ในวันนี้จะมาอธิบายถึง วงจรต่อ ไฟสปอร์ตไลท์ หรือแตรหอยโข่ง เพิ่มเติม ซึ่งทั้งสองวงจร
มีหลักการทำงานคล้ายกัน เพียงแค่ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ข้างเคียงเล็กน้อย และเดินสายไฟต่างกันเล็กน้อย
ตามมาดูกันเลยครับ ไม่ยากอย่างที่คิดครับ
1. รูปรีเลย์ ขนาด 12 โวลต์ 30 แอมป์ ราคา 85-100 บาท ต่อตัว ด้านข้างแสดงวงจรภายใน
รีเลย์ ขาที่ 85 และ 86 เป็นขาไฟเลี้ยงคอยด์ รีเลย์ + 12 โวลต์ สามารถต่อสลับขั้วกันได้
ถ้าขาที่ 85 เป็นขั้วบวก อีกขานึง ขาที่ 86 ต้องเป็น GND หรือ กราวด์ตัวถังครับ
ขาที่ 30 ต้องต่อไฟ + 12 โวลต์ มารอเอาไว้ครับ จนกว่าคอยด์รีเลย์ จะสั่งงานให้หน้า
คอนแท็ค ทำหน้าที่ต่อวงจร ให้ไฟ + 12 โวลต์ จากขาที่ 30 วิ่งไปยังโหลดที่ขา 87
จากรูป หน้า คอนแท็ค แบบนี้เรียกว่า แบบปกติเปิด สำหรับเอาไว้ต่อวงจร
อีกแบบนึง จะเรียกว่า แบบปกติปิด สำหรับเอาไว้ตัดวงจร
2. จากรูปนี่คือ วงจร ต่อไฟสปอร์ตไลท์ เพิ่มเติม อธิบายวงจร ดังนี้
ทำการต่อไฟ + 12 โวลต์ ผ่านกระบอกฟิวส์ ที่มีฟิวส์ขนาด 10 แอมป์อยู่ภายใน ไปยังขารีเลย์
เบอร์ 30 และเบอร์ 86
ในส่วนของวงจรควบคุม ต่อสายไฟจาก ขารีเลย์เบอร์ 85 ลากสายไฟเข้าไปในห้องโดยสาร เอาไป
ต่อกับสวิตช์ไฟ แบบปกติเปิด ข้างนึง ส่วนอีกข้างนึงทำการต่อลงกราวด์
ในส่วนของวงจรกำลัง จากขารีเลย์เบอร์ 87 ต่อไปยังไฟสปอร์ตไลท์ที่ขาขั้วบวก ส่วนขาขั้วลบของ
ไฟสปอร์ตไลท์ ทำการต่อลงกราวด์ หรือลงตัวถัง
การทำงานของวงจร ถ้าเราทำการปิดสวิตช์สั่งงานจากห้องโดยสาร จะทำให้มีไฟเลี้ยงไปผ่านคอยด์
รีเลย์ ทำให้รีเลย์ทำงาน มีไฟบวกวิ่งไปยังไฟสปอร์ตไลท์ ไฟจึงสว่างขึ้น และถ้าเราทำการเปิดสวิตช์ในห้อง
โดยสาร เป็นการตัดไฟไปเลี้ยงคอยด์รีเลย์ รีเลย์ไม่ทำงาน จึงไม่มีไฟไปยังไฟสปอร์ไลท์ ไฟจึงดับ
ขอแนะนำในส่วนของวงจรกำลัง แนะนำให้ใช้สายไฟขนาดใหญ่หน่อย ช่วยให้ไฟฟ้าเดินได้ดีขึ้น
หรือถ้ามี สายกราวด์ไวร์ในบริเวณนั้น ช่วยให้ไฟเดินทางกลับขั้วลบที่แบตเตอรี่ได้เร็วขึ้น ประสิทธิภาพดีขึ้น
3. จากรูปนี่คือ วงจร ต่อแตรหอยโข่ง เพิ่มเติม อธิบายวงจร ดังนี้
โดยปกติ แตรเดิมที่มาจากโรงงาน ลักษณะจะเป็นดังรูปที่อยู่ด้านล่างสุด น้าบางท่านอาจจะเอา
