สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 9
ใจจริงคงจะขึ้น 10 บาท แต่กลัวโดนด่า เลยแกล้งปล่อยข่าวว่าขึ้นเป็น 65 บาท (เพิ่ม 20 บาท)
พอเป็นข่าวประชาชนไม่พอใจ รัฐบาลก็จะเรียกทางด่วนมาคุย ต่อลองราคาให้ประชาชนที่เขารัก
1 รัฐบาลจะได้หน้า ว่าต่อราคาให้ประชาชนได้ 10 บาท
2 ประชาชนแบบเราๆ ก็คงรู้สึกพอใจแบบงงๆ ว่าดีน่ะ ประหยัดไปตั้ง10บาท
3 อยากจะบอกว่า กรุรู้ทันน่ะ.....ว่าทำอะไรกันอยู่
ปล. ขึ้นราคาน้องไม่ว่า แต่ถ้าขึ้นไปแล้วรถติด....คืนเงินกรุได้ปล่าว
พอเป็นข่าวประชาชนไม่พอใจ รัฐบาลก็จะเรียกทางด่วนมาคุย ต่อลองราคาให้ประชาชนที่เขารัก
1 รัฐบาลจะได้หน้า ว่าต่อราคาให้ประชาชนได้ 10 บาท
2 ประชาชนแบบเราๆ ก็คงรู้สึกพอใจแบบงงๆ ว่าดีน่ะ ประหยัดไปตั้ง10บาท
3 อยากจะบอกว่า กรุรู้ทันน่ะ.....ว่าทำอะไรกันอยู่
ปล. ขึ้นราคาน้องไม่ว่า แต่ถ้าขึ้นไปแล้วรถติด....คืนเงินกรุได้ปล่าว
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
ทางด่วนกรุงเทพขอขึ้น "ค่าทางด่วน" จากเดิม 45 บาทเป็น 65 บาท คุณเห็นด้วยหรือไม่ มีความคิดเห็นอย่างไร
บีอีซีแอล ยื่นเรื่องต่อการทางพิเศษแห่งประเทศไทย ขอปรับขึ้นค่าทางด่วนอีก 20 บาท เป็น 65 บาท ระบุไม่ได้ปรับตั้งแต่ปี 2541 คาดได้ข้อสรุปภายในเดือนสิงหาคมนี้
เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2556 นายอัยยณัฐ ถินอภัย ผู้ว่าการการทางพิเศษแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้รับหนังสือจากบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ หรือ บีอีซีแอล ผู้ที่ได้รับสัมปทานทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 และทางด่วนสายบางปะอิน-ปากเกร็ด ในการขอปรับขึ้นค่าผ่านทางเพิ่ม หลังครบกำหนดสัมปทานที่จะต้องปรับราคาทุก 5 ปีแล้ว
โดยทางด่วนขั้นที่ 1 และ 2 นั้น จะครบกำหนดสัมปทานในวันที่ 1 กันยายน และทางด่วนสายบางปะอินจะครบกำหนดในวันที่ 1 พฤศจิกายน ซึ่งทางบริษัท ทางด่วนกรุงเทพ ได้ระบุว่า ตั้งแต่ปี 2541 ยังไม่ได้ปรับขึ้นราคาเลย จึงขอปรับราคารถยนต์ 4 ล้อ เพิ่มขึ้นอีก 20 บาท จากเดิม 45 บาท เป็น 65 บาท
ทั้งนี้ นายอัยยณัฐ กล่าวต่อว่า ทางคณะอนุกรรมการจะเร่งพิจารณาและจะหาข้อสรุปให้ได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้ ซึ่งอัยการสูงสุดเคยชี้ขาดว่าการปรับอัตราค่าผ่านทางทั้งในเมืองและนอกเมือง จะต้องไม่เกิน 10 บาท เช่น หากในเมืองมีการปรับขึ้น 10 บาท นอกเมืองก็จะคงไว้ราคาเดิม
อย่างไรก็ดี นายอัยยณัฐ กล่าวทิ้งท้ายว่า หากมีการปรับค่าผ่านทางใหม่ ก็จะทำให้รายได้ค่าผ่านทางของการทางพิเศษแห่งประเทศไทยเพิ่มขึ้นตามไปด้วย โดยคาดว่ามีรายได้รวมประมาณ 1 หมื่นล้านบาท และมีกำไรอยู่ที่ 4.8 พันล้านบาท ในสัดส่วนกำไรร้อยละ 60
ขณะที่ นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า คงต้องพิจารณาและปฏิบัติตามสัญญาที่ทำไว้กับเอกชนที่ให้มีการปรับขึ้นทุก ๆ 5 ปี แต่จะปรับมากหรือน้อยนั้น ก็ขึ้นอยู่กับการพิจารณาของการทางพิเศษ แต่ถ้าหากไม่ปรับค่าผ่านทางให้กับเอกชน การทางพิเศษจะต้องชดเชยรายได้ดังกล่าวให้กับบริษัทผู้รับเหมาแทน