ท่อสูตร ที่มี มอก ใส่แล้วผิดกฎหมายไหมครับ

ทราบชื่อกระทู้เลยครับ แล้วในบ้านเรามีท่อสูตรที่มีตรา มอก หรือป่าวครับ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 10
credit  http://www.cbrclubthailand.com/cbrclubthailand-knowledge/t2619/


รวบรวมมาให้อ่านกันดังนี้

มาตรฐานระดับเสียงของรถจักรยานยนต์
  
ค่ามาตรฐาน* วิธีเร่งเครื่องยนต์
ไม่เกิน 95 เดซิเบลเอ ที่ระยะ 0.5 เมตร
* ระดับเสียงขณะที่เดินเครื่องยนต์อยู่กับที่ โดยไม่รวมเสียงแตรสัญญาณ
เร่งเครื่องยนต์ที่ 3/4 ของความเร็วรอบที่เครื่องยนต์ให้กำลังสูงสุด ถ้าความเร็วรอบที่เครื่องยนต์ให้กำลังสูงสุดไม่เกิน 5,000 รอบต่อนาที
หรือ เร่งเครื่องยนต์ที่ 1/2 ของความเร็วรอบที่เครื่องยนต์ให้กำลังสูงสุดเกิน 5,000 รอบต่อนาที

หมายเหตุ : สถานที่ตรวจวัด เป็นพื้นราบทำด้วยคอนกรีตหรือแอสฟัลต์หรือวัสดุที่มีคุณสมบัติในการสะท้อนเสียงได้ดี และเป็นที่โล่ง
ซึ่งมีระยะห่างจากรถจักรยานยนต์ที่จะตรวจวัด 3 เมตร ขึ้นไป ให้ตรวจสอบค่าระดับเสียง 2 ครั้ง และให้ถือเอาค่าระดับเสียงสูงสุดที่วัดได้ เป็นค่าระดับเสียงของรถจักรยานยนต์
ถ้าแตกต่างกันเกินกว่า 2 เดซิเบลเอ ให้ตรวจสอบใหม่


----------------------------------------------------------------------


กฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดการปัญหามลพิษทางเสียงจากยานพาหนะ
• มาตรฐาน /วิธีการตรวจวัด/ ข้อกำหนดเกี่ยวกับเสียงของยานพาหนะ
• ข้อหาหรือฐานความผิด

1. มาตรฐาน /วิธีการตรวจวัด/ ข้อกำหนดเกี่ยวกับเสียงของยานพาหนะ

พ.ร.บ..ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535  ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดระดับเสียงของรถยนต์
ระดับเสียงในขณะที่เดินเครื่องยนต์อยู่กับที่โดยไม่รวมเสียงแตรสัญญาณ ต้องมีระดับเสียงไม่เกิน 100 เดซิเบลเอ
เมื่อตรวจวัดที่ระยะห่างจากรถยนต์ 0.5 เมตร หรือ 85 เดซิเบลเอ เมื่อตรวจวัดที่ระยะ 7.5 เมตร

ประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่อง กำหนดระดับเสียงของรถจักรยานยนต์  ระดับเสียงในขณะที่เดินเครื่องยนต์อยู่กับที่โดยไม่รวมเสียงแตรสัญญาณ
ต้องมีระดับเสียงไม่เกิน 95 เดซิเบลเอ เมื่อตรวจวัดระดับเสียงในระยะห่างจากรถจักรยานยนต์ 0.5 เมตร



----------------------------------------------------------------------

พ.ร.บ. รถยนต์
พ.ศ. 2522 กฎกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ.2531) การตรวจสภาพรถที่ขอจดทะเบียนให้ตรวจ ระบบเครื่องระงับเสียง
กฎกระทรวงฉบับที่ 22(พ.ศ.2537) กำหนดให้รถยนต์และรถจักรยานยนต์ต้องมีอุปกรณ์สำหรับรถท่อไอเสียพร้อมด้วยเครื่องระงับเสียง

ประกาศกรมการขนส่งทางบก เรื่อง กำหนดระดับเสียงและวิธีการตรวจวัดระดับเสียงของรถจักรยานยนต์ พ.ศ. 2548
ระดับเสียงในขณะที่เดินเครื่องยนต์อยู่กับที่โดยไม่รวมเสียงแตรสัญญาณ ต้องมีระดับเสียงไม่เกิน 95 เดซิเบลเอ เมื่อตรวจวัดระดับเสียงในระยะห่างจากรถจักรยานยนต์ 0.5 เมตร


----------------------------------------------------------------------


พระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
พ.ศ. 2511 ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2629 (พ.ศ. 2543) เรื่อง แก้ไขมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมท่อไอเสียรถจักรยานยนต์ (แก้ไขครั้งที่ 2)
ระดับเสียงสูงสุดที่ออกจากท่อไอเสียที่ประกอบเข้ากับรถจักรยานยนต์ในสภาพใช้งานปกติ ในขณะที่ยานพาหนะอยู่กับที่ ต้องไม่เกิน 95 เดซิเบลเอ


