ก่อนจะมาดูแลธุรกิจเครื่องสำอางเต็มตัว "พลโทหญิง ดร. สุรภี เหมวนิช" ประธานกรรมการ บริษัท มารี ชองตาล จำกัด เคยรับราชการทหารที่ กรมการอุตสาหกรรมทหาร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม โดยตำแหน่งสุดท้ายก่อนเกษียณอายุราชการ เมื่อปี 2550 คือ รองเจ้ากรมการอุตสาหกรรมทหาร ฝ่ายบริหาร ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร สำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม กระทรวงกลาโหม
ทุกวันนี้เธอบอกว่ามารี ชองตาล ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในด้านความจงรักภักดีต่อแบรนด์ ส่วนในเรื่องของการวางแผนเรื่องการเงินของ เน้นว่าเก็บออม 30 % ใช้และทำบุญ 50% และส่วนที่เหลืออีก 20%ใช้เพื่อการลงทุนธุรกิจ
ในแง่มุมของการออมนั้น พลโทหญิง ดร. สุรภี บอกว่าให้เงินออมทำงานแทนเรา ปัจจุบัน นอกจากฝากเงินกับธนาคารแล้ว ก็ยังออมในรูปแบบอื่นโดย เน้นลงทุนแบบไม่เสี่ยง หรือ แม้เสี่ยงก็ขอให้เสี่ยงต่ำที่สุด เช่น ลงทุนในที่ดิน การทำประกันชีวิต และการออมในรูปแบบพันธบัตรของธนาคารไทย
"การลงทุนบางทีก็เป็นเรื่องของโชคชะตา บางครั้งเราคิดว่าไม่เสี่ยง และดีแล้ว แต่ปรากฏว่า ขาดทุนยับเยิน ดังนั้น บางทีก็ยังรู้สึกสบายใจที่ออมเงินในเงินฝากธนาคารแม้ดอกเบี้ยต่ำมากเหลือแค่ 0.75- 2.5%"
เธอบอกว่า ก่อนจะตัดสินใจลงทุนในธุรกิจจะต้องศึกษาว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การเปลี่ยนแปลงของโลกสามารถดูได้จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในฐานะนักประชากรศึกษา พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 มีผู้สูงอายุ 8.01 ล้านคน จากประชากร 67.4 ล้านคนคิดเป็น 11.9% และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2568 ตามแผนพัฒนาฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)
แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า ในฐานะผู้ผลิตเครื่องสำอาง เราอาจนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น อาจผลิตเครื่องสำอาง กลุ่ม Anti Aging เพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการในสินค้าของ เราในที่สุด เช่นเดียวกัน
"การลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับผู้หญิง ในเรื่อง “3 ผ.” คือ ผิว ผม ผอม ยังเป็นเรื่องยอดนิยม จึงเล็งเห็นว่าตลาดเครื่องสำอาง เป็นอุตสาหกรรมที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้แม้ในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย "
พลโทหญิง ดร. สุรภียังบอกว่าการพัฒนาประเทศในอดีต เน้นให้ความสำคัญกับแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมเพื่อสร้างความมั่งคั่งและรายได้ของประเทศเป็นหลัก โดยใช้ GDP เป็นเครื่องมือชี้วัดผลสำเร็จของการพัฒนา แต่ปรากฏว่า ผลของการพัฒนาปัญหาความยากจนและช่องว่างของการกระจายรายได้ของคนในสังคมยิ่งห่างกันมากขึ้น จะเห็นได้จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นใน ปี 2540 จากบทเรียนดังกล่าวและจากกระแสพัฒนา ดัชนีตัวชี้วัดใหม่ๆ ของต่างประเทศได้หันมาสนใจพัฒนา ตัวชี้วัดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต และความสุขของคนมากขึ้น เช่น ดัชนีความสุขมวลรวมประชาชาติของภูฏาน (GNH) เป็นต้น ทำให้ สศช.ได้พัฒนาดัชนีตัวชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขไว้ ในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 เพื่อพัฒนา สังคมไทย สู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) ซึ่งเน้นให้ความสำคัญในเชิงคุณค่าของความสุขของคนในสังคมทุกระดับ มากกว่ารายได้และความมั่งคั่ง เน้นคุณค่าทางจิตใจมากกว่าวัตถุ
