โดย แบ๊งค์ งามอรุณโชติ
อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้า
(หมายเหตุ: บทความนี้สำหรับคนที่ต้องการจะดูพี่มากพระโขนงรอบสอง ไม่เหมาะสมสำหรับคนที่ต้องการจะดูรอบแรก เพราะมีการนำเนื้อเรื่องมาวิเคราะห์)
เรื่องแม่นาคพระโขนงอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน โครงเรื่องโดยสรุปนั้นไม่ซับซ้อนกล่าวคือ พี่มากต้องจากบ้านไปทำภารกิจ ส่วนแม่นาคนั้นท้องแก่อยู่บ้าน ระหว่างพี่มากไม่อยู่บ้านนั้นแม่นาคก็ตายทั้งกลม และกลายเป็นผีที่เฮี้ยนจนคนพระโขนงกลัวกันไปหมด ถึงกำหนดเวลาพี่มากก็กลับมาบ้านและอยู่กินกับแม่นาคโดยไม่รู้ว่าแม่นาคนั้นตายไปแล้ว
แต่ทว่า ไม่นานนักเรื่องราวก็ค่อยๆ คลี่คลายจนกระทั่งมากรู้ความจริง และก็นำเรื่องราวไปสู่จุดจบได้แก่การพึ่งพิงพระสงฆ์องค์เจ้าเอาแม่นาคลงหม้อ อย่างไรก็ตาม สำหรับการนำเสนอเรื่องแม่นาคพระโขนงในเวอร์ชันล่าสุดนี้ ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็นพ่อมากพระโขนง กลับเปลี่ยนแปลงรายละเอียดสำคัญของเรื่อง หรือก็คือการอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับแม่นาคพระโขนงเสียใหม่ และนำเสนอออกมาด้วยมุมมองใหม่ โดยจะได้เล่าและวิเคราะห์ไปพลางดังนี้
ประเด็นแรกที่ผู้ประพันธ์บทเปลี่ยนแปลงน้ำหนักไปจากต้นฉบับก็คือ กรณีของแม่นาคแบบดั้งเดิมนั้น มักเน้นหนักการนำเสนอภาพความทุกข์ทรมานของแม่นาคก่อนคลอดลูกออกมาจนกระทั่งตายลง และก็จะกลายเป็นฐานสำคัญให้สามารถเขยิบระดับความเฮี้ยนของนางนาคขึ้นไปได้อย่างสมเหตุสมผล เพราะในมุมมองของความเชื่อแบบไทยพุทธนั่น “ยิ่งตายทั้งกลมยิ่งเฮี้ยน”
ความเฮี้ยนของแม่นาคในแบบฉบับดั้งเดิมจึงเกิดมาจากธรรมชาติของผีเอง หากความเฮี้ยนของแม่นาคในเวอร์ชันนี้กลับผูกพันกับประเด็นอื่น นั่นก็คือความรักที่มีต่อพี่มาก แม่นาคในเวอร์ชันนี้นั้นตายลงอย่างเงียบๆ มอดดับลงเหมือนตะเกียงน้ำมันที่หมดอากาศหายใจ ไม่ได้มีเสียงกรีดร้องทรมานประกอบแต่อย่างไร แต่แล้วแม่นาคก็กลับมาเป็นผี ผีที่รอคอยคนรักกลับบ้าน
เมื่อพี่มากกลับบ้านก็ได้พบกับแม่นาค ก็ได้พาเพื่อนกลับมาด้วยสี่คน ซึ่งแต่ละคนมีชื่อและคุณลักษณะ 4 ด้านดังนี้ คนแรกคือไอ้เผือกถูกตัดสินว่าเป็นตัวแทนภาพลักษณ์ของความเจ้าชู้ เพราะนับตั้งแต่พบแม่นาค ไอ้เผือกก็หวังจะเป็นชู้กับแม่นาคมาโดยตลอด
ส่วนไอ้เอนั้นเป็นคนละโมบมัวเมาติดการพนันแม้กระทั่งรู้แล้วว่าแม่นาคเป็นผี ก็ยังหาจังหวะไปขุดเอาศพแม่นาคขึ้นมาเพื่อขโมยแหวนทับทิมของแม่นาคไปขาย
ส่วนไอ้ชินนั้นก็มีผมสัญลักษณ์ของเด็กชายที่ยังไม่ได้โกนจุกซึ่งก็สะท้อนถึงความไม่รู้จักโต และตลอดทั้งเรื่องก็ทำตัวเหมือนเด็ก เช่น ขี้กลัวและชอบเล่นกับสัตว์ เป็นต้น ทั้งสามคนแรกนั้นเป็นตัวแทนของเพื่อนที่ไม่ดีของมากทั้งสิ้น
แต่คนสุดท้ายคือเต๋อนั้นกลับตรงกันข้าม เต๋อเป็นตัวแทนของมิตรภาพ ความซื่อสัตย์ และการคิดวิเคราะห์ ทั้งยังมีบทบาทอย่างมากในการคอยเตือนและควบคุมเพื่อนอีกสามคน อาทิ เตือนเผือกว่าแม่นาคเป็นเมียเพื่อน เป็นคนแรกที่พยายามจะพิสูจน์ว่าแม่นาคเป็นผีจริงหรือไม่ด้วยการก้มมองลอดหว่างขา (แม้ว่าชินจะเป็นคนรู้วิธีการแต่ก็กลัวเกินกว่าจะทำ)
นอกจากนั้น เมื่อเพื่อนทั้งสี่คนมั่นใจแล้วว่าแม่นาคเป็นผี ทั้งสามคนก็เร่งจะหนีออกจากบ้านของพี่มาก ก็เป็นเต๋ออีกเช่นเดียวกันที่พยายามจะช่วยพี่มากออกมาโดยไม่ยอมทิ้งเพื่อนให้อยู่กับผี
การที่เพื่อนทั้งสี่นี้ได้ติดตามพี่มากกลับมาหาแม่นาคด้วยนั้น นับเป็นการจัดวางที่โดยผิวเผินแล้วไม่มีความสมเหตุสมผลอย่างมาก (พี่มากก็ไม่ใช่เด็กๆ แล้วที่เพื่อนต้องมาส่งถึงบ้าน) มากไปกว่านั้น แม้กระทั่ง Scene ที่ฉายภาพชีวิตของพี่มากและแม่นาคภายหลังเรื่องราวจบลง ไอ้เพื่อนสี่คนนี้ก็ยังอยู่กับพี่มากและแม่นาคไม่ไปไหน ทำไมไอ้เพื่อนสี่ตัวนี้ถึงไม่ไปไหนเสียที ?
