หลายๆคนที่เคยใช้งานสนามบินสุวรรณภูมิ คงไม่มีใครไม่สะดุดตากับปฎิมากรรมขนาดใหญ่ที่ตั้งอยู่ที่นี่ "ปฏิมากรรมกวนเกษียรสมุทร" สถานที่ซึ่งเป็นที่สถิตย์ของน้ำอมฤตเป็นสถานที่อมตะ มั่งคง ยืนยงสถาพร เช่นเดียวกับ สุวรรณภูมิ อันเป็นแผ่นดินทอง ความอุดมสมบูรณ์ ความเจริญรุ่งเรือง มั่นคง เป็นอมตะ ความหมายก็คือ ความเจริญรุ่งเรืองที่ไม่มีที่สิ้นสุด ในการสร้างประติมากรรมโลหะปิดทองประดับกระจก กว้าง 3 เมตร ยาว 21 เมตร สูง 5.50 เมตรโดยใช้งบประมาณ 48 ล้านบาท กรมศิลปากรต้องระดมทั้งช่างเอกและศิลปินแห่งชาติร่วม 50 ท่าน ร่วมในการออกแบบและก่อสร้าง
แน่นอนครับ คราวนี้มาเกริ่มกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ หมายถึงต่อๆไป สะพายกล้องท่องเที่ยวจะพาตะลุยไปยังต่างประเทศ สลับกับเที่ยวเมืองไทยบ้างแล้วครับ
กล่าวถึงสรวงสวรรค์นั้นมีเหล่านางฟ้าที่งดงามอยู่เกินกว่าจะคณานับได้แต่นางฟ้าที่ได้ชื่อว่างามที่สุดมีนามว่าอุรวศีรองลงมาคือนางเมนะกา วันหนึ่งนางเมนะกานำพวงมาลัยไปถวายให้แก่ฤาษีทุรวาส ต่อมาพระอินทร์ได้ทรงเทพพาหนะคือช้างไอราวัตหรือช้างเอราวัณผ่านมา ฤาษีทุรวาสมีศรัทธาปรารถนาจะถวายพวงมาลัยที่ได้มาแต่นางเมวะกานั้นแด่พระอินทร์ผู้เป็นสวรรคาธิบดีปกครองสรวงสวรรค์ พระอินทร์รับพวงมาลัยแล้วจึงเอามาแขวนไว้ที่งวงช้าง พลันช้างเอราวัณไม่พึงใจกลิ่นจากพวงดอกไม้นั้นก็แกว่งงวงจนมาลัยตกลงพื้นยังเหตุให้ฤาษีทุรวาสบังเกิดโทสะจึงกล่าวแก่พระอินทร์ว่าพวงมาลัยนั้นเป็นที่สถิตแห่งมงคลทั้งปวงจึงควรได้รับการปฏิบัติดูแลดีกว่านี้ ด้วยเพลิงพิโรธนั้นจึงสาปให้เหล่าเทวดาทั้งหลายเสื่อมด้วยอิทธิฤทธิ์และอำนาจทั้งปวง
ข้างฝ่ายอสูรนั้นมีเรื่องบาดหมางกับเทวดามากมายมาแต่เดิม หนึ่งในนั้นคือความพยายามที่จะช่วงชิงสรวงสวรรค์มาจากหมู่เทพ ฝ่ายอสูรบ้างก็มีอาวุธวิเศษ บ้างก็มีพรวิเศษซึ่งได้รับประทานมาจากมหาเทพทั้งสาม(พระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม) ซึ่งหากใครบำเพ็ญภาวนาถึงพระองค์จนสมควรแก่กาลแล้ว พระองค์จะร้อนรนจนต้องมาปรากฏต่อหน้าเพื่อประทานในสิ่งที่ผู้นั้นปรารถนาซึ่งบ่อยครั้งพรวิเศษเหล่านี้จะนำมาซึ่งปัญหาในภายหลังให้พระนารายณ์(พระผู้ดูแลสันติสุขของโลก) ต้องคอยตามบำราบอยู่ร่ำไป