"ความหมายของคำว่าพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในมุมมองของดิฉันคือ ยึดหลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว มีความรู้ และมีคุณธรรม ซึ่งดิฉันนำมาประยุกต์ใช้เป็นหลักดำเนินชีวิตมาตลอด และรัฐบาลได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำมาบรรจุไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และฉบับที่ 10 เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ ในความเห็นส่วนตัวของดิฉัน คำว่า “พอเพียง” สำหรับคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่างกัน ความพอเพียงในการดำรงชีวิตก็ต่างกันอยู่แล้ว แต่ความพอเพียงในความสุขนั้น อาจแบ่งได้เป็น “ความสุขทางใจ” และ “ความสุขทางกาย” ซึ่งดิฉันเห็นว่า เป็นสิ่งที่คนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่างกันอาจมีเท่าเทียมกันได้ หรือคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ด้อยกว่า อาจมีความสุขในการดำรงชีวิตมากกว่าผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่า จึงเห็นว่าเราควรพัฒนาให้คนมีความสุขอย่างพอเพียง ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนเพื่อสร้างสังคมให้มีความสุขร่วมกันก่อน และใช้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือ ช่วยพัฒนาคนให้มีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดี"
เธอบอกว่า ทุกวันนี้ปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับการเงิน เกิดจากการใช้เงินเกินตัว เหมือนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าไม่ใช้ชีวิตแบบ" สมชีวิตา" หรือ ชีวิตที่พอเพียง อยากฝากเรื่องนี้กับทุก ๆ คนว่า การใช้จ่ายที่เกินตัว เกิดจากการขาดดุล ระหว่าง “รายรับ” และ “รายจ่าย” ของเรา ซึ่งเราใช้จ่ายเงินไปมากกว่าเงินที่เราได้รับ จึงเกิดการเป็นหนี้ โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ดังนั้นหนทางแก้ที่ถูกต้อง ควรนำหลักการบัญชีมาใช้ ทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย ส่วนตัว หรือ แม้กระทั่งบัญชีรายรับ - รายจ่าย ของครอบครัว เป็นประจำทุกเดือน จะได้รู้สถานะการเงิน รายรับ รายจ่าย และการออมเงินของเรา และครอบครัวตลอดเวลา ก็จะช่วยแก้ไขปัญหา “การใช้จ่ายที่เกินตัว" ซึ่งตังเองทุกวันนี้ก็ยังทำอยู่
"คนทั่วไป ควรจะทำบัญชีครัวเรือน อันเป็นพื้นฐานก่อให้เกิดการออม เพื่อจะได้รู้จักจัดการบริหารเงินของตัวเอง และเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้านการเงินของครอบครัว ซึ่งหากเราได้สอนลูกหลานให้รู้จักทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย ของตนเองได้ก็จะเป็นการปลูกฝังและวางรากฐานวินัยทางการเงินให้แก่เด็ก ให้เป็นคนรู้จักพอประมาณ เป็นคนมีเหตุมีผลในการใช้เงิน ก็จะรู้จักพัฒนาตนเองได้ จึงเห็นได้ว่า การทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย ของตนเองหรือของครอบครัว ก็คือ วิถีแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง" เธอทิ้งท้ายไว้อย่างน่าฟัง