กล่าวอย่างถึงที่สุดไอ้เพื่อนสี่ตัวนี้จึงควรถูกพิจารณาว่า ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ภายนอกครอบครัวของพี่มากและแม่นาคเลย แต่คือส่วนหนึ่งของครอบครัวพี่มาก-แม่นาคเอง (และอันที่จริงคือส่วนหนึ่งของทุกครอบครัว) เพราะในทุกครอบครัวนั้นจะมีศัตรูต่อชีวิตครอบครัวที่สำคัญอยู่สามตัวใหญ่ ๆ ได้แก่ความเจ้าชู้ประพฤติผิดต่อกันในเชิงกามรมย์ การไม่รับผิดชอบไม่รู้จักโต และความสำมะเลเทเมา (รากฐานที่มาของความละโมบโลภมากของเอ)
แต่ขณะเดียวกัน ก็มีเพื่อนอีกคนหนึ่งที่ต้องมีเพื่อที่จะคัดคานต่อเพื่อนที่แย่ๆ สามตัวนั้นก็คือ มิตรภาพความจริงใจ ความซื่อสัตย์ หากมีเพื่อนคนนี้แล้วก็จะปรามเพื่อนอีกสามคนได้อยู่หมัด
ในเรื่องนั้นเพื่อนทั้งสี่คนเป็นตัวเดินเรื่องสำคัญ ที่ค่อยๆ ตั้งข้อสงสัยและเปิดเผยให้พี่มากรู้ความจริงว่าแม่นาคนั้นตายไปแล้ว ทว่า พี่มากก็ไม่เชื่อแถมยังพาแม่นาคไปเที่ยวงานวัดเสียอีก แต่เนื่องจากชาวบ้านกลัวแม่นาคมาก ดังนั้น แม่นาคจึงต้องปลอมตัวด้วยการใส่หน้ากากผี เป็นเรื่องย้อนแย้งย่างมากที่ผีต้องปลอมเป็นผี
ทั้งพี่มากและแม่นาคต่างก็มีความสุขกับเครื่องเล่นจนกระทั่งมาหยุดสนใจที่เครื่องเล่นชนิดหนึ่งได้แก่ “ชิงช้าสวรรค์” พี่มากเกิดอยากขึ้นชิงช้าสรรค์ขึ้นมาแต่คนมีมากเกินไป แม่นาคเลยถอดหน้ากากออกเผยให้คนที่ต่อคิวอยู่ได้เห็นใบหน้าของนางเพื่อไล่คนไปให้พ้นจากแถว สุดท้ายแล้วเลยเหลือเพียงพี่มากและแม่นาคที่ได้เล่นชิงช้าสวรรค์
สิ่งที่น่าสนใจของเครื่องเล่นชนิดนี้ไม่ได้เพียงแค่ชื่อของมันเท่านั้น หากเป็นลักษณะของชิงช้าสวรรค์เองด้วย ชิงช้าสวรรค์คือเครื่องเล่นที่หมุนเป็นวงกลมแนวตั้งไปเรื่อย ๆ ซึ่งก็อุปมาได้ถึง การที่มนุษย์นั้นเมื่อตายแล้วจะไปสู่สวรรค์หรือนรกก็ตาม ก็ต้องกลับมาเวียนว่ายเป็นสังสารวัฏไปไม่จบไม่สิ้น การที่พี่มากชวนแม่นาคขึ้นชิงช้าสวรรค์นั้นก็สะท้อนถึงการผูกพันกันอย่างโลกย์ คือยังวางไม่ลงนั่นเอง การวางไม่ลงนี้คล้ายกับว่าแม่นาคเป็นคนวางไม่ลง คือยังไม่ยอมไปผุดไปเกิด
แต่หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วคนที่วางไม่ลงก็คือพี่มากเอง เพราะเมื่อแม่นาคลอบถามพี่มากว่า “ถ้าฉันตายไปก่อนพี่ พี่จะอยู่ได้ไหม ?” ไอ้มากกลับตอบว่า “พี่คงอยู่ไม่ได้ เอาเป็นว่าหากเป็นไปได้ขอให้พี่ตายก่อนก็แล้วกันนะ” การตอบเช่นนี้เป็นการรั้งนาคเอาไว้ในโลกนี้อย่างไม่ต้องสงสัย
เราอาจจะพิจารณาว่าพี่มากตอบไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะไม่คิดว่าแม่นาคตายแล้ว แต่ถ้าดูหนังต่อไปเรื่อยๆ จะพบว่าในท้ายสุดพี่มากก็สารภาพกับแม่นาค ว่า “ถึงแม้พี่จะโง่ แต่ก็ไม่โง่ขนาดที่จะไม่รู้หรอกว่าเมียของพี่ตายไปแล้ว” (รู้มาก่อนที่จะพาแม่นาคมาเที่ยวงานวัดเสียอีก) ดังนั้น การตอบคำถามของพี่มากที่ว่า “ไม่สามารถอยู่ได้หากไม่มีนาค” นั้นจึงเป็นการรั้งตัวแม่นาคเอาไว้กับตนอย่างจงใจ
