จากแฟนเพจคุณนิ้วกลมนะคะ
พี่ (คิด) มาก
(เปิดเผยเนื้อหาในส่วนสำคัญนะจ๊ะ)
(เขียนไว้ตั้งแต่ไปดูรอบสื่อ แปะใส่เฟซบุ๊กส่วนตัวเก็บไว้ ไม่กล้าแปะลงในนี้ เพราะกลัวเฉลยเรื่อง ตอนนี้คาดว่าพ่อแม่พี่น้องคงได้ดูกันเกือบครบประเทศแล้ว (300 ล้านไปแล้ว ยินดีกับ GTH ด้วยครับ ลุ้นให้ทะลุ 500 นะคร้าบ ^ ^) จึงนำมาแปะเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันหนุกๆ ;)
...
คาดว่าสองสามวันนี้พ่อแม่พี่น้องคงไปดู "พี่มากพระโขนง" กันจนเกือบครบแล้ว ดูจากกระแสถล่มทลายในวันแรก (20 กว่าล้าน!) ขนาดในงานหนังสือยังได้ยินคนพูดถึงแต่ "พี่มาก" (ซึ่งต้องขอแสดงความยินดีกับโต้งไว้ ณ ที่นี้ ปรบมือให้กับฝีมือที่ทำได้ "ถึง" ตามที่ตั้งใจไว้) จึงคิดว่าน่าจะเขียนสิ่งที่คิดได้ระหว่างดูพี่มากทดเอาไว้ เผื่อใครดูแล้วหรือไปดูหลังจากนี้จะได้มาคุยกันหนุกๆ
ความสมจริง
คิดว่าหนังเรื่องนี้ตั้งใจลืมความสมจริง แถมยังให้คนดูเพลิดเพลินกับความไม่สมจริงหลายๆอย่าง เช่น ทรงผมของตัวละคร ภาษาพูด มุกตลกต่างๆ และรายละเอียดหลายๆอย่าง
ยุคสมัย
หนังตั้งใจผสมสมัยเก่ากับสมัยใหม่เข้าด้วยกันแบบจงใจมั่ว และใช้ความมั่วเหล่านี้เองมาสร้างความบันเทิง หนังล้อภาษาโบราณตั้งแต่ฉากแรกๆ และตั้งใจให้ตัวละคนพูดจาแบบคนสมัยใหม่ทั้งที่แต่งตัวโบราณเต็มที่ แน่นอนว่าหลายคำที่ตัวละครพูดยังไม่มีในสมัยพ่อมากแน่ๆ นี่จึงเป็น "แม่นาค" ฉบับ 2013 โดยตั้งใจ
ตีความใหม่
จากวินัย ไกรบุตร ในเวอร์ชั่นที่แล้ว ครั้งนี้ "พี่มาก" กลายมาเป็นมาริโอ เมาเร่อ จากไทยแท้กลายเป็น "ลูกครึ่ง" ซึ่งหากจะมีคำจำกัดความหนัง "พี่มากพระโขนง" (แม่นาค 2013) ก็น่าจะเป็นคำนี้นี่แหละ "ลูกครึ่ง" เดี๋ยวจะบอกว่าทำไมถึงคิดว่าอย่างนั้น นอกจากนั้นยังมีอะไรอีกหลายๆอย่างที่โต้งตั้งใจโยนของเก่าทิ้ง และใส่ของใหม่เข้าไป ซึ่งทำให้แม่นาคฉบับ 2013 ไม่ "ไทย" อย่างเคย แต่เป็น "ไทย 2013" ไปแทน อันที่จริงก็เห็นการ "คิดใหม่" ได้ตั้งแต่ตั้งใจโฟกัสที่ "พี่มาก" แทน "แม่นาค" แล้ว "พี่มากพระโขนง" จึงตั้งใจรื้อขนบหลายๆ อย่างที่เคยมีอยู่ใน "แม่นาคพระโขนง" เวอร์ชั่นเดิมๆ
น่ากลัว-ตลก
