สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 30
ขออนุญาตตอบในฐานะที่เรียนภาษามือนะคะ
ตอนนี้เราเรียนล่ามภาษามือภาษาญี่ปุ่นอยู่ที่ญี่ปุ่นค่ะ
ไม่แน่ใจว่าภาษามือที่ไทยจะคล้ายกันไหม แต่จะยกตัวอย่างภาษามือภาษาญี่ปุ่นให้ดูค่ะ
อย่างภาษามือภาษาญี่ปุ่นจะแบ่งเป็นสองแบบ ภาษามือ และ ภาษามือตามภาษาญี่ปุ่น
ภาษามือ ส่วนใหญ่มักจะใช้กับคนที่พิการทางการได้ยินตั้งแต่กำเนิด โครงสร้างไวยากรณ์จะค่อนข้างคล้ายกับภาษาไทย อังกฤษ
เช่น ฉัน กิน ข้าว หรือ ฉัน กิน อะไร ข้าว คือเป็นการพูดที่เน้นประเด็นและใจความสำคัญ
ภาษามือภาษาญี่ปุ่น จะตามหลักไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นทั่วไป นั่นก็คือประธาน กรรม กิริยา (ไม่มีตัวช่วย)
คนพิการทางการได้ยินส่วนใหญ่จะถนัดภาษามือมากกว่าภาษามือตามภาษาญี่ปุ่น
แม้จะได้รับการเรียนภาษามือแบบภาษาญี่ปุ่นมา แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ภาษามือมากกว่าค่ะ
นั่นเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมต้องมีล่ามภาษามือขึ้นมุมข้างๆ เพราะถึงมีซับขึ้นให้ ก็ไม่เข้าใจเท่ากับภาษามือค่ะ
อีกอย่างบางทีซับมันเร็วอ่านไม่ทัน หรือศัพท์บางคำเป็นภาษาเขียนก็ไม่สามารถทำความเข้าใจได้เช่นกันค่ะ
บางคนอาจจะสงสัยว่าแล้วล่ามภาษามือจะแปลทันไหม
คนที่เป็นล่ามจะถูกฝึกให้ฟังแล้วย่อเนื้อหาจับใจความให้ได้ภายในระยะเวลาสั้นๆอยู่แล้วค่ะ
ย่อในที่นี้ไม่ใช่ย่อแบบตัดนู่นนี่ออกทำให้ใจความเปลี่ยนไป แต่เป็นการย่อโดยให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมดยังอยู่
แล้วถ่ายทอดเป็นภาษามือ โดยที่ภาษามือตรงนั้นต้องเป็นภาษามือที่คนพิการทางการได้ยินเข้าใจ
ไม่ใช่แค่แปลเป็นภาษามืออย่างเดียว เพราะบางคำบางอย่างในภาษามือก็ไม่มีคำนั้นค่ะ
ส่วนชื่อเฉพาะของคนสัตว์สิ่งของต่างๆ ก็สามารถพูดเป็นภาษามือได้ค่ะ เพราะภาษามือมีตัวอักษร มีสระ
ตัวอักษรญี่ปุ่นทั้งหมด48ตัว ก็มียูบิโมจิ หรืออักษรนิ้วในการแทนตัวอักษรทั้งหมดค่ะ
ภาษามือภาษาไทยตรงนี้ก็มีเช่นกันค่ะ ส่วนเรื่องการสะกดเราไม่มั่นใจนะคะ
เวลาจะพูดชื่อเฉพาะก็จะพูดเป็นแบบนี้ค่ะ เช่น รถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ ก็จะเป็น รถยนต์ (ยี่ห้อ) เบนซ์ (ตรงยี่ห้อจะมีหรือไม่มีก็ได้)
ในคคห.ที่9-1 คนตาบอดจะรู้ภาษามือได้ยังไง ขอตอบว่ามีค่ะ
คนที่พิการทางการได้ยินและการมองเห็น ใช้ภาษามือแบบสัมผัสในการสื่อสารค่ะ
ทำภาษามือ แล้วให้เขาจับค่ะ ไม่รู้ว่าที่ไทยมีไหม แต่ที่ญี่ปุ่นมีคนพิการทั้งหูทั้งตาอยู่พอสมควรเลยค่ะ
จากประสบการณ์ที่มีโอกาสได้เจอคนพิการทั้งการได้ยินและการมองเห็นมา เขาสามารถสื่อสารได้พอสมควรเลยนะคะ