คนที่ปล่อยไม่ลงวางไม่ได้ในแง่มุมของผู้ประพันธ์จึงเป็นพี่มากมากกว่าแม่นาคเสียอีก และแม้ว่าจะถึงช่วงจังหวะสุดท้ายของหนัง แม่นาคจะถอดใจและพร้อมที่จะจากไป แล้วเมื่อทราบว่า พี่มากรู้ว่าตนเองเป็นผี พี่มากก็กลับเป็นคนรั้งแม่นาคเอาไว้ด้วยตนเองโดยขอให้อยู่กินเป็นผัวเมีย ผีกับคน เช่นนี้ต่อไป
การที่แม้พี่มากจะโง่แต่ก็รู้สังเกตมากเพียงพอที่จะจับได้ว่าแม่นาคตายแล้วนั้นก็ไม่น่าแปลกใจแต่อย่างไร เพราะ “ความโง่/ฉลาด” กับ “ความช่างสังเกต” นั้นเป็นเรื่องที่มาผูกเข้าไว้ด้วยกันก็เฉพาะเมื่อวิทยาศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทเต็มที่แล้วเท่านั้น “ความช่างสังเกต” กับ “ความรัก/ความห่วงใย” ต่างหากที่เป็นเรื่องที่ผูกกันมาแต่ดั้งเดิม เพราะอย่างน้อยที่สุดเราก็จะพบว่า ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) ความห่วงใย (Care) และที่รัก (Beloved) นั้นก็ล้วนเป็นคำที่มีรากศัพท์ใกล้เคียงกันมาก
นั่นก็คือ curiositas, curiosus และ carus หรืออาจจะกล่าวได้ว่ามาจากรากที่สัมพันธ์กัน ดังนั้น เมื่อทั้งพี่มากและแม่นาครักกันนั่นก็ย่อมประกอบไปด้วยความห่วงใยใส่ใจ แม้คนจะคนโง่แต่หากรักมากพอก็ต้องใส่ใจมากจนกระทั่งรู้ได้ว่าเมียตัวเองตายแล้วหรือไม่ตาย อย่างแน่นอน
ความห่วงใยและความรักย่อมนำมาซึ่งการช่างสังเกตนี้ก็ไม่ได้ส่งผลแค่พี่มากเท่านั้น สำหรับแม่นาคเองก็เช่นเดียวกัน หากวิเคราะห์จริงๆ แม่นาคเองก็น่าจะต้องรู้อยู่ลึกๆ ว่า พี่มากก็น่าจะรู้ว่าตนเองตายแล้ว (เพราะเพื่อนๆก็มาบอกใบ้พี่มากด้วยหลายวิธีการ ถึงกระทั่งพูดตรงๆ ไปแล้วด้วย) แต่กระนั้นก็ตาม แม่นาคก็คงไม่อยากที่จะยอมรับ
ข้อสังเกตนี้น่าจะจริงเพราะ เพลงประกอบช่วงเวลาที่พี่มากและแม่นาคเดินเที่ยวงานวัดกันนั้นก็เป็นเพลง อยากหยุดเวลา ซึ่งสะท้อนว่าแม่นาคเองอยากจะรั้งเวลาดีดีที่ได้ใช้ร่วมกับพี่มากเอาไว้ในคืนสุดท้ายก่อนจะจากกัน ความรักของทั้งสองจึงทั้งน่าประทับใจและเศร้าอย่างลึกซึ้งในเวลาเดียวกัน
แม้ความรักระหว่างพี่มากและแม่นาคนั้นจะเป็นรักในอุดมคติที่หลายคนอยากจะมี เพราะแม้จะตายจากกันไปแล้วก็ยังรักกันไม่เสื่อมคลาย หลายต่อหลายคนต้องเสียน้ำตาอย่างซาบซึ้งใจให้กับรักของเขาทั้งสอง แต่กระนั้น เมื่อกลับมาพิจารณาถึงตนเอง ก็ไม่มีใครเลยที่อยากจะมีความรักแบบพี่มากและแม่นาค เพราะถึงที่สุดแล้วรักอย่างลุ่มๆ ดอนๆ ระหว่างมนุษย์นั้นก็เป็นที่พึงประสงค์ของปุถุชนมากกว่ารักข้ามภพหรือ “รักกับผี”
นอกจากนี้ ความรักแบบมาก-นาค นั้นก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่จะพิสูจน์เนื่องจาก ตราบใดที่เรายังไม่ตาย ก็ไม่มีวันจะรู้ว่าคู่รักของเราจะรักเรามากเพียงนั้นหรือไม่ แต่เมื่อเราตายเสียแล้ว ก็ย่อมไม่มีประโยชน์อะไรที่จะพิสูจน์
ความรักในแบบของพี่มากและแม่นาคในภาษาของ Lacan นักจิตวิเคราะห์ในตำนาน จึงเป็นเพียงความต้องการที่ถมไม่เต็ม (unfulfilled need) หรือเป็นเพียงแรงปรารถนา (desire) เท่านั้น ความอิ่มเอมของผู้ที่ซาบซึ้งในความรักของพี่มากและแม่นาคจึงเป็นความซาบซึ้งต่อ ภาพฝัน (fantasy) ที่ถูกสร้างมารองรับความต้องการความรักที่ไม่อาจจะบรรลุถึงอุดมคติแห่งรักได้ในโลกจริงนั่นเอง
อุดมคติแห่งรักที่พี่มากมีให้แก่แม่นาค กระทั่งชวนมาอยู่กินกันแม้ว่าแม่นาคจะตายไปแล้วนี้ เป็นที่โต้แย้งจากเพื่อนๆ ทั้งสี่คน แม้กระทั่งแม่นาคเองก็ให้ความเห็นว่าการอยู่กินกันระหว่างผีและคนนั้นเป็นเรื่อง “ผิดธรรมชาติ” ความผิดธรรมชาตินี้ไม่ได้ถูกขยายความว่าผิดอย่างไร แต่ก็นั่นหละ เราคงจะพิจารณาในระดับผิวเผินได้ไม่ยากว่า การผิดธรรมชาตินั้นก็คือการที่ผีและคนไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ แต่ถามอย่างถึงที่สุดแล้วตกลง “ธรรมชาติ” คืออะไร ?
ธรรมชาติในแง่นี้อาจจะเป็นไปในความหมายที่เรียวแคบอย่างถึงที่สุดนั่นก็คือการที่ ทำบางอย่างผิดไปจากปทัสฐานทางสังคม (Norm) หรือทำผิดไปจากที่คนอื่น ๆ เขาทำกัน
ซึ่งพี่มากได้โต้แย้งเหตุผล “ผิดธรรมชาติ” นี้อย่างรุนแรง โดยกล่าวว่าหากการจะอยู่กินกับแม่นาคเป็นเรื่องผิดธรรมชาติแล้วนั้น ความรักที่พี่มากมีต่อแม่นาคก็เป็นเรื่องผิดธรรมชาติเช่นเดียวกัน เนื่องจากตนเองก็ควรจะตายไปแล้ว แต่ก็เพราะความรักที่มีต่อแม่นาคถึงกลับมาจากสงครามได้ (อันที่จริงไอ้มากก็น่าจะตายจริงๆ เพราะโดนกระสุนสงครามยิงถึงสามนัดเป็นอย่างน้อย) เรื่องผิดธรรมชาติจึงไม่ใช่สิ่งที่ต้องตีตราให้ความหมายในแง่ลบเสมอไป ความผิดธรรมชาติบางอย่างจึงควรค่าที่จะชี้ชวนให้พิจารณาในฐานะของ “ปาฏิหาริย์” มากกว่า
แต่กระนั้นก็ตาม หากเราฉุกคิดอีกทบหนึ่งโดยไม่หลงไปกับเหตุผลของไอ้มากจนเกินไป ก็อาจจะกล่าวได้ว่า ความรักระหว่างพี่มากและแม่นาคนั้นเป็นเรื่องที่ผิดธรรมชาติจริงๆ อย่างน้อยก็ในทรรศนะของโสเครติส (Socrates) ที่ถูกบันทึกเอาไว้ในงานเขียนชื่อ Symposium ของเซโนโฟน (Xenophone) หรือแม้กระทั่งในภาษาประจำวันทั่วไป
ความรักกับการมีเพศสัมพันธ์ และการมีบุตรก็เป็นเรื่องที่แยกขาดจากกันไม่ได้ เพราะเมื่อเรามีเพศสัมพันธ์กันก็เท่ากับการสร้างความรัก (Make love) ที่ว่า สร้างความรักนี้ก็ไม่ได้หมายความแค่การสร้างความสัมพันธ์ทางเพศแต่เพียงเท่านั้น แต่ก็ยังหมายไปถึงการสร้างบุตรด้วย ความรักจึงต้อง productive
ความรักเป็นไปได้หรือไม่? โจทย์ที่พี่มากและแม่นาคพระโขนงทิ้งเอาไว้ให้ขบคิด
อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี พระจอมเกล้า
(หมายเหตุ: บทความนี้สำหรับคนที่ต้องการจะดูพี่มากพระโขนงรอบสอง ไม่เหมาะสมสำหรับคนที่ต้องการจะดูรอบแรก เพราะมีการนำเนื้อเรื่องมาวิเคราะห์)
เรื่องแม่นาคพระโขนงอยู่คู่กับสังคมไทยมายาวนาน โครงเรื่องโดยสรุปนั้นไม่ซับซ้อนกล่าวคือ พี่มากต้องจากบ้านไปทำภารกิจ ส่วนแม่นาคนั้นท้องแก่อยู่บ้าน ระหว่างพี่มากไม่อยู่บ้านนั้นแม่นาคก็ตายทั้งกลม และกลายเป็นผีที่เฮี้ยนจนคนพระโขนงกลัวกันไปหมด ถึงกำหนดเวลาพี่มากก็กลับมาบ้านและอยู่กินกับแม่นาคโดยไม่รู้ว่าแม่นาคนั้นตายไปแล้ว
