ช่วงนี้ลุ้น SET Index อยู่ว่าจะผ่านต้าน 1,540 +/- ได้ไหม แต่วันนี้ยังไม่ผ่านก็ต้องรอให้ SET พักฐานเสร็จก่อน แต่จะพักเสร็จเมื่อไรอันนี้ไม่รู้เหมือนกัน ระหว่างรอ เติมความรู้กัน [สำหรับคนที่ยังไม่รู้] กันหน่อยดีกว่า ใครรู้แล้วคิดซะว่าทบทวนให้แน่นก็ได้นะคะ ^^
..............................................................................................................................................................................................
คำว่า แนวรับ แนวต้าน นักลงทุนคงเคยได้ยินกันอย่างคุ้นหูอยู่แล้วตามบทวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ตามโบรคเกอร์ต่างๆ แต่ทว่าอาจจะยังมีบางคนเข้าใจผิดกับ คำ 2 คำนี้ บทความนี้จะช่วยไขกระจ่างให้นักลงทุนเข้าใจกับคำ 2 คำนี้มากขึ้น ว่าแต่มันคืออะไรและจะสร้างกำไรได้อย่างไรไปดูกันเลยครับ
การเกิดแนวรับ
เมื่อราคาหุ้นปรับตัวลดลงในระดับหนึ่งจนเกิดแรงจูงใจให้นักลงทุนเข้า "ซื้อ" หุ้นซึ่งตรงนี้จะทำให้มี อุปสงค์ > อุปทาน ส่งผลให้ราคาหุ้นนั้นปรับตัวสูงขึ้น และ ระดับราคาของหุ้นที่ต่ำสุดนั้น เราจะเรียกว่า "แนวรับ" (Support) นั่นเอง
การเกิดแนวต้าน
เมื่อราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่งจนเกิดแรงจูงใจให้นักลงทุน "ขาย" หุ้นออกมาซึ่งตรงจุดนี้จะทำให้มี อุปสงค์ < อุปทาน ส่งผลให้ราคาหุ้นนั้นปรับตัวลดลง และ ระดับราคาของหุ้นที่เพิ่มขึ้นสูงสุดนั้นเราจะเรียก "แนวต้าน" (Resistance) นั่นเอง
หรือ จำง่ายๆ ว่า
"แนวรับ - รับไว้ไม่ให้ลง แนวต้าน - ต้านไว้ไม่ให้ขึ้น"
วิธีสังเกต แนวรับ ง่ายๆ นั้น คือ เมื่อราคาหุ้นอ่อนตัวลงมาถึงระดับราคานั้นทีไรก็มักจะมีแรงซื้อกลับมาช่วยดันราคาให้สูงขึ้นกลับไปทุกครั้ง นั่นเอง
วิธีการสังเกต แนวต้าน ง่ายๆ นั้น จะตรงกันข้ามกับแนวรับ คือ เมื่อราคาหุ้นขึ้นสูงมายังระดับราคานั้นทีไรก็มักจะมีแรงขายออกมากดราคาหุ้นให้ต่ำลงมาทุกครั้ง นั่นเอง
ยังมีอีกสำนวนหนึ่งที่นักเทคนิคควรรู้ นั่นก็คือ
"ต้านกลายเป็นรับ รับกลายเป็นต้าน"
คำว่า
ต้านกลายเป็นรับ นั้น หมายถึง การที่ราคาหุ้นสามารถวิ่งทะลุแนวต้าน (ที่พยายามต้านไว้ไม่ให้ขึ้น) ขึ้นไปได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มีแรงซื้อที่มากพอจนสามารถเอาชนะแรงขายได้ จึงสามารถทำให้ราคาหุ้นปรับสูงขึ้นไปได้ และเมื่อราคาขึ้นสูงไปเจอแนวต้านถัดไป ก็เกิดการย่อตัวลงมาบริเวณแนวต้านเดิม [ที่เป็นจุดสนใจของนักลงทุนที่ซื้อไว้ในอดีต] เข้าซื้อหุ้นดังกล่าวบริเวณนี้อีกครั้งเพราะเชื่อว่าราคายังคงอยู่ในแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ราคาหุ้นปรับสูงขึ้นไปอีกครั้ง จึงทำให้แนวต้านเดิมนั้นเปลี่ยนเป็นแนวรับหรือ สรุปง่ายๆ ว่า หากราคาหุ้นทะลุแนวต้านขึ้นไปได้ (โดยมี แรงซื้อ > แรงขาย) แนวต้านนั้นจะกลายเป็นแนวรับ
