ขอเรียนเชิญ พุทธศาสนิกชนไทยร่วมมหากุศลครั้งแรกในโลก
ความเป็นมาของพระมหาเจดีย์พุทธคยา
ในสมัยพุทธกาล พุทธคยาอยู่ในดินแดนที่เรียกกันว่าชมพูทวีป ตั้งอยู่ในหมู่บ้านชื่อว่า อุรุเวลาเสนานิคมในแคว้นมคธ เป็นสถานที่ ๆ ร่มรื่นเป็นรมณียสถานสะดวกด้วยโคจรคาม เหมาะกับการบำเพ็ญเพียรทางจิตเมื่อพระองค์ได้ตรั้สรู้แล้ว พระองค์ได้ประทับอยู่ ณ พุทธคยา เพื่อเสวยวิมุตติสุข (ความสุขอันเกิดจากการหลุดพ้น) อยู่ 7 สัปดาห์
พุทธสถานพุทธคยา อันเป็นอนุสรณียสถานระรึกถึงการตรัสรู้ของพระพุทธองค์นั้น เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่สมัย พระเจ้าอโศกมหาราช และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในปี พ.ศ.2545 สำหรับองค์พระมหาโพธิเจดีย์ พระเจ้าหุวิชกะ มีพระราชศรัทธาสร้างมหาเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชา ในปี พ.ศ. 694 เพื่อเป็นสถานที่สักการะสำหรับพุทธบริษัท โดยได้สร้างเป็นพระเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมทรงรีสวยงามติดกับพระแท่นวัชรอาสน์ทางทิศตะวันออก
ปัจจุบัน พุทธคยาเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลก เพราะเป็นสังเวชณียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญที่สุดของชาวพุทธสถานที่ ๆ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพระพุทธศาสนา สถานที่ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญานแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวพุทธทั้งมวล
ความเป็นมาของ “โครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาเจดีย์พุทธคยา”
ในสมัยพุทธกาลพุทธคยา (Bodh Gaya, Mahabodhi Temple) คือคำเรียกกลุ่มพุทธสถานสำคัญในอำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพุทธสถานที่มีความสำคัญที่สุด 1 ใน 4 แห่งของชาวพุทธ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธสังเวชนียสถานที่มีความสำคัญที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก
ปัจจุบันบริเวณพุทธศาสนสถานอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดมหาโพธิ อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วมพุทธ-ฮินดู
พุทธคยา ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 350 เมตร (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์) พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุโบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากพุทธสถานโบราณแล้ว บริเวณโดยรอบพุทธคยายังเป็นที่ตั้งของวัดพุทธนานาชาติ สำหรับชาวพุทธพุทธคยานับเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลกที่ต้องการมาสักการะสังเวชนียสถานสำคัญ 1 ใน 4 แห่งของพระพุทธศาสนา
จากความสำคัญของพุทธคยาดังกล่าวนั้น พระอริยสงฆ์ที่มีความสำคัญอีกรูปหนึ่งคือ พระอาจารย์ ดร.กฤษฎา สิริวฑฒโน ประธานสงฆ์ วัดเมตตาพุทธาราม พุทธคยา ประเทศอินเดีย ซึ่งอยู่ในการอุปถัมภ์ของสมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม ได้นำพุทธศาสนิกชนชาวไทยสร้างกิจกรรมมหากุศลทำนุบำรุงพระมหาเจดีย์พุทธคยาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาเกือบ 10 ปี และในวาระพิเศษในปี พ.