหลังสัตว์ตาย(Post mortem clotting of blood)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หลังสัตว์ตายเซลล์บุผนังหลอดเลือดจะเสื่อม(degenerated endothelial cell or degenerated epithelial lining of vessels) จากภาวะขาดออกซิเจนทำให้เกิดการปล่อยสาร Thromboplastin ออกมา และเม็ดเลือดขาวที่สลายตัวจะปล่อย thromboplastin ออกมาเช่นเดียวกัน ทำให้ไฟบริโนเจนเปลี่ยนแปลงไปเป็นไพบริน ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดขึ้น
นอกจากการตายโดยภาวะ Septicemia และ Anoxic condition เลือดส่วนใหญ่จะจับกันเป็นก้อนใน Venous system หลังจากสัตว์ตายอย่างรวดเร็ว เนื่องจากขณะเกิด Rigor mortis นั้นเส้นเลือดแดงเกิดการหดตัว
ลักษณะที่เห็นด้วยตาเปล่า ก้อนเลือดจะมีสีแดงคล้ำ หรือเข้ม (dark-red) ผิวเรียบมันวาว (Smooth & shiny on outside) มีความนุ่มหยุ่น คล้าย jelly ไม่ยึดเกาะกับผนังเส้นเลือด เรียกว่า Current jelly clot ถ้าดูด้วยจุลทรรศน์จะพบการเรียงตัวของเม็ดเลือดในก้อนเลือดนั้น โดยพบ RBC อยู่ชั้นล่างสุด ต่อมาจะเป็น WBC และ protein ใน Plasma ได้แก่ fibrin และโปรตีนตกตะกอน ( precipitated protein ; albumin )ในชั้นต่างๆ จะคล้ายกับก้อน thrombus
ส่วนกรณีที่สัตว์เป็นโรคเรื้อรังตายอย่างช้าๆ การไหลของเลือดช้าลงก่อนสัตว์ตาย ทำให้เม็ดเลือดแดงตกตะกอนแยกชั้นลงมาอยู่ข้างล่างตามแรงโน้มถ่วงของโลกก่อน แต่จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และชั้นบนจะเป็นชั้นหนาของ plasma ซึ่งมีสีขาว เมื่อสัตว์ตายลงก้อนเลือดที่แข็งตัวจะเห็นเป็นชั้นสีขาวแดงแยกกันชัดเจน ลักษณะการแข็งตัวของเลือดแบบนี้เรียกว่า chicken fat clot ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับ postmortem autolysis ด้วย ขบวนการเกิด chicken fat clot และ current jelly clot จะคล้ายกัน แต่ chicken fat clot จะมีชั้นสีเหลืองของ plasma ชัดเจน ในสัตว์ที่ตายอย่างช้าๆ จึงมีโอกาสพบ current jelly clot และ chicken fat clot ได้
ที่มา http://vet.kku.ac.th/pathology/sutthisak/gp2.htm#การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ และเนื้อเยื่อภายหลังตาย (Postmortem changes)
การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ และเนื้อเยื่อภายหลังตาย
1. ตัวเย็นลง (Algor mortis)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หลังจากสัตว์ตาย อุณหภูมิร่างกายจะลดลง (Gradual cooling of the body after death) เนื่องจากเมตาบอลิสมในร่างกายหยุดไป ซึ่งการเปลี่ยนแปลงหลังจากสัตว์ตายจะช้าหรือเร็ว จะขึ้นกับอัตราการเย็นตัวลงในสัตว์ ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
1.อุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม ถ้าอุณหภูมิสูงจะไปเร่งขบวนการเน่าให้เกิดเร็วขึ้น การแช่แข็งซากสัตว์จะช่วยชะลอหรือยับยั้งการทำงานของ enzyme และการเจริญของแบคทีเรียได้