Cr.ดร.สุรภี เหมวนิช
จาก
http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=43417
'ดร.สุรภี เหมวนิช'ทำบัญชีรับจ่าย..รู้เท่าทันฐานะการเงิน
ทุกวันนี้เธอบอกว่ามารี ชองตาล ประสบความสำเร็จอย่างยิ่งในด้านความจงรักภักดีต่อแบรนด์ ส่วนในเรื่องของการวางแผนเรื่องการเงินของ เน้นว่าเก็บออม 30 % ใช้และทำบุญ 50% และส่วนที่เหลืออีก 20%ใช้เพื่อการลงทุนธุรกิจ
ในแง่มุมของการออมนั้น พลโทหญิง ดร. สุรภี บอกว่าให้เงินออมทำงานแทนเรา ปัจจุบัน นอกจากฝากเงินกับธนาคารแล้ว ก็ยังออมในรูปแบบอื่นโดย เน้นลงทุนแบบไม่เสี่ยง หรือ แม้เสี่ยงก็ขอให้เสี่ยงต่ำที่สุด เช่น ลงทุนในที่ดิน การทำประกันชีวิต และการออมในรูปแบบพันธบัตรของธนาคารไทย
"การลงทุนบางทีก็เป็นเรื่องของโชคชะตา บางครั้งเราคิดว่าไม่เสี่ยง และดีแล้ว แต่ปรากฏว่า ขาดทุนยับเยิน ดังนั้น บางทีก็ยังรู้สึกสบายใจที่ออมเงินในเงินฝากธนาคารแม้ดอกเบี้ยต่ำมากเหลือแค่ 0.75- 2.5%"
เธอบอกว่า ก่อนจะตัดสินใจลงทุนในธุรกิจจะต้องศึกษาว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร การเปลี่ยนแปลงของโลกสามารถดูได้จากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การเมือง วิทยาศาสตร์และสิ่งแวดล้อม เป็นต้น ในฐานะนักประชากรศึกษา พบว่า ปัจจุบันประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 มีผู้สูงอายุ 8.01 ล้านคน จากประชากร 67.4 ล้านคนคิดเป็น 11.9% และจะเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2568 ตามแผนพัฒนาฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2555-2559)
แน่นอนว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้า ในฐานะผู้ผลิตเครื่องสำอาง เราอาจนำข้อมูลเหล่านี้มาใช้ให้เป็นประโยชน์ เช่น อาจผลิตเครื่องสำอาง กลุ่ม Anti Aging เพิ่มขึ้น เพื่อตอบสนองผู้บริโภคที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งจะส่งผลต่อความต้องการในสินค้าของ เราในที่สุด เช่นเดียวกัน
"การลงทุนในธุรกิจเกี่ยวกับผู้หญิง ในเรื่อง “3 ผ.” คือ ผิว ผม ผอม ยังเป็นเรื่องยอดนิยม จึงเล็งเห็นว่าตลาดเครื่องสำอาง เป็นอุตสาหกรรมที่สามารถยืนหยัดอยู่ได้แม้ในสภาวะเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย "
พลโทหญิง ดร. สุรภียังบอกว่าการพัฒนาประเทศในอดีต เน้นให้ความสำคัญกับแนวคิดเศรษฐกิจเสรีนิยมเพื่อสร้างความมั่งคั่งและรายได้ของประเทศเป็นหลัก โดยใช้ GDP เป็นเครื่องมือชี้วัดผลสำเร็จของการพัฒนา แต่ปรากฏว่า ผลของการพัฒนาปัญหาความยากจนและช่องว่างของการกระจายรายได้ของคนในสังคมยิ่งห่างกันมากขึ้น จะเห็นได้จากวิกฤตเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นใน ปี 2540 จากบทเรียนดังกล่าวและจากกระแสพัฒนา ดัชนีตัวชี้วัดใหม่ๆ ของต่างประเทศได้หันมาสนใจพัฒนา ตัวชี้วัดเกี่ยวกับคุณภาพชีวิต และความสุขของคนมากขึ้น เช่น ดัชนีความสุขมวลรวมประชาชาติของภูฏาน (GNH) เป็นต้น ทำให้ สศช.ได้พัฒนาดัชนีตัวชี้วัดความอยู่เย็นเป็นสุขไว้ ในแผนพัฒนาฯฉบับที่ 10 เพื่อพัฒนา สังคมไทย สู่สังคมอยู่เย็นเป็นสุขร่วมกัน (Green and Happiness Society) ซึ่งเน้นให้ความสำคัญในเชิงคุณค่าของความสุขของคนในสังคมทุกระดับ มากกว่ารายได้และความมั่งคั่ง เน้นคุณค่าทางจิตใจมากกว่าวัตถุ