แต่ทว่า ไม่นานนักเรื่องราวก็ค่อยๆ คลี่คลายจนกระทั่งมากรู้ความจริง และก็นำเรื่องราวไปสู่จุดจบได้แก่การพึ่งพิงพระสงฆ์องค์เจ้าเอาแม่นาคลงหม้อ อย่างไรก็ตาม สำหรับการนำเสนอเรื่องแม่นาคพระโขนงในเวอร์ชันล่าสุดนี้ ซึ่งได้เปลี่ยนชื่อเป็นพ่อมากพระโขนง กลับเปลี่ยนแปลงรายละเอียดสำคัญของเรื่อง หรือก็คือการอ่านเรื่องราวเกี่ยวกับแม่นาคพระโขนงเสียใหม่ และนำเสนอออกมาด้วยมุมมองใหม่ โดยจะได้เล่าและวิเคราะห์ไปพลางดังนี้
ประเด็นแรกที่ผู้ประพันธ์บทเปลี่ยนแปลงน้ำหนักไปจากต้นฉบับก็คือ กรณีของแม่นาคแบบดั้งเดิมนั้น มักเน้นหนักการนำเสนอภาพความทุกข์ทรมานของแม่นาคก่อนคลอดลูกออกมาจนกระทั่งตายลง และก็จะกลายเป็นฐานสำคัญให้สามารถเขยิบระดับความเฮี้ยนของนางนาคขึ้นไปได้อย่างสมเหตุสมผล เพราะในมุมมองของความเชื่อแบบไทยพุทธนั่น “ยิ่งตายทั้งกลมยิ่งเฮี้ยน”
ความเฮี้ยนของแม่นาคในแบบฉบับดั้งเดิมจึงเกิดมาจากธรรมชาติของผีเอง หากความเฮี้ยนของแม่นาคในเวอร์ชันนี้กลับผูกพันกับประเด็นอื่น นั่นก็คือความรักที่มีต่อพี่มาก แม่นาคในเวอร์ชันนี้นั้นตายลงอย่างเงียบๆ มอดดับลงเหมือนตะเกียงน้ำมันที่หมดอากาศหายใจ ไม่ได้มีเสียงกรีดร้องทรมานประกอบแต่อย่างไร แต่แล้วแม่นาคก็กลับมาเป็นผี ผีที่รอคอยคนรักกลับบ้าน
เมื่อพี่มากกลับบ้านก็ได้พบกับแม่นาค ก็ได้พาเพื่อนกลับมาด้วยสี่คน ซึ่งแต่ละคนมีชื่อและคุณลักษณะ 4 ด้านดังนี้ คนแรกคือไอ้เผือกถูกตัดสินว่าเป็นตัวแทนภาพลักษณ์ของความเจ้าชู้ เพราะนับตั้งแต่พบแม่นาค ไอ้เผือกก็หวังจะเป็นชู้กับแม่นาคมาโดยตลอด
ส่วนไอ้เอนั้นเป็นคนละโมบมัวเมาติดการพนันแม้กระทั่งรู้แล้วว่าแม่นาคเป็นผี ก็ยังหาจังหวะไปขุดเอาศพแม่นาคขึ้นมาเพื่อขโมยแหวนทับทิมของแม่นาคไปขาย
ส่วนไอ้ชินนั้นก็มีผมสัญลักษณ์ของเด็กชายที่ยังไม่ได้โกนจุกซึ่งก็สะท้อนถึงความไม่รู้จักโต และตลอดทั้งเรื่องก็ทำตัวเหมือนเด็ก เช่น ขี้กลัวและชอบเล่นกับสัตว์ เป็นต้น ทั้งสามคนแรกนั้นเป็นตัวแทนของเพื่อนที่ไม่ดีของมากทั้งสิ้น
แต่คนสุดท้ายคือเต๋อนั้นกลับตรงกันข้าม เต๋อเป็นตัวแทนของมิตรภาพ ความซื่อสัตย์ และการคิดวิเคราะห์ ทั้งยังมีบทบาทอย่างมากในการคอยเตือนและควบคุมเพื่อนอีกสามคน อาทิ เตือนเผือกว่าแม่นาคเป็นเมียเพื่อน เป็นคนแรกที่พยายามจะพิสูจน์ว่าแม่นาคเป็นผีจริงหรือไม่ด้วยการก้มมองลอดหว่างขา (แม้ว่าชินจะเป็นคนรู้วิธีการแต่ก็กลัวเกินกว่าจะทำ)
นอกจากนั้น เมื่อเพื่อนทั้งสี่คนมั่นใจแล้วว่าแม่นาคเป็นผี ทั้งสามคนก็เร่งจะหนีออกจากบ้านของพี่มาก ก็เป็นเต๋ออีกเช่นเดียวกันที่พยายามจะช่วยพี่มากออกมาโดยไม่ยอมทิ้งเพื่อนให้อยู่กับผี
การที่เพื่อนทั้งสี่นี้ได้ติดตามพี่มากกลับมาหาแม่นาคด้วยนั้น นับเป็นการจัดวางที่โดยผิวเผินแล้วไม่มีความสมเหตุสมผลอย่างมาก (พี่มากก็ไม่ใช่เด็กๆ แล้วที่เพื่อนต้องมาส่งถึงบ้าน) มากไปกว่านั้น แม้กระทั่ง Scene ที่ฉายภาพชีวิตของพี่มากและแม่นาคภายหลังเรื่องราวจบลง ไอ้เพื่อนสี่คนนี้ก็ยังอยู่กับพี่มากและแม่นาคไม่ไปไหน ทำไมไอ้เพื่อนสี่ตัวนี้ถึงไม่ไปไหนเสียที ?
