เป็นที่ทราบกันดีว่าเยาวชนจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่นับถือศาสนาอิสลามและใช้ "ภาษามลายู" เป็น "ภาษาแม่" นั้น เส้นทางการศึกษา "ศาสนาควบคู่สายสามัญ" ผ่านระบบการศึกษาของประเทศไทยค่อนข้างตีบตัน
พวกเขาจึงจำเป็นต้องเดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหลักสูตรทางศาสนาในประเทศอิสลาม...และ "ปากีสถาน" ก็เป็นจุดหมายปลายทางหนึ่ง
แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีเช่นกันว่า เมื่อเยาวชนเหล่านี้สำเร็จการศึกษาและเดินทางกลับสู่มาตุภูมิแล้ว พวกเขามักประสบปัญหาในการหางานทำ เนื่องจากวุติบัตรที่ได้รับไม่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลไทยฉะนั้นการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับนักศึกษาไทยมุสลิมทั้งจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่อื่นๆ ที่เดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
ยิ่งจังหวัดชายแดนภาคใต้กำลังเผชิญกับสถานการณ์ความไม่สงบอยู่ในปัจจุบัน ยิ่งทำให้นักศึกษาเหล่านั้นประสบปัญหามากยิ่งขึ้น เพราะประเด็นความมั่นคงถูกฝ่ายรัฐหยิบยกขึ้นมาพิจารณาประกอบด้วยเหตุนี้เอง สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองการาจี ประเทศปากีสถาน ซึ่งมีนักศึกษาไทยมุสลิมที่ศึกษาอยู่ในเขตอาณาถึง 120 คน จึงได้จัดสัมมนาเรื่อง "บทบาทบัณฑิตด้านศาสนาต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคมไทย" ขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่นักศึกษาไทยมุสลิมเกี่ยวกับบทบาทของคนไทยที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและท้องถิ่นของตน พร้อมทั้ง "แนะแนว" ด้านการประกอบอาชีพที่เหมาะสมให้สามารถประกอบสัมมาชีพได้นอกเหนือจากการเป็นบุคลากรทางศาสนาตามที่นิยมกันนอกจากนั้น ก็เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติและประสบการณ์กับผู้ที่ประสบความสำเร็จจากหลากหลายสาขาวิชาชีพ
รวมทั้งส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์ระหว่างสถานกงสุลใหญ่ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐกับนักศึกษาไทยมุสลิม เพราะทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยด้วยกันการสัมมนาจัดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ที่โรงแรม Beach Luxury เมืองการาจี สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน โดยมีนักศึกษาไทยมุสลิมทั้งหมด 120 คนจาก 6 สถาบันเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง ได้แก่ Binnoria International University, Abu Bakr Islamic University, Jamia-tul Uloom Il-Islamiyya (Jamia Banuri Town), Darul Khair, Darul Uloom College และ Asraful Madares
และมี อาจารย์อับดุลกอเดร มูซอ ผู้อำนวยการโรงเรียนศาสนาอีกรอ กรุงเทพมหานคร กับ อาจารย์วีรโชติ หะยีมะ นักวิชาการอิสระจากประเทศไทย เดินทางไปร่วมแลกเปลี่ยนทัศนะและให้คำแนะนำกับน้องๆ นักศึกษาอย่างเป็นกันเอง
ซึ่งถือเป็นการเปิดมิติใหม่ของการดูแลนักศึกษามุสลิมไทยในต่างแดน"
แวลีเมาะ ปูซู" ผู้สื่อข่าวสาวจากโต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา ได้รับเชิญไปร่วมกิจกรรมสำคัญในครั้งนี้ด้วย โดยเธอได้รายงานรายละเอียดของงานสัมมนา ความเป็นอยู่และแง่คิดของนักศึกษามุสลิมไทยที่นั่น รวมทั้งบรรยากาศและสภาพบ้านเมืองปากีสถานซึ่งมีน้อยคนนักที่เคยสัมผัส...กลับมาให้คนไทยได้รับรู้กัน
เปิดฟ้าปากีสถาน (1) สัมผัส นศ.มุสลิมไทย เรียนศาสนาไม่ใช่ก่อการร้าย!
