กรณีการถ่ายทอด เขาพระวิหาร กับการแปลสดๆ

กระทู้คำถาม
อยากทราบว่าแปลได้อย่างไร
เพราะผู้แปลต้องฟังประโยคที่พูดไปแล้ว  จึงแปลเป็นภาษาไทย
ในขณะที่กำลังแปล ผู้พูดก็พูดประโยคใหม่ ผู้แปลจะฟังได้อย่างไร เพราะกำลังแปลอยู่
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
การทำล่ามแบบทันควัน (simultaneous interpretation)  โดยหลักการแล้ว  

จะต้องให้ ผู้เอ่ยสาร กล่าวประโยคหรือข้อความออกมาสัก 5-10 วินาที   แล้ว ผู้แปลจะฟังกระแสความนั้น  และจึงถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาปลายทาง  

เพราะฉะนั้น  กระบวนการ "ดึงสาร" (comprehension)  และ การ "ผละจากภาษา(ต้นฉบับ) (deverbalisation) จะกระทำอย่างรวดเร็วมากในสมองของคนแปล

ซึ่งผู้ที่จะมีความสามารถจะทำเช่นนี้ได้  ต้องผ่านการฝึกฝนมากหลายร้อยชั่วโมง  ทั้งการจับใจความสำคัญ  การจดโน๊ต  การจำตัวเลข ฯลฯ  อีกทั้งล่ามทุกคนในระดับการประชุมนานาชาติ  จำเป็นต้องทราบเนื้อความของสารที่จะแปลพอสมควร  จึงจะสามารถถ่ายทอดออกมาเป็นภาษาปลายทาง ซึ่งมักจะเป็นภาษาแม่ของตนเองได้ อย่างคล่องแคล่ว และไม่ตกหล่น  

กระบวนการทำล่ามเช่นนี้  เป็นต้นกำเนิดของทฤษฏีการแปลแบบอิงการทำงานของล่าม (interpretative translation)  ที่ Danica Seletskovitch ผู้ก่อตั้ง สถาบันการแปลและล่ามชั้นสูง (ESIT) แห่งกรุงปารีส เป็นผู้ทำการศึกษาวิจัยจากการทำงานอย่างประสิทธิของล่าม
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่