สิ่งที่เคยน่ากลัวถูกนำมาทำให้ตลกจนแทบไม่เหลือความขลัง ไม่ว่าจะเป็นคำสยองหูอย่าง "พี่มากขา..." (ซึ่งกลายมาเป็นไส้เดือน กิ้งกือ-ชอบๆ) หรือฉากยืดแขนของแม่นาคเองก็ตาม "ผี" ในหนังเรื่องนี้จึงไม่ได้น่ากลัว แม้ "ผี" จะไม่ได้เป็นตัวตลกเสียเอง แต่ก็นำมาซึ่งเสียงหัวเราะอยู่เกือบตลอดเรื่อง
ชุมชนที่หายไป
หนังเรื่องนี้จำกัดความสัมพันธ์อยู่ในวงแคบ (มาก) คือเพื่อนสี่ห้าคนของพี่มากเท่านั้น ชาวบ้านและชุมชนถูกตัดออกไปหมด ในแง่หนึ่งก็ทำให้ปล่อยมุกตลกได้ง่ายและต่อเนื่อง อีกแง่ก็สะท้อนว่ามันเป็นหนังฉบับ 2013 จริงๆ คือชีวิตเชื่อมโยงของคนในชุมชนหายไปหมดแล้ว หนังเรื่องนี้แม่นาคไม่จำเป็นต้องอยู่ริมคลอดพระโขนงก็ได้ ถ้าแม่นาคและพี่มากอยู่ในคอนโดฯ มีเพื่อนมาค้างคืนด้วยก็สามารถเล่าเรื่องได้เช่นกัน เพราะไม่มีเรื่องผลกระทบของคนในชุมชนมากเท่าไหร่ หนังจึงสะท้อนวิถีชีวิตสมัยใหม่ของคนเมืองมากกว่าจะเล่าวิถีชีวิตชนบทหรือคนโบราณ นี่อาจทำให้หนัง "แตะ" คนสมัยใหม่ (รวมถึงคนเมือง) ได้ดีกว่า และยิ่งสะท้อนว่ามันถูกคิดขึ้นมาจากคนเมืองสมัยใหม่โดยแท้
พระที่พึ่งพาไม่ได้
แม่นาคเวอร์ชั่นเก่าๆจะลงเอยด้วยการโดนพระปราบ ทำนองพระย่อมชนะผี แต่เวอร์ชั่น 2013 พระกลับกลายเป็นตัวตลก โดนถีบออกนอกสายสิญจน์ แถมยังกระโดดกำแพงหนีไปเสียอีก ปล่อยให้ฆราวาสต้องแก้ปัญหากันเอง ซึ่งปัญหาที่ว่าก็ไม่ใช่ปัญหาของ "ชุมชน" แต่เป็นปัญหา "ส่วนบุคคล" ซึ่งจะว่าไปก็เป็นแค่ปัญหาของ "พี่มาก" และผองเพื่อน สะท้อนให้เห็นว่าบทบาทของพระนั้นเปลี่ยนไป มุมมองของหนังเรื่องนี้ไม่คิดว่าพระจะพึ่งพาได้ และฆราวาสต้องแก้ปัญหาของตัวเองด้วยตัวเอง อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ซึ่งอาจคล้ายๆความคิดของคนเมืองยุคนี้ที่เชื่อในตัวเองมากกว่าอิทธิฤทธิ์ของพระในเรื่องของปาฏิหาริย์ แถมยังเห็นเรื่องพวกนั้นเป็นเรื่องตลกด้วยซ้ำ
ผีกับคนอยู่ด้วยกันได้
หนังเรื่องนี้จบแตกต่างไปจากหนังแม่นาคเวอร์ชั่นอื่นๆอย่างมหาศาล แม่นาคเวอร์ชั่นที่ผ่านมาล้วนแล้วแต่จบลงด้วยข้อสรุปว่า "ผีกับคนอยู่ร่วมกันไม่ได้" แต่เรื่องนี้กลับจบลงว่า "ไม่ต้องสนใจสังคม ถ้าเรารักกันซะอย่าง ผีกับคนก็อยู่ด้วยกันได้" สะท้อนว่า "ชุมชน" แทบไม่มีผลต่อการตัดสินใจของ "ปัจเจก" ซึ่งพี่มากทำตัวเหมือนอยู่คอนโดฯ จริงๆ คือ ต่อให้ลุงป้าน้าอาในตลาดไม่คบ ไม่ขายผักขายปลาให้ พี่มากก็แค่ขึ้นรถไฟฟ้าไปซื้อจากบิ๊กซี โลตัสได้ ไม่ต้องพึ่งพาคนในชุมชนแต่อย่างใด สะท้อนความคิดของคนสมัยใหม่ว่า เขามีชีวิตที่ไม่ได้เป็น "ส่วนหนึ่งของชุมชน" แต่ "เป็นตัวของตัวเอง" คล้ายๆสโลแกนต่างๆที่กระทบใจคนรุ่นใหม่ เช่น "ชีวิตเรา ใช้ซะ" "ไม่มีลิมิต ชีวิตเกินร้อย" "เต็มที่กับชีวิต" "เป้าหมายมีไว้พุ่งชน" ที่เน้นไปที่ความใฝ่ฝันของปัจเจกบุคคล ตอบสนองความคิดความเชื่อของตัวเอง
ผีกับคนจึงอยู่กันได้โดยไม่ต้องแคร์บรรทัดฐานของสังคมรอบข้างว่าจะมองอย่างไร ซึ่งอาจสะท้อนถึงความมั่นใจของคนรุ่นใหม่ที่จะทำอะไรผิดต่างไปจากบรรทัดฐานที่คนส่วนใหญ่หรือผู้ใหญ่เห็นว่าดีงาม อันนี้เป็นอีกประเด็น เช่น ถ้าคนกับผีอยู่กันได้แบบไม่แคร์ ชายรักชาย หญิงรักหญิง ก็คบกันได้แบบไม่ต้องแคร์ค่านิยมโบราณ (อันนี้อาจจะตีความเกินไปสักหน่อย แต่ก็ลองเลยเถิดไปดู)
เช่นกันกับฉากสวีทในงานวัด ซึ่งจะเห็นว่าฉากนี้เหมือน "โลกนี้มีเราเพียงสองคน" เป็นความรักที่ไม่แคร์สายตาคนรอบข้าง หวานกันได้เหมือนโลกนี้มีแค่เราเท่านั้น ซึ่งก็เป็นอารมณ์ร่วมสมัยเช่นกัน
มีความสุขในโลกใบเล็ก
ฉากปล่อยมุกท้ายเรื่องที่มีชาวบ้านออกมาคัดค้านการที่พี่มากอยู่ร่วมกับผีแม่นาคกันใหญ่โต แต่แม่นาคก็ออกมาแสดงอิทธิฤทธิ์ให้ชาวบ้านวิ่งหนีกันไปด้วยการยืดแขนยาวเบลื้อย เสร็จแล้วก็หัวเราะกันเอิ๊กอ๊ากกับเพื่อนๆและพี่มาก ก็ยิ่งตอกย้ำว่า คนรุ่นใหม่อย่างพี่มาก แม่นาค และเพื่อนๆ สามารถมีความสุขอยู่ในโลกใบเล็กๆ เลือกทางที่ตัวเองเชื่อ แม้ไม่ตรงกับโลกใบใหญ่ซึ่งคือสังคมและชุมชน ซึ่งอาจถูกจริตกับคนรุ่นใหม่ยุคปัจจุบันที่อยากมีความสุขในมุมเล็กๆ กิจการเล็กๆ การงานอิสระเล็กๆ ของตัวเอง และทนไม่ค่อยได้กับข้อจำกัด เงื่อนไข และความรับผิดชอบที่ต้องแบกรับในองค์กรใหญ่ บริษัทยักษ์
ลูกครึ่ง
"แม่นาค 2013" จึงมีลักษณะที่เป็น "ลูกครึ่ง" เหมือน "พี่มาร์ค" ในเรื่อง ซึ่งก็มีลักษณะคล้ายกับสังคมไทยยุค 2013 (ซึ่งไม่ค่อยมีใครใช้ 2556) คือเป็นสังคมลูกครึ่ง วัฒนธรรมต่างๆ ก็ผสมปนเป ทั้งไทย ฝรั่ง ญี่ปุ่น เกาหลี ค่านิยมและวิถีชีวิตสมัยใหม่ก็ผสมผสานกันเป็น "ลูกครึ่ง" ไปหมด "พี่มากพระโขนง" จึงไม่ได้เป็นหนัง "ไท้ยไทย" แต่เป็นหนังที่ใช้ฉากและเรื่องไทยโบราณมาเล่าความคิดและวิถีชีวิตสมัยใหม่
