สวัสดีครับ เพื่อนๆสมาชิกห้องศาสนา
วันนี้ผมจะมาขออัพเดทข่าวเกี่ยวกับเรื่อง คุณหญิงใหญ่ ดำรงธรรมสาร
และปัญหาเกี่ยวกับผู้ประพันธ์หนังสือธรรมะที่สำคัญที่ชื่อว่า ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ
(หนังสือ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ เป็นหนังสือที่ชาวพุทธส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า เป็นงานประพันธ์ของหลวงปู่มั่น)
____________________________________________________________________
กระทู้นี้เป็นกระทู้ต่อเนื่องมากจากกระทู้ก่อนๆหลายกระทู้ ซึ่งสามารถตามย้อนอ่านได้ที่ลิ้งกระทู้นี้:
ผู้ประพันธ์ หนังสือธัมมานุธัมมปฏิปัตติ แท้จริงแล้วคือ "คุณหญิง ใหญ่ ดำรงธรรมสาร"
http://ppantip.com/topic/30318367
____________________________________________________________________
จากกระทู้ก่อน ผมได้นำข่าวจากบทสัมภาษณ์ ดร.มาร์ติน ที่ได้ลงในเว๊บของ BBC News มาแจ้งไว้
ในกระทู้นี้ มีข่าวมาแจ้งเพิ่มเติมว่า ผลงานฉบับเต็ม ที่
ดร.มาร์ติน ได้ทำงานวิจัยร่วมกับ สหธรรมิกที่ผมรู้จักท่านหนึ่ง ได้ถูกเผยแพร่ตีพิมพ์ลงใน
หนังสือ “ศิลปวัฒนธรรม” ฉบับเดือนเมษา แล้ว :
(ในหน้า 154-169 ) มีชื่อบทความ ว่า
"ตาม รอยเรื่องราวของนักปฏิบัติธรรม หญิงโดดเด่นที่ถูกลืม คุณหญิงใหญ่ ดำรงธรรมสาร(๒๔๒๙-๘๗)
และปัญหาว่าด้วย ความเป็นเจ้าของผลงานประพันธ์ เชิงพุทธศาสนาอันสำคัญ"
นามของผู้เขียนบทความคือ
Dr.Martin Seeger และ
คุณ นริศ จรัสจรรยาวงศ์
(เริ่ม ลงพื้นที่ปลายปี 2012) จากทุนวิจัย ของ The British Academy
หน้าแรก มีบทกลอนที่ คุณหญิงใหญ่ประพันธ์ไว้ ความว่า
“
จาก สถานถิ่นทิ้ง ทั้งผอง
บ้าน สิไป่คิดปอง ปกป้อง
มา สร้างกุศลสนอง หนีหน่าย ทุกข์แฮ
วัด วิเวกเวิกวุ่นจ้อง จักพ้นมลทิน ฯ
บวช เรียนเพียรเพื่อพ้น ภัยมหันต์
ชี วิตจิตต์ใจหัน ห่างร้าย
หนี ภัยเพื่อพรหมจรรย์ จิตต์สงบ สุขเฮย
ทุกข์ โทษโหดหายได้ เพราะด้วยความเพียร ฯ”
ใหญ่ ดำรงธรรมสาร
ในบทความตีพิมพ์ฉบับนี้ ท่านผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ
เกี่ยวกับชีวประวัติและบทบาทต่างๆมาแสดงไว้
จากบันทึกของพระเทพสุเมธี( หยวก จตฺตมโล) ได้เล่าไว้ว่า .................
