(กองทุนหุ้นมีความเสี่ยงสูงควรนำเงินเย็นมาลงทุน)
ถ้าต้องการรอรับปันผลตามนโยบายกองทุน เอาปันผลที่ได้มาใช้ (เป็นการลดความเสี่ยงด้วยเพราะเป็นการทยอยตัดขายกำไรจากในกองออกมาปันผล) และถ้าไม่อยากติดตามดูแลจัดการในส่วนกำไรของกองทุนนี้ด้วยตัวเอง ก็ควรลงทุนในกองทุนที่จ่ายปันผล แต่ถ้าไม่ต้องการใช้ปันผลแล้วยังเอาเงินปันผลที่ได้กลับเข้าลงทุนในกองทุนเดิมอย่างต่อเนื่อง จะเป็นการจัดการกับกำไรที่ไม่ถูกต้อง ควรเปลี่ยนไปลงทุนในกองที่ไม่จ่ายปันผลดีกว่าเพราะทุกครั้งที่จ่ายปันผล กองทุนจะตัดขายเอากำไรบางส่วนในกองทุนออกมาจ่ายเป็นปันผลให้ แล้วยังต้องถูกหักภาษีไปจากกำไรนี้อีก10%
สำหรับกองที่ไม่จ่ายปันผล เราต้องจัดการส่วนของกำไรที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง จะเลือกสะสมกำไรระยะยาวโดยไม่แบ่งขายส่วนกำไรเพื่อให้กองทุนได้โตอย่างเต็มที่ก็ได้ แต่ถ้าต้องการลดความเสี่ยงที่กำไรอาจลดไปหรือกองทุนอาจขาดทุนในบางช่วงของระยะเวลาที่ลงทุนก็สามารถทยอยตัดขายส่วนกำไรเป็นช่วงๆได้(โดยไม่มีภาษีปันผล) อาจมีค่าธรรมเนียมขายในบางกอง(0-1%)
ในการจัดการส่วนของกำไรด้วยตัวเอง เช่นการทยอยตัดขายกำไรบางส่วนเป็นระยะในกองทุนที่ไม่จ่ายปันผล
สมมติเราตั้งเป้าว่า ทุกครั้งที่กองทุนโตมีกำไร10% จะตัดขายเพียง80%ของส่วนกำไรนีั
ลงทุน 1,000บาท ถ้ากองทุนมีกำไรในช่วงที่1=100บาท ตัดขาย80บาท กองทุนเเหลืออยู่ 1,020บาท เวลาผ่านไป กองทุนโตช่วงที่2เป็น 1,122บาท เราตัดขาย 82บาท กองทุนก็เหลือ 1,040บาท
กรณีนี้เราได้ตัดขายส่วนกำไรไป2ครั้ง เงินต้นทั้งหมดที่ลงทุนเท่ากับ 1,000บาท กระแสเงินสดที่รับไป2ครั้งรวม162บาทและกองทุนก็ยังโตขึ้นเป็น 1,040บาท
(จะตั้งเป้าแบบไหนก็ได้ ขึ้นกับเรา อันนี้เป็นเพียงตัวอย่าง)
เนื่องจากเป็นกองทุนหุ้นเหมือนกัน การหาจังหวะลงทุนระหว่างกองทุนหุ้นที่จ่ายปันผลกับกองที่ไม่จ่ายปันผลไม่ได้มีความต่างกัน ส่วนใหญ่แนะนำให้ทยอยลงทุนแบบถัวเฉลี่ยเพราะไม่รู้ว่าวันต่อไปหรือช่วงต่อไปหุ้นในกองทุนจะขึ้นหรือลง ถ้ามีเวลาติดตามมากขึ้นอาจทยอยลงทุนเพิ่มอีกในช่วงที่หุ้นตกมาก สำหรับกองจ่ายปันผลอาจเข้าลงทุนในวันXDหรือวันที่กองทุนตัดยอดปันผลออกจากกอง แต่ก็ไม่แน่เหมือนกันว่าจะได้ราคาดีที่สุดเพราะหลังจากวันXDแล้วหุ้นในกองอาจตกต่อทำให้ราคาถูกลงอีกก็ได้ เพียงแต่เป็นจังหวะเริ่มใหม่ที่น่าทยอยเข้าลงทุนในกองที่จ่ายปันผล
กองจ่ายปันผลกับไม่จ่ายปันผลจึงแตกต่างกันแค่รูปแบบการบริหารผลกำไร ผู้ที่จะลงทุนให้ได้ผลตอบแทนดีในกองทุนหุ้น ถ้ากองทุนทำผลกำไรได้มาก สุดท้ายก็จะได้รับผลตอบแทนมากตามผลงานที่กองทุนทำได้ รูปแบบการรับผลกำไรจะเป็นแบบทยอยรับเงินปันผล(กองจ่ายปันผล) ทยอยตัดขายเองหรือสะสมกำไรไว้ระยะยาว(กองไม่จ่ายปันผล)ก็เป็นเพียงรูปแบบที่เลือกได้ มีข้อดีข้อเสียในเรื่องภาษีและการติดตามดูแลบริหารจัดการกำไรที่เกิดขึ้นเป็นทางเลือก
ประเด็นเรื่องกองทุนหุ้นจ่ายปันผลกับไม่จ่ายปันผลนี้ เพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนถ้าต้องการความชัดเจนควรอ่านเพิ่มเติมหรือปรึกษาผู้รู้ที่เป็นมืออาชีพจริงๆ เช่นคุณวรวรรณ บลจ.บัวหลวงก็ได้ตามLINKที่สมาชิก (คุณ areewan) เคยให้ไว้