2.สภาพของสัตว์ก่อนตาย ถ้าอุณหภูมิสูงก่อนตายจะเน่าเร็ว
3.สภาพการทำงานของกล้ามเนื้อก่อนสัตว์ตาย ถ้าสัตว์ใช้กล้ามเนื้อมากก่อนตาย จะทำให้มี Lactic acid สะสมในเซลล์ทำให้เน่าเร็วขึ้น
4.ขนาดลำตัวของสัตว์ สัตว์ขนาดใหญ่ลำตัวหนาทำให้ความร้อนสะสมนานจึงเน่าเร็ว
5.ขนและหนัง สิ่งปกคลุม ถ้ามีขนหรือหนังหนาจะทำให้เกิดฉนวนกันความร้อนขึ้นมีผลทำให้ซากเน่าเร็วขึ้น
6.ความอ้วน ผอม สัตว์อ้วนมีไขมันมากทำให้สะสมความร้อนไว้ได้ดี จึงเกิดการเน่าได้เร็ว
7.การติดเชื้อ มีไข้ สัตว์ที่ตายเพราะการติดเชื้อ จะทำให้เกิดการเน่าเนื่องจากเชื้อนั้นได้เร็วกว่าการตายด้วยสาเหตุอื่นๆ
2. สภาพกล้ามเนื้อเกร็งหลังสัตว์ตาย (Rigor mortis)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เกิดจากการหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้ซากสัตว์แข็งทื่อ (Stiffening of all muscles after death) กล้ามเนื้อที่เกร็งจะเกิดกับกล้ามเนื้อที่ทำงานมากๆ ได้แก่ กล้ามเนื้อหัวใจ เปลือกตา กล้ามเนื้อที่หาง จากนั้นจะเกิดที่กล้ามเนื้อหัว ขา แขน ลำตัว ซึ่งจะเกิดขึ้นภายใน 1-6 ชั่วโมงหลังตาย อาจกินเวลาประมาณ 1-2 วัน แต่โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 20-30 ชั่วโมงหรือจนตาย เนื่องจากขบวนการ autolysis การเกร็งของกล้ามเนื้อจะเกิดจากการสลาย ATP ในกล้ามเนื้อ สัตว์ที่ก่อนตายมีสภาพสมบูรณ์ และอยู่ที่เย็น อุณหภูมิต่ำ จะเกิดการเกร็งของกล้ามเนื้อช้า รวมถึงสัตว์ที่มีภาวะโภชนาการดี ส่วนในสัตว์ที่ผอมโซขาดอาหารจะทำให้กล้ามเนื้อเกร็งเร็วกว่า
3. การเกิดสีสันหลังตาย(Post mortem staining หรือ Discoloration)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หลังจากสัตว์ตาย เม็ดเลือดแดงจะแตก (hemolysis) ทำให้ฮีโมโกลบิน (Hb) มีสีแดงคล้ำติดอยู่ที่ผนังหลอดเลือดทั่วไป และการเจริญของแบคทีเรีย ทำให้เกิดการเน่าและเกิดก๊าซไข่เน่า (H2S) ขึ้น โดยเฉพาะตรงบริเวณลำไส้หรือบริเวณที่ติดกับลำไส้ H2S จะรวมตัวกับ Hb ซึ่งมีเหล็กเป็นองค์ประกอบ จึงได้สารประกอบสีดำของเหล็กซัลไฟด (Fe2S) บริเวณดังกล่าว จึงมีสีดำ หรือเขียวปนแดง (blue green and purple) สภาพสีที่เกิดขึ้นเรียก การเกิดรงควัตถุเมลานินเทียม (Pseudomelanosis) นอกจากนี้ยังอาจพบ Red or red clear edema fluid ใต้ผิวหนังซึ่งอาจพบได้ในโรค Black leg, Malignant edema เป็นผลจากการสร้าง gas และเกิด hemorrhage
4. ซากเปื่อยยุ่ยหลังตาย(Post mortem softening)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เกิดจากการเน่าเปื่อยเนื่องจากขบวนการทำงานของ proteolytic enzyme ในเซลล์ และเกิดจากแบคทีเรียทำให้เกิดสภาพเปื่อยยุ่ยของอวัยวะทั้งซากสัตว์ แบคทีเรียนี้ได้แก่พวก Normal floron และ Saphrophytic bacteria ของเนื้อเยื่อนั้นๆ เช่นในตับ ไต ตับอ่อน ซึ่งจะเน่าได้เร็วในวันที่มีอากาศร้อน และตับอ่อนจะเน่า เปื่อยยุ่ย ได้เร็ว เนื่องจากการทำงานของเอ็นไซม์ภายในตับอ่อนนั่นเอง การเปื่อยยุ่ยของซากและอวัยวะต้องแยกออกจากสภาพเนื้อเยื่อของสัตว์ก่อนตาย เช่น กระเพาะอาจยุ่ยและบาง หรือทะลุเป็นรู น้ำย่อยจากตับอ่อนจะย่อยไขมันที่อยู่โดยรอบ และผนังลำไส้จะพบการลอกหลุดจากเยื่อเมือก (mucosa)