คุณหญิงใหญ่แสดงธรรม “อย่างละเอียดลึกซึ้ง” แก่พระที่วัดธรรมิการามวรวิหาร
และ “ได้ทรงจำหลักธรรมได้มาก แม้คาถาในพระธรรมบททั้งแปดภาคก็สามารถท่องจำได้ตั้งแต่อายุยังอยู่วัยรุ่น”
ในบทความนี้ ได้เล่าถึงกรณีปัญหาหนังสือ “ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ” ซึ่งปัจจุบันเป็นที่เข้าใจผิด
กันอย่างกว้างขวางในหมู่ชาวพุทธในประเทศไทย ว่าหลวงปู่มั่นเป็นผู้ประพันธ์หนังสือเล่มนี้
ในบทความได้อธิบายถึงปัญหาของสังคมไทยในยุค พ.ศ. ๒๔๗๐ ซึ่งในสมัยนั้น ผู้หญิงในสังคมไทยไม่ได้มีโอกาสที่จะได้เรียนในวัด ซึ่งต่างกับผู้ชายที่บวชเป็นพระเป็นเณรได้ ในยุคนั้น ผู้หญิงที่อ่านออกเขียนได้คงมีแต่กลุ่มชนเล็กๆ ในแวดวงของหญิงชาววัง งานประพันธ์ธรรมะนิพนธ์โดยสตรีในยุคนั้น ที่คาดว่าเป็นงานชิ้นแรกๆ ได้แก่หนังสือ “สาสนคุณ” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล แต่งขึ้นในปี (พ.ศ. ๒๔๗๑) เพื่อส่งประกวดหนังสือสอนพุทธศาสนาแก่เด็ก
ความตอนหนึ่งจากบทความ (ในหน้า ๑๖๑-๑๖๒) ได้แสดงไว้ว่า
..........ในรอบหลายปีที่ผ่านมาในวงการหนังสือธรรมะ ปรากฏว่ามีการพิมพ์หนังสือแนวปุจฉา-วิสัชนา บทสนทนาธรรมชุดหนึ่งในรูปแบบต่าง ๆ บางครั้งใช้ชื่อว่า “ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ” บ้างใช้ชื่อว่า “ ๗ วันบรรลุธรรม ปุจฉา-วิสัชชนา ว่าด้วยการปฏิบัติธรรม” หนังสือ ๒ เล่มนี้ประกอบด้วย ธรรมะ ๕ บท ซึ่งมีชื่อดังต่อไปนี้คือ ๑. “ปฏิปัตตินิเทศ” ๒. “ปฏิปัตติวิภาค” ๓. “ปฏิปัตติวิภังค์” ๔. “ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชชนา” ๕. “ปฏิปัตติวิภัชน์” ชุดธรรมะดังกล่าวถูกนำมาพิมพ์ครบชุดทั้งเล่ม หรือบางครั้งถูกคัดเลือกเพียงบางบทก็มี (บางครั้งบทความก็ถูกปรับเปลี่ยนไปบ้าง)
............อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะพิมพ์ในรูปแบบไหน ในวงการหนังสือธรรมะเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าบทสนทนาธรรมเหล่านี้มีคุณค่ามากและผู้ประพันธ์ต้องเป็นคนที่รอบรู้ธรรมะขั้นสูง แต่เมื่อเปรียบเทียบหนังสือเหล่านี้ มีข้อสังเกตที่เด่นว่า ในขณะที่บางเล่มไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ใครเป็นผู้ประพันธ์ อย่างน้อม มี ๒ เล่ม ระบุชัดเจนว่าเป็นการสนทนาธรรม ระหว่าง พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต (พ.ศ. ๒๔๑๓-๙๒) กับพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล, พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๕๐๕) หนังสือ ๒ เล่มนี้ประกอบด้วยบท “ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชชนา” ในขณะที่อีกเล่มหนึ่งระบุว่า เขียนโดยพระอาจารย์ลี (ธมฺมธโร, พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๕๐๔) เล่มนี้ประกอบด้วยบทความ “ปฏิปัตตินิเทศ” และ “ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชชนา” หนังสือที่ใช้ชื่อว่า “ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ” พิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ทว่าไม่ได้ระบุชัดเจนว่าใครเป็นผู้เขียน แต่มีรูปภาพของพระอาจารย์ มั่น ภูริทตฺโต กับพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธโล) ปรากฏอยู่บนปก