----------------------------------------------------------------------

พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก
พ.ศ. 2522 กฎกระทรวง ฉบับที่ 9 (พ.ศ.2524) รถที่ใช้ในการขนส่งโดยสาร และรถขนาดเล็ก จะต้องมีอุปกรณ์และส่วนควบ
โดยคัสซีจะต้องประกอบด้วย เครื่องกำเนิดพลังงานที่ไม่ทำให้เกิดเสียงเกินกำลังที่กรมการขนส่งทางบกกำหนด
ทั้งนี้ให้มีฝาครอบเครื่องกำเนิดพลังงานขนาดปิดเครื่องให้สนิท และสามารถเก็บเสียงได้ตามความเหมาะสม  และมีระบบไอเสียที่มีเครื่องระงับเสียง

----------------------------------------------------------------------

พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง  กำหนดมาตรฐานค่าควันดำ ก๊าช และระดับเสียงของรถซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยินยอมให้นำมาใช้ในทางเดินรถได้
กำหนดมาตรฐานค่าควันดำ ก๊าช และระดับเสียงของรถ ที่ยอมให้นำมาใช้ในทางเดินรถ ตลอดจนการตรวจสอบและวิธีการตรวจวัด ให้เป็นไปตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม


  


2. ข้อหาหรือฐานความผิด

พระราชบัญญัติ ข้อหาหรือฐานความผิด อัตราโทษ อัตราตาม ข้อกำหนด  พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 5 (2) และมาตรา 58 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 22 พ.ศ. 2537 ข้อ 2(8) และข้อ 6(6)
ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดในกฎกระทรวงเกี่ยวกับเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถและการใช้เครื่องอุปกรณ์ดังกล่าว (เครื่องระงับเสียง ท่อไอเสีย)  ปรับไม่เกิน 1,000 บาท



พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 12 และมาตรา 60 ฝ่าฝืนการห้ามใช้รถที่มีส่วนควบหรือเครื่องอุปกรณ์สำหรับรถไม่ครบถ้วน ที่กำหนดตามกฎกระทรวง ปรับไม่เกิน 2,000 บาท



พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 6 วรรคหนึ่ง และวรรคสอง (แก้ไขเพิ่มเติมถึง พ.ศ. 2522)  

- นำรถที่ไม่มั่นคงแข็งแรงอาจเกิดอันตรายหรือทำให้เสื่อมเสียสุขภาพอนามัยมาใช้ในทางเดินรถ

- นำรถที่มีเครื่องยนต์ เครื่องอุปกรณ์และหรือส่วนควบไม่ครบถ้วนและใช้การได้ไม่ดี มาใช้ในทางเดินรถ ปรับไม่เกิน 500 บาท ปรับ 200 บาท




พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 10 ทวิ และข้อกำหนดกรมตำรวจ เรื่อง กำหนดมาตรฐานค่าควันดำ ก๊าซ และระดับเสียงของรถ ซึ่งอยู่ในเกณฑ์ที่ยินยอมให้นำมาใช้ในทางเดินรถได้
นำรถที่เครื่องยนต์ก่อให้เกิดเสียงเกินเกณฑ์ที่อธิบดีกำหนดมาใช้ในทางเดินรถ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท ปรับ 500 บาท


พ.ร.บ.จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 156  นำรถที่ถูกสั่งห้ามใช้ ไปใช้ในทางโดยยังมิได้รับหนังสือรับรอง ปรับไม่เกิน 1,000 บาท และรับรายวันอีกวันละ 500 บาท จนกว่าจะได้ปฏิบัติให้ถูกต้อง

พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 148 ใช้รถที่มีสภาพไม่มั่นคงแข็งแรงหรือมีเครื่องอุปกรณ์หรือส่วนควบไม่ครบถ้วน ปรับไม่เกิน 50,000 บาท

พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มาตรา มาตรา 102 ฝ่าฝืนเครื่องหมายห้ามใช้ยานพาหนะของพนักงานเจ้าหน้าที่ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท

พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2535 มาตรา 103 ไม่หยุดรถเพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจสอบ จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 10,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ประมวลกฎหมายอาญา ทำให้เครื่องหมาย (สติ้กเกอร์) “ห้ามใช้ชั่วคราว” หรือ “ห้ามใช้เด็ดขาด” หลุด ฉีก หรือไร้ประโยชน์ ปรับไม่เกิน 500 บาท

  

หมายเหตุ : การเปรียบเทียบปรับผู้กระทำผิดเป็นไปตามข้อกำหนดของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ฉบับที่ 3 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2540 และ เพิ่มเติมฉบับที่ 4 ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2540


ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

ส่วนมลพิษทางเสียงและความสั่นสะเทือนสำนักจัดการคุณภาพอากาศและเสียง
กรมควบคุมมลพิษ
โทรศัพท์ 0 2298 2372-75 โทรสาร 0 2298 2392
E-mail : noise@pcd.go.th
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่