กล่าวอย่างถึงที่สุดไอ้เพื่อนสี่ตัวนี้จึงควรถูกพิจารณาว่า ไม่ใช่สิ่งที่อยู่ภายนอกครอบครัวของพี่มากและแม่นาคเลย แต่คือส่วนหนึ่งของครอบครัวพี่มาก-แม่นาคเอง (และอันที่จริงคือส่วนหนึ่งของทุกครอบครัว) เพราะในทุกครอบครัวนั้นจะมีศัตรูต่อชีวิตครอบครัวที่สำคัญอยู่สามตัวใหญ่ ๆ ได้แก่ความเจ้าชู้ประพฤติผิดต่อกันในเชิงกามรมย์ การไม่รับผิดชอบไม่รู้จักโต และความสำมะเลเทเมา (รากฐานที่มาของความละโมบโลภมากของเอ)
แต่ขณะเดียวกัน ก็มีเพื่อนอีกคนหนึ่งที่ต้องมีเพื่อที่จะคัดคานต่อเพื่อนที่แย่ๆ สามตัวนั้นก็คือ มิตรภาพความจริงใจ ความซื่อสัตย์ หากมีเพื่อนคนนี้แล้วก็จะปรามเพื่อนอีกสามคนได้อยู่หมัด
ในเรื่องนั้นเพื่อนทั้งสี่คนเป็นตัวเดินเรื่องสำคัญ ที่ค่อยๆ ตั้งข้อสงสัยและเปิดเผยให้พี่มากรู้ความจริงว่าแม่นาคนั้นตายไปแล้ว ทว่า พี่มากก็ไม่เชื่อแถมยังพาแม่นาคไปเที่ยวงานวัดเสียอีก แต่เนื่องจากชาวบ้านกลัวแม่นาคมาก ดังนั้น แม่นาคจึงต้องปลอมตัวด้วยการใส่หน้ากากผี เป็นเรื่องย้อนแย้งย่างมากที่ผีต้องปลอมเป็นผี
ทั้งพี่มากและแม่นาคต่างก็มีความสุขกับเครื่องเล่นจนกระทั่งมาหยุดสนใจที่เครื่องเล่นชนิดหนึ่งได้แก่ “ชิงช้าสวรรค์” พี่มากเกิดอยากขึ้นชิงช้าสรรค์ขึ้นมาแต่คนมีมากเกินไป แม่นาคเลยถอดหน้ากากออกเผยให้คนที่ต่อคิวอยู่ได้เห็นใบหน้าของนางเพื่อไล่คนไปให้พ้นจากแถว สุดท้ายแล้วเลยเหลือเพียงพี่มากและแม่นาคที่ได้เล่นชิงช้าสวรรค์
สิ่งที่น่าสนใจของเครื่องเล่นชนิดนี้ไม่ได้เพียงแค่ชื่อของมันเท่านั้น หากเป็นลักษณะของชิงช้าสวรรค์เองด้วย ชิงช้าสวรรค์คือเครื่องเล่นที่หมุนเป็นวงกลมแนวตั้งไปเรื่อย ๆ ซึ่งก็อุปมาได้ถึง การที่มนุษย์นั้นเมื่อตายแล้วจะไปสู่สวรรค์หรือนรกก็ตาม ก็ต้องกลับมาเวียนว่ายเป็นสังสารวัฏไปไม่จบไม่สิ้น การที่พี่มากชวนแม่นาคขึ้นชิงช้าสวรรค์นั้นก็สะท้อนถึงการผูกพันกันอย่างโลกย์ คือยังวางไม่ลงนั่นเอง การวางไม่ลงนี้คล้ายกับว่าแม่นาคเป็นคนวางไม่ลง คือยังไม่ยอมไปผุดไปเกิด
แต่หากพิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วคนที่วางไม่ลงก็คือพี่มากเอง เพราะเมื่อแม่นาคลอบถามพี่มากว่า “ถ้าฉันตายไปก่อนพี่ พี่จะอยู่ได้ไหม ?” ไอ้มากกลับตอบว่า “พี่คงอยู่ไม่ได้ เอาเป็นว่าหากเป็นไปได้ขอให้พี่ตายก่อนก็แล้วกันนะ” การตอบเช่นนี้เป็นการรั้งนาคเอาไว้ในโลกนี้อย่างไม่ต้องสงสัย
เราอาจจะพิจารณาว่าพี่มากตอบไปโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ เพราะไม่คิดว่าแม่นาคตายแล้ว แต่ถ้าดูหนังต่อไปเรื่อยๆ จะพบว่าในท้ายสุดพี่มากก็สารภาพกับแม่นาค ว่า “ถึงแม้พี่จะโง่ แต่ก็ไม่โง่ขนาดที่จะไม่รู้หรอกว่าเมียของพี่ตายไปแล้ว” (รู้มาก่อนที่จะพาแม่นาคมาเที่ยวงานวัดเสียอีก) ดังนั้น การตอบคำถามของพี่มากที่ว่า “ไม่สามารถอยู่ได้หากไม่มีนาค” นั้นจึงเป็นการรั้งตัวแม่นาคเอาไว้กับตนอย่างจงใจ