และเก่งมากด้วย ขนาดเรามองเห็นเวลาคุยภาษามือยังมีบางทีอ่านไม่ทันก็มีค่ะ แต่เขาจะเป๊ะและเร็วมาก
และก็มีคนที่พิการทางการได้ยิน การมองเห็นอาจจะยังไม่พิการแต่ก็ไม่สามารถมองเห็นทั่วไป มองเห็นแค่ใกล้ๆ
ก็จะมีภาษามือแบบทำตรงหน้าเขาค่ะ ก็จะแตกต่างจากภาษามือปกตินิดหน่อย
เราไปเล่าให้อาจารย์และเพื่อนฟังว่าที่ไทยมีล่ามภาษามืออยู่ที่มุมทีวี ทุกคนตื่นเต้นกันมากค่ะ
เพราะในญี่ปุ่นล่ามภาษามือยังไม่ได้ขึ้นมุมทีวีแบบที่ไทย ส่วนใหญ่จะขึ้นเป็นซับให้
ซึ่งอาจารย์ที่พิการทางการได้ยินตั้งแต่กำเนิดก็มักจะบ่นเสมอว่าอ่านไม่รู้เรื่อง อ่านไม่ทัน
ตอนนี้ก็กำลังจะส่งเสริมให้ล่ามภาษามือขึ้นอยู่ที่มุมทีวีในรายการสำคัญๆค่ะ
ขอเสริมอีกนิดสำหรับคนที่สงสัยว่าภาษามือไม่ได้เป็นภาษาทางการใช้แบบเดียวกันทั้งโลกเหรอ
ไม่ใช่ค่ะ ภาษามือสร้างมาจากภาษาแต่ละภาษา จึงไม่เหมือนกันค่ะทั่วโลก
ไม่ใช่แค่ไวยากรณ์ที่ไม่เหมือน แต่ศัพท์ก็แสดงไม่เหมือนกันค่ะ
อย่างภาษามือไทยที่แปลว่าร้องไห้ ในภาษามือญี่ปุ่นแปลว่ามองไม่เห็น พิการทางสายตา
ปกติทั่วไปเราใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารกับคนชาติอื่น
แล้วคนพิการทางการได้ยินทั่วโลกใช้ภาษากลางอะไรคุยกันล่ะ
คำตอบคือมีภาษามือสากลค่ะ เป็นตัวกลางสื่อสาร
ยังไม่มีโอกาสได้เรียนค่ะ แต่อาจารย์เคยบอกว่ายากมาก ฮ่าๆ
ภาษามืออังกฤษกับภาษามืออเมริกันก็ไม่เหมือนกันนะคะ
ไม่เข้าใจตรงไหนถามได้นะคะ ยินดีตอบมากๆค่ะ
ตอนนี้เราเรียนล่ามภาษามือภาษาญี่ปุ่นอยู่ที่ญี่ปุ่นค่ะ
ไม่แน่ใจว่าภาษามือที่ไทยจะคล้ายกันไหม แต่จะยกตัวอย่างภาษามือภาษาญี่ปุ่นให้ดูค่ะ
อย่างภาษามือภาษาญี่ปุ่นจะแบ่งเป็นสองแบบ ภาษามือ และ ภาษามือตามภาษาญี่ปุ่น
ภาษามือ ส่วนใหญ่มักจะใช้กับคนที่พิการทางการได้ยินตั้งแต่กำเนิด โครงสร้างไวยากรณ์จะค่อนข้างคล้ายกับภาษาไทย อังกฤษ
เช่น ฉัน กิน ข้าว หรือ ฉัน กิน อะไร ข้าว คือเป็นการพูดที่เน้นประเด็นและใจความสำคัญ
ภาษามือภาษาญี่ปุ่น จะตามหลักไวยากรณ์ภาษาญี่ปุ่นทั่วไป นั่นก็คือประธาน กรรม กิริยา (ไม่มีตัวช่วย)
คนพิการทางการได้ยินส่วนใหญ่จะถนัดภาษามือมากกว่าภาษามือตามภาษาญี่ปุ่น
แม้จะได้รับการเรียนภาษามือแบบภาษาญี่ปุ่นมา แต่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ภาษามือมากกว่าค่ะ
นั่นเป็นสาเหตุที่ว่าทำไมต้องมีล่ามภาษามือขึ้นมุมข้างๆ เพราะถึงมีซับขึ้นให้ ก็ไม่เข้าใจเท่ากับภาษามือค่ะ
อีกอย่างบางทีซับมันเร็วอ่านไม่ทัน หรือศัพท์บางคำเป็นภาษาเขียนก็ไม่สามารถทำความเข้าใจได้เช่นกันค่ะ
บางคนอาจจะสงสัยว่าแล้วล่ามภาษามือจะแปลทันไหม
คนที่เป็นล่ามจะถูกฝึกให้ฟังแล้วย่อเนื้อหาจับใจความให้ได้ภายในระยะเวลาสั้นๆอยู่แล้วค่ะ
