CAT จี้กฤษฎีกา เร่งร่างสัมปทานจำแลง// CAT เดินหน้าให้ BFTK ตั้งเสาอีก1500แห่งเป็น13,500แห่ง//MY BY CAT เร่งลูกค้าองค์กร

16 เมษายน 2556 (แก้ CAT TRUEผ่านไป287วันแล้ว) CAT จี้กฤษฎีกา เร่งร่างสัมปทานจำแลง++// CAT เดินหน้าให้ BFTK ตั้งเสาอีก 1500 แห่งเป็น13,500 แห่ง // MY BY CAT จะให้ความสำคัญกลุ่มองค์กร
ประเด็นหลัก




อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา “3 จี มาย” ได้เปิดให้บริการลูกค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเน้นการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าองค์กร ปัจจุบัน กสท มี แคท ช็อป และมาย ช็อป จำนวน 100–150 สาขา มีแพ็กเกจเพื่อให้บริการ ได้แก่ มาย สมาร์ท เหมาะสำหรับลูกค้าใช้โทรฯ และเล่นอินเทอร์เน็ต มาย คลิก สำหรับลูกค้าเน้นใช้งานอินเทอร์เน็ต และ มาย ทอล์ก สำหรับลูกค้าที่เน้นการใช้งานโทรฯ เพื่อติดต่อเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวเป็นแพ็กเกจที่ตอบสนองการใช้งานลูกค้าทั่วไป

สำหรับ “3 จี มาย” และ “ทรูมูฟ เอช” ต่างอยู่บนสัญญาบริการ 3 จี บนคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ และตั้งเป้าสร้างเสาโทรคมนาคม สถานีฐานจำนวน 13,500 แห่ง แต่ในปัจจุบันมีเสาโทรคมนาคมแล้วจำนวน 12,000 แห่ง ที่สามารถรองรับลูกค้าได้กว่า 16 ล้านเลขหมาย รวมทั้ง กสท ก็เป็นผู้ขอเลขหมายจาก กสทช. จำนวน 16.25 ล้านเลขหมาย เพื่อโอนย้ายลูกค้า 2 จี มายัง ทรูมูฟ เอช เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจร่วมกันได้อย่างราบรื่น

นับจากนี้จะได้เห็น กสท ลุยตลาดบริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี อย่างจริงจัง หลังชะงักมานาน.


“กสท ได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอหารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจน ก่อนการนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการที่มีมูลค่า 29,000 ล้านบาทต่อไป”

แหล่งข่าวจาก กสท กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ กสท ได้มีการหารือไปยัง กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหุ้น กสท 100% แต่ กระทรวงการคลัง ไม่สามารถพิจารณาตอบข้อหารือได้ โดยเฉพาะประเด็นกฎหมายที่ยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน ว่า การใช้คลื่นความถี่ ถือเป็นการใช้ทรัพย์สินของรัฐหรือไม่บางหน่วยงานแจ้งว่าเป็นทรัพย์สินของรัฐ บางหน่วยงานแจ้งว่าไม่ได้เป็นทรัพย์สินของรัฐ ฉะนั้นจึงต้องส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็นเพื่อเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน

สำหรับการทำสัญญา 3G ระหว่าง กสท กับกลุ่มทรูนั้น ได้มีการลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา นับเป็นเวลา 2 ปีกว่า แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนในประเด็นว่าการทำสัญญาดังกล่าวเข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุนหรือไม่ โดยกสท ได้ทำหนังสือหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วเมื่อกลางเดือนมีนาคม 2556 ที่ผ่านมา จากก่อนหน้านี้ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงการคลัง และสำนักงานอัยการสูงสุด แต่ก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน กสท จึงต้องเร่งสร้างความชัดเจนให้เกิดขึ้นสำหรับสัญญา 3G ดังกล่าว เพื่อ กสท จะได้เดินหน้าการทำธุรกิจ เนื่องจากเวลาผ่านไปกว่า 2 ปี กสท ก็ยังไม่สามารถรับรู้รายได้จากการประกอบกิจการ และหากปล่อยเวลาให้ผ่านไปเรื่อยๆ กสท จะสูญเสียรายได้และอาจมีผลต่อฐานะการเงินของ กสทด้วย เนื่องจากในปี 2557 เป็นต้นไป กสท จะไม่มีรายได้จากสัญญาสัมปทานอีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ผู้บริหาร กสท มั่นใจว่า กสท น่าจะเริ่มรับรู้รายได้จากธุรกิจดังกล่าวในไตรมาส 3 ของปีนี้