คนที่ปล่อยไม่ลงวางไม่ได้ในแง่มุมของผู้ประพันธ์จึงเป็นพี่มากมากกว่าแม่นาคเสียอีก และแม้ว่าจะถึงช่วงจังหวะสุดท้ายของหนัง แม่นาคจะถอดใจและพร้อมที่จะจากไป แล้วเมื่อทราบว่า พี่มากรู้ว่าตนเองเป็นผี พี่มากก็กลับเป็นคนรั้งแม่นาคเอาไว้ด้วยตนเองโดยขอให้อยู่กินเป็นผัวเมีย ผีกับคน เช่นนี้ต่อไป
การที่แม้พี่มากจะโง่แต่ก็รู้สังเกตมากเพียงพอที่จะจับได้ว่าแม่นาคตายแล้วนั้นก็ไม่น่าแปลกใจแต่อย่างไร เพราะ “ความโง่/ฉลาด” กับ “ความช่างสังเกต” นั้นเป็นเรื่องที่มาผูกเข้าไว้ด้วยกันก็เฉพาะเมื่อวิทยาศาสตร์ได้เข้ามามีบทบาทเต็มที่แล้วเท่านั้น “ความช่างสังเกต” กับ “ความรัก/ความห่วงใย” ต่างหากที่เป็นเรื่องที่ผูกกันมาแต่ดั้งเดิม เพราะอย่างน้อยที่สุดเราก็จะพบว่า ความอยากรู้อยากเห็น (Curiosity) ความห่วงใย (Care) และที่รัก (Beloved) นั้นก็ล้วนเป็นคำที่มีรากศัพท์ใกล้เคียงกันมาก
นั่นก็คือ curiositas, curiosus และ carus หรืออาจจะกล่าวได้ว่ามาจากรากที่สัมพันธ์กัน ดังนั้น เมื่อทั้งพี่มากและแม่นาครักกันนั่นก็ย่อมประกอบไปด้วยความห่วงใยใส่ใจ แม้คนจะคนโง่แต่หากรักมากพอก็ต้องใส่ใจมากจนกระทั่งรู้ได้ว่าเมียตัวเองตายแล้วหรือไม่ตาย อย่างแน่นอน
ความห่วงใยและความรักย่อมนำมาซึ่งการช่างสังเกตนี้ก็ไม่ได้ส่งผลแค่พี่มากเท่านั้น สำหรับแม่นาคเองก็เช่นเดียวกัน หากวิเคราะห์จริงๆ แม่นาคเองก็น่าจะต้องรู้อยู่ลึกๆ ว่า พี่มากก็น่าจะรู้ว่าตนเองตายแล้ว (เพราะเพื่อนๆก็มาบอกใบ้พี่มากด้วยหลายวิธีการ ถึงกระทั่งพูดตรงๆ ไปแล้วด้วย) แต่กระนั้นก็ตาม แม่นาคก็คงไม่อยากที่จะยอมรับ
ข้อสังเกตนี้น่าจะจริงเพราะ เพลงประกอบช่วงเวลาที่พี่มากและแม่นาคเดินเที่ยวงานวัดกันนั้นก็เป็นเพลง อยากหยุดเวลา ซึ่งสะท้อนว่าแม่นาคเองอยากจะรั้งเวลาดีดีที่ได้ใช้ร่วมกับพี่มากเอาไว้ในคืนสุดท้ายก่อนจะจากกัน ความรักของทั้งสองจึงทั้งน่าประทับใจและเศร้าอย่างลึกซึ้งในเวลาเดียวกัน
แม้ความรักระหว่างพี่มากและแม่นาคนั้นจะเป็นรักในอุดมคติที่หลายคนอยากจะมี เพราะแม้จะตายจากกันไปแล้วก็ยังรักกันไม่เสื่อมคลาย หลายต่อหลายคนต้องเสียน้ำตาอย่างซาบซึ้งใจให้กับรักของเขาทั้งสอง แต่กระนั้น เมื่อกลับมาพิจารณาถึงตนเอง ก็ไม่มีใครเลยที่อยากจะมีความรักแบบพี่มากและแม่นาค เพราะถึงที่สุดแล้วรักอย่างลุ่มๆ ดอนๆ ระหว่างมนุษย์นั้นก็เป็นที่พึงประสงค์ของปุถุชนมากกว่ารักข้ามภพหรือ “รักกับผี”