เมื่ออสูรได้รับอาวุธและพรวิเศษจากมหาเทพแล้วก็มีอิทธิฤทธิ์เพิ่มพูนขึ้น อีกทั้งรูปร่างกายาก็แข็งแรงกว่าเทวดาที่มีรูปพรรณสัณฐานอ่อนช้อยซ้ำยังโดนคำสาปจากฤาษีทุรวาสให้มีฤทธิรุธเสื่อมถอยลงทำให้เหล่าเทวดาบาดเจ็บล้มตายไปเป็นอันมากในการต่อสู้ วันหนึ่งพระอินทร์นำความขึ้นทูลปรึกษาพระนารายณ์เรื่องเหล่าอสูรที่นับวันจะทวีฤทธานุภาพจนยากจะรับมือ พระนารายณ์สดับดังนั้นจึงแนะนำให้พระอินทร์ตั้งพิธีกวนเกษียรสมุทรเพื่อทำน้ำอมฤตซึ่งหากเทวดาได้ดื่มแล้วจะทำให้เป็นอมตะและเพิ่มพูนฤทธาขึ้นมาก เมื่อถึงครั้งนั้นต่อให้เหล่ายักษ์มีกำลังเท่าใดก็ไม่สามารถทำอันตรายปวงเทพได้
อันเกษียรสมุทรนั้นตั้งอยู่ในทิศตะวันออกของจักรวาลมีน้ำสีขาวคือเกษียรแปลว่าน้ำนมไหลเต็มอยู่ตลอดปี การจะกวนเกษียรสมุทรเพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำอมฤตเป็นการใหญ่ที่หมู่เทวดาเพียงลำพังจะกระทำกันเองไม่ได้เพราะมีเรี่ยวแรงน้อย ดังนั้นจึงหลอกล่อเหล่าอสูรโดยสัญญาว่าเมื่อได้น้ำอมฤตแล้วก็จะแบ่งกันดื่มเพื่อความเป็นอมตะตลอดไป
เหล่าอสูรได้ฟังดังนั้นก็กระหยิ่มยิ้มย่องตกลงสมานฉันท์ร่วมแรงร่วมใจในพิธีครั้งนี้โดยเริ่มจากช่วยเหล่าเทวดาถอนเขามันทระซึ่งมีความสูงพ้นพื้นดิน 11000 โยชน์ และหยั่งฐานรากอยู่ใต้ดินอีก 11000 โยชน์(หลังๆมักสับสนกันว่าใช้เขาพระสุเมรุ) เพื่อใช้เป็นไม้กวนเกษียรสมุทร ใช้พญานาควาสุกรีผู้เป็นพี่ของพญาเศษะ(พญาอนันตนาคราชหรือพญานาคพันเศียรที่เป็นแท่นบรรทมของพระนารายณ์เวลาประทับอยู่เหนือเกษียรสมุทรหรือนารายณ์บรรทมสินธุ์) ต่างเชือกพันกับเขามัทระทั้งยังโปรยสมุนไพรอันเป็นทิพย์ลงในเกษียรสมุทรอีกด้วย ฝ่ายเทวดารู้ว่าเมื่อพญาวาสุกรีถูกชักลากไปมาจนเวียนหัวจะสำรอกพิษออกทางปากจึงออกอุบายเยินยอเหล่าอสูรว่าเป็นผู้มีกำลังมากสมควรได้รับเกียรติให้ถือฝั่งหัวพญานาคส่วนเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์น้อยจะขอถือฝั่งหางเอง ข้างฝ่ายอสูรได้ยินคำเยินยอเช่นนั้นก็หลงเข้าใจว่าปวงเทวาให้เกียรติจึงรับคำจะถือฝั่งเศียรพญานาคเอง
พระนารายณ์ในฐานะองค์ต้นดำริการกวนเกษียรสมุทรมีส่วนช่วยให้การครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีเป็นอันมาก โดยพระองค์ประทับนั่งเหนือเขามันทระที่ใช้ต่างไม้พาย แล้วแบ่งภาคหนึ่งลงช่วยเหล่าเทพชักพญาวาสุกรีเนื่องจากลำพังหมู่เทวะเองมีกำลังน้อย พระนารายณ์ยังทรงแจ้งด้วยทิพยญาณว่าเกษียรสมุทรเมื่อถูกเขามันทระกวนไปเรื่อยๆจะทะลุแล้วน้ำจะไหลไปท่วมมนุษยโลกพระองค์จึงแบ่งภาคเป็นเต่า(กุรมะ) ใช้กระดองรองรับเกษียรสมุทรไว้จึงเป็นที่มาของกุรมะวตารอันเป็นปางที่สามในนารายณ์สิบปาง ระหว่างที่กวนเกษียรสมุทรอยู่นั้น พญาวาสุกรีถูกดึงไปมาก็เกิดเวียนหัวจึงสำรอกพิษร้ายซึ่งกระเด็นไปโดนเหล่าอสูรเป็นที่ปวดแสบปวดร้อนจึงเป็นเหตุให้เหล่าอสูรมีหน้าตาผิวพรรณตะปุ่มตะป่ำนับแต่นั้นเป็นต้นมา