ศ.2556 นี้ ท่านได้ร่วมกับพุทธศานิกชนชาวไทยประสานงานจนได้รับความเห็นชอบจากโบราณคดีฝ่ายมรดกโลก ประเทศอินเดีย และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการผู้บริหารวัดมหาโพธิมหาวิหาร (บริหารงานโดย Bodh-gaya Temple Management Committee) ให้เป็นผู้ดำเนินการ จัดสร้างทองคำสำหรับหุ้มยอดฉัตรพระมหาเจดีย์พุทธคยา ซึ่งนับเป็นมหามงคลอันสูงสุดที่พุทธศานิกชนชาวไทยได้มีโอกาสถวายทองคำ (ประมาณ 200 กิโลกรัม) เพื่อขึ้นรูปและนำไปหุ้มยอดฉัตรมหาเจดีย์พุทธคยา โดยความสูงของยอดฉัตรประมาณ 6 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เมตร ถวายเป็นพุทธบูชาและร่วมเทิดพระเกียรติฉลองพระชันษาครบ 100 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 3 ตุลาคม 2556 ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการ สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศพระองค์แรก ซึ่งในการนี้ ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รับหน้าที่เป็นหัวเรือใหญ่คอยอำนวยการบริหารจัดการโครงการมหาบุญให้บรรลุผลสำเร็จ ทั้งนี้คณะกรรมการที่เริ่มดำเนินการได้เปิดโอกาสให้พุทธศานิกชนชาวไทยร่วมบูชาพระพุทธเจ้าอันจะเป็นการบำเพ็ญมหากุศลอันยิ่งใหญ่ในชีวิตนี้
** ท่านที่สนใจร่วมทำบุญมหากุศลในครั้งนี้ สามารถร่วมบริจาคได้ ดังนี้
1. ติดต่อบริจาคโดยตรง ณ กองอำนวยการ “โครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาเจดีย์พุทธคยา”
ที่ พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อาคารพระนางเจ้ารำไพพรรณี ชั้น 5
เลขที่ 2 ถนนหลานหลวง แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ
(ตึกสีเขียวอ่อน)ถ้ามาทางเรือลงผ่านฟ้ามองทางขวาเดินตรงไปนิดนึง
ในเวลา 09.00-16.30 น. เว้นวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
โทร 02-280 3413-4 ต่อ 511 หรือ091-212 5293, 091-212 5294, 091-212 5295
2. โอนเข้าบัญชี ชื่อ “โครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาเจดีย์พุทธคยา”
2.1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขา (มหาชน) มทร. พระนคร
บัญชีกระแสรายวัน 8803500373 บัญชีออมทรัพย์ 8807060622
2.2. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาเทเวศร์
บัญชีกระแสรายวัน 0203046033 บัญชีออมทรัพย์ 0202737437
2.3. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) สาขาท่าพระจันทร์
บัญชีกระแสรายวัน 2243027889 บัญชีออมทรัพย์ 2246007838
2.4. ธนาคารออมสิน สาขาหน้าพระลาน
บัญชีกระแสรายวัน 0000275438 บัญชีออมทรัพย์ 020090806488
โปรดส่งสลิปการนำเงินเข้าบัญชีมายังกองอำนวยการโครงการ หรือ Fax มาที่ 02 628 2899 พร้อมแจ้งชื่อที่อยู่ของท่าน เพื่อโครงการฯ จักได้จัดส่งหนังสืออนุโมทนาให้ท่านเป็นที่ระลึกต่อไป (หนังสืออนุโมทนาไม่สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษี)
Email: goldenspire@hotmail.com
Facebook: โครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย
3.ขอเชิญร่วมพิธีถวายทองคำ ในโครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาเจดีย์พุทธคยา ครั้งที่ 3
ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 15.30 - 17.30
---------------------------------------------------------------------------
อ้างอิง จากหนังสือพิมพ์บ้านเมืองวันที่ 17 เมษายน 2556 และแผ่นพับประชาสัมพันธ์
ขอเรียนเชิญชาวพุทธไปร่วมบุญกันเยอะๆะคะ
[แจ้งข่าว] โครงการหุ้มทองคำ ยอดฉัตรพระมหาเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย
ความเป็นมาของพระมหาเจดีย์พุทธคยา
ในสมัยพุทธกาล พุทธคยาอยู่ในดินแดนที่เรียกกันว่าชมพูทวีป ตั้งอยู่ในหมู่บ้านชื่อว่า อุรุเวลาเสนานิคมในแคว้นมคธ เป็นสถานที่ ๆ ร่มรื่นเป็นรมณียสถานสะดวกด้วยโคจรคาม เหมาะกับการบำเพ็ญเพียรทางจิตเมื่อพระองค์ได้ตรั้สรู้แล้ว พระองค์ได้ประทับอยู่ ณ พุทธคยา เพื่อเสวยวิมุตติสุข (ความสุขอันเกิดจากการหลุดพ้น) อยู่ 7 สัปดาห์
พุทธสถานพุทธคยา อันเป็นอนุสรณียสถานระรึกถึงการตรัสรู้ของพระพุทธองค์นั้น เริ่มสร้างขึ้นตั้งแต่สมัย พระเจ้าอโศกมหาราช และได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก ในปี พ.ศ.2545 สำหรับองค์พระมหาโพธิเจดีย์ พระเจ้าหุวิชกะ มีพระราชศรัทธาสร้างมหาเจดีย์ถวายเป็นพุทธบูชา ในปี พ.ศ. 694 เพื่อเป็นสถานที่สักการะสำหรับพุทธบริษัท โดยได้สร้างเป็นพระเจดีย์รูปทรงสี่เหลี่ยมทรงรีสวยงามติดกับพระแท่นวัชรอาสน์ทางทิศตะวันออก
ปัจจุบัน พุทธคยาเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลก เพราะเป็นสังเวชณียสถานที่ศักดิ์สิทธิ์สำคัญที่สุดของชาวพุทธสถานที่ ๆ เป็นจุดเริ่มต้นแห่งพระพุทธศาสนา สถานที่ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญานแห่งองค์สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวพุทธทั้งมวล
ความเป็นมาของ “โครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาเจดีย์พุทธคยา”
ในสมัยพุทธกาลพุทธคยา (Bodh Gaya, Mahabodhi Temple) คือคำเรียกกลุ่มพุทธสถานสำคัญในอำเภอคยา รัฐพิหาร ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นพุทธสถานที่มีความสำคัญที่สุด 1 ใน 4 แห่งของชาวพุทธ เนื่องจากเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พุทธสังเวชนียสถานที่มีความสำคัญที่สุดของชาวพุทธทั่วโลก
ปัจจุบันบริเวณพุทธศาสนสถานอันเป็นที่ตั้งของสถานที่ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า มีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วัดมหาโพธิ อยู่ในความดูแลของคณะกรรมการร่วมพุทธ-ฮินดู
พุทธคยา ปัจจุบันตั้งอยู่ด้านตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ไกลจากฝั่งแม่น้ำประมาณ 350 เมตร (นับจากพระแท่นวัชรอาสน์) พุทธคยามีสัญลักษณ์ที่สำคัญคือองค์เจดีย์สี่เหลี่ยมที่สูงใหญ่ โดยสูงถึง 51 เมตร ฐานวัดโดยรอบได้ 121.29 เมตร ล้อมรอบด้วยโบราณวัตถุโบราณสถานสำคัญ เช่น ต้นพระศรีมหาโพธิ พระแท่นวัชรอาสน์ ที่ประทับตรัสรู้ และอนิมิสสเจดีย์ เป็นต้น ซึ่งนอกจากพุทธสถานโบราณแล้ว บริเวณโดยรอบพุทธคยายังเป็นที่ตั้งของวัดพุทธนานาชาติ สำหรับชาวพุทธพุทธคยานับเป็นหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่สำคัญที่สุดของนักแสวงบุญชาวพุทธทั่วโลกที่ต้องการมาสักการะสังเวชนียสถานสำคัญ 1 ใน 4 แห่งของพระพุทธศาสนา
จากความสำคัญของพุทธคยาดังกล่าวนั้น พระอริยสงฆ์ที่มีความสำคัญอีกรูปหนึ่งคือ พระอาจารย์ ดร.กฤษฎา สิริวฑฒโน ประธานสงฆ์ วัดเมตตาพุทธาราม พุทธคยา ประเทศอินเดีย ซึ่งอยู่ในการอุปถัมภ์ของสมเด็จพระวันรัต วัดบวรนิเวศวิหาร กรรมการมหาเถรสมาคม ได้นำพุทธศาสนิกชนชาวไทยสร้างกิจกรรมมหากุศลทำนุบำรุงพระมหาเจดีย์พุทธคยาอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลาเกือบ 10 ปี และในวาระพิเศษในปี พ.