นอกจากนี้ ความรักแบบมาก-นาค นั้นก็เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ที่จะพิสูจน์เนื่องจาก ตราบใดที่เรายังไม่ตาย ก็ไม่มีวันจะรู้ว่าคู่รักของเราจะรักเรามากเพียงนั้นหรือไม่ แต่เมื่อเราตายเสียแล้ว ก็ย่อมไม่มีประโยชน์อะไรที่จะพิสูจน์
ความรักในแบบของพี่มากและแม่นาคในภาษาของ Lacan นักจิตวิเคราะห์ในตำนาน จึงเป็นเพียงความต้องการที่ถมไม่เต็ม (unfulfilled need) หรือเป็นเพียงแรงปรารถนา (desire) เท่านั้น ความอิ่มเอมของผู้ที่ซาบซึ้งในความรักของพี่มากและแม่นาคจึงเป็นความซาบซึ้งต่อ ภาพฝัน (fantasy) ที่ถูกสร้างมารองรับความต้องการความรักที่ไม่อาจจะบรรลุถึงอุดมคติแห่งรักได้ในโลกจริงนั่นเอง
อุดมคติแห่งรักที่พี่มากมีให้แก่แม่นาค กระทั่งชวนมาอยู่กินกันแม้ว่าแม่นาคจะตายไปแล้วนี้ เป็นที่โต้แย้งจากเพื่อนๆ ทั้งสี่คน แม้กระทั่งแม่นาคเองก็ให้ความเห็นว่าการอยู่กินกันระหว่างผีและคนนั้นเป็นเรื่อง “ผิดธรรมชาติ” ความผิดธรรมชาตินี้ไม่ได้ถูกขยายความว่าผิดอย่างไร แต่ก็นั่นหละ เราคงจะพิจารณาในระดับผิวเผินได้ไม่ยากว่า การผิดธรรมชาตินั้นก็คือการที่ผีและคนไม่สามารถอยู่ร่วมกันได้ แต่ถามอย่างถึงที่สุดแล้วตกลง “ธรรมชาติ” คืออะไร ?
ธรรมชาติในแง่นี้อาจจะเป็นไปในความหมายที่เรียวแคบอย่างถึงที่สุดนั่นก็คือการที่ ทำบางอย่างผิดไปจากปทัสฐานทางสังคม (Norm) หรือทำผิดไปจากที่คนอื่น ๆ เขาทำกัน
ซึ่งพี่มากได้โต้แย้งเหตุผล “ผิดธรรมชาติ” นี้อย่างรุนแรง โดยกล่าวว่าหากการจะอยู่กินกับแม่นาคเป็นเรื่องผิดธรรมชาติแล้วนั้น ความรักที่พี่มากมีต่อแม่นาคก็เป็นเรื่องผิดธรรมชาติเช่นเดียวกัน เนื่องจากตนเองก็ควรจะตายไปแล้ว แต่ก็เพราะความรักที่มีต่อแม่นาคถึงกลับมาจากสงครามได้ (อันที่จริงไอ้มากก็น่าจะตายจริงๆ เพราะโดนกระสุนสงครามยิงถึงสามนัดเป็นอย่างน้อย) เรื่องผิดธรรมชาติจึงไม่ใช่สิ่งที่ต้องตีตราให้ความหมายในแง่ลบเสมอไป ความผิดธรรมชาติบางอย่างจึงควรค่าที่จะชี้ชวนให้พิจารณาในฐานะของ “ปาฏิหาริย์” มากกว่า
แต่กระนั้นก็ตาม หากเราฉุกคิดอีกทบหนึ่งโดยไม่หลงไปกับเหตุผลของไอ้มากจนเกินไป ก็อาจจะกล่าวได้ว่า ความรักระหว่างพี่มากและแม่นาคนั้นเป็นเรื่องที่ผิดธรรมชาติจริงๆ อย่างน้อยก็ในทรรศนะของโสเครติส (Socrates) ที่ถูกบันทึกเอาไว้ในงานเขียนชื่อ Symposium ของเซโนโฟน (Xenophone) หรือแม้กระทั่งในภาษาประจำวันทั่วไป
ความรักกับการมีเพศสัมพันธ์ และการมีบุตรก็เป็นเรื่องที่แยกขาดจากกันไม่ได้ เพราะเมื่อเรามีเพศสัมพันธ์กันก็เท่ากับการสร้างความรัก (Make love) ที่ว่า สร้างความรักนี้ก็ไม่ได้หมายความแค่การสร้างความสัมพันธ์ทางเพศแต่เพียงเท่านั้น แต่ก็ยังหมายไปถึงการสร้างบุตรด้วย ความรักจึงต้อง productive