พิธีดำเนินไปได้พันปีเกษียรสมุทรพลันบังเกิดหม้อบรรจุพิษ "หะราหระ" ลอยออกมาเป็นลำดับแรก อันหาลาหละนั้นเป็นพิษร้ายแรง หากตกลงยังมนุษยโลกก็จะบังเกิดเป็นเพลิงกรดเผาโลกให้เป็นจุลไปได้ พระศิวะมหาเทพทรงทราบด้วยทิพยญาณว่าพิษร้ายนี้ไม่มีใครจะกำจัดลงได้เว้นแต่พระองค์เอง เมื่อดำริดังนั้นแล้วจึงทรงดื่มพิษหาลาหละนั้น ฝ่ายพระแม่ปรวาตีเห็นพระสวามีกลืนพิษร้ายจึงได้กดพระศอพระศิวะไว้เพื่อไม่ได้พิษไหลลงสู่พระอุทรได้ ด้วยความร้ายกาจแห่งพิษนั้นยังผลให้พระศอพระศิวะเป็นสีดำพระองค์จึงมีอีกพระนามหนึ่งว่า นิลกัณฐ์ หรือผู้มีคอสีนิลนับแต่นั้นเป็นต้นมา
สิ่งวิเศษลำดับที่สองที่ลอยขึ้นมาคือวัว "กามเธนุ" แปลว่าแม่โคอันพึงปรารถนา รู้จักกันในอีกนามหนึ่งว่าโคสุรภีซึ่งต่อมาให้กำเนิดวัวอุศุภราชหรือนันทิเกศวรอันเป็นเทพพาหนะทรงของพระอิศวร โดยมีเทวดานามเวตาลเป็นพ่อ (บางตำนานว่ากัศยปมุนีปรารถนาจะนำโคกามเธนุไปเป็นพาหนะแต่ติดว่าเป็นโคเพศเมียจึงเนรมิตตนเป็นพ่อโคเข้าผสมด้วยโคกามเธนุจนเกิดลูกโคสีขาวบริสุทธิ์ตั้งชื่อให้ว่า อุศุภราช มีลักษณะงดงามตามตำราจึงได้นำไปถวายพระอิศวรเพื่อเป็นเทพพาหนะ บางตำรากล่าวว่านนทิเกศวรแท้จริงแล้วคือเทพบุตรนามว่า นนทิ เป็นผู้เฝ้าสัตว์ในเขาไกรลาสและหัวหน้าแห่งปวงศิวะสาวก เมื่อพระศิวะปรารถนาจะไปยังที่ใด นนทิก็จะแปลงกายให้เป็นโคเผือกเพื่อเป็นเทพพาหนะ) อันแม่วัวกามเธนุนั้นเป็นโควิเศษสามารถเนรมิตสิ่งต่างๆตามที่เจ้าของปรารถนาได้
สิ่งที่สามคือม้าสีขาวนามว่า "อุจเจศรวัส" ซึ่งต่อมาพระอาทิตย์นำไปเทียมราชรถและเป็นต้นเหตุของการพนันระหว่างนางวินตาและนางกัทรุในตำนานการเกิดของครุฑ
สิ่งที่สี่คือช้างไอราวัตหรือช้างเอราวัณซึ่งเป็นช้างผือกสีขาวมีสามเศียรอันเป็นเทพพาหนะของพระอินทร์
สี่งที่ห้าคือเกาสตุภมณีซึ่งเป็นเพชรล้ำค่าที่สุดในสามโลก ต่อมาพระนารายณ์นำไปประดับพระอุระ
สิ่งที่หกคือต้นกัลปพฤกษ์ซึ่งเป็นต้นไม้ทิพย์สามารถอำนวยความสำเร็จให้แก่ผู้ขอพรได้
สิ่งที่เจ็ดคือพระแม่ลักษณมีซึ่งเป็นเทพแห่งโชคลาภเงินทอง ต่อมาพระนารายณ์รับไปเป็นพระชายา