แตรของเดิมออก แล้วเอาแตรหอยโข่งอันใหม่ใส่เข้าไปแทนที่ หลังจากติดตั้งจะพบว่าเสียงดังบ้าง
ไม่เหมือนตอนที่ซื้อมา เนื่องจากสายไฟเส้นเดิมมันเล็ก กระแสไฟฟ้าเดินไม่ได้เต็มที่
ทำการติดตั้งดังรูป แตรเดิมจะเอาออก หรือไม่ก็ได้ตามแต่ชอบ แต่ผมเอาไว้ เพราะว่าถ้าถอดออกมา
ก็ไม่มีประโยชน์ มาวางเกะกะข้างนอกซะอีก
ในส่วนของวงจรควบคุม ต่อสายไฟจากแตรเดิม ไปยังขารีเลย์ เบอร์ 85 หรือเบอร์ 86 จากนั้น
ขารีเลย์ อีกข้างนึง อาจจะเป็น ขารีเลย์ เบอร์ 85 หรือเบอร์ 86 นำไปต่อลงกราวด์ เพื่อที่จะให้ครบวงจร
ในส่วนของวงจรกำลัง ทำการต่อไฟ + 12 โวลต์ ผ่านกระบอกฟิวส์ ที่มีฟิวส์ขนาด 10 แอมป์
อยู่ภายใน ไปยังขารีเลย์ขารีเลย์เบอร์ 30 จากนั้นขารีเลย์อีกด้านนึง เบอร์ 87 ทำการเดินสายไฟไปยัง
แตรหอยโข่ง
การทำงานของวงจร ถ้าเราทำการกดแตร จะทำให้มีไฟเลี้ยงไปผ่านคอยด์รีเลย์ ทำให้รีเลย์ทำงาน
เมื่อรีเลย์ทำงาน ไฟบวก 12 โวลต์ จะเดินทางผ่านฟิวส์ ผ่านรีเลย์ ไปยังแตรหอยโข่ง ซึ่งวิธีนี้ผมว่า
สะดวกดี ใช้งานร่วมกับแตรเดิมที่มีอยู่ได้เลย
ขอแนะนำในส่วนของวงจรกำลัง แนะนำให้ใช้สายไฟขนาดใหญ่หน่อย ช่วยให้ไฟฟ้าเดินได้ดีขึ้น
หรือถ้ามี สายกราวด์ไวร์ในบริเวณนั้น ช่วยให้ไฟเดินทางกลับขั้วลบที่แบตเตอรี่ได้เร็วขึ้น ประสิทธิภาพดีขึ้น
4. เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการติดตั้งครับ สรุป Project ล่าสุดที่ทำการติดตั้งนะครับ
4.1 สายไฟขนาด 1.5 ยาว 8 เมตร ราคา 320 บาท
4.2 ท่อผ่ายาว 8 เมตร ราคา 80 บาท
4.3 ไฟสปอร์ตไลท์ 1 ดวง แบบ H3 ราคา 240 บาท
4.4 รีเลย์ 1 ตัว ราคา 90 บาท
4.5 ซ็อกเก็ต รีเลย์ 1 ตัว ราคา 30 บาท
4.6 ฟิวส์ขนาด 10 แอมป์ 2 ตัว ราคา 10 บาท
4.7 ซ็อกเก็ต ฟิวส์ 1 ตัว ราคา 20 บาท
4.8 สายเคเบิ้ลไทล์ ขนาด 6 นิ้ว จำนวน 40 เส้น ราคา 60 บาท
อุปกรณอื่นๆ ที่มีบ้างแล้ว เช่น หัวแร้งบัดกรี, ตะกั่วบัดกรี, คีมตัดสายไฟ, คีมย้ำสายไฟ
5. ไฟสปอร์ตไลท์ที่ซื้อมา 1 ดวงครับ ใน 1 กล่องมี 1 คู่ แต่ว่าเราจะใช้แค่อันเดียว เรากล้าซื้อ
เขาก็กล้าขาย จากรูป ระบุว่า หลอดไฟแบบ H3 ขนาด 12 โวลต์ 55 วัตต์ ทำการคำนวณเป็นกระแส