เหมือนต้องการสื่อแก่ผู้อ่านว่า หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานจากการสนทนาธรรมระหว่างพระอาจารย์ทั้ง ๒ ท่าน กระนั้นก็ตามในอารัมภบทของหนังสือ “ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ” ฉบับพิมพ์เล่มนี้ก็ยังเขียนไว้ว่า “ เป็นฉบับรวมปุจฉา-วิสัชนา อันทรงคุณค่าของพ่อแม่ครูบาอาจารย์” โดยไม่ได้บอกว่า “พ่อแม่ครูบาอาจารย์” หมายถืงใคร เท่าที่ผู้เขียนค้นคว้ามาได้ ผลงานดังกล่าวไม่ปรากฏชื่อผู้ประพันธ์นับจากปีที่แต่ง ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลา พ.ศ. ๒๔๗๕-๗๗ (ปีพิมพ์ที่ปรากฏในธรรมะชุดนี้ ฉบับต่างๆ ตรงกันหมด) กระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ยังคงไม่ปรากฏชื่อผู้ประพันธ์ เพียงแต่รวมพิมพ์ภายใต้ชื่อหนังสือว่า “ปัญญาพลานุสรณ์” ทั้งยังปรากฏในหนังสืองานอนุสรณ์ต่าง ๆ ในเวลาต่อมาหรือที่ว่ามาข้างบนนี้
อย่างไรก็ตาม สมัยที่บวชเป็นพระภิกษุ คุณประสพ วิเศษศิริ บุตรบุญธรรมของคุณหญิงใหญ่ได้กล่าวไว้ในอารัมภบทหนังสือ “ตัดบ่วงกรรม” ซึ่งพิมพ์เป็นอนุสรณ์อายุครบ ๖๐ ปี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ว่า “สำหรับบทความ ธรรมะ ที่คุณแม่ คุณหญิงใหญ่ ดำรงธรรมสาร ได้เขียนขึ้นนี้ ได้มีท่านผู้มีจิตศรัทธาในพระธรรมที่คุณแม่เขียนขึ้น โดยนำไปจัดพิมพ์ออกเผยแพร่ที่เป็นมหากุศลยิ่ง เป็นที่น่าเสียดายและเสียใจที่ผู้นำไปพิมพ์เผยแพร่มิได้ใส่ชื่อของคุณแม่ลงพิมพ์ไว้ เพื่อเป็นอนุสรณ์และเป็นเกรียรติประวัติในผลงานของท่านด้วย
ฉะนั้น ในอนาคตหากท่านผู้ใดมีความประสงค์จะนำไปพิมพ์เผยแพร่เป็นการกุศลแล้ว ข้าพเจ้าใคร่ขอความกรุณาได้พิมพ์ชื่อผู้เขียน คือ คุณแม่ของข้าพเจ้า (คุณหญิงใหญ่ ดำรงธรรมสาร) ไว้ด้วยก็จักเป็นเกียรติแก่ผู้เขียน ซึ่งล่วงลับไปแล้ว” ............................
____________________________
____________________________
____________________________
ก็ขอนำตัวอย่างจากบทความมาลงไว้เพียงคร่าวๆเท่านี้ก่อนนะครับ
สำหรับบทความฉบับเต็ม เพื่อนๆและท่านผู้อ่านสามารถติดตามอ่าน
ได้ที่หนังสือ ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนเมษา
และ หากมีชาวพุทธท่านใดประสงค์จะพิมพ์หนังสือเล่มนี้เป็นธรรมทานในอนาคต
หากท่านได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องตามที่ได้แสดงในบทความฉบับนี้แล้ว ก็อาจจะช่วยกัน
ร่วมแก้ไขประวัติศาสตร์ให้ถูกต้องด้วยการทำตามที่คุณประสพ วิเศษศิริ
บุตรบุญธรรมของคุณหญิงใหญ่ ได้กล่าวไว้ คือ ช่วยกันพิมพ์ชื่อผู้เขียนที่ถูกต้องไว้
เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้เขียนซึ่งล่วงลับไปแล้วด้วย
_____________________________________________
สำหรับท่านที่ ต้องการติดตามอ่าน หนังสือ ชุดปุจฉา-วิสัชชนา ทั้ง ๕ ชุดนี้ ก็ติดตามอ่านได้ที่ลิ้งนี้นะครับ
๑. ปฏิปัตติวิภัชน์
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_mun/lp-mun-index.htm
๒. ปฏิปัตติวิภาค
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://board.palungjit.com/f4/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%84-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B8%A1-%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%BA%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A5-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%95%E0%B8%BA%E0%B9%82%E0%B8%95-218800.html
