Thiravat Hemachudha ๗ เมย ๒๕๕๖
https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/360019414114493
การรักษาด้วยคีเลชั่น......ดีจริงหรือมั่วนิ่ม
ล่าสุดสรุบแล้วในวารสารแพทยสมาคมสหรัฐ 27 มีนาคม 2556 ว่าไม่ดี
www.cueid.org
ภายในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา หมอถูกถามด้วยคำถามเดียวกันจากเพื่อน 2 รายและคนไข้ 1 ราย ว่าจะไปรักษาคีเลชั่น (chelation) ดีไหม
เพื่อนคนแรกอายุเท่าหมอ (นั่นคือ....ยังไม่แก่นัก) สุขภาพแข็งแรง แต่ได้ยินว่าทำแล้วกระชุ่มกระชวย
เพื่อนคนที่สอง เคยมีอัมพฤกษ์ และเส้นเลือดหัวใจมี แคลเซียมเกาะหนา
ส่วนคนไข้เป็นโรคกรรมพันธุ์สมองส่วนท้ายทอยเหี่ยว ซึ่งไม่มีทางรักษาในปัจจุบันได้รับข้อเสนอให้ใช้สเตมเซลล์ (stem cell) ซึ่งเคยเรียนให้ทราบหลายครั้งแล้วว่าขณะนี้นอกจากโรคเลือดอย่างอื่น ๆ ยังมั่วนิ่มทั้งหมด (สมาคมนานาชาติการค้นคว้าสเตมเซลล์ Guidelines for the clinical translation of stem cells 3 ธันวาคม 2008) โดยสเตมเซลล์ 10 เข็มราคา 250,000 บาท แถมทำคีเลชั่นให้อีก 10 ครั้ง