ไฟฟ้าจะได้ว่า 55 วัตต์ หารด้วย 12 โวลต์ จะได้ค่ากระแสไฟฟ้า 4.583 แอมป์ หรือประมาณ 5 แอมป์
ต่อหลอดไฟ 1 ดวง ค่ากระไฟฟ้าที่ได้ ไปทำการหาขนาดสายไฟที่เหมาะสม ไม่ควรใช้เส้นเล็กเกินไป
เพื่อว่าจะต่อเพิ่มในอนาคต
6. วงจรแนะนำที่ข้างกล่องนะครับ จะต่อแบบนี้ก็ได้นะครับ แต่ต้องเลือก สวิตช์ และฟิวส์ ให้ทนกระแส
ไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวมันเองด้วยนะครับ
7. สายไฟราคาแรงมากครับ เมตรละ 40 บาท จัดไปครับ
8. ไหนๆ จะทำเองแล้วเอาท่อผ่ามาใส่ให้มันดูดีหน่อย งานเนียนแต่ต้องลงทุน
9. ทำการรวมร่างเสร็จแล้วครับ
10. อ้าว.....งานนี้มีการเล่นของหนักกันเลย
11. รีเลย์ที่เราทำการประกอบวงจรแล้ว เก็บๆ เอามามัดรวมกันเอาไว้ครับ จากรูปตอนนี้ผมก็เริ่มจะงงๆ
แล้วว่า อันไหนเป็นของอะไร แต่ถ้าไล่ไปตามสายก็จะรู้แน่นอน
12. อันนี้สวิตช์ที่ต่อเข้าไปในห้องโดยสารครับ
13. วงจรต่อ ไฟสปอร์ตไลท์ เพิ่มเติม เสร็จแล้วครับ ดังรูปเลย อันนี้โปรเจ็คล่าสุด
14. วงจรต่อ แตรหอยโข่ง เพิ่มเติม โปรเจ็คนี้ผ่านมานานแล้วครับ สังเกตว่าแตรเดิมก็ยังใช้อยู่
ไม่ได้เอาออก
D.I.Y. วงจรต่อ ไฟสปอร์ตไลท์ หรือแตรหอยโข่ง เพิ่มเติม by Yai6000
มีหลักการทำงานคล้ายกัน เพียงแค่ปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ข้างเคียงเล็กน้อย และเดินสายไฟต่างกันเล็กน้อย
ตามมาดูกันเลยครับ ไม่ยากอย่างที่คิดครับ
1. รูปรีเลย์ ขนาด 12 โวลต์ 30 แอมป์ ราคา 85-100 บาท ต่อตัว ด้านข้างแสดงวงจรภายใน
รีเลย์ ขาที่ 85 และ 86 เป็นขาไฟเลี้ยงคอยด์ รีเลย์ + 12 โวลต์ สามารถต่อสลับขั้วกันได้
ถ้าขาที่ 85 เป็นขั้วบวก อีกขานึง ขาที่ 86 ต้องเป็น GND หรือ กราวด์ตัวถังครับ
ขาที่ 30 ต้องต่อไฟ + 12 โวลต์ มารอเอาไว้ครับ จนกว่าคอยด์รีเลย์ จะสั่งงานให้หน้า
คอนแท็ค ทำหน้าที่ต่อวงจร ให้ไฟ + 12 โวลต์ จากขาที่ 30 วิ่งไปยังโหลดที่ขา 87
จากรูป หน้า คอนแท็ค แบบนี้เรียกว่า แบบปกติเปิด สำหรับเอาไว้ต่อวงจร
อีกแบบนึง จะเรียกว่า แบบปกติปิด สำหรับเอาไว้ตัดวงจร
2. จากรูปนี่คือ วงจร ต่อไฟสปอร์ตไลท์ เพิ่มเติม อธิบายวงจร ดังนี้