ศ.2556 นี้ ท่านได้ร่วมกับพุทธศานิกชนชาวไทยประสานงานจนได้รับความเห็นชอบจากโบราณคดีฝ่ายมรดกโลก ประเทศอินเดีย และได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการผู้บริหารวัดมหาโพธิมหาวิหาร (บริหารงานโดย Bodh-gaya Temple Management Committee) ให้เป็นผู้ดำเนินการ จัดสร้างทองคำสำหรับหุ้มยอดฉัตรพระมหาเจดีย์พุทธคยา ซึ่งนับเป็นมหามงคลอันสูงสุดที่พุทธศานิกชนชาวไทยได้มีโอกาสถวายทองคำ (ประมาณ 200 กิโลกรัม) เพื่อขึ้นรูปและนำไปหุ้มยอดฉัตรมหาเจดีย์พุทธคยา โดยความสูงของยอดฉัตรประมาณ 6 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 3 เมตร ถวายเป็นพุทธบูชาและร่วมเทิดพระเกียรติฉลองพระชันษาครบ 100 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 3 ตุลาคม 2556 ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการ สำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศพระองค์แรก ซึ่งในการนี้ ศ.ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า และอดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี รับหน้าที่เป็นหัวเรือใหญ่คอยอำนวยการบริหารจัดการโครงการมหาบุญให้บรรลุผลสำเร็จ ทั้งนี้คณะกรรมการที่เริ่มดำเนินการได้เปิดโอกาสให้พุทธศานิกชนชาวไทยร่วมบูชาพระพุทธเจ้าอันจะเป็นการบำเพ็ญมหากุศลอันยิ่งใหญ่ในชีวิตนี้
** ท่านที่สนใจร่วมทำบุญมหากุศลในครั้งนี้ สามารถร่วมบริจาคได้ ดังนี้
1. ติดต่อบริจาคโดยตรง ณ กองอำนวยการ “โครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาเจดีย์พุทธคยา”
ที่ พิพิธภัณฑ์พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว อาคารพระนางเจ้ารำไพพรรณี ชั้น 5
เลขที่ 2 ถนนหลานหลวง แขวงวัดโสมนัส เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ
(ตึกสีเขียวอ่อน)ถ้ามาทางเรือลงผ่านฟ้ามองทางขวาเดินตรงไปนิดนึง
ในเวลา 09.00-16.30 น. เว้นวันจันทร์และวันหยุดนักขัตฤกษ์
โทร 02-280 3413-4 ต่อ 511 หรือ091-212 5293, 091-212 5294, 091-212 5295
2. โอนเข้าบัญชี ชื่อ “โครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาเจดีย์พุทธคยา”
2.1. ธนาคารกรุงเทพ จำกัด สาขา (มหาชน) มทร. พระนคร
บัญชีกระแสรายวัน 8803500373 บัญชีออมทรัพย์ 8807060622
2.2. ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) สาขาเทเวศร์
บัญชีกระแสรายวัน 0203046033 บัญชีออมทรัพย์ 0202737437
2.3. ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) สาขาท่าพระจันทร์
บัญชีกระแสรายวัน 2243027889 บัญชีออมทรัพย์ 2246007838
2.4. ธนาคารออมสิน สาขาหน้าพระลาน
บัญชีกระแสรายวัน 0000275438 บัญชีออมทรัพย์ 020090806488
โปรดส่งสลิปการนำเงินเข้าบัญชีมายังกองอำนวยการโครงการ หรือ Fax มาที่ 02 628 2899 พร้อมแจ้งชื่อที่อยู่ของท่าน เพื่อโครงการฯ จักได้จัดส่งหนังสืออนุโมทนาให้ท่านเป็นที่ระลึกต่อไป (หนังสืออนุโมทนาไม่สามารถนำไปหักลดหย่อนภาษี)
Email: goldenspire@hotmail.com
Facebook: โครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาเจดีย์พุทธคยา ประเทศอินเดีย
3.ขอเชิญร่วมพิธีถวายทองคำ ในโครงการหุ้มทองคำยอดฉัตรพระมหาเจดีย์พุทธคยา ครั้งที่ 3
ณ พระอุโบสถ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร
วันพฤหัสบดีที่ 23 พฤษภาคม 2556 เวลา 15.30 - 17.30
---------------------------------------------------------------------------
อ้างอิง จากหนังสือพิมพ์บ้านเมืองวันที่ 17 เมษายน 2556 และแผ่นพับประชาสัมพันธ์
ขอเรียนเชิญชาวพุทธไปร่วมบุญกันเยอะๆะคะ