สิ่งที่แปดคือสุระ (ที่มาของคำว่าสุรา) เป็นน้ำเมาชนิดหนึ่งเกิดขึ้นพร้อมเทวีวารุณีซึ่งเป็นเทวีแห่งการทำเหล้า
สิ่งที่เก้าคือเหล่านางอัปสรซึ่งแปลว่าผู้เกิดจากการเคลื่อนไหวของน้ำลอยขึ้นมาจากเกษียรสมุทร 35 ล้านองค์
ทันใดนั้นพลันเกษียรสมุทรเกิดคลื่นน้ำไหลวนปั่นป่วนปรากฏเทพบุตรนามว่า "ธนวันตริ" ทูนคนโทบรรจุน้ำอมฤตลอยขึ้นมาเป็นลำดับสุดท้าย
ด้วยเกรงว่าเหล่ายักษ์จะแย่งชิงน้ำอมฤตไปดื่ม พระนารายณ์จึงแปลงกายเป็นเทวีหน้าตางดงามนามว่า "โมหิณี" หลอกล่อให้ยักษ์ตามพระองค์ไป ฝ่ายอสูรเห็นหญิงงามก็พากันลืมเรื่องน้ำอมฤตแล้ววิ่งตามพระนารายณ์แปลงในทันที เหล่าเทพเห็นสบโอกาสเหมาะจึงแบ่งกันดื่มน้ำอมฤตในทันใด
ในหมู่ยักษาทั้งหลายที่พากันหลงใหลสะคราญโฉมของพระนารายณ์แปลงยังมียักษ์อยู่ตนหนึ่งนามว่าราหูเป็นยักษ์ที่มีสติปัญญาเฉียบแหลมไม่หลงกลต่อกับดักของเหล่าเทวดา ราหูแจ้งในเพทุบายนี้จึงแปลงกายให้เหมือนเทวดาแล้วไปแฝงอยู่ในหมู่เทพเพื่อดื่มน้ำอมฤต อนิจจาพระอาทิตย์และพระจันทร์เห็นผิดสังเกตเพราะราหูซึ่งถึงแม้แปลงเป็นเทวดาแต่ยังมีเงาทอดลงพื้นจึงเพ่งด้วยทิพยเนตรก็แลเห็นเป็นร่างยักษาแฝงอยู่ เมื่อแจ้งในความจริงเช่นนั้นแล้วพระอาทิตย์และพระจันทร์จึงนำความไปฟ้องพระนารายณ์ ทันใดนั้นพระองค์จึงขว้างจักรสุทรรศนะไปต้องกายราหูขาดเป็นสองท่อน แต่ด้วยฤทธานุภาพแห่งน้ำอมฤตที่ราหูดื่มไปแล้วทำให้ถึงแม้ร่างกายถูกตัดออกเป็นสองส่วนก็ไม่สิ้นชีพ
ราหูเจ็บแค้นที่พระอาทิตย์และพระจันทร์ไปเพ็ดทูลพระนารายณ์จนทำให้กายขาดสองท่อนจึงสาบานที่จะจับพระอาทิตย์และพระจันทร์กินเสียหากโคจรมาเจอกัน ฝ่ายพระจันทร์นั้นโคจรอยู่ในวิมานเบื้องต่ำจึงมักเจอกับราหูอยู่บ่อยๆต่างกับพระอาทิตย์ซึ่งโคจรอยู่สูงจึงไม่ค่อยพบกับราหูนัก ราหูนั้นมีกายเพียงครึ่งเดียวจึงทำให้กลืนพระอาทิตย์และพระจันทร์ได้เพียงชั่วคราวก็หลุดออกมา ด้านกายท่อนล่างของราหูนั้นเรียกว่าพระเกตุ เป็นต้นกำเนิดของดาวหางและอุกกาบาตทั้งปวง
ด้านฝ่ายอสูรหลังจากที่ตามนางโมหิณีและถูกเหล่านางอัปสรมอมสุราพึ่งสร่างจึงพบว่าฝ่ายเทวดาได้ดื่มน้ำอมฤตหมดแล้วก็บังเกิดความโกรธหมายจะเข้าโรมรันแต่เหล่าเทวะได้ดื่มน้ำอมฤตแล้วจึงเป็นอมรไม่มีวันตายอีก ฝ่ายยักษาสู้ไม่ได้ก็พ่ายแพ้กลับไปไม่กล้าเข้ามารุกรานสวรรค์อีก