ส่วนคำว่า
รับกลายเป็นต้าน นั้น หมายถึง การที่ราคาหุ้นร่วงหลุดแนวรับ (ที่พยายามรับไว้ไม่ให้ลง) ลงไปได้ ซึ่งเกิดจากแรงเทขายที่มากพอจะเอาชนะแรงซื้อได้ จึงกดดันให้ราคาหุ้นร่วงลงมา และเมื่อราคาปรับตัวลงมาได้สักพักไปยังแนวรับถัด (ที่ต่ำกว่าแนวรับเดิม) ไปโดยแนวรับนั้นรับไว้ได้ ราคาหุ้นมีการวกกลับขึ้นไปยังแนวรับเดิม (ที่หลุดลงมา) ซึ่งเป็นจุดนี้เป็นจุดที่นักลงทุนได้เทขายหุ้นออกมา เพราะ มีความเชื่อว่าราคาหุ้นไม่สามารถขึ้นไปต่อได้ และเมื่อราคาหุ้นตกกลับลงมา จำส่งผลให้แนวรับเดิมนั้นกลายเป็นแนวต้าน หรือ สรุปง่ายๆ ว่า หากราคาหุ้นร่วงหลุดแนวรับลงไปได้ (โดยมี แรงขาย > แรงซื้อ) แนวรับนั้นจะกลายเป็นแนวต้านนั่นเอง
ดังนั้นถ้าเราจะนำหลักการของแนวรับ แนวต้านมาใช้ในการซื้อขายนั้น ก็คือ
ซื้อ เมื่อราคาไม่หลุดแนวรับ หรือ ซื้อเมื่อราคาทะลุแนวต้าน (เพราะมันจะกลายเป็นแนวรับ)
ขาย เมื่อราคาไม่ผ่านแนวต้าน หรือ ขายเมื่อราคาหลุดแนวรับลงมา (เพราะมันจะกลายเป็นแนวต้าน)
เมื่อเราทราบถึงหลักการและกลไกของการเกิด แนวรับแนวต้าน แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับ แนวโน้ม และ ทฤษฎี Dow ในบทความก่อนหน้านั้น จะทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมของตลาดมากขึ้น และสามารถหาจังหวะการซื้อขายที่แม่นยำมากขึ้นได้นั่นเอง
ที่มา :
www.investmentory.com
ร่วมพูดคุยกับเราได้ที่ :
http://www.facebook.com/I2invest
สร้างกำไรไร้ขีดจำกัดด้วย "แนวรับ - แนวต้าน"
..............................................................................................................................................................................................
คำว่า แนวรับ แนวต้าน นักลงทุนคงเคยได้ยินกันอย่างคุ้นหูอยู่แล้วตามบทวิเคราะห์ของนักวิเคราะห์หลักทรัพย์ตามโบรคเกอร์ต่างๆ แต่ทว่าอาจจะยังมีบางคนเข้าใจผิดกับ คำ 2 คำนี้ บทความนี้จะช่วยไขกระจ่างให้นักลงทุนเข้าใจกับคำ 2 คำนี้มากขึ้น ว่าแต่มันคืออะไรและจะสร้างกำไรได้อย่างไรไปดูกันเลยครับ
การเกิดแนวรับ
เมื่อราคาหุ้นปรับตัวลดลงในระดับหนึ่งจนเกิดแรงจูงใจให้นักลงทุนเข้า "ซื้อ" หุ้นซึ่งตรงนี้จะทำให้มี อุปสงค์ > อุปทาน ส่งผลให้ราคาหุ้นนั้นปรับตัวสูงขึ้น และ ระดับราคาของหุ้นที่ต่ำสุดนั้น เราจะเรียกว่า "แนวรับ" (Support) นั่นเอง
การเกิดแนวต้าน
เมื่อราคาหุ้นปรับตัวเพิ่มขึ้นในระดับหนึ่งจนเกิดแรงจูงใจให้นักลงทุน "ขาย" หุ้นออกมาซึ่งตรงจุดนี้จะทำให้มี อุปสงค์ < อุปทาน ส่งผลให้ราคาหุ้นนั้นปรับตัวลดลง และ ระดับราคาของหุ้นที่เพิ่มขึ้นสูงสุดนั้นเราจะเรียก "แนวต้าน" (Resistance) นั่นเอง