5. การมีก๊าซสะสมอยู่ในกระเพาะและลำไส้ และการอยู่ผิดที่ของอวัยวะ (Distention or P.M. tympany and P,M. displacement)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้การมีก๊าซสะสมเนื่องจากเกิดการเน่า แล้วเกิดก๊าซไข่เน่า (H2S) ขึ้นในกระเพาะลำไส้ โดยเฉพาะใน กระเพาะ Rumen ของ Ruminant หรือในลำไส้ตัน (cecum) หรือลำไส้ใหญ่ (colon) ของม้า ทำให้เกิดแรงกดไปที่อวัยวะภายในช่องท้อง จึงอาจทำให้กระเพาะหรือกระบังลม (diaphragm) แตกได้ หรือ กล้ามเนื้อช่องท้องฉีก เกิดภาวะ hernia ได้ แรงดันที่เกิดขึ้นและกดอวัยวะข้างเคียง ทำให้สีอวัยวะนั้นซีด เนื่องจากเลือดเข้าไปในบริเวณกดทับได้น้อยลง ลำไส้ที่ขดไปมาและกดทับอวัยวะอื่นโดยเฉพาะตับจะทำให้มีเลือดซึมไปติดที่อวัยวะอื่นๆ และมีร่องรอยขอบเขตของการกดทับชัดเจน บางครั้งที่กล้ามเนื้อหัวใจจะพบพื้นที่ที่มีสีซีดเป็นบริเวณกว้าง เนื่องจากเกิดแรงกด และอาจพบในกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ เมื่อตัดดูหน้าตัดจะพบสีคล้ายการเกิดเนื้อตาย (necrosis) แต่จะไม่มีรูปแบบที่แน่นอน ในบริเวณนี้ อาจเป็นฟองอากาศภายในเนื้ออวัยวะ (Gas bubbles) ทำให้วินิจฉัยผิดพลาดได้
บางครั้งการมีก๊าซสะสมมากในอวัยวะทำให้เกิดการขยายตัวและเกิดการบิดหมุนของอวัยวะ เช่น ลำไส้บิดหมุน (volvulus) หรือเกิดลำไส้กลืนกันหรือไส้สวม (intussusception) หรือเกิดไส้เลื่อน (hernia) ซึ่งต้องวินิจฉัย หรือแยกออกจากลำไส้บิดหรือไส้สวมก่อนตาย (antemortem volvulus or intussusception) โดยดูจากปฏิกิริยาการอักเสบเป็นเกณฑ์
บางครั้งอวัยวะอยู่ผิดที่ ทำให้เกิดการฉีกหรือแตกของอวัยวะด้วย ทำให้มีรอยเลือดออกบริเวณขอบของรอยโรค เมื่อเกิดรอยโรคขึ้นก่อนตาย แต่ถ้าเกิดหลังตายจะไม่ปรากฎรอยเลือดออกแต่อย่างใด ในกรณี สุกร ม้า และโค ที่ตายอย่างรวดเร็วจากภาวะ shock เมื่อเกิด torsion บริเวณขั้ว (entire root of the mesentery) ของ mesentery การเปลี่ยนแปลงของสีจะเกิดเล็กน้อยเท่านั้น นอกจากนี้ยังจะพบการลอกหลุดของ luminal mucosa ของลำไส้ และมีการสะสมเซล และเมือกในท่อลำไส้ด้วย ทำให้สับสนกับการอักเสบได้
6. การเปื้อนสีน้ำดี (P.M.bile imbibition)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ในอวัยวะที่อยู่ใกล้เคียงกับถุงน้ำดี จะติดสีเขียวเหลืองของน้ำดี เช่น ตับ กระเพาะอาหาร mesentery fat และลำไส้ นอกจากการเปื้อนสีน้ำดีแล้ว ยังเกิด P.M. hemoglobin imbibitioin เกิดการแพร่ผ่านของ Hb พร้อมๆ กับของเหลวจากเส้นเลือดหลังสัตว์ตายทำให้อวัยวะนั้นมีสีแดงเปื้อนสีของเลือด โดยเกิดจากก่อนที่จะเกิดเม็ดเลือดแดงแตก Hb จะถูกปล่อยเข้าสู่ blood plasma ขณะเดียวกับที่ผนังเส้นเลือดจะมีความสามารถปล่อยผ่านน้ำเพิ่มขึ้น ทำให้ plasma มีสีแดงเรื่อๆ และซึมเข้าสู่เนื้อเยื่อรอบๆ หรือแผ่กระจายไป (imbied) จึงเกิดสีแดงคล้ำ (Dark red) เป็นแนวยาว ตลอดหลอดเลือดขึ้น โดยเฉพาะใน Mesentery และ Omentum
