วันที่ 11 เมษายน 2556 ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แสดงความคิดเห็น ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว กรณีที่ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ทีม 40 ส.ว. ทีมนายบวร ยสินทร และกลุ่มกรีน สุริยะใส กตะศิลา ได้ทยอยยื่นเรื่องร้องเรียนต่อศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อคัดค้านกระบวนแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาว่าผิดกฎหมายหรือล้มล้างรัฐธรรมนูญนั้น ดร.พรสันต์ ได้ตั้งคำถามต่อสังคมว่า กลุ่มร้องเรียนดังกล่าวนั้นใช้สิทธิตามมาตราใด ของกฎหมายฉบับใด และเป็นการคาดการณ์ไปเองหรือไม่ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครอง ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานที่ร้ายแรงมาก โดยอาจารย์พรสันต์ ได้เขียนข้อความทั้งหมด ดังต่อไปนี้
“ทีมกฎหมายของพรรคการเมืองพรรคหนึ่งจะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยกล่าวหาว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญรายมาตราของรัฐสภาถือเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ คำถามของผมคือ
๑. มาตราใดของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการยื่นคำร้องในข้อกล่าวหาดังกล่าว?
๒. หากรัฐสภาต้องการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จริงจะทำไม่ได้ตามหลักการอย่างนั้นน่ะหรือ? (ผมไม่อยากใช้คำว่า "ล้มล้าง" เพราะมันเป็นการใช้ถ้อยคำที่พยายามที่จะให้ความหมายที่รุนแรง หรือผิดรัฐธรรมนูญ)
๓. ท่านทราบได้อย่างไรว่าการแก้ไขรายมาตราของรัฐสภาครั้งนี้จะนำไปสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มันถือเป็นการคาดการณ์ไปเองหรือไม่อย่างไร? (กรณีไม่ได้ผิดแผกแตกต่างจากกรณีการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในครั้งที่แล้วว่าจะมีการตั้ง ส.ส.ร. เพื่อล้มล้างระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งศาลเองก็เห็นว่าเป็นการคาดเดาไปเอง)
อย่างไรก็ดี ผมว่าแม้มันอาจไม่ค่อยตรงกันเสียเท่าไหร่ แต่ใน"เชิงตรรกะของระับบกฎหมาย" มันพอเทียบเคียงได้ กล่าวคือ ในเชิงหลักการแล้ว จรรยาบรรณของนักกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งทนายความเขาจะห้ามมิให้มีการ "ยุยงส่งเสริม" ให้มีการฟ้องร้องคดีซึ่งไม่มีมูล (โปรดดู ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ ข้อ ๙) ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการในระบบกฎหมายจะถือว่า...
ก) มิได้ซื่อสัตย์กับหลักการของระบบกฎหมาย
ข) ทำให้ระบบกฎหมายต้องปั่นป่วน และ
ค) ทำให้คดีรกโรงรกศาล
หากพิจารณาให้ดีจะเห็นได้ว่ากรณีข้างต้นเป็นเพียงแค่การ "ยุยงส่งเสริม" ให้ทำการฟ้องร้องคดีที่ไม่มีมูลก็ยังถือเป็นข้อห้ามแล้ว หากคุณได้ "ลงมือกระทำการ" ด้วยการฟ้องร้องคดีโดยไม่มีมูลเลยล่ะจะเป็นการผิดจรรยาบรรณของนักกฎหมายมากพียงใด
นักวิชาการจุฬาฯ ตั้งคำถามศาล รธน. กรณีรับฟ้องข้อกล่าวหาล้มล้าง รธน. "มาตราใดใน รธน.ให้อำนาจให้ยื่นข้อกล่าวหานั้น?
วันที่ 11 เมษายน 2556 ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้แสดงความคิดเห็น ผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว กรณีที่ทีมกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ ทีม 40 ส.ว. ทีมนายบวร ยสินทร และกลุ่มกรีน สุริยะใส กตะศิลา ได้ทยอยยื่นเรื่องร้องเรียนต่อศาลรัฐธรรมนูญ และองค์กรต่างๆที่เกี่ยวข้อง เพื่อคัดค้านกระบวนแก้ไขรัฐธรรมนูญของรัฐสภาว่าผิดกฎหมายหรือล้มล้างรัฐธรรมนูญนั้น ดร.พรสันต์ ได้ตั้งคำถามต่อสังคมว่า กลุ่มร้องเรียนดังกล่าวนั้นใช้สิทธิตามมาตราใด ของกฎหมายฉบับใด และเป็นการคาดการณ์ไปเองหรือไม่ว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้นจะนำไปสู่การล้มล้างการปกครอง ซึ่งเป็นข้อสันนิษฐานที่ร้ายแรงมาก โดยอาจารย์พรสันต์ ได้เขียนข้อความทั้งหมด ดังต่อไปนี้
“ทีมกฎหมายของพรรคการเมืองพรรคหนึ่งจะยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยกล่าวหาว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญรายมาตราของรัฐสภาถือเป็นการล้มล้างรัฐธรรมนูญ คำถามของผมคือ
๑. มาตราใดของรัฐธรรมนูญที่ให้อำนาจในการยื่นคำร้องในข้อกล่าวหาดังกล่าว?
๒. หากรัฐสภาต้องการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่จริงจะทำไม่ได้ตามหลักการอย่างนั้นน่ะหรือ? (ผมไม่อยากใช้คำว่า "ล้มล้าง" เพราะมันเป็นการใช้ถ้อยคำที่พยายามที่จะให้ความหมายที่รุนแรง หรือผิดรัฐธรรมนูญ)
๓. ท่านทราบได้อย่างไรว่าการแก้ไขรายมาตราของรัฐสภาครั้งนี้จะนำไปสู่การยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ มันถือเป็นการคาดการณ์ไปเองหรือไม่อย่างไร? (กรณีไม่ได้ผิดแผกแตกต่างจากกรณีการยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญในครั้งที่แล้วว่าจะมีการตั้ง ส.ส.ร. เพื่อล้มล้างระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งศาลเองก็เห็นว่าเป็นการคาดเดาไปเอง)
อย่างไรก็ดี ผมว่าแม้มันอาจไม่ค่อยตรงกันเสียเท่าไหร่ แต่ใน"เชิงตรรกะของระับบกฎหมาย" มันพอเทียบเคียงได้ กล่าวคือ ในเชิงหลักการแล้ว จรรยาบรรณของนักกฎหมายโดยเฉพาะอย่างยิ่งทนายความเขาจะห้ามมิให้มีการ "ยุยงส่งเสริม" ให้มีการฟ้องร้องคดีซึ่งไม่มีมูล (โปรดดู ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ ข้อ ๙) ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากการในระบบกฎหมายจะถือว่า...
ก) มิได้ซื่อสัตย์กับหลักการของระบบกฎหมาย
ข) ทำให้ระบบกฎหมายต้องปั่นป่วน และ
ค) ทำให้คดีรกโรงรกศาล
หากพิจารณาให้ดีจะเห็นได้ว่ากรณีข้างต้นเป็นเพียงแค่การ "ยุยงส่งเสริม" ให้ทำการฟ้องร้องคดีที่ไม่มีมูลก็ยังถือเป็นข้อห้ามแล้ว หากคุณได้ "ลงมือกระทำการ" ด้วยการฟ้องร้องคดีโดยไม่มีมูลเลยล่ะจะเป็นการผิดจรรยาบรรณของนักกฎหมายมากพียงใด