องค์ประกอบของเอกภพตามหลักพระพุทธศาสนา
เป็นที่น่าทึ่งในพระปัญญาของพระพุทธเจ้าอย่างมากที่ท่านได้ตรัสลักษณะเกี่ยวกับเอกภพเอาไว้เมื่อกว่า 2500 ปีก่อนมาแล้ว โดยมีรายละเอียดคล้ายสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันพึ่งจะมาค้นพบ ดังปรากฎใน จูฬนีสูตร [1] (อรรถกถาเรียก อรุณวดีสูตร) ซึ่งสรุปได้ว่า โลกประกอบด้วยโลกธาตุต่างๆ มากมายแบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้
1. โลกธาตุขนาดเล็ก คือโลกธาตุที่มีขนาด 1,000 จักรวาล
2. โลกธาตุขนาดกลาง คือ โลกธาตุที่มีขนาด 1,000,000 จักรวาล
3. โลกธาตุขนาดใหญ่ คือ โลกธาตุที่มีขนาด แสนโกฎิจักรวาล (ล้านล้านจักรวาล)
และนิยามของจักรวาลในพระสูตรนี้ ก็คือ บริเวณที่พระจันทร์และพระอาทิตย์สามารถโคจรไปได้ทั่วทิศสว่างไสวรุ่งโรจน์
จากความรู้ทางดาราศาสตร์เราทราบว่าดาวอาทิตย์ซึ่งเป็นดาวฤกษ์หนึ่งที่โคจรอยู่รอบๆ ดาราจักรหรือแกแลกซี่ (galaxy) ที่ชื่อว่า “ทางช้างเผือก (Milky way)” และนอกจากแกแลกซี่ชื่อว่า “ทางช้างเผือก” แล้วในเอกภพยังมีแกแลกซี่อื่นๆอีกมากมายนับไม่ถ้วน
เมื่อเทียบเคียงกับความหมายในพระสูตรกับความรู้วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันทำให้สรุปได้ว่า
จักรวาลในพระสูตร เทียบได้กับ ดาราจักรหรือแกแลกซี่นั่นเอง และ
โลกธาตุ ในพระสูตร เทียบได้กับ กลุ่มของแกแลกซี่ นั่นเอง และ
โลก ในพระสูตร เทียบได้กับ เอกภพ (Universe) ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มของแกแลกซี่มากมาย
(ดูหมายเหตุเพิ่มเติมด้านล่าง)
ความหมายของกัป
ระยะเวลากัปหนึ่งนั้น หมายถึง ระยะเวลาที่โลก เอกภพ (Universe) อุบัติขึ้นมา จนกระทั่งเอกภพนั้นดับไป
ช่วงเวลาในกัป
ในพระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จตุตถปัณณาสก์อินทรียวรรคที่ ๑ [2]
พระพุทธเจ้าได้ตรัสเกี่ยวกับช่วงเวลาในระหว่าง 1 กัปไว้ว่า
[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสงไขยแห่งกัป ๔ ประการนี้ ๔ ประการ
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด สังวัฏกัปตั้งอยู่ เมื่อนั้น ใครๆ ก็ไม่อาจ
นับได้ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือเท่านี้แสนปี ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อใด สังวัฏฏัฏฐายีกัปตั้งอยู่ เมื่อนั้น ใครๆ ก็ไม่อาจนับได้ว่า
เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือเท่านี้แสนปี ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใด วิวัฏกัปตั้งอยู่ เมื่อนั้น ใครๆ ไม่อาจนับได้ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี
เท่านี้พันปี หรือเท่านี้แสนปี ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด วิวัฏฏัฏฐายีกัปตั้งอยู่
เมื่อนั้น ใครๆ ไม่อาจนับได้ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือเท่านี้
แสนปี ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสงไขยแห่งกัป ๔ ประการนี้แล ฯ
ซึ่งหมายความว่า 1 กัปสามารถแบ่งเป็น 4 ช่วงเวลา และแต่ละช่วงนั้นก็ยาวนานมากจนนับได้ยาก (คำว่า “อสงไขย” ในที่นี้หมายถึง infinity คือมากจนนับไม่ถ้วน) โดย 4 ช่วงเวลานั้นได้แก่
1. วิวัฏกัป หรือ ช่วงที่กัปกำลังเจริญ หมายถึง ช่วงเวลาที่เอกภพก่อตัว และเจริญขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาปัจจุบันที่เราอาศัยอยู่ในขณะนี้ โดยจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่า เอกภพที่เราอยู่นี้ เกิดมาเมื่อประมาณ 14,000 ล้านปีที่แล้วจากการระเบิดครั้งใหญ่หรือ Big Bang ของอะไรบางอย่างที่มีขนาดเล็กมากๆ ที่เรียกว่า singularity และขณะนี้เอกภพก็กำลังขยายตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง
2.วิวัฏฏัฏฐายี หรือ ช่วงที่กัปเจริญแล้วกำลังตั้งอยู่ หมายถึง ช่วงเวลาหลังจากที่เอกภพขยายตัวจนถึงขีดสุดและเริ่มคงตัวตั้งอยู่อย่างนั้นไประยะหนึ่ง
3. สังวัฏฏกัป หรือ ช่วงที่กัปกำลังเสื่อม หมายถึง ช่วงเวลาที่เอกภพอยู่ในภาวะที่กำลังเสื่อมสลาย ซึ่งในอรรถกถา [3,4] กล่าวว่า เสื่อมได้จาก 3 สาเหตุคือ เสื่อมเพราะไฟ , เสื่อมเพราะน้ำ , และเสื่อมเพราะลม
4. สังวัฏฏัฏฐายีกัป หรือ ช่วงที่กัปเสื่อมแล้วตั้งอยู่ หมายถึง ช่วงเวลาที่เอกภพเสื่อมสลายแล้ว รอเกิดเป็นเอกภพใหม่ ในระหว่างนี้เอกภพจะเป็นอะไรบางอย่างที่มีขนาดเล็กมากๆ ถ้าเทียบในทางวิทยาศาสตร์ก็เรียกได้ว่า เอกภพอยู่ในสภาพที่เรียกว่า singularity ซึ่งรอที่จะเริ่มเกิดเป็นเอกภพใหม่ ในระหว่างนี้สัตว์ที่ได้ฌานก็จะเกิดเป็นในพรหมโลก ส่วนสัตว์อื่นๆเช่น สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เปรด ก็จะตายหมดและ อยู่ในสภาพที่เป็นพลังงานเพื่อรอเกิดใหม่อีกครั้งหลังจากที่เริ่มมีเอกภพขึ้นมาใหม่ ในข้อ 1 อีกครั้ง
นี่เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เมื่อเกือบ 2600 ปีมาแล้ว แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พึ่งจะมาค้นพบ ดังรายละเอียดใน วารสาร Science Illustrated ฉบับเดือน July/August ปี 2012
ซึ่งเนื้อหากล่าวว่า มีบางสิ่งที่ดำรงอยู่ก่อนหน้า The Big Bang หรือการระเบิดครั้งใหญ่ที่เป็นจุดเริ่มต้นในการถือกำเนิดของเอกภพ (Universe) ที่เรารู้จักในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ Earlier Universe หรือ เอกภพอันก่อน นั่นเอง !!!
แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้กล่าวถึงมากนักคือช่วงรอยต่อระหว่าง เอกภพปัจจุบันกับเอกภพอันก่อนก็คือ “ภาวะที่ยังไม่มีเอกภพ” หรือช่วงที่เป็น Singularity (ไม่รู้จะใช้ภาษาไทยว่าอะไรดี) นั่นเอง และสิ่งนี้เองที่ดำรงอยู่ก่อนหน้า The Big Bang จริงๆ โดยคั่นอยู่ระหว่าง เอกภพปัจจุบัน (Present Universe) กับ เอกภพอันก่อน (Earlier Universe) ซึ่งภาวะ Singularity นี้ มวลสารและพลังงานทั้งหมดของเอกภพแปรสภาพมารวมกันเป็นจุดซึ่งมีขนาดเล็กมาก ช่วงเวลาที่เป็น Singularity นี้ดำรงอยู่หลังจากที่เอกภพอันก่อนดับไป และดำรงอยู่ก่อนหน้าที่เอกภพปัจจุบันจะเกิดขึ้นมา เมื่อเทียบกับที่พระพุทธเจ้าตรัสก็จะตรงกับคำว่า “สังวัฏฏัฏฐายีกัป” นั่นเอง ดังรายละเอียดสรุปในรูปที่ 2
และเอกภพก็มีลักษณะเช่นนี้ซ้ำๆ กันไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด คือ เมื่อเอกภพเกิดขึ้นมาแล้วก็จะขยายตัวระดับนึงและคงที่และหดตัวลงจนกระทั่งดับไปเป็นจุดเล็กๆ ที่เรียกว่า Singularity แล้วเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ก็จะระเบิดขึ้นมาเป็นเอกภพใหม่ เช่นนี้เรื่อยๆไม่ที่ที่สิ้นสุด ดังรายละเอียดในรูปที่ 1 ซึ่งช่วงอายุขัยของเอกภพนี้เรียกว่า “มหากัป”
นอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังได้ตรัสรายละเอียดเกี่ยวกับช่วงเวลาต่างๆในกัป ดังรายละเอียดใน “อัคคัญญสูตร” [5] สรุปได้ดังนี้
“ในช่วงที่กัป (ความหมายเดียวกับคำว่าเอกภพ) กำลังเสื่อมและเสื่อมสลายแล้วนั้น โดยมากเหล่าสัตว์ย่อมเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหารมีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน” และ
“ในช่วงที่กัปกำลังเจริญ เหล่าสัตว์พากันจฺติ (เคลื่อนออก) จากชั้นอาภัสสรพรหมลงมาเป็นอย่างนี้ และสัตว์นั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน ก็แหละสมัยนั้นจักรวาลทั้งสิ้นนี้แลเป็นน้ำทั้งนั้น มืดมนแลไม่เห็นอะไร ดวงจันทร์และ ดวงอาทิตย์ก็ยังไม่ปรากฏ ดวงดาวนักษัตรทั้งหลายก็ยังไม่ปรากฏ กลางวันกลางคืนก็ยังไม่ปรากฏ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ยังไม่ปรากฏ ฤดูและปีก็ยังไม่ปรากฏเพศชายและเพศหญิงก็ยังไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลาย ถึงซึ่งอันนับเพียงว่าสัตว์เท่านั้น ครั้นต่อมา โดยล่วงระยะกาลยืดยาวช้านาน เกิดง้วนดินลอยอยู่บนน้ำทั่วไป ได้ปรากฏแก่สัตว์เหล่านั้นเหมือนนมสดที่บุคคลเคี่ยว ให้งวด แล้วตั้งไว้ให้เย็นจับเป็นฝาอยู่ข้างบน ฉะนั้นง้วนดินนั้นถึงพร้อมด้วยสีกลิ่น รส มีสีคล้ายเนยใส หรือเนยข้นอย่างดี ฉะนั้น มีรสอร่อยดุจรวงผึ้งเล็กอันหาโทษมิได้ ฉะนั้น ฯ “