7. เลือดคั่งในอวัยวะที่อยู่ส่วนต่ำ (Hypostotic congestion)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้เกิดการคั่งในส่วนที่อยู่ด้านล่างตามแรงโน้มถ่วงของโลก เช่นสัตว์ที่นอนตะแคงด้านซ้ายตาย จะเกิดเลือดคั่งสีแดงคล้ำในปอด ตับ และ ไต ซีกซ้าย เป็นต้น
8. การแข็งตัวของเลือดหลังสัตว์ตาย(Post mortem clotting of blood)
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้หลังสัตว์ตายเซลล์บุผนังหลอดเลือดจะเสื่อม(degenerated endothelial cell or degenerated epithelial lining of vessels) จากภาวะขาดออกซิเจนทำให้เกิดการปล่อยสาร Thromboplastin ออกมา และเม็ดเลือดขาวที่สลายตัวจะปล่อย thromboplastin ออกมาเช่นเดียวกัน ทำให้ไฟบริโนเจนเปลี่ยนแปลงไปเป็นไพบริน ทำให้เกิดการแข็งตัวของเลือดขึ้น
นอกจากการตายโดยภาวะ Septicemia และ Anoxic condition เลือดส่วนใหญ่จะจับกันเป็นก้อนใน Venous system หลังจากสัตว์ตายอย่างรวดเร็ว เนื่องจากขณะเกิด Rigor mortis นั้นเส้นเลือดแดงเกิดการหดตัว
ลักษณะที่เห็นด้วยตาเปล่า ก้อนเลือดจะมีสีแดงคล้ำ หรือเข้ม (dark-red) ผิวเรียบมันวาว (Smooth & shiny on outside) มีความนุ่มหยุ่น คล้าย jelly ไม่ยึดเกาะกับผนังเส้นเลือด เรียกว่า Current jelly clot ถ้าดูด้วยจุลทรรศน์จะพบการเรียงตัวของเม็ดเลือดในก้อนเลือดนั้น โดยพบ RBC อยู่ชั้นล่างสุด ต่อมาจะเป็น WBC และ protein ใน Plasma ได้แก่ fibrin และโปรตีนตกตะกอน ( precipitated protein ; albumin )ในชั้นต่างๆ จะคล้ายกับก้อน thrombus
ส่วนกรณีที่สัตว์เป็นโรคเรื้อรังตายอย่างช้าๆ การไหลของเลือดช้าลงก่อนสัตว์ตาย ทำให้เม็ดเลือดแดงตกตะกอนแยกชั้นลงมาอยู่ข้างล่างตามแรงโน้มถ่วงของโลกก่อน แต่จะเกิดขึ้นอย่างช้าๆ และชั้นบนจะเป็นชั้นหนาของ plasma ซึ่งมีสีขาว เมื่อสัตว์ตายลงก้อนเลือดที่แข็งตัวจะเห็นเป็นชั้นสีขาวแดงแยกกันชัดเจน ลักษณะการแข็งตัวของเลือดแบบนี้เรียกว่า chicken fat clot ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกับ postmortem autolysis ด้วย ขบวนการเกิด chicken fat clot และ current jelly clot จะคล้ายกัน แต่ chicken fat clot จะมีชั้นสีเหลืองของ plasma ชัดเจน ในสัตว์ที่ตายอย่างช้าๆ จึงมีโอกาสพบ current jelly clot และ chicken fat clot ได้
ที่มา http://vet.kku.ac.th/pathology/sutthisak/gp2.htm#การเปลี่ยนแปลงของเซลล์ และเนื้อเยื่อภายหลังตาย (Postmortem changes)
rbko ถูกใจ, CutieTrinity ถูกใจ, ซ่อนนาม ทึ่ง, ข้านั้นหาความดีมิได้ ถูกใจ, นกฮูกยักษ์สีดำ สยอง, เมพขิงขิงสิงห์สนามซ้อม ถูกใจ, Diesel Engine ถูกใจ, Namby-Pamby ถูกใจ
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
วิทยาศาสตร์
เกิดอะไรกับศพสุนัขหลังจากถูกฝัง?