หรือ จำง่ายๆ ว่า "แนวรับ - รับไว้ไม่ให้ลง แนวต้าน - ต้านไว้ไม่ให้ขึ้น"
วิธีสังเกต แนวรับ ง่ายๆ นั้น คือ เมื่อราคาหุ้นอ่อนตัวลงมาถึงระดับราคานั้นทีไรก็มักจะมีแรงซื้อกลับมาช่วยดันราคาให้สูงขึ้นกลับไปทุกครั้ง นั่นเอง
วิธีการสังเกต แนวต้าน ง่ายๆ นั้น จะตรงกันข้ามกับแนวรับ คือ เมื่อราคาหุ้นขึ้นสูงมายังระดับราคานั้นทีไรก็มักจะมีแรงขายออกมากดราคาหุ้นให้ต่ำลงมาทุกครั้ง นั่นเอง
ยังมีอีกสำนวนหนึ่งที่นักเทคนิคควรรู้ นั่นก็คือ
"ต้านกลายเป็นรับ รับกลายเป็นต้าน"
คำว่า ต้านกลายเป็นรับ นั้น หมายถึง การที่ราคาหุ้นสามารถวิ่งทะลุแนวต้าน (ที่พยายามต้านไว้ไม่ให้ขึ้น) ขึ้นไปได้ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า มีแรงซื้อที่มากพอจนสามารถเอาชนะแรงขายได้ จึงสามารถทำให้ราคาหุ้นปรับสูงขึ้นไปได้ และเมื่อราคาขึ้นสูงไปเจอแนวต้านถัดไป ก็เกิดการย่อตัวลงมาบริเวณแนวต้านเดิม [ที่เป็นจุดสนใจของนักลงทุนที่ซื้อไว้ในอดีต] เข้าซื้อหุ้นดังกล่าวบริเวณนี้อีกครั้งเพราะเชื่อว่าราคายังคงอยู่ในแนวโน้มดังกล่าว ส่งผลให้ราคาหุ้นปรับสูงขึ้นไปอีกครั้ง จึงทำให้แนวต้านเดิมนั้นเปลี่ยนเป็นแนวรับหรือ สรุปง่ายๆ ว่า หากราคาหุ้นทะลุแนวต้านขึ้นไปได้ (โดยมี แรงซื้อ > แรงขาย) แนวต้านนั้นจะกลายเป็นแนวรับ
ส่วนคำว่า รับกลายเป็นต้าน นั้น หมายถึง การที่ราคาหุ้นร่วงหลุดแนวรับ (ที่พยายามรับไว้ไม่ให้ลง) ลงไปได้ ซึ่งเกิดจากแรงเทขายที่มากพอจะเอาชนะแรงซื้อได้ จึงกดดันให้ราคาหุ้นร่วงลงมา และเมื่อราคาปรับตัวลงมาได้สักพักไปยังแนวรับถัด (ที่ต่ำกว่าแนวรับเดิม) ไปโดยแนวรับนั้นรับไว้ได้ ราคาหุ้นมีการวกกลับขึ้นไปยังแนวรับเดิม (ที่หลุดลงมา) ซึ่งเป็นจุดนี้เป็นจุดที่นักลงทุนได้เทขายหุ้นออกมา เพราะ มีความเชื่อว่าราคาหุ้นไม่สามารถขึ้นไปต่อได้ และเมื่อราคาหุ้นตกกลับลงมา จำส่งผลให้แนวรับเดิมนั้นกลายเป็นแนวต้าน หรือ สรุปง่ายๆ ว่า หากราคาหุ้นร่วงหลุดแนวรับลงไปได้ (โดยมี แรงขาย > แรงซื้อ) แนวรับนั้นจะกลายเป็นแนวต้านนั่นเอง
ดังนั้นถ้าเราจะนำหลักการของแนวรับ แนวต้านมาใช้ในการซื้อขายนั้น ก็คือ
ซื้อ เมื่อราคาไม่หลุดแนวรับ หรือ ซื้อเมื่อราคาทะลุแนวต้าน (เพราะมันจะกลายเป็นแนวรับ)
ขาย เมื่อราคาไม่ผ่านแนวต้าน หรือ ขายเมื่อราคาหลุดแนวรับลงมา (เพราะมันจะกลายเป็นแนวต้าน)
เมื่อเราทราบถึงหลักการและกลไกของการเกิด แนวรับแนวต้าน แล้วนำมาประยุกต์ใช้กับ แนวโน้ม และ ทฤษฎี Dow ในบทความก่อนหน้านั้น จะทำให้เราเข้าใจพฤติกรรมของตลาดมากขึ้น และสามารถหาจังหวะการซื้อขายที่แม่นยำมากขึ้นได้นั่นเอง
ที่มา : www.investmentory.com
ร่วมพูดคุยกับเราได้ที่ : http://www.facebook.com/I2invest