credit
http://drronenv.wordpress.com/2012/05/13/%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89-3/
เอกภพในมุมมองของพระพุทธศาสนา
เป็นที่น่าทึ่งในพระปัญญาของพระพุทธเจ้าอย่างมากที่ท่านได้ตรัสลักษณะเกี่ยวกับเอกภพเอาไว้เมื่อกว่า 2500 ปีก่อนมาแล้ว โดยมีรายละเอียดคล้ายสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันพึ่งจะมาค้นพบ ดังปรากฎใน จูฬนีสูตร [1] (อรรถกถาเรียก อรุณวดีสูตร) ซึ่งสรุปได้ว่า โลกประกอบด้วยโลกธาตุต่างๆ มากมายแบ่งเป็น 3 ระดับดังนี้
1. โลกธาตุขนาดเล็ก คือโลกธาตุที่มีขนาด 1,000 จักรวาล
2. โลกธาตุขนาดกลาง คือ โลกธาตุที่มีขนาด 1,000,000 จักรวาล
3. โลกธาตุขนาดใหญ่ คือ โลกธาตุที่มีขนาด แสนโกฎิจักรวาล (ล้านล้านจักรวาล)
และนิยามของจักรวาลในพระสูตรนี้ ก็คือ บริเวณที่พระจันทร์และพระอาทิตย์สามารถโคจรไปได้ทั่วทิศสว่างไสวรุ่งโรจน์
จากความรู้ทางดาราศาสตร์เราทราบว่าดาวอาทิตย์ซึ่งเป็นดาวฤกษ์หนึ่งที่โคจรอยู่รอบๆ ดาราจักรหรือแกแลกซี่ (galaxy) ที่ชื่อว่า “ทางช้างเผือก (Milky way)” และนอกจากแกแลกซี่ชื่อว่า “ทางช้างเผือก” แล้วในเอกภพยังมีแกแลกซี่อื่นๆอีกมากมายนับไม่ถ้วน
เมื่อเทียบเคียงกับความหมายในพระสูตรกับความรู้วิทยาศาสตร์ในปัจจุบันทำให้สรุปได้ว่า
จักรวาลในพระสูตร เทียบได้กับ ดาราจักรหรือแกแลกซี่นั่นเอง และ
โลกธาตุ ในพระสูตร เทียบได้กับ กลุ่มของแกแลกซี่ นั่นเอง และ
โลก ในพระสูตร เทียบได้กับ เอกภพ (Universe) ซึ่งประกอบไปด้วยกลุ่มของแกแลกซี่มากมาย
(ดูหมายเหตุเพิ่มเติมด้านล่าง)
ความหมายของกัป
ระยะเวลากัปหนึ่งนั้น หมายถึง ระยะเวลาที่โลก เอกภพ (Universe) อุบัติขึ้นมา จนกระทั่งเอกภพนั้นดับไป
ช่วงเวลาในกัป
ในพระไตรปิฏก เล่มที่ ๒๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๓ อังคุตตรนิกาย จตุกกนิบาต จตุตถปัณณาสก์อินทรียวรรคที่ ๑ [2]
พระพุทธเจ้าได้ตรัสเกี่ยวกับช่วงเวลาในระหว่าง 1 กัปไว้ว่า
[๑๕๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสงไขยแห่งกัป ๔ ประการนี้ ๔ ประการ
เป็นไฉน ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด สังวัฏกัปตั้งอยู่ เมื่อนั้น ใครๆ ก็ไม่อาจ
นับได้ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือเท่านี้แสนปี ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เมื่อใด สังวัฏฏัฏฐายีกัปตั้งอยู่ เมื่อนั้น ใครๆ ก็ไม่อาจนับได้ว่า
เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือเท่านี้แสนปี ดูกรภิกษุทั้งหลาย
เมื่อใด วิวัฏกัปตั้งอยู่ เมื่อนั้น ใครๆ ไม่อาจนับได้ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี
เท่านี้พันปี หรือเท่านี้แสนปี ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อใด วิวัฏฏัฏฐายีกัปตั้งอยู่
เมื่อนั้น ใครๆ ไม่อาจนับได้ว่า เท่านี้ปี เท่านี้ร้อยปี เท่านี้พันปี หรือเท่านี้
แสนปี ดูกรภิกษุทั้งหลาย อสงไขยแห่งกัป ๔ ประการนี้แล ฯ
ซึ่งหมายความว่า 1 กัปสามารถแบ่งเป็น 4 ช่วงเวลา และแต่ละช่วงนั้นก็ยาวนานมากจนนับได้ยาก (คำว่า “อสงไขย” ในที่นี้หมายถึง infinity คือมากจนนับไม่ถ้วน) โดย 4 ช่วงเวลานั้นได้แก่
1. วิวัฏกัป หรือ ช่วงที่กัปกำลังเจริญ หมายถึง ช่วงเวลาที่เอกภพก่อตัว และเจริญขึ้น ซึ่งเป็นช่วงเวลาปัจจุบันที่เราอาศัยอยู่ในขณะนี้ โดยจากหลักฐานทางวิทยาศาสตร์พบว่า เอกภพที่เราอยู่นี้ เกิดมาเมื่อประมาณ 14,000 ล้านปีที่แล้วจากการระเบิดครั้งใหญ่หรือ Big Bang ของอะไรบางอย่างที่มีขนาดเล็กมากๆ ที่เรียกว่า singularity และขณะนี้เอกภพก็กำลังขยายตัวอยู่อย่างต่อเนื่อง
2.วิวัฏฏัฏฐายี หรือ ช่วงที่กัปเจริญแล้วกำลังตั้งอยู่ หมายถึง ช่วงเวลาหลังจากที่เอกภพขยายตัวจนถึงขีดสุดและเริ่มคงตัวตั้งอยู่อย่างนั้นไประยะหนึ่ง
3. สังวัฏฏกัป หรือ ช่วงที่กัปกำลังเสื่อม หมายถึง ช่วงเวลาที่เอกภพอยู่ในภาวะที่กำลังเสื่อมสลาย ซึ่งในอรรถกถา [3,4] กล่าวว่า เสื่อมได้จาก 3 สาเหตุคือ เสื่อมเพราะไฟ , เสื่อมเพราะน้ำ , และเสื่อมเพราะลม
4. สังวัฏฏัฏฐายีกัป หรือ ช่วงที่กัปเสื่อมแล้วตั้งอยู่ หมายถึง ช่วงเวลาที่เอกภพเสื่อมสลายแล้ว รอเกิดเป็นเอกภพใหม่ ในระหว่างนี้เอกภพจะเป็นอะไรบางอย่างที่มีขนาดเล็กมากๆ ถ้าเทียบในทางวิทยาศาสตร์ก็เรียกได้ว่า เอกภพอยู่ในสภาพที่เรียกว่า singularity ซึ่งรอที่จะเริ่มเกิดเป็นเอกภพใหม่ ในระหว่างนี้สัตว์ที่ได้ฌานก็จะเกิดเป็นในพรหมโลก ส่วนสัตว์อื่นๆเช่น สัตว์นรก สัตว์เดรัจฉาน มนุษย์ เปรด ก็จะตายหมดและ อยู่ในสภาพที่เป็นพลังงานเพื่อรอเกิดใหม่อีกครั้งหลังจากที่เริ่มมีเอกภพขึ้นมาใหม่ ในข้อ 1 อีกครั้ง
นี่เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสไว้เมื่อเกือบ 2600 ปีมาแล้ว แต่ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์พึ่งจะมาค้นพบ ดังรายละเอียดใน วารสาร Science Illustrated ฉบับเดือน July/August ปี 2012
ซึ่งเนื้อหากล่าวว่า มีบางสิ่งที่ดำรงอยู่ก่อนหน้า The Big Bang หรือการระเบิดครั้งใหญ่ที่เป็นจุดเริ่มต้นในการถือกำเนิดของเอกภพ (Universe) ที่เรารู้จักในปัจจุบัน ซึ่งสิ่งนั้นก็คือ Earlier Universe หรือ เอกภพอันก่อน นั่นเอง !!!