ย่อในที่นี้ไม่ใช่ย่อแบบตัดนู่นนี่ออกทำให้ใจความเปลี่ยนไป แต่เป็นการย่อโดยให้ข้อมูลสำคัญทั้งหมดยังอยู่
แล้วถ่ายทอดเป็นภาษามือ โดยที่ภาษามือตรงนั้นต้องเป็นภาษามือที่คนพิการทางการได้ยินเข้าใจ
ไม่ใช่แค่แปลเป็นภาษามืออย่างเดียว เพราะบางคำบางอย่างในภาษามือก็ไม่มีคำนั้นค่ะ
ส่วนชื่อเฉพาะของคนสัตว์สิ่งของต่างๆ ก็สามารถพูดเป็นภาษามือได้ค่ะ เพราะภาษามือมีตัวอักษร มีสระ
ตัวอักษรญี่ปุ่นทั้งหมด48ตัว ก็มียูบิโมจิ หรืออักษรนิ้วในการแทนตัวอักษรทั้งหมดค่ะ
ภาษามือภาษาไทยตรงนี้ก็มีเช่นกันค่ะ ส่วนเรื่องการสะกดเราไม่มั่นใจนะคะ
เวลาจะพูดชื่อเฉพาะก็จะพูดเป็นแบบนี้ค่ะ เช่น รถยนต์ยี่ห้อเบนซ์ ก็จะเป็น รถยนต์ (ยี่ห้อ) เบนซ์ (ตรงยี่ห้อจะมีหรือไม่มีก็ได้)
ในคคห.ที่9-1 คนตาบอดจะรู้ภาษามือได้ยังไง ขอตอบว่ามีค่ะ
คนที่พิการทางการได้ยินและการมองเห็น ใช้ภาษามือแบบสัมผัสในการสื่อสารค่ะ
ทำภาษามือ แล้วให้เขาจับค่ะ ไม่รู้ว่าที่ไทยมีไหม แต่ที่ญี่ปุ่นมีคนพิการทั้งหูทั้งตาอยู่พอสมควรเลยค่ะ
จากประสบการณ์ที่มีโอกาสได้เจอคนพิการทั้งการได้ยินและการมองเห็นมา เขาสามารถสื่อสารได้พอสมควรเลยนะคะ
และเก่งมากด้วย ขนาดเรามองเห็นเวลาคุยภาษามือยังมีบางทีอ่านไม่ทันก็มีค่ะ แต่เขาจะเป๊ะและเร็วมาก
และก็มีคนที่พิการทางการได้ยิน การมองเห็นอาจจะยังไม่พิการแต่ก็ไม่สามารถมองเห็นทั่วไป มองเห็นแค่ใกล้ๆ
ก็จะมีภาษามือแบบทำตรงหน้าเขาค่ะ ก็จะแตกต่างจากภาษามือปกตินิดหน่อย
เราไปเล่าให้อาจารย์และเพื่อนฟังว่าที่ไทยมีล่ามภาษามืออยู่ที่มุมทีวี ทุกคนตื่นเต้นกันมากค่ะ
เพราะในญี่ปุ่นล่ามภาษามือยังไม่ได้ขึ้นมุมทีวีแบบที่ไทย ส่วนใหญ่จะขึ้นเป็นซับให้
ซึ่งอาจารย์ที่พิการทางการได้ยินตั้งแต่กำเนิดก็มักจะบ่นเสมอว่าอ่านไม่รู้เรื่อง อ่านไม่ทัน
ตอนนี้ก็กำลังจะส่งเสริมให้ล่ามภาษามือขึ้นอยู่ที่มุมทีวีในรายการสำคัญๆค่ะ
ขอเสริมอีกนิดสำหรับคนที่สงสัยว่าภาษามือไม่ได้เป็นภาษาทางการใช้แบบเดียวกันทั้งโลกเหรอ
ไม่ใช่ค่ะ ภาษามือสร้างมาจากภาษาแต่ละภาษา จึงไม่เหมือนกันค่ะทั่วโลก
ไม่ใช่แค่ไวยากรณ์ที่ไม่เหมือน แต่ศัพท์ก็แสดงไม่เหมือนกันค่ะ
อย่างภาษามือไทยที่แปลว่าร้องไห้ ในภาษามือญี่ปุ่นแปลว่ามองไม่เห็น พิการทางสายตา
ปกติทั่วไปเราใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสารกับคนชาติอื่น
แล้วคนพิการทางการได้ยินทั่วโลกใช้ภาษากลางอะไรคุยกันล่ะ
คำตอบคือมีภาษามือสากลค่ะ เป็นตัวกลางสื่อสาร
ยังไม่มีโอกาสได้เรียนค่ะ แต่อาจารย์เคยบอกว่ายากมาก ฮ่าๆ
ภาษามืออังกฤษกับภาษามืออเมริกันก็ไม่เหมือนกันนะคะ
ไม่เข้าใจตรงไหนถามได้นะคะ ยินดีตอบมากๆค่ะ
แสดงความคิดเห็น
ทำไมต้องใช้ภาษามือที่หน้าจอทีวี ไม่ใส่เป็นsubtitle ไปเลย