หมู่ยักษ์เมื่อได้พบบทเรียนเช่นนี้แล้วจึงปวารณาตนไม่ดื่มเครื่องดองของเมาอีกจึงเป็นที่มาของคำว่า "อสูร" (อ+สุระ) หมายถึงผู้ไม่ดื่มสุรา ต่างกับเหล่าเทวะที่ยังดื่มสุราดังเช่นคำเรียกที่อยู่ของเทวดาที่ว่า "ฟากฟ้าสุราลัย" (สุระคือเหล้า สนธิกับคำว่าอาลัยแปลว่าที่อยู่) หมายถึงที่อยู่ของผู้ดื่มสุราคือสวรรค์นั้นเอง
สัจธรรมข้อหนึ่งที่แฝงอยู่ในตำนานนี้ก็คือ "ความเป็นอมตะสามารถบรรลุได้ด้วยการเอาชนะโมหะคือความลุ่มหลงเสียก่อน"
[CR] สะพายกล้องท่องเที่ยว#27 อลังการ งดงาม และวิจิตร กับปฏิมากรรมกวนเกษียรสมุทร สนามบินสุวรรณภูมิ
แน่นอนครับ คราวนี้มาเกริ่มกันที่สนามบินสุวรรณภูมิ หมายถึงต่อๆไป สะพายกล้องท่องเที่ยวจะพาตะลุยไปยังต่างประเทศ สลับกับเที่ยวเมืองไทยบ้างแล้วครับ
กล่าวถึงสรวงสวรรค์นั้นมีเหล่านางฟ้าที่งดงามอยู่เกินกว่าจะคณานับได้แต่นางฟ้าที่ได้ชื่อว่างามที่สุดมีนามว่าอุรวศีรองลงมาคือนางเมนะกา วันหนึ่งนางเมนะกานำพวงมาลัยไปถวายให้แก่ฤาษีทุรวาส ต่อมาพระอินทร์ได้ทรงเทพพาหนะคือช้างไอราวัตหรือช้างเอราวัณผ่านมา ฤาษีทุรวาสมีศรัทธาปรารถนาจะถวายพวงมาลัยที่ได้มาแต่นางเมวะกานั้นแด่พระอินทร์ผู้เป็นสวรรคาธิบดีปกครองสรวงสวรรค์ พระอินทร์รับพวงมาลัยแล้วจึงเอามาแขวนไว้ที่งวงช้าง พลันช้างเอราวัณไม่พึงใจกลิ่นจากพวงดอกไม้นั้นก็แกว่งงวงจนมาลัยตกลงพื้นยังเหตุให้ฤาษีทุรวาสบังเกิดโทสะจึงกล่าวแก่พระอินทร์ว่าพวงมาลัยนั้นเป็นที่สถิตแห่งมงคลทั้งปวงจึงควรได้รับการปฏิบัติดูแลดีกว่านี้ ด้วยเพลิงพิโรธนั้นจึงสาปให้เหล่าเทวดาทั้งหลายเสื่อมด้วยอิทธิฤทธิ์และอำนาจทั้งปวง
ข้างฝ่ายอสูรนั้นมีเรื่องบาดหมางกับเทวดามากมายมาแต่เดิม หนึ่งในนั้นคือความพยายามที่จะช่วงชิงสรวงสวรรค์มาจากหมู่เทพ ฝ่ายอสูรบ้างก็มีอาวุธวิเศษ บ้างก็มีพรวิเศษซึ่งได้รับประทานมาจากมหาเทพทั้งสาม(พระศิวะ พระวิษณุ พระพรหม) ซึ่งหากใครบำเพ็ญภาวนาถึงพระองค์จนสมควรแก่กาลแล้ว พระองค์จะร้อนรนจนต้องมาปรากฏต่อหน้าเพื่อประทานในสิ่งที่ผู้นั้นปรารถนาซึ่งบ่อยครั้งพรวิเศษเหล่านี้จะนำมาซึ่งปัญหาในภายหลังให้พระนารายณ์(พระผู้ดูแลสันติสุขของโลก) ต้องคอยตามบำราบอยู่ร่ำไป
เมื่ออสูรได้รับอาวุธและพรวิเศษจากมหาเทพแล้วก็มีอิทธิฤทธิ์เพิ่มพูนขึ้น อีกทั้งรูปร่างกายาก็แข็งแรงกว่าเทวดาที่มีรูปพรรณสัณฐานอ่อนช้อยซ้ำยังโดนคำสาปจากฤาษีทุรวาสให้มีฤทธิรุธเสื่อมถอยลงทำให้เหล่าเทวดาบาดเจ็บล้มตายไปเป็นอันมากในการต่อสู้ วันหนึ่งพระอินทร์นำความขึ้นทูลปรึกษาพระนารายณ์เรื่องเหล่าอสูรที่นับวันจะทวีฤทธานุภาพจนยากจะรับมือ พระนารายณ์สดับดังนั้นจึงแนะนำให้พระอินทร์ตั้งพิธีกวนเกษียรสมุทรเพื่อทำน้ำอมฤตซึ่งหากเทวดาได้ดื่มแล้วจะทำให้เป็นอมตะและเพิ่มพูนฤทธาขึ้นมาก เมื่อถึงครั้งนั้นต่อให้เหล่ายักษ์มีกำลังเท่าใดก็ไม่สามารถทำอันตรายปวงเทพได้
