การเก็บน้ำแข็งของคนในสมัยก่อน

กระทู้คำถาม
อยากทราบว่าน้ำแข็งในประเทศใทยมีตั้งแต่สมัยใดและมีวิธิการเก็บรักษายังใง
นึกๆสงสัยขึ้นมาน่ะค่ะเม่าอ่านหนังสือพิมพ์
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 2
รู้กันไหม??...น้ำแข็งเข้ามาเมืองไทยครั้งแรกเมื่อไหร่
เอกสารบันทึก ราว พ.ศ.2400

      รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
มีเรือกลไฟชื่อ "เจ้าพระยา" เดินเมล์รับส่งสินค้าระหว่างสิงคโปร์กับกรุงเทพฯ
ใช้เวลา 15 วัน ในบรรดาสินค้าจากสิงคโปร์ยามนั้นมีของแปลกอย่างหนึ่ง คือ "น้ำแข็ง"
บรรจุหีบกลบด้วยขี้เลื่อยส่งเข้ามาถวาย จากนั้นก็แพร่หลายในหมู่เจ้านาย และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่

โดยผู้ที่สั่งน้ำแข็งเข้าเมืองไทยยุคนั้น คือ พระยาพิสนธ์สมบัติบริบูรณ์ (ยิ้ม พิศลยบุตร)
ครั้งยังมีบรรดาศักดิ์เป็น พระภาษีสมบัติบริบูรณ์ เจ้าของเรือเจ้าพระยา
นำเข้าน้ำแข็งเช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์ต่างประเทศ สินค้าหรูหราจากยุโรป

พ.ศ.2411 มีสุริยุปราคาเต็มดวงที่หว้ากอ
รัชกาลที่ 4 ทรงเชิญนักปราชญ์จากยุโรป พร้อม เซอร์แฮรี่อ็อต ผู้ว่าการเมืองสิงคโปร์
เป็นพระราชอาคันตุกะมาดูสุริยุปราคา โดยจัดการที่พัก อาหารการกิน
ตามแบบอย่างอารยประเทศสมบูรณ์แบบทุกประการ

เป็นการแสดงให้เห็นว่าสยามไม่ได้เป็นเมืองป่าเถื่อนอย่างที่ฝรั่งเข้าใจกัน
การรับรองครั้งนั้น น้ำแข็ง มีส่วนเสริมสร้างการดื่มของพระราชอาคันตุกะอย่างสำคัญ
ถึงกับเซอร์แฮรี่อ็อต บันทึกความประทับใจไว้ความว่า

       "พระ ภาษีสมบัติบริบูรณ์ ซึ่งรับหน้าที่เป็นผู้จัดอาหารเลี้ยงแขกเมือง
นำเอาพ่อครัวฝรั่งเศสเข้ามาให้รู้จักพร้อมด้วยชาวอิตาลีหนึ่งคน และลูกมือชาวเมืองอีกหลายคน
จัดการเลี้ยงดูอย่างฟุ่มเฟือยบริบูรณ์ ของอร่อยที่หาไม่ได้ในแถบนี้ก็จัดหามาจากสิงคโปร์
การทำกับข้าวก็ทำอย่างประณีต มีทั้งเหล้าและไวน์ต่างๆ น้ำแข็งก็บริบูรณ์ อาจจะกล่าวได้ว่าไม่มีอะไรที่ต้องการอีก"


ต่อมา พ.ศ.2448 รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระยาภักดีนรเศรษฐ (เลิศ เศรษฐบุตร) ดำเนินธุรกิจเรือเมล์รุ่งเรือง
เช่นเดียวกับกิจการโรงน้ำแข็งซึ่งเป็นโรงน้ำแข็งแห่งแรกของประเทศไทย
ตั้งขึ้นที่สะพานเหล็กล่าง ถนนเจริญกรุง ชื่อว่า "น้ำแข็งสยาม"
แต่กลับเป็นที่รู้จักกว้างขวางในชื่อ โรงน้ำแข็งนายเลิศ
นับแต่นั้นน้ำแข็งก็แพร่ขยายไปสู่หัวเมืองใหญ่ๆ รอบนอกกรุงเทพฯ

แต่น้ำแข็งยุคนั้นยังไม่สะอาดเท่าที่ควร
เพราะใช้น้ำจากแม่น้ำลำคลองมาทำให้ใส ที่ดีหน่อยก็ใช้น้ำบาดาล
แต่ไม่มีการกรองฆ่าเชื้อโรคแต่ประการใด เพราะต้นทุนสูงไม่คุ้มกับค่าใช้จ่าย
ต่างยิ่งกับยุคหลังที่ขั้นตอนการทำน้ำแข็ง
เริ่มจากสูบน้ำบาดาลลึก 150 เมตร
กรองฆ่าเชื้อ รินน้ำใส่ลงในซองน้ำแข็ง หย่อนซองน้ำแข็งลงบ่อ
ใส่หลอดดูดอากาศออก ทำให้แข็งตัวช้าๆ ที่อุณหภูมิ -10 องศาเซลเซียส
ได้น้ำแข็งซองหนัก 71 กิโลกรัม ล้างน้ำแข็ง
ตรวจคุณภาพ ส่งโม่น้ำแข็ง คัดแยกขนาดต่างๆ บรรจุถุง ตรวจสอบคุณภาพ
เก็บไว้ในห้องเย็น อุณหภูมิต่ำกว่า -18 องศาเซลเซียส


ความเป็นมาในไทย
จากคอลัมน์รู้ไปโม้ด โดยน้าชาติ ประชาชื่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่