๓. ปฏิปัตตินิเทศ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้http://board.palungjit.com/f4/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B9%8C-%E0%B8%88%E0%B8%B9%E0%B8%A1-%E0%B8%9E%E0%B8%99%E0%B8%BA%E0%B8%98%E0%B8%B8%E0%B9%82%E0%B8%A5-%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%A1%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%99-%E0%B8%A0%E0%B8%B9%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B8%95%E0%B8%BA%E0%B9%82%E0%B8%95-217655.html
๔. ปฏิปัตติวิภังค์
http://nopparatprinting.tarad.com/shop/n/nopparatprinting/img-lib/con_20091026125831_u.pdf
๕. ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_mun/lp-mun-index.htm
“คุณหญิงใหญ่” และปัญหาว่าด้วยความเป็นเจ้าของผลงานประพันธ์เชิงพุทธศาสนาอันสำคัญ
วันนี้ผมจะมาขออัพเดทข่าวเกี่ยวกับเรื่อง คุณหญิงใหญ่ ดำรงธรรมสาร
และปัญหาเกี่ยวกับผู้ประพันธ์หนังสือธรรมะที่สำคัญที่ชื่อว่า ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ
(หนังสือ ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ เป็นหนังสือที่ชาวพุทธส่วนใหญ่เข้าใจผิดว่า เป็นงานประพันธ์ของหลวงปู่มั่น)
____________________________________________________________________
กระทู้นี้เป็นกระทู้ต่อเนื่องมากจากกระทู้ก่อนๆหลายกระทู้ ซึ่งสามารถตามย้อนอ่านได้ที่ลิ้งกระทู้นี้:
ผู้ประพันธ์ หนังสือธัมมานุธัมมปฏิปัตติ แท้จริงแล้วคือ "คุณหญิง ใหญ่ ดำรงธรรมสาร"
http://ppantip.com/topic/30318367
____________________________________________________________________
จากกระทู้ก่อน ผมได้นำข่าวจากบทสัมภาษณ์ ดร.มาร์ติน ที่ได้ลงในเว๊บของ BBC News มาแจ้งไว้
ในกระทู้นี้ มีข่าวมาแจ้งเพิ่มเติมว่า ผลงานฉบับเต็ม ที่
ดร.มาร์ติน ได้ทำงานวิจัยร่วมกับ สหธรรมิกที่ผมรู้จักท่านหนึ่ง ได้ถูกเผยแพร่ตีพิมพ์ลงใน
หนังสือ “ศิลปวัฒนธรรม” ฉบับเดือนเมษา แล้ว :
(ในหน้า 154-169 ) มีชื่อบทความ ว่า
"ตาม รอยเรื่องราวของนักปฏิบัติธรรม หญิงโดดเด่นที่ถูกลืม คุณหญิงใหญ่ ดำรงธรรมสาร(๒๔๒๙-๘๗)
และปัญหาว่าด้วย ความเป็นเจ้าของผลงานประพันธ์ เชิงพุทธศาสนาอันสำคัญ"
นามของผู้เขียนบทความคือ Dr.Martin Seeger และ คุณ นริศ จรัสจรรยาวงศ์
(เริ่ม ลงพื้นที่ปลายปี 2012) จากทุนวิจัย ของ The British Academy
หน้าแรก มีบทกลอนที่ คุณหญิงใหญ่ประพันธ์ไว้ ความว่า
“
จาก สถานถิ่นทิ้ง ทั้งผอง
บ้าน สิไป่คิดปอง ปกป้อง
มา สร้างกุศลสนอง หนีหน่าย ทุกข์แฮ
วัด วิเวกเวิกวุ่นจ้อง จักพ้นมลทิน ฯ
บวช เรียนเพียรเพื่อพ้น ภัยมหันต์
ชี วิตจิตต์ใจหัน ห่างร้าย
หนี ภัยเพื่อพรหมจรรย์ จิตต์สงบ สุขเฮย
ทุกข์ โทษโหดหายได้ เพราะด้วยความเพียร ฯ”
ใหญ่ ดำรงธรรมสาร
ในบทความตีพิมพ์ฉบับนี้ ท่านผู้เขียนได้รวบรวมข้อมูลหลักฐานต่างๆ
เกี่ยวกับชีวประวัติและบทบาทต่างๆมาแสดงไว้
จากบันทึกของพระเทพสุเมธี( หยวก จตฺตมโล) ได้เล่าไว้ว่า .................