อันเกษียรสมุทรนั้นตั้งอยู่ในทิศตะวันออกของจักรวาลมีน้ำสีขาวคือเกษียรแปลว่าน้ำนมไหลเต็มอยู่ตลอดปี การจะกวนเกษียรสมุทรเพื่อให้ได้มาซึ่งน้ำอมฤตเป็นการใหญ่ที่หมู่เทวดาเพียงลำพังจะกระทำกันเองไม่ได้เพราะมีเรี่ยวแรงน้อย ดังนั้นจึงหลอกล่อเหล่าอสูรโดยสัญญาว่าเมื่อได้น้ำอมฤตแล้วก็จะแบ่งกันดื่มเพื่อความเป็นอมตะตลอดไป
เหล่าอสูรได้ฟังดังนั้นก็กระหยิ่มยิ้มย่องตกลงสมานฉันท์ร่วมแรงร่วมใจในพิธีครั้งนี้โดยเริ่มจากช่วยเหล่าเทวดาถอนเขามันทระซึ่งมีความสูงพ้นพื้นดิน 11000 โยชน์ และหยั่งฐานรากอยู่ใต้ดินอีก 11000 โยชน์(หลังๆมักสับสนกันว่าใช้เขาพระสุเมรุ) เพื่อใช้เป็นไม้กวนเกษียรสมุทร ใช้พญานาควาสุกรีผู้เป็นพี่ของพญาเศษะ(พญาอนันตนาคราชหรือพญานาคพันเศียรที่เป็นแท่นบรรทมของพระนารายณ์เวลาประทับอยู่เหนือเกษียรสมุทรหรือนารายณ์บรรทมสินธุ์) ต่างเชือกพันกับเขามัทระทั้งยังโปรยสมุนไพรอันเป็นทิพย์ลงในเกษียรสมุทรอีกด้วย ฝ่ายเทวดารู้ว่าเมื่อพญาวาสุกรีถูกชักลากไปมาจนเวียนหัวจะสำรอกพิษออกทางปากจึงออกอุบายเยินยอเหล่าอสูรว่าเป็นผู้มีกำลังมากสมควรได้รับเกียรติให้ถือฝั่งหัวพญานาคส่วนเหล่าเทพผู้มีฤทธิ์น้อยจะขอถือฝั่งหางเอง ข้างฝ่ายอสูรได้ยินคำเยินยอเช่นนั้นก็หลงเข้าใจว่าปวงเทวาให้เกียรติจึงรับคำจะถือฝั่งเศียรพญานาคเอง
พระนารายณ์ในฐานะองค์ต้นดำริการกวนเกษียรสมุทรมีส่วนช่วยให้การครั้งนี้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดีเป็นอันมาก โดยพระองค์ประทับนั่งเหนือเขามันทระที่ใช้ต่างไม้พาย แล้วแบ่งภาคหนึ่งลงช่วยเหล่าเทพชักพญาวาสุกรีเนื่องจากลำพังหมู่เทวะเองมีกำลังน้อย พระนารายณ์ยังทรงแจ้งด้วยทิพยญาณว่าเกษียรสมุทรเมื่อถูกเขามันทระกวนไปเรื่อยๆจะทะลุแล้วน้ำจะไหลไปท่วมมนุษยโลกพระองค์จึงแบ่งภาคเป็นเต่า(กุรมะ) ใช้กระดองรองรับเกษียรสมุทรไว้จึงเป็นที่มาของกุรมะวตารอันเป็นปางที่สามในนารายณ์สิบปาง ระหว่างที่กวนเกษียรสมุทรอยู่นั้น พญาวาสุกรีถูกดึงไปมาก็เกิดเวียนหัวจึงสำรอกพิษร้ายซึ่งกระเด็นไปโดนเหล่าอสูรเป็นที่ปวดแสบปวดร้อนจึงเป็นเหตุให้เหล่าอสูรมีหน้าตาผิวพรรณตะปุ่มตะป่ำนับแต่นั้นเป็นต้นมา