“ในปีนี้ทรูฯจะรับรู้รายได้ราว 25,000 ล้านบาท ซึ่งตามสัญญากลุ่มทรูฯจะเป็นได้สิทธิเป็นผู้ทำตลาดแบบขายส่ง (โฮลเซล) บนโครงข่ายที่บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) เป็นผู้สร้างขึ้น” นายกิตติศักดิ์ กล่าว

ในส่วนของ กสท เองจะรับรู้รายได้จริงเข้าบริษัทตามสัดส่วนในสัญญาคือ 23% แต่เมื่อหักค่าเช่าอุปกรณ์ และการจ่ายค่าเช่าให้กับ บีเอฟเคที แล้วจะเหลือรายได้ 17% ซึ่งเป็นการรับรู้รายได้ทางบัญชี ส่วนการรับรู้รายได้จะเกิดขึ้นจริงก็ต่อเมื่อ กสท มีการจ่ายค่าเช่าให้แก่ บีเอฟเคที แล้ว คาดว่าจะเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีนี้ เป็นต้นไป

“การรับรู้รายได้จะเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป ซึ่งจะเหลือสุดท้ายเข้า กสท ราว 2,500-3,300 ล้านบาท” นายกิตติศักดิ์ กล่าว











สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.dailynews.co.th/technology/197319
http://www.naewna.com/business/48018
http://www.naewna.com/business/48541

_____________________________________



"กสท" เร่งทำ "3จี มาย" หลังสัญญาบีเอฟเคทีไม่ผิด!

   

“3จี มาย” แบรนด์ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3จีของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นสัญญาการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่แบบเอชเอสพีเอ ระหว่าง กสท กับ บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันมีลูกค้าราว 1 แสนราย ส่วนลูกค้า ทรูมูฟ เอช มีลูกค้าใช้บริการกว่า 3 ล้านราย

ที่ผ่านมา “3 จี มาย” ประสบปัญหาเรื่องการขอเลขหมาย จากคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เนื่องจากในขณะนั้นสัญญาที่ กสท ทำร่วมกับ บีเอฟเคที ยังมีข้อกังขา และ กทค.ได้สั่งให้ไปแก้ไขสัญญา 6 ข้อ เพื่อทำให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อน จึงเป็นสาเหตุให้ กสท ต้องชะงักการทำตลาด “3 จี มาย”

กระทั่งการประชุมบอร์ด กทค. นัดพิเศษ เมื่อวันที่ 5 เม.ย.ที่ผ่านมา มีมติให้สัญญาระหว่าง บีเอฟเคที และ กสท ในการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ไม่มีความผิด และไม่เข้าข่ายเป็นผู้ประกอบกิจการโทรคมนาคมโดยไม่ได้รับใบอนุญาต มาตรา 4 ของ พ.ร.บ.การประกอบกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2544

ดังนั้น นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท เปิดเผยว่า เมื่อบทสรุป บีเอฟเคที ออกมาว่าไม่ผิด กสท จึงต้องเร่งทำตลาด “3 จี มาย” ที่เป็นธุรกิจหลักของ กสท เพราะจะช่วยสร้างรายได้หลังจากหมดสัญญาสัมปทาน ในขณะที่ กสท ก็ได้แก้ไขสัญญาเรียบร้อย พร้อมทั้งวางงบประมาณสำหรับธุรกิจ 3 จี ไว้  2 ส่วนคือ ค่าติดตั้ง วางสายไฟเบอร์ออฟติก จำนวน 14,000 ล้านบาท และค่าเช่าโครงข่ายบีเอฟเคที 15,000 ล้านบาทต่อปี รวม 29,000 ล้านบาท ที่ต้องนำไปขออนุมัติงบประมาณจากกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) เพื่อส่งมอบให้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเตรียมตัวทำธุรกิจอย่างถูกต้อง