แต่สิ่งที่นักวิทยาศาสตร์ยังไม่ได้กล่าวถึงมากนักคือช่วงรอยต่อระหว่าง เอกภพปัจจุบันกับเอกภพอันก่อนก็คือ “ภาวะที่ยังไม่มีเอกภพ” หรือช่วงที่เป็น Singularity (ไม่รู้จะใช้ภาษาไทยว่าอะไรดี) นั่นเอง และสิ่งนี้เองที่ดำรงอยู่ก่อนหน้า The Big Bang จริงๆ โดยคั่นอยู่ระหว่าง เอกภพปัจจุบัน (Present Universe) กับ เอกภพอันก่อน (Earlier Universe) ซึ่งภาวะ Singularity นี้ มวลสารและพลังงานทั้งหมดของเอกภพแปรสภาพมารวมกันเป็นจุดซึ่งมีขนาดเล็กมาก ช่วงเวลาที่เป็น Singularity นี้ดำรงอยู่หลังจากที่เอกภพอันก่อนดับไป และดำรงอยู่ก่อนหน้าที่เอกภพปัจจุบันจะเกิดขึ้นมา เมื่อเทียบกับที่พระพุทธเจ้าตรัสก็จะตรงกับคำว่า “สังวัฏฏัฏฐายีกัป” นั่นเอง ดังรายละเอียดสรุปในรูปที่ 2
และเอกภพก็มีลักษณะเช่นนี้ซ้ำๆ กันไปเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด คือ เมื่อเอกภพเกิดขึ้นมาแล้วก็จะขยายตัวระดับนึงและคงที่และหดตัวลงจนกระทั่งดับไปเป็นจุดเล็กๆ ที่เรียกว่า Singularity แล้วเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม ก็จะระเบิดขึ้นมาเป็นเอกภพใหม่ เช่นนี้เรื่อยๆไม่ที่ที่สิ้นสุด ดังรายละเอียดในรูปที่ 1 ซึ่งช่วงอายุขัยของเอกภพนี้เรียกว่า “มหากัป”
นอกจากนี้พระพุทธเจ้ายังได้ตรัสรายละเอียดเกี่ยวกับช่วงเวลาต่างๆในกัป ดังรายละเอียดใน “อัคคัญญสูตร” [5] สรุปได้ดังนี้
“ในช่วงที่กัป (ความหมายเดียวกับคำว่าเอกภพ) กำลังเสื่อมและเสื่อมสลายแล้วนั้น โดยมากเหล่าสัตว์ย่อมเกิดในชั้นอาภัสสรพรหม สัตว์เหล่านั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหารมีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน” และ
“ในช่วงที่กัปกำลังเจริญ เหล่าสัตว์พากันจฺติ (เคลื่อนออก) จากชั้นอาภัสสรพรหมลงมาเป็นอย่างนี้ และสัตว์นั้นได้สำเร็จทางใจ มีปีติเป็นอาหาร มีรัศมีซ่านออกจากกายตนเอง สัญจรไปได้ในอากาศ อยู่ในวิมานอันงาม สถิตอยู่ในภพนั้นสิ้นกาลยืดยาวช้านาน ก็แหละสมัยนั้นจักรวาลทั้งสิ้นนี้แลเป็นน้ำทั้งนั้น มืดมนแลไม่เห็นอะไร ดวงจันทร์และ ดวงอาทิตย์ก็ยังไม่ปรากฏ ดวงดาวนักษัตรทั้งหลายก็ยังไม่ปรากฏ กลางวันกลางคืนก็ยังไม่ปรากฏ เดือนหนึ่งและกึ่งเดือนก็ยังไม่ปรากฏ ฤดูและปีก็ยังไม่ปรากฏเพศชายและเพศหญิงก็ยังไม่ปรากฏ สัตว์ทั้งหลาย ถึงซึ่งอันนับเพียงว่าสัตว์เท่านั้น ครั้นต่อมา โดยล่วงระยะกาลยืดยาวช้านาน เกิดง้วนดินลอยอยู่บนน้ำทั่วไป ได้ปรากฏแก่สัตว์เหล่านั้นเหมือนนมสดที่บุคคลเคี่ยว ให้งวด แล้วตั้งไว้ให้เย็นจับเป็นฝาอยู่ข้างบน ฉะนั้นง้วนดินนั้นถึงพร้อมด้วยสีกลิ่น รส มีสีคล้ายเนยใส หรือเนยข้นอย่างดี ฉะนั้น มีรสอร่อยดุจรวงผึ้งเล็กอันหาโทษมิได้ ฉะนั้น ฯ “
credit http://drronenv.wordpress.com/2012/05/13/%E0%B8%81%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89-3/