ทั้งหมดนี้ไม่ได้บอกว่า "พี่มากพระโขนง" ดีหรือไม่ดี แต่คิดว่ามันเป็นหนังที่สะท้อนยุคสมัยในหลายแง่มุม ส่วนตัวแล้วชอบภาคบันเทิงของหนัง ไม่ติดที่ไม่สมจริง แต่ติดที่ความไม่สมจริงทำให้เราไม่อินกับเรื่อง และทำให้ฉากที่น่าจะดี เช่น แม่นาคยืดแขนมาซับน้ำตาพี่มาก หรือฉากตอนที่พี่มากบอกว่ารู้ตั้งนานแล้วว่าแม่นาคเป็นผี นั้นไม่มีพลังเท่าที่มันควรจะเป็น เพราะเราไม่อินไปซะแล้ว
และคิดว่า ถ้าหนังเรื่องนี้ทะลุ 150 ล้าน หรือไปถึง 200 ล้าน ก็น่าจะมีเหตุผลอยู่ตรงที่คนทำหนังเข้าใจคนยุคนี้ หรือไม่ก็เขาก็เป็น "คนยุคนี้" คนหนึ่งที่มีวิธีคิดและวิถีชีวิตใกล้เคียงกับเราๆท่านๆ ไม่ได้ทำหนังย้อนยุคไปไหนหรือตั้งคำถามกับยุคสมัยอะไร และนั่นก็อาจไม่ใช่หน้าที่ของหนังที่สร้างขึ้นมาเพื่อความบันเทิงอย่าง "พี่มากพระโขนง" จะต้องทำ
เป็นการตอกย้ำอีกครั้งว่า คนไทยไม่ได้ "ยำเกรง" ผีอีกต่อไปแล้ว ผีแค่ทำให้เรา "ตกใจ" ได้ในเวลาที่โผล่ออกมาพร้อมซาวนด์เอ็ฟเฟ็กต์ดังๆเท่านั้น แต่ที่หนังเรื่องนี้เขยิบไปไกลกว่านั้นก็คือ คนเองก็ไม่กลัว "ชุมชน" อีกต่อไปแล้ว ถึงกระทั่งกล้าคบผีโดยไม่แคร์ จึงน่าตั้งคำถามเหมือนกันว่า แล้วคนยุคสมัยใหม่แบบนี้จะเหลืออะไรให้ "ยำเกรง" อีก
อดคิดไม่ได้ว่า ถ้ามีการสร้าง "คำพิพากษา 2013" ไอ้ฟักอาจจะครองรักกับสมทรงโดยไม่ต้องเป็นทุกข์เป็นร้อนกับ "คำพิพากษา" ของชาวบ้านเลยด้วยซ้ำ ถ้าโดนชาวบ้านค่อนแคะนินทา ฟักอาจจะบอกสมทรงว่า "อย่าไปคิดอะไรมากเลย พี่มากยังอยู่กินกับผีได้ นับประสาอะไรกับเรา"
มาฟังคุณ นิ้วกลม พูดถึงพี่มากพระโขนงกันบ้างจ้ะ
จากแฟนเพจคุณนิ้วกลมนะคะ
พี่ (คิด) มาก
(เปิดเผยเนื้อหาในส่วนสำคัญนะจ๊ะ)
(เขียนไว้ตั้งแต่ไปดูรอบสื่อ แปะใส่เฟซบุ๊กส่วนตัวเก็บไว้ ไม่กล้าแปะลงในนี้ เพราะกลัวเฉลยเรื่อง ตอนนี้คาดว่าพ่อแม่พี่น้องคงได้ดูกันเกือบครบประเทศแล้ว (300 ล้านไปแล้ว ยินดีกับ GTH ด้วยครับ ลุ้นให้ทะลุ 500 นะคร้าบ ^ ^) จึงนำมาแปะเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันหนุกๆ ;)
...