https://www.facebook.com/profile.php?id=1450051196
การเลือกลงทุนระหว่างกองทุนหุ้นที่จ่ายและไม่จ่ายปันผล
ถ้าต้องการรอรับปันผลตามนโยบายกองทุน เอาปันผลที่ได้มาใช้ (เป็นการลดความเสี่ยงด้วยเพราะเป็นการทยอยตัดขายกำไรจากในกองออกมาปันผล) และถ้าไม่อยากติดตามดูแลจัดการในส่วนกำไรของกองทุนนี้ด้วยตัวเอง ก็ควรลงทุนในกองทุนที่จ่ายปันผล แต่ถ้าไม่ต้องการใช้ปันผลแล้วยังเอาเงินปันผลที่ได้กลับเข้าลงทุนในกองทุนเดิมอย่างต่อเนื่อง จะเป็นการจัดการกับกำไรที่ไม่ถูกต้อง ควรเปลี่ยนไปลงทุนในกองที่ไม่จ่ายปันผลดีกว่าเพราะทุกครั้งที่จ่ายปันผล กองทุนจะตัดขายเอากำไรบางส่วนในกองทุนออกมาจ่ายเป็นปันผลให้ แล้วยังต้องถูกหักภาษีไปจากกำไรนี้อีก10%
สำหรับกองที่ไม่จ่ายปันผล เราต้องจัดการส่วนของกำไรที่เกิดขึ้นด้วยตัวเอง จะเลือกสะสมกำไรระยะยาวโดยไม่แบ่งขายส่วนกำไรเพื่อให้กองทุนได้โตอย่างเต็มที่ก็ได้ แต่ถ้าต้องการลดความเสี่ยงที่กำไรอาจลดไปหรือกองทุนอาจขาดทุนในบางช่วงของระยะเวลาที่ลงทุนก็สามารถทยอยตัดขายส่วนกำไรเป็นช่วงๆได้(โดยไม่มีภาษีปันผล) อาจมีค่าธรรมเนียมขายในบางกอง(0-1%)
ในการจัดการส่วนของกำไรด้วยตัวเอง เช่นการทยอยตัดขายกำไรบางส่วนเป็นระยะในกองทุนที่ไม่จ่ายปันผล
สมมติเราตั้งเป้าว่า ทุกครั้งที่กองทุนโตมีกำไร10% จะตัดขายเพียง80%ของส่วนกำไรนีั
ลงทุน 1,000บาท ถ้ากองทุนมีกำไรในช่วงที่1=100บาท ตัดขาย80บาท กองทุนเเหลืออยู่ 1,020บาท เวลาผ่านไป กองทุนโตช่วงที่2เป็น 1,122บาท เราตัดขาย 82บาท กองทุนก็เหลือ 1,040บาท
กรณีนี้เราได้ตัดขายส่วนกำไรไป2ครั้ง เงินต้นทั้งหมดที่ลงทุนเท่ากับ 1,000บาท กระแสเงินสดที่รับไป2ครั้งรวม162บาทและกองทุนก็ยังโตขึ้นเป็น 1,040บาท
(จะตั้งเป้าแบบไหนก็ได้ ขึ้นกับเรา อันนี้เป็นเพียงตัวอย่าง)
เนื่องจากเป็นกองทุนหุ้นเหมือนกัน การหาจังหวะลงทุนระหว่างกองทุนหุ้นที่จ่ายปันผลกับกองที่ไม่จ่ายปันผลไม่ได้มีความต่างกัน ส่วนใหญ่แนะนำให้ทยอยลงทุนแบบถัวเฉลี่ยเพราะไม่รู้ว่าวันต่อไปหรือช่วงต่อไปหุ้นในกองทุนจะขึ้นหรือลง ถ้ามีเวลาติดตามมากขึ้นอาจทยอยลงทุนเพิ่มอีกในช่วงที่หุ้นตกมาก สำหรับกองจ่ายปันผลอาจเข้าลงทุนในวันXDหรือวันที่กองทุนตัดยอดปันผลออกจากกอง แต่ก็ไม่แน่เหมือนกันว่าจะได้ราคาดีที่สุดเพราะหลังจากวันXDแล้วหุ้นในกองอาจตกต่อทำให้ราคาถูกลงอีกก็ได้ เพียงแต่เป็นจังหวะเริ่มใหม่ที่น่าทยอยเข้าลงทุนในกองที่จ่ายปันผล
กองจ่ายปันผลกับไม่จ่ายปันผลจึงแตกต่างกันแค่รูปแบบการบริหารผลกำไร ผู้ที่จะลงทุนให้ได้ผลตอบแทนดีในกองทุนหุ้น ถ้ากองทุนทำผลกำไรได้มาก สุดท้ายก็จะได้รับผลตอบแทนมากตามผลงานที่กองทุนทำได้ รูปแบบการรับผลกำไรจะเป็นแบบทยอยรับเงินปันผล(กองจ่ายปันผล) ทยอยตัดขายเองหรือสะสมกำไรไว้ระยะยาว(กองไม่จ่ายปันผล)ก็เป็นเพียงรูปแบบที่เลือกได้ มีข้อดีข้อเสียในเรื่องภาษีและการติดตามดูแลบริหารจัดการกำไรที่เกิดขึ้นเป็นทางเลือก
ประเด็นเรื่องกองทุนหุ้นจ่ายปันผลกับไม่จ่ายปันผลนี้ เพื่อประโยชน์ของผู้ลงทุนถ้าต้องการความชัดเจนควรอ่านเพิ่มเติมหรือปรึกษาผู้รู้ที่เป็นมืออาชีพจริงๆ เช่นคุณวรวรรณ บลจ.บัวหลวงก็ได้ตามLINKที่สมาชิก (คุณ areewan) เคยให้ไว้
https://www.facebook.com/profile.php?id=1450051196