“กสท ได้แก้ไขสัญญาตามที่ กทค. กำหนด 6 ข้อเรียบร้อย จึงตั้งงบประมาณเพื่อขออนุมัติ ครม. ในการประกอบธุรกิจมือถือให้เดินหน้าไปได้อย่างถูกต้อง โดยคาดว่าทุกอย่างจะจบสิ้นภายใน 3 เดือน” นายกิตติศักดิ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมา “3 จี มาย” ได้เปิดให้บริการลูกค้าในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑล ซึ่งเน้นการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าองค์กร ปัจจุบัน กสท มี แคท ช็อป และมาย ช็อป จำนวน 100–150 สาขา มีแพ็กเกจเพื่อให้บริการ ได้แก่ มาย สมาร์ท เหมาะสำหรับลูกค้าใช้โทรฯ และเล่นอินเทอร์เน็ต มาย คลิก สำหรับลูกค้าเน้นใช้งานอินเทอร์เน็ต และ มาย ทอล์ก สำหรับลูกค้าที่เน้นการใช้งานโทรฯ เพื่อติดต่อเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวเป็นแพ็กเกจที่ตอบสนองการใช้งานลูกค้าทั่วไป

สำหรับ “3 จี มาย” และ “ทรูมูฟ เอช” ต่างอยู่บนสัญญาบริการ 3 จี บนคลื่น 850 เมกะเฮิรตซ์ และตั้งเป้าสร้างเสาโทรคมนาคม สถานีฐานจำนวน 13,500 แห่ง แต่ในปัจจุบันมีเสาโทรคมนาคมแล้วจำนวน 12,000 แห่ง ที่สามารถรองรับลูกค้าได้กว่า 16 ล้านเลขหมาย รวมทั้ง กสท ก็เป็นผู้ขอเลขหมายจาก กสทช. จำนวน 16.25 ล้านเลขหมาย เพื่อโอนย้ายลูกค้า 2 จี มายัง ทรูมูฟ เอช เพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจร่วมกันได้อย่างราบรื่น

นับจากนี้จะได้เห็น กสท ลุยตลาดบริการระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 3 จี อย่างจริงจัง หลังชะงักมานาน.

สุรัสวดี สิทธิยศ
http://www.dailynews.co.th/technology/197319

__________________________________________________



‘กสท’จี้‘กฤษฎีกา’ตีความสัญญา3G เข้าพ.ร.บ.ร่วมทุนหรือไม่ โอดกระทบการรับรู้รายได้


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) ได้เร่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความในข้อกฎหมายเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่เพื่อให้บริการ 3G บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ด้วยเทคโนโลยี HSPA ระหว่าง กสท กับกลุ่มบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ว่า การทำสัญญาดังกล่าวเข้าข่ายพ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมการงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ.2535 (พ.ร.บ.ร่วมทุน) หรือไม่

“กสท ได้ทำหนังสือถึงคณะกรรมการกฤษฎีกา เพื่อขอหารือข้อกฎหมายเกี่ยวกับการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่รูปแบบใหม่ เพื่อให้เกิดความชัดเจน ก่อนการนำเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาอนุมัติโครงการที่มีมูลค่า 29,000 ล้านบาทต่อไป”

แหล่งข่าวจาก กสท กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ กสท ได้มีการหารือไปยัง กระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ถือหุ้น กสท 100% แต่ กระทรวงการคลัง ไม่สามารถพิจารณาตอบข้อหารือได้ โดยเฉพาะประเด็นกฎหมายที่ยังมีความเห็นที่แตกต่างกัน ว่า การใช้คลื่นความถี่ ถือเป็นการใช้ทรัพย์สินของรัฐหรือไม่บางหน่วยงานแจ้งว่าเป็นทรัพย์สินของรัฐ บางหน่วยงานแจ้งว่าไม่ได้เป็นทรัพย์สินของรัฐ ฉะนั้นจึงต้องส่งเรื่องดังกล่าวให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาให้ความเห็นเพื่อเป็นบรรทัดฐานเดียวกัน