คาดว่าสองสามวันนี้พ่อแม่พี่น้องคงไปดู "พี่มากพระโขนง" กันจนเกือบครบแล้ว ดูจากกระแสถล่มทลายในวันแรก (20 กว่าล้าน!) ขนาดในงานหนังสือยังได้ยินคนพูดถึงแต่ "พี่มาก" (ซึ่งต้องขอแสดงความยินดีกับโต้งไว้ ณ ที่นี้ ปรบมือให้กับฝีมือที่ทำได้ "ถึง" ตามที่ตั้งใจไว้) จึงคิดว่าน่าจะเขียนสิ่งที่คิดได้ระหว่างดูพี่มากทดเอาไว้ เผื่อใครดูแล้วหรือไปดูหลังจากนี้จะได้มาคุยกันหนุกๆ
ความสมจริง
คิดว่าหนังเรื่องนี้ตั้งใจลืมความสมจริง แถมยังให้คนดูเพลิดเพลินกับความไม่สมจริงหลายๆอย่าง เช่น ทรงผมของตัวละคร ภาษาพูด มุกตลกต่างๆ และรายละเอียดหลายๆอย่าง
ยุคสมัย
หนังตั้งใจผสมสมัยเก่ากับสมัยใหม่เข้าด้วยกันแบบจงใจมั่ว และใช้ความมั่วเหล่านี้เองมาสร้างความบันเทิง หนังล้อภาษาโบราณตั้งแต่ฉากแรกๆ และตั้งใจให้ตัวละคนพูดจาแบบคนสมัยใหม่ทั้งที่แต่งตัวโบราณเต็มที่ แน่นอนว่าหลายคำที่ตัวละครพูดยังไม่มีในสมัยพ่อมากแน่ๆ นี่จึงเป็น "แม่นาค" ฉบับ 2013 โดยตั้งใจ
ตีความใหม่
จากวินัย ไกรบุตร ในเวอร์ชั่นที่แล้ว ครั้งนี้ "พี่มาก" กลายมาเป็นมาริโอ เมาเร่อ จากไทยแท้กลายเป็น "ลูกครึ่ง" ซึ่งหากจะมีคำจำกัดความหนัง "พี่มากพระโขนง" (แม่นาค 2013) ก็น่าจะเป็นคำนี้นี่แหละ "ลูกครึ่ง" เดี๋ยวจะบอกว่าทำไมถึงคิดว่าอย่างนั้น นอกจากนั้นยังมีอะไรอีกหลายๆอย่างที่โต้งตั้งใจโยนของเก่าทิ้ง และใส่ของใหม่เข้าไป ซึ่งทำให้แม่นาคฉบับ 2013 ไม่ "ไทย" อย่างเคย แต่เป็น "ไทย 2013" ไปแทน อันที่จริงก็เห็นการ "คิดใหม่" ได้ตั้งแต่ตั้งใจโฟกัสที่ "พี่มาก" แทน "แม่นาค" แล้ว "พี่มากพระโขนง" จึงตั้งใจรื้อขนบหลายๆ อย่างที่เคยมีอยู่ใน "แม่นาคพระโขนง" เวอร์ชั่นเดิมๆ
น่ากลัว-ตลก
สิ่งที่เคยน่ากลัวถูกนำมาทำให้ตลกจนแทบไม่เหลือความขลัง ไม่ว่าจะเป็นคำสยองหูอย่าง "พี่มากขา..." (ซึ่งกลายมาเป็นไส้เดือน กิ้งกือ-ชอบๆ) หรือฉากยืดแขนของแม่นาคเองก็ตาม "ผี" ในหนังเรื่องนี้จึงไม่ได้น่ากลัว แม้ "ผี" จะไม่ได้เป็นตัวตลกเสียเอง แต่ก็นำมาซึ่งเสียงหัวเราะอยู่เกือบตลอดเรื่อง