ทำการต่อไฟ + 12 โวลต์ ผ่านกระบอกฟิวส์ ที่มีฟิวส์ขนาด 10 แอมป์อยู่ภายใน ไปยังขารีเลย์
เบอร์ 30 และเบอร์ 86
ในส่วนของวงจรควบคุม ต่อสายไฟจาก ขารีเลย์เบอร์ 85 ลากสายไฟเข้าไปในห้องโดยสาร เอาไป
ต่อกับสวิตช์ไฟ แบบปกติเปิด ข้างนึง ส่วนอีกข้างนึงทำการต่อลงกราวด์
ในส่วนของวงจรกำลัง จากขารีเลย์เบอร์ 87 ต่อไปยังไฟสปอร์ตไลท์ที่ขาขั้วบวก ส่วนขาขั้วลบของ
ไฟสปอร์ตไลท์ ทำการต่อลงกราวด์ หรือลงตัวถัง
การทำงานของวงจร ถ้าเราทำการปิดสวิตช์สั่งงานจากห้องโดยสาร จะทำให้มีไฟเลี้ยงไปผ่านคอยด์
รีเลย์ ทำให้รีเลย์ทำงาน มีไฟบวกวิ่งไปยังไฟสปอร์ตไลท์ ไฟจึงสว่างขึ้น และถ้าเราทำการเปิดสวิตช์ในห้อง
โดยสาร เป็นการตัดไฟไปเลี้ยงคอยด์รีเลย์ รีเลย์ไม่ทำงาน จึงไม่มีไฟไปยังไฟสปอร์ไลท์ ไฟจึงดับ
ขอแนะนำในส่วนของวงจรกำลัง แนะนำให้ใช้สายไฟขนาดใหญ่หน่อย ช่วยให้ไฟฟ้าเดินได้ดีขึ้น
หรือถ้ามี สายกราวด์ไวร์ในบริเวณนั้น ช่วยให้ไฟเดินทางกลับขั้วลบที่แบตเตอรี่ได้เร็วขึ้น ประสิทธิภาพดีขึ้น
3. จากรูปนี่คือ วงจร ต่อแตรหอยโข่ง เพิ่มเติม อธิบายวงจร ดังนี้
โดยปกติ แตรเดิมที่มาจากโรงงาน ลักษณะจะเป็นดังรูปที่อยู่ด้านล่างสุด น้าบางท่านอาจจะเอา
แตรของเดิมออก แล้วเอาแตรหอยโข่งอันใหม่ใส่เข้าไปแทนที่ หลังจากติดตั้งจะพบว่าเสียงดังบ้าง
ไม่เหมือนตอนที่ซื้อมา เนื่องจากสายไฟเส้นเดิมมันเล็ก กระแสไฟฟ้าเดินไม่ได้เต็มที่
ทำการติดตั้งดังรูป แตรเดิมจะเอาออก หรือไม่ก็ได้ตามแต่ชอบ แต่ผมเอาไว้ เพราะว่าถ้าถอดออกมา
ก็ไม่มีประโยชน์ มาวางเกะกะข้างนอกซะอีก
ในส่วนของวงจรควบคุม ต่อสายไฟจากแตรเดิม ไปยังขารีเลย์ เบอร์ 85 หรือเบอร์ 86 จากนั้น
ขารีเลย์ อีกข้างนึง อาจจะเป็น ขารีเลย์ เบอร์ 85 หรือเบอร์ 86 นำไปต่อลงกราวด์ เพื่อที่จะให้ครบวงจร
ในส่วนของวงจรกำลัง ทำการต่อไฟ + 12 โวลต์ ผ่านกระบอกฟิวส์ ที่มีฟิวส์ขนาด 10 แอมป์
อยู่ภายใน ไปยังขารีเลย์ขารีเลย์เบอร์ 30 จากนั้นขารีเลย์อีกด้านนึง เบอร์ 87 ทำการเดินสายไฟไปยัง
แตรหอยโข่ง
การทำงานของวงจร ถ้าเราทำการกดแตร จะทำให้มีไฟเลี้ยงไปผ่านคอยด์รีเลย์ ทำให้รีเลย์ทำงาน
เมื่อรีเลย์ทำงาน ไฟบวก 12 โวลต์ จะเดินทางผ่านฟิวส์ ผ่านรีเลย์ ไปยังแตรหอยโข่ง ซึ่งวิธีนี้ผมว่า