สำหรับการทำสัญญา 3G ระหว่าง กสท กับกลุ่มทรูนั้น ได้มีการลงนามในสัญญาเมื่อวันที่ 27 มกราคม 2554 ที่ผ่านมา นับเป็นเวลา 2 ปีกว่า แต่จนถึงขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนในประเด็นว่าการทำสัญญาดังกล่าวเข้าข่ายพ.ร.บ.ร่วมทุนหรือไม่ โดยกสท ได้ทำหนังสือหารือไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกาแล้วเมื่อกลางเดือนมีนาคม 2556 ที่ผ่านมา จากก่อนหน้านี้ได้ทำหนังสือถึงกระทรวงการคลัง และสำนักงานอัยการสูงสุด แต่ก็ยังไม่มีคำตอบที่ชัดเจน กสท จึงต้องเร่งสร้างความชัดเจนให้เกิดขึ้นสำหรับสัญญา 3G ดังกล่าว เพื่อ กสท จะได้เดินหน้าการทำธุรกิจ เนื่องจากเวลาผ่านไปกว่า 2 ปี กสท ก็ยังไม่สามารถรับรู้รายได้จากการประกอบกิจการ และหากปล่อยเวลาให้ผ่านไปเรื่อยๆ กสท จะสูญเสียรายได้และอาจมีผลต่อฐานะการเงินของ กสทด้วย เนื่องจากในปี 2557 เป็นต้นไป กสท จะไม่มีรายได้จากสัญญาสัมปทานอีกต่อไป

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ผู้บริหาร กสท มั่นใจว่า กสท น่าจะเริ่มรับรู้รายได้จากธุรกิจดังกล่าวในไตรมาส 3 ของปีนี้

โดยในปีนี้ทรูน่าจะรับรู้รายได้จากธุรกิจดังกล่าวราว 25,000 ล้านบาท ซึ่งตามสัญญากลุ่มทรูฯจะเป็นได้สิทธิเป็นผู้ทำตลาดแบบขายส่ง (โฮลเซล) บนโครงข่ายที่บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) ซึ่งเป็นบริษัทของทรูเป็นผู้สร้างขึ้น

ในส่วนของ กสท เองจะรับรู้รายได้จริงเข้าบริษัทตามสัดส่วนในสัญญาคือ 23% แต่เมื่อหักค่าเช่าอุปกรณ์ และการจ่ายค่าเช่าให้กับ บีเอฟเคที แล้วจะเหลือรายได้ 17% ซึ่งเป็นการรับรู้รายได้ทางบัญชี ส่วนการรับรู้รายได้จะเกิดขึ้นจริงก็ต่อเมื่อ กสท มีการจ่ายค่าเช่าให้แก่ บีเอฟเคที แล้ว

http://www.naewna.com/business/48541


___________________________________________


‘กสท’รับรู้รายได้ ตามสัญญา3Gทรู ในไตรมาส3ปีนี้ ราว3.3พันล้านบ.



นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปี 2556 กสท น่าจะเริ่มรับรู้รายได้จากธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบ 3G ภายใต้เทคโนโลยี เอชเอสพีเอ (HSPA) บนคลื่นความถี่ 850 เมกะเฮิรตซ์ (MHz) ที่ทำสัญญาร่วมธุรกิจกับบริษัท ทรูคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) โดยสัญญาฉบับนี้มีอายุ 14.5 ปี

“ในปีนี้ทรูฯจะรับรู้รายได้ราว 25,000 ล้านบาท ซึ่งตามสัญญากลุ่มทรูฯจะเป็นได้สิทธิเป็นผู้ทำตลาดแบบขายส่ง (โฮลเซล) บนโครงข่ายที่บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) เป็นผู้สร้างขึ้น” นายกิตติศักดิ์ กล่าว

ในส่วนของ กสท เองจะรับรู้รายได้จริงเข้าบริษัทตามสัดส่วนในสัญญาคือ 23% แต่เมื่อหักค่าเช่าอุปกรณ์ และการจ่ายค่าเช่าให้กับ บีเอฟเคที แล้วจะเหลือรายได้ 17% ซึ่งเป็นการรับรู้รายได้ทางบัญชี ส่วนการรับรู้รายได้จะเกิดขึ้นจริงก็ต่อเมื่อ กสท มีการจ่ายค่าเช่าให้แก่ บีเอฟเคที แล้ว คาดว่าจะเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 3 ของปีนี้ เป็นต้นไป

“การรับรู้รายได้จะเริ่มตั้งแต่ไตรมาส 3 เป็นต้นไป ซึ่งจะเหลือสุดท้ายเข้า กสท ราว 2,500-3,300 ล้านบาท” นายกิตติศักดิ์ กล่าว

ส่วนกา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่