พิธีดำเนินไปได้พันปีเกษียรสมุทรพลันบังเกิดหม้อบรรจุพิษ "หะราหระ" ลอยออกมาเป็นลำดับแรก อันหาลาหละนั้นเป็นพิษร้ายแรง หากตกลงยังมนุษยโลกก็จะบังเกิดเป็นเพลิงกรดเผาโลกให้เป็นจุลไปได้ พระศิวะมหาเทพทรงทราบด้วยทิพยญาณว่าพิษร้ายนี้ไม่มีใครจะกำจัดลงได้เว้นแต่พระองค์เอง เมื่อดำริดังนั้นแล้วจึงทรงดื่มพิษหาลาหละนั้น ฝ่ายพระแม่ปรวาตีเห็นพระสวามีกลืนพิษร้ายจึงได้กดพระศอพระศิวะไว้เพื่อไม่ได้พิษไหลลงสู่พระอุทรได้ ด้วยความร้ายกาจแห่งพิษนั้นยังผลให้พระศอพระศิวะเป็นสีดำพระองค์จึงมีอีกพระนามหนึ่งว่า นิลกัณฐ์ หรือผู้มีคอสีนิลนับแต่นั้นเป็นต้นมา
สิ่งวิเศษลำดับที่สองที่ลอยขึ้นมาคือวัว "กามเธนุ" แปลว่าแม่โคอันพึงปรารถนา รู้จักกันในอีกนามหนึ่งว่าโคสุรภีซึ่งต่อมาให้กำเนิดวัวอุศุภราชหรือนันทิเกศวรอันเป็นเทพพาหนะทรงของพระอิศวร โดยมีเทวดานามเวตาลเป็นพ่อ (บางตำนานว่ากัศยปมุนีปรารถนาจะนำโคกามเธนุไปเป็นพาหนะแต่ติดว่าเป็นโคเพศเมียจึงเนรมิตตนเป็นพ่อโคเข้าผสมด้วยโคกามเธนุจนเกิดลูกโคสีขาวบริสุทธิ์ตั้งชื่อให้ว่า อุศุภราช มีลักษณะงดงามตามตำราจึงได้นำไปถวายพระอิศวรเพื่อเป็นเทพพาหนะ บางตำรากล่าวว่านนทิเกศวรแท้จริงแล้วคือเทพบุตรนามว่า นนทิ เป็นผู้เฝ้าสัตว์ในเขาไกรลาสและหัวหน้าแห่งปวงศิวะสาวก เมื่อพระศิวะปรารถนาจะไปยังที่ใด นนทิก็จะแปลงกายให้เป็นโคเผือกเพื่อเป็นเทพพาหนะ) อันแม่วัวกามเธนุนั้นเป็นโควิเศษสามารถเนรมิตสิ่งต่างๆตามที่เจ้าของปรารถนาได้
สิ่งที่สามคือม้าสีขาวนามว่า "อุจเจศรวัส" ซึ่งต่อมาพระอาทิตย์นำไปเทียมราชรถและเป็นต้นเหตุของการพนันระหว่างนางวินตาและนางกัทรุในตำนานการเกิดของครุฑ
สิ่งที่สี่คือช้างไอราวัตหรือช้างเอราวัณซึ่งเป็นช้างผือกสีขาวมีสามเศียรอันเป็นเทพพาหนะของพระอินทร์
สี่งที่ห้าคือเกาสตุภมณีซึ่งเป็นเพชรล้ำค่าที่สุดในสามโลก ต่อมาพระนารายณ์นำไปประดับพระอุระ
สิ่งที่หกคือต้นกัลปพฤกษ์ซึ่งเป็นต้นไม้ทิพย์สามารถอำนวยความสำเร็จให้แก่ผู้ขอพรได้
สิ่งที่เจ็ดคือพระแม่ลักษณมีซึ่งเป็นเทพแห่งโชคลาภเงินทอง ต่อมาพระนารายณ์รับไปเป็นพระชายา
สิ่งที่แปดคือสุระ (ที่มาของคำว่าสุรา) เป็นน้ำเมาชนิดหนึ่งเกิดขึ้นพร้อมเทวีวารุณีซึ่งเป็นเทวีแห่งการทำเหล้า
สิ่งที่เก้าคือเหล่านางอัปสรซึ่งแปลว่าผู้เกิดจากการเคลื่อนไหวของน้ำลอยขึ้นมาจากเกษียรสมุทร 35 ล้านองค์
ทันใดนั้นพลันเกษียรสมุทรเกิดคลื่นน้ำไหลวนปั่นป่วนปรากฏเทพบุตรนามว่า "ธนวันตริ" ทูนคนโทบรรจุน้ำอมฤตลอยขึ้นมาเป็นลำดับสุดท้าย