ชุมชนที่หายไป
หนังเรื่องนี้จำกัดความสัมพันธ์อยู่ในวงแคบ (มาก) คือเพื่อนสี่ห้าคนของพี่มากเท่านั้น ชาวบ้านและชุมชนถูกตัดออกไปหมด ในแง่หนึ่งก็ทำให้ปล่อยมุกตลกได้ง่ายและต่อเนื่อง อีกแง่ก็สะท้อนว่ามันเป็นหนังฉบับ 2013 จริงๆ คือชีวิตเชื่อมโยงของคนในชุมชนหายไปหมดแล้ว หนังเรื่องนี้แม่นาคไม่จำเป็นต้องอยู่ริมคลอดพระโขนงก็ได้ ถ้าแม่นาคและพี่มากอยู่ในคอนโดฯ มีเพื่อนมาค้างคืนด้วยก็สามารถเล่าเรื่องได้เช่นกัน เพราะไม่มีเรื่องผลกระทบของคนในชุมชนมากเท่าไหร่ หนังจึงสะท้อนวิถีชีวิตสมัยใหม่ของคนเมืองมากกว่าจะเล่าวิถีชีวิตชนบทหรือคนโบราณ นี่อาจทำให้หนัง "แตะ" คนสมัยใหม่ (รวมถึงคนเมือง) ได้ดีกว่า และยิ่งสะท้อนว่ามันถูกคิดขึ้นมาจากคนเมืองสมัยใหม่โดยแท้
พระที่พึ่งพาไม่ได้
แม่นาคเวอร์ชั่นเก่าๆจะลงเอยด้วยการโดนพระปราบ ทำนองพระย่อมชนะผี แต่เวอร์ชั่น 2013 พระกลับกลายเป็นตัวตลก โดนถีบออกนอกสายสิญจน์ แถมยังกระโดดกำแพงหนีไปเสียอีก ปล่อยให้ฆราวาสต้องแก้ปัญหากันเอง ซึ่งปัญหาที่ว่าก็ไม่ใช่ปัญหาของ "ชุมชน" แต่เป็นปัญหา "ส่วนบุคคล" ซึ่งจะว่าไปก็เป็นแค่ปัญหาของ "พี่มาก" และผองเพื่อน สะท้อนให้เห็นว่าบทบาทของพระนั้นเปลี่ยนไป มุมมองของหนังเรื่องนี้ไม่คิดว่าพระจะพึ่งพาได้ และฆราวาสต้องแก้ปัญหาของตัวเองด้วยตัวเอง อัตตา หิ อัตตโน นาโถ ตนแลเป็นที่พึ่งแห่งตน ซึ่งอาจคล้ายๆความคิดของคนเมืองยุคนี้ที่เชื่อในตัวเองมากกว่าอิทธิฤทธิ์ของพระในเรื่องของปาฏิหาริย์ แถมยังเห็นเรื่องพวกนั้นเป็นเรื่องตลกด้วยซ้ำ
ผีกับคนอยู่ด้วยกันได้
หนังเรื่องนี้จบแตกต่างไปจากหนังแม่นาคเวอร์ชั่นอื่นๆอย่างมหาศาล แม่นาคเวอร์ชั่นที่ผ่านมาล้วนแล้วแต่จบลงด้วยข้อสรุปว่า "ผีกับคนอยู่ร่วมกันไม่ได้" แต่เรื่องนี้กลับจบลงว่า "ไม่ต้องสนใจสังคม ถ้าเรารักกันซะอย่าง ผีกับคนก็อยู่ด้วยกันได้" สะท้อนว่า "ชุมชน" แทบไม่มีผลต่อการตัดสินใจของ "ปัจเจก" ซึ่งพี่มากทำตัวเหมือนอยู่คอนโดฯ จริงๆ คือ ต่อให้ลุงป้าน้าอาในตลาดไม่คบ ไม่ขายผักขายปลาให้ พี่มากก็แค่ขึ้นรถไฟฟ้าไปซื้อจากบิ๊กซี โลตัสได้ ไม่ต้องพึ่งพาคนในชุมชนแต่อย่างใด สะท้อนความคิดของคนสมัยใหม่ว่า เขามีชีวิตที่ไม่ได้เป็น "ส่วนหนึ่งของชุมชน" แต่ "เป็นตัวของตัวเอง" คล้ายๆสโลแกนต่างๆที่กระทบใจคนรุ่นใหม่ เช่น "ชีวิตเรา ใช้ซะ" "ไม่มีลิมิต ชีวิตเกินร้อย" "เต็มที่กับชีวิต" "เป้าหมายมีไว้พุ่งชน" ที่เน้นไปที่ความใฝ่ฝันของปัจเจกบุคคล ตอบสนองความคิดความเชื่อของตัวเอง
ผีกับคนจึงอยู่กันได้โดยไม่ต้องแคร์บรรทัดฐานของสังคมรอบข้างว่าจะมองอย่างไร ซึ่งอาจสะท้อนถึงความมั่นใจของคนรุ่นใหม่ที่จะทำอะไรผิดต่างไปจากบรรทัดฐานที่คนส่วนใหญ่หรือผู้ใหญ่เห็นว่าดีงาม อันนี้เป็นอีกประเด็น เช่น ถ้าคนกับผีอยู่กันได้แบบไม่แคร์ ชายรักชาย หญิงรักหญิง ก็คบกันได้แบบไม่ต้องแคร์ค่านิยมโบราณ (อันนี้อาจจะตีความเกินไปสักหน่อย แต่ก็ลองเลยเถิดไปดู)
เช่นกันกับฉากสวีทในงานวัด ซึ่งจะเห็นว่าฉากนี้เหมือน "โลกนี้มีเราเพียงสองคน" เป็นความรักที่ไม่แคร์สายตาคนรอบข้าง หวานกันได้เหมือนโลกนี้มีแค่เราเท่านั้น ซึ่งก็เป็นอารมณ์ร่วมสมัยเช่นกัน
มีความสุขในโลกใบเล็ก
ฉากปล่อยมุกท้ายเรื่องที่มีชาวบ้านออกมาคัดค้านการที่พี่มากอยู่ร่วมกับผีแม่นาคกันใหญ่โต แต่แม่นาคก็ออกมาแสดงอิทธิฤทธิ์ให้ชาวบ้านวิ่งหนีกันไปด้วยการยืดแขนยาวเบลื้อย เสร็จแล้วก็หัวเราะกันเอิ๊กอ๊ากกับเพื่อนๆและพี่มาก ก็ยิ่งตอกย้ำว่า คนรุ่นใหม่อย่างพี่มาก แม่นาค และเพื่อนๆ สามารถมีความสุขอยู่ในโลกใบเล็กๆ เลือกทางที่ตัวเองเชื่อ แม้ไม่ตรงกับโลกใบใหญ่ซึ่งคือสังคมและชุมชน ซึ่งอาจถูกจริตกับคนรุ่นใหม่ยุคปัจจุบันที่อยากมีความสุขในมุมเล็กๆ กิจการเล็กๆ การงานอิสระเล็กๆ ของตัวเอง และทนไม่ค่อยได้กับข้อจำกัด เงื่อนไข และความรับผิดชอบที่ต้องแบกรับในองค์กรใหญ่ บริษัทยักษ์
ลูกครึ่ง