"ความหมายของคำว่าพอเพียงตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในมุมมองของดิฉันคือ ยึดหลักความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว มีความรู้ และมีคุณธรรม ซึ่งดิฉันนำมาประยุกต์ใช้เป็นหลักดำเนินชีวิตมาตลอด และรัฐบาลได้น้อมนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงนำมาบรรจุไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และฉบับที่ 10 เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาประเทศ ในความเห็นส่วนตัวของดิฉัน คำว่า “พอเพียง” สำหรับคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่างกัน ความพอเพียงในการดำรงชีวิตก็ต่างกันอยู่แล้ว แต่ความพอเพียงในความสุขนั้น อาจแบ่งได้เป็น “ความสุขทางใจ” และ “ความสุขทางกาย” ซึ่งดิฉันเห็นว่า เป็นสิ่งที่คนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจต่างกันอาจมีเท่าเทียมกันได้ หรือคนที่มีฐานะทางเศรษฐกิจที่ด้อยกว่า อาจมีความสุขในการดำรงชีวิตมากกว่าผู้ที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีกว่า จึงเห็นว่าเราควรพัฒนาให้คนมีความสุขอย่างพอเพียง ตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว และชุมชนเพื่อสร้างสังคมให้มีความสุขร่วมกันก่อน และใช้การพัฒนาเศรษฐกิจเป็นเครื่องมือ ช่วยพัฒนาคนให้มีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดี"
เธอบอกว่า ทุกวันนี้ปัญหาบางอย่างเกี่ยวกับการเงิน เกิดจากการใช้เงินเกินตัว เหมือนที่พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าไม่ใช้ชีวิตแบบ" สมชีวิตา" หรือ ชีวิตที่พอเพียง อยากฝากเรื่องนี้กับทุก ๆ คนว่า การใช้จ่ายที่เกินตัว เกิดจากการขาดดุล ระหว่าง “รายรับ” และ “รายจ่าย” ของเรา ซึ่งเราใช้จ่ายเงินไปมากกว่าเงินที่เราได้รับ จึงเกิดการเป็นหนี้ โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิต ดังนั้นหนทางแก้ที่ถูกต้อง ควรนำหลักการบัญชีมาใช้ ทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย ส่วนตัว หรือ แม้กระทั่งบัญชีรายรับ - รายจ่าย ของครอบครัว เป็นประจำทุกเดือน จะได้รู้สถานะการเงิน รายรับ รายจ่าย และการออมเงินของเรา และครอบครัวตลอดเวลา ก็จะช่วยแก้ไขปัญหา “การใช้จ่ายที่เกินตัว" ซึ่งตังเองทุกวันนี้ก็ยังทำอยู่
"คนทั่วไป ควรจะทำบัญชีครัวเรือน อันเป็นพื้นฐานก่อให้เกิดการออม เพื่อจะได้รู้จักจัดการบริหารเงินของตัวเอง และเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันด้านการเงินของครอบครัว ซึ่งหากเราได้สอนลูกหลานให้รู้จักทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย ของตนเองได้ก็จะเป็นการปลูกฝังและวางรากฐานวินัยทางการเงินให้แก่เด็ก ให้เป็นคนรู้จักพอประมาณ เป็นคนมีเหตุมีผลในการใช้เงิน ก็จะรู้จักพัฒนาตนเองได้ จึงเห็นได้ว่า การทำบัญชีรายรับ - รายจ่าย ของตนเองหรือของครอบครัว ก็คือ วิถีแห่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาชีวิต ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง" เธอทิ้งท้ายไว้อย่างน่าฟัง
Cr.ดร.สุรภี เหมวนิช
จาก http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=43417