ด้วยเกรงว่าเหล่ายักษ์จะแย่งชิงน้ำอมฤตไปดื่ม พระนารายณ์จึงแปลงกายเป็นเทวีหน้าตางดงามนามว่า "โมหิณี" หลอกล่อให้ยักษ์ตามพระองค์ไป ฝ่ายอสูรเห็นหญิงงามก็พากันลืมเรื่องน้ำอมฤตแล้ววิ่งตามพระนารายณ์แปลงในทันที เหล่าเทพเห็นสบโอกาสเหมาะจึงแบ่งกันดื่มน้ำอมฤตในทันใด
ในหมู่ยักษาทั้งหลายที่พากันหลงใหลสะคราญโฉมของพระนารายณ์แปลงยังมียักษ์อยู่ตนหนึ่งนามว่าราหูเป็นยักษ์ที่มีสติปัญญาเฉียบแหลมไม่หลงกลต่อกับดักของเหล่าเทวดา ราหูแจ้งในเพทุบายนี้จึงแปลงกายให้เหมือนเทวดาแล้วไปแฝงอยู่ในหมู่เทพเพื่อดื่มน้ำอมฤต อนิจจาพระอาทิตย์และพระจันทร์เห็นผิดสังเกตเพราะราหูซึ่งถึงแม้แปลงเป็นเทวดาแต่ยังมีเงาทอดลงพื้นจึงเพ่งด้วยทิพยเนตรก็แลเห็นเป็นร่างยักษาแฝงอยู่ เมื่อแจ้งในความจริงเช่นนั้นแล้วพระอาทิตย์และพระจันทร์จึงนำความไปฟ้องพระนารายณ์ ทันใดนั้นพระองค์จึงขว้างจักรสุทรรศนะไปต้องกายราหูขาดเป็นสองท่อน แต่ด้วยฤทธานุภาพแห่งน้ำอมฤตที่ราหูดื่มไปแล้วทำให้ถึงแม้ร่างกายถูกตัดออกเป็นสองส่วนก็ไม่สิ้นชีพ
ราหูเจ็บแค้นที่พระอาทิตย์และพระจันทร์ไปเพ็ดทูลพระนารายณ์จนทำให้กายขาดสองท่อนจึงสาบานที่จะจับพระอาทิตย์และพระจันทร์กินเสียหากโคจรมาเจอกัน ฝ่ายพระจันทร์นั้นโคจรอยู่ในวิมานเบื้องต่ำจึงมักเจอกับราหูอยู่บ่อยๆต่างกับพระอาทิตย์ซึ่งโคจรอยู่สูงจึงไม่ค่อยพบกับราหูนัก ราหูนั้นมีกายเพียงครึ่งเดียวจึงทำให้กลืนพระอาทิตย์และพระจันทร์ได้เพียงชั่วคราวก็หลุดออกมา ด้านกายท่อนล่างของราหูนั้นเรียกว่าพระเกตุ เป็นต้นกำเนิดของดาวหางและอุกกาบาตทั้งปวง
ด้านฝ่ายอสูรหลังจากที่ตามนางโมหิณีและถูกเหล่านางอัปสรมอมสุราพึ่งสร่างจึงพบว่าฝ่ายเทวดาได้ดื่มน้ำอมฤตหมดแล้วก็บังเกิดความโกรธหมายจะเข้าโรมรันแต่เหล่าเทวะได้ดื่มน้ำอมฤตแล้วจึงเป็นอมรไม่มีวันตายอีก ฝ่ายยักษาสู้ไม่ได้ก็พ่ายแพ้กลับไปไม่กล้าเข้ามารุกรานสวรรค์อีก
หมู่ยักษ์เมื่อได้พบบทเรียนเช่นนี้แล้วจึงปวารณาตนไม่ดื่มเครื่องดองของเมาอีกจึงเป็นที่มาของคำว่า "อสูร" (อ+สุระ) หมายถึงผู้ไม่ดื่มสุรา ต่างกับเหล่าเทวะที่ยังดื่มสุราดังเช่นคำเรียกที่อยู่ของเทวดาที่ว่า "ฟากฟ้าสุราลัย" (สุระคือเหล้า สนธิกับคำว่าอาลัยแปลว่าที่อยู่) หมายถึงที่อยู่ของผู้ดื่มสุราคือสวรรค์นั้นเอง
สัจธรรมข้อหนึ่งที่แฝงอยู่ในตำนานนี้ก็คือ "ความเป็นอมตะสามารถบรรลุได้ด้วยการเอาชนะโมหะคือความลุ่มหลงเสียก่อน"