สะดวกดี ใช้งานร่วมกับแตรเดิมที่มีอยู่ได้เลย
ขอแนะนำในส่วนของวงจรกำลัง แนะนำให้ใช้สายไฟขนาดใหญ่หน่อย ช่วยให้ไฟฟ้าเดินได้ดีขึ้น
หรือถ้ามี สายกราวด์ไวร์ในบริเวณนั้น ช่วยให้ไฟเดินทางกลับขั้วลบที่แบตเตอรี่ได้เร็วขึ้น ประสิทธิภาพดีขึ้น
4. เครื่องมือ และอุปกรณ์ในการติดตั้งครับ สรุป Project ล่าสุดที่ทำการติดตั้งนะครับ
4.1 สายไฟขนาด 1.5 ยาว 8 เมตร ราคา 320 บาท
4.2 ท่อผ่ายาว 8 เมตร ราคา 80 บาท
4.3 ไฟสปอร์ตไลท์ 1 ดวง แบบ H3 ราคา 240 บาท
4.4 รีเลย์ 1 ตัว ราคา 90 บาท
4.5 ซ็อกเก็ต รีเลย์ 1 ตัว ราคา 30 บาท
4.6 ฟิวส์ขนาด 10 แอมป์ 2 ตัว ราคา 10 บาท
4.7 ซ็อกเก็ต ฟิวส์ 1 ตัว ราคา 20 บาท
4.8 สายเคเบิ้ลไทล์ ขนาด 6 นิ้ว จำนวน 40 เส้น ราคา 60 บาท
อุปกรณอื่นๆ ที่มีบ้างแล้ว เช่น หัวแร้งบัดกรี, ตะกั่วบัดกรี, คีมตัดสายไฟ, คีมย้ำสายไฟ
5. ไฟสปอร์ตไลท์ที่ซื้อมา 1 ดวงครับ ใน 1 กล่องมี 1 คู่ แต่ว่าเราจะใช้แค่อันเดียว เรากล้าซื้อ
เขาก็กล้าขาย จากรูป ระบุว่า หลอดไฟแบบ H3 ขนาด 12 โวลต์ 55 วัตต์ ทำการคำนวณเป็นกระแส
ไฟฟ้าจะได้ว่า 55 วัตต์ หารด้วย 12 โวลต์ จะได้ค่ากระแสไฟฟ้า 4.583 แอมป์ หรือประมาณ 5 แอมป์
ต่อหลอดไฟ 1 ดวง ค่ากระไฟฟ้าที่ได้ ไปทำการหาขนาดสายไฟที่เหมาะสม ไม่ควรใช้เส้นเล็กเกินไป
เพื่อว่าจะต่อเพิ่มในอนาคต
6. วงจรแนะนำที่ข้างกล่องนะครับ จะต่อแบบนี้ก็ได้นะครับ แต่ต้องเลือก สวิตช์ และฟิวส์ ให้ทนกระแส
ไฟฟ้าที่ไหลผ่านตัวมันเองด้วยนะครับ
7. สายไฟราคาแรงมากครับ เมตรละ 40 บาท จัดไปครับ
8. ไหนๆ จะทำเองแล้วเอาท่อผ่ามาใส่ให้มันดูดีหน่อย งานเนียนแต่ต้องลงทุน
9. ทำการรวมร่างเสร็จแล้วครับ
10. อ้าว.....งานนี้มีการเล่นของหนักกันเลย
11. รีเลย์ที่เราทำการประกอบวงจรแล้ว เก็บๆ เอามามัดรวมกันเอาไว้ครับ จากรูปตอนนี้ผมก็เริ่มจะงงๆ
แล้วว่า อันไหนเป็นของอะไร แต่ถ้าไล่ไปตามสายก็จะรู้แน่นอน
12. อันนี้สวิตช์ที่ต่อเข้าไปในห้องโดยสารครับ
13. วงจรต่อ ไฟสปอร์ตไลท์ เพิ่มเติม เสร็จแล้วครับ ดังรูปเลย อันนี้โปรเจ็คล่าสุด
14. วงจรต่อ แตรหอยโข่ง เพิ่มเติม โปรเจ็คนี้ผ่านมานานแล้วครับ สังเกตว่าแตรเดิมก็ยังใช้อยู่
ไม่ได้เอาออก