"แม่นาค 2013" จึงมีลักษณะที่เป็น "ลูกครึ่ง" เหมือน "พี่มาร์ค" ในเรื่อง ซึ่งก็มีลักษณะคล้ายกับสังคมไทยยุค 2013 (ซึ่งไม่ค่อยมีใครใช้ 2556) คือเป็นสังคมลูกครึ่ง วัฒนธรรมต่างๆ ก็ผสมปนเป ทั้งไทย ฝรั่ง ญี่ปุ่น เกาหลี ค่านิยมและวิถีชีวิตสมัยใหม่ก็ผสมผสานกันเป็น "ลูกครึ่ง" ไปหมด "พี่มากพระโขนง" จึงไม่ได้เป็นหนัง "ไท้ยไทย" แต่เป็นหนังที่ใช้ฉากและเรื่องไทยโบราณมาเล่าความคิดและวิถีชีวิตสมัยใหม่
ทั้งหมดนี้ไม่ได้บอกว่า "พี่มากพระโขนง" ดีหรือไม่ดี แต่คิดว่ามันเป็นหนังที่สะท้อนยุคสมัยในหลายแง่มุม ส่วนตัวแล้วชอบภาคบันเทิงของหนัง ไม่ติดที่ไม่สมจริง แต่ติดที่ความไม่สมจริงทำให้เราไม่อินกับเรื่อง และทำให้ฉากที่น่าจะดี เช่น แม่นาคยืดแขนมาซับน้ำตาพี่มาก หรือฉากตอนที่พี่มากบอกว่ารู้ตั้งนานแล้วว่าแม่นาคเป็นผี นั้นไม่มีพลังเท่าที่มันควรจะเป็น เพราะเราไม่อินไปซะแล้ว
และคิดว่า ถ้าหนังเรื่องนี้ทะลุ 150 ล้าน หรือไปถึง 200 ล้าน ก็น่าจะมีเหตุผลอยู่ตรงที่คนทำหนังเข้าใจคนยุคนี้ หรือไม่ก็เขาก็เป็น "คนยุคนี้" คนหนึ่งที่มีวิธีคิดและวิถีชีวิตใกล้เคียงกับเราๆท่านๆ ไม่ได้ทำหนังย้อนยุคไปไหนหรือตั้งคำถามกับยุคสมัยอะไร และนั่นก็อาจไม่ใช่หน้าที่ของหนังที่สร้างขึ้นมาเพื่อความบันเทิงอย่าง "พี่มากพระโขนง" จะต้องทำ
เป็นการตอกย้ำอีกครั้งว่า คนไทยไม่ได้ "ยำเกรง" ผีอีกต่อไปแล้ว ผีแค่ทำให้เรา "ตกใจ" ได้ในเวลาที่โผล่ออกมาพร้อมซาวนด์เอ็ฟเฟ็กต์ดังๆเท่านั้น แต่ที่หนังเรื่องนี้เขยิบไปไกลกว่านั้นก็คือ คนเองก็ไม่กลัว "ชุมชน" อีกต่อไปแล้ว ถึงกระทั่งกล้าคบผีโดยไม่แคร์ จึงน่าตั้งคำถามเหมือนกันว่า แล้วคนยุคสมัยใหม่แบบนี้จะเหลืออะไรให้ "ยำเกรง" อีก
อดคิดไม่ได้ว่า ถ้ามีการสร้าง "คำพิพากษา 2013" ไอ้ฟักอาจจะครองรักกับสมทรงโดยไม่ต้องเป็นทุกข์เป็นร้อนกับ "คำพิพากษา" ของชาวบ้านเลยด้วยซ้ำ ถ้าโดนชาวบ้านค่อนแคะนินทา ฟักอาจจะบอกสมทรงว่า "อย่าไปคิดอะไรมากเลย พี่มากยังอยู่กินกับผีได้ นับประสาอะไรกับเรา"