พวกเขาจึงจำเป็นต้องเดินทางไปศึกษาต่อยังต่างประเทศเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะหลักสูตรทางศาสนาในประเทศอิสลาม...และ "ปากีสถาน" ก็เป็นจุดหมายปลายทางหนึ่ง
แต่ก็เป็นที่ทราบกันดีเช่นกันว่า เมื่อเยาวชนเหล่านี้สำเร็จการศึกษาและเดินทางกลับสู่มาตุภูมิแล้ว พวกเขามักประสบปัญหาในการหางานทำ เนื่องจากวุติบัตรที่ได้รับไม่ได้รับการรับรองจากรัฐบาลไทยฉะนั้นการบริหารจัดการอย่างเหมาะสมเกี่ยวกับนักศึกษาไทยมุสลิมทั้งจากสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และพื้นที่อื่นๆ ที่เดินทางไปศึกษาต่อในต่างประเทศจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก
ยิ่งจังหวัดชายแดนภาคใต้กำลังเผชิญกับสถานการณ์ความไม่สงบอยู่ในปัจจุบัน ยิ่งทำให้นักศึกษาเหล่านั้นประสบปัญหามากยิ่งขึ้น เพราะประเด็นความมั่นคงถูกฝ่ายรัฐหยิบยกขึ้นมาพิจารณาประกอบด้วยเหตุนี้เอง สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองการาจี ประเทศปากีสถาน ซึ่งมีนักศึกษาไทยมุสลิมที่ศึกษาอยู่ในเขตอาณาถึง 120 คน จึงได้จัดสัมมนาเรื่อง "บทบาทบัณฑิตด้านศาสนาต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคมไทย" ขึ้น
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่นักศึกษาไทยมุสลิมเกี่ยวกับบทบาทของคนไทยที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศและท้องถิ่นของตน พร้อมทั้ง "แนะแนว" ด้านการประกอบอาชีพที่เหมาะสมให้สามารถประกอบสัมมาชีพได้นอกเหนือจากการเป็นบุคลากรทางศาสนาตามที่นิยมกันนอกจากนั้น ก็เพื่อแลกเปลี่ยนทัศนคติและประสบการณ์กับผู้ที่ประสบความสำเร็จจากหลากหลายสาขาวิชาชีพ
รวมทั้งส่งเสริมการมีปฏิสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์ระหว่างสถานกงสุลใหญ่ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐกับนักศึกษาไทยมุสลิม เพราะทุกคนล้วนเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทยด้วยกันการสัมมนาจัดขึ้นเมื่อไม่นานมานี้ที่โรงแรม Beach Luxury เมืองการาจี สาธารณรัฐอิสลามปากีสถาน โดยมีนักศึกษาไทยมุสลิมทั้งหมด 120 คนจาก 6 สถาบันเข้าร่วมอย่างพร้อมเพรียง ได้แก่ Binnoria International University, Abu Bakr Islamic University, Jamia-tul Uloom Il-Islamiyya (Jamia Banuri Town), Darul Khair, Darul Uloom College และ Asraful Madares
และมี อาจารย์อับดุลกอเดร มูซอ ผู้อำนวยการโรงเรียนศาสนาอีกรอ กรุงเทพมหานคร กับ อาจารย์วีรโชติ หะยีมะ นักวิชาการอิสระจากประเทศไทย เดินทางไปร่วมแลกเปลี่ยนทัศนะและให้คำแนะนำกับน้องๆ นักศึกษาอย่างเป็นกันเอง
ซึ่งถือเป็นการเปิดมิติใหม่ของการดูแลนักศึกษามุสลิมไทยในต่างแดน"
แวลีเมาะ ปูซู" ผู้สื่อข่าวสาวจากโต๊ะข่าวภาคใต้ สถาบันอิศรา ได้รับเชิญไปร่วมกิจกรรมสำคัญในครั้งนี้ด้วย โดยเธอได้รายงานรายละเอียดของงานสัมมนา ความเป็นอยู่และแง่คิดของนักศึกษามุสลิมไทยที่นั่น รวมทั้งบรรยากาศและสภาพบ้านเมืองปากีสถานซึ่งมีน้อยคนนักที่เคยสัมผัส...กลับมาให้คนไทยได้รับรู้กัน