คุณหญิงใหญ่แสดงธรรม “อย่างละเอียดลึกซึ้ง” แก่พระที่วัดธรรมิการามวรวิหาร
และ “ได้ทรงจำหลักธรรมได้มาก แม้คาถาในพระธรรมบททั้งแปดภาคก็สามารถท่องจำได้ตั้งแต่อายุยังอยู่วัยรุ่น”
ในบทความนี้ ได้เล่าถึงกรณีปัญหาหนังสือ “ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ” ซึ่งปัจจุบันเป็นที่เข้าใจผิด
กันอย่างกว้างขวางในหมู่ชาวพุทธในประเทศไทย ว่าหลวงปู่มั่นเป็นผู้ประพันธ์หนังสือเล่มนี้
ในบทความได้อธิบายถึงปัญหาของสังคมไทยในยุค พ.ศ. ๒๔๗๐ ซึ่งในสมัยนั้น ผู้หญิงในสังคมไทยไม่ได้มีโอกาสที่จะได้เรียนในวัด ซึ่งต่างกับผู้ชายที่บวชเป็นพระเป็นเณรได้ ในยุคนั้น ผู้หญิงที่อ่านออกเขียนได้คงมีแต่กลุ่มชนเล็กๆ ในแวดวงของหญิงชาววัง งานประพันธ์ธรรมะนิพนธ์โดยสตรีในยุคนั้น ที่คาดว่าเป็นงานชิ้นแรกๆ ได้แก่หนังสือ “สาสนคุณ” ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล แต่งขึ้นในปี (พ.ศ. ๒๔๗๑) เพื่อส่งประกวดหนังสือสอนพุทธศาสนาแก่เด็ก
ความตอนหนึ่งจากบทความ (ในหน้า ๑๖๑-๑๖๒) ได้แสดงไว้ว่า
..........ในรอบหลายปีที่ผ่านมาในวงการหนังสือธรรมะ ปรากฏว่ามีการพิมพ์หนังสือแนวปุจฉา-วิสัชนา บทสนทนาธรรมชุดหนึ่งในรูปแบบต่าง ๆ บางครั้งใช้ชื่อว่า “ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ” บ้างใช้ชื่อว่า “ ๗ วันบรรลุธรรม ปุจฉา-วิสัชชนา ว่าด้วยการปฏิบัติธรรม” หนังสือ ๒ เล่มนี้ประกอบด้วย ธรรมะ ๕ บท ซึ่งมีชื่อดังต่อไปนี้คือ ๑. “ปฏิปัตตินิเทศ” ๒. “ปฏิปัตติวิภาค” ๓. “ปฏิปัตติวิภังค์” ๔. “ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชชนา” ๕. “ปฏิปัตติวิภัชน์” ชุดธรรมะดังกล่าวถูกนำมาพิมพ์ครบชุดทั้งเล่ม หรือบางครั้งถูกคัดเลือกเพียงบางบทก็มี (บางครั้งบทความก็ถูกปรับเปลี่ยนไปบ้าง)
............อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าจะพิมพ์ในรูปแบบไหน ในวงการหนังสือธรรมะเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าบทสนทนาธรรมเหล่านี้มีคุณค่ามากและผู้ประพันธ์ต้องเป็นคนที่รอบรู้ธรรมะขั้นสูง แต่เมื่อเปรียบเทียบหนังสือเหล่านี้ มีข้อสังเกตที่เด่นว่า ในขณะที่บางเล่มไม่ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ใครเป็นผู้ประพันธ์ อย่างน้อม มี ๒ เล่ม ระบุชัดเจนว่าเป็นการสนทนาธรรม ระหว่าง พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต (พ.ศ. ๒๔๑๓-๙๒) กับพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธุโล, พ.ศ. ๒๔๓๑-๒๕๐๕) หนังสือ ๒ เล่มนี้ประกอบด้วยบท “ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชชนา” ในขณะที่อีกเล่มหนึ่งระบุว่า เขียนโดยพระอาจารย์ลี (ธมฺมธโร, พ.ศ. ๒๔๔๙-๒๕๐๔) เล่มนี้ประกอบด้วยบทความ “ปฏิปัตตินิเทศ” และ “ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชชนา” หนังสือที่ใช้ชื่อว่า “ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ” พิมพ์ในปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ทว่าไม่ได้ระบุชัดเจนว่าใครเป็นผู้เขียน แต่มีรูปภาพของพระอาจารย์ มั่น ภูริทตฺโต กับพระธรรมเจดีย์ (จูม พนฺธโล) ปรากฏอยู่บนปก เหมือนต้องการสื่อแก่ผู้อ่านว่า หนังสือเล่มนี้เป็นผลงานจากการสนทนาธรรมระหว่างพระอาจารย์ทั้ง ๒ ท่าน กระนั้นก็ตามในอารัมภบทของหนังสือ “ธัมมานุธัมมปฏิปัตติ” ฉบับพิมพ์เล่มนี้ก็ยังเขียนไว้ว่า “ เป็นฉบับรวมปุจฉา-วิสัชนา อันทรงคุณค่าของพ่อแม่ครูบาอาจารย์” โดยไม่ได้บอกว่า “พ่อแม่ครูบาอาจารย์” หมายถืงใคร เท่าที่ผู้เขียนค้นคว้ามาได้ ผลงานดังกล่าวไม่ปรากฏชื่อผู้ประพันธ์นับจากปีที่แต่ง ซึ่งเป็นช่วงระยะเวลา พ.ศ. ๒๔๗๕-๗๗ (ปีพิมพ์ที่ปรากฏในธรรมะชุดนี้ ฉบับต่างๆ ตรงกันหมด) กระทั่งถึงปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ยังคงไม่ปรากฏชื่อผู้ประพันธ์ เพียงแต่รวมพิมพ์ภายใต้ชื่อหนังสือว่า “ปัญญาพลานุสรณ์” ทั้งยังปรากฏในหนังสืองานอนุสรณ์ต่าง ๆ ในเวลาต่อมาหรือที่ว่ามาข้างบนนี้
อย่างไรก็ตาม สมัยที่บวชเป็นพระภิกษุ คุณประสพ วิเศษศิริ บุตรบุญธรรมของคุณหญิงใหญ่ได้กล่าวไว้ในอารัมภบทหนังสือ “ตัดบ่วงกรรม” ซึ่งพิมพ์เป็นอนุสรณ์อายุครบ ๖๐ ปี เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๗ ว่า “สำหรับบทความ ธรรมะ ที่คุณแม่ คุณหญิงใหญ่ ดำรงธรรมสาร ได้เขียนขึ้นนี้ ได้มีท่านผู้มีจิตศรัทธาในพระธรรมที่คุณแม่เขียนขึ้น โดยนำไปจัดพิมพ์ออกเผยแพร่ที่เป็นมหากุศลยิ่ง เป็นที่น่าเสียดายและเสียใจที่ผู้นำไปพิมพ์เผยแพร่มิได้ใส่ชื่อของคุณแม่ลงพิมพ์ไว้ เพื่อเป็นอนุสรณ์และเป็นเกรียรติประวัติในผลงานของท่านด้วย ฉะนั้น ในอนาคตหากท่านผู้ใดมีความประสงค์จะนำไปพิมพ์เผยแพร่เป็นการกุศลแล้ว ข้าพเจ้าใคร่ขอความกรุณาได้พิมพ์ชื่อผู้เขียน คือ คุณแม่ของข้าพเจ้า (คุณหญิงใหญ่ ดำรงธรรมสาร) ไว้ด้วยก็จักเป็นเกียรติแก่ผู้เขียน ซึ่งล่วงลับไปแล้ว” ............................
____________________________
____________________________
____________________________
ก็ขอนำตัวอย่างจากบทความมาลงไว้เพียงคร่าวๆเท่านี้ก่อนนะครับ
สำหรับบทความฉบับเต็ม เพื่อนๆและท่านผู้อ่านสามารถติดตามอ่าน
ได้ที่หนังสือ ศิลปวัฒนธรรม ฉบับเดือนเมษา
และ หากมีชาวพุทธท่านใดประสงค์จะพิมพ์หนังสือเล่มนี้เป็นธรรมทานในอนาคต
หากท่านได้รับทราบข้อมูลที่ถูกต้องตามที่ได้แสดงในบทความฉบับนี้แล้ว ก็อาจจะช่วยกัน
ร่วมแก้ไขประวัติศาสตร์ให้ถูกต้องด้วยการทำตามที่คุณประสพ วิเศษศิริ
บุตรบุญธรรมของคุณหญิงใหญ่ ได้กล่าวไว้ คือ ช่วยกันพิมพ์ชื่อผู้เขียนที่ถูกต้องไว้
เพื่อเป็นการให้เกียรติแก่ผู้เขียนซึ่งล่วงลับไปแล้วด้วย
_____________________________________________
สำหรับท่านที่ ต้องการติดตามอ่าน หนังสือ ชุดปุจฉา-วิสัชชนา ทั้ง ๕ ชุดนี้ ก็ติดตามอ่านได้ที่ลิ้งนี้นะครับ
๑. ปฏิปัตติวิภัชน์
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_mun/lp-mun-index.htm
๒. ปฏิปัตติวิภาค
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
๓. ปฏิปัตตินิเทศ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
๔. ปฏิปัตติวิภังค์
http://nopparatprinting.tarad.com/shop/n/nopparatprinting/img-lib/con_20091026125831_u.pdf
๕. ปฏิปัตติปุจฉาวิสัชนา
http://www.dharma-gateway.com/monk/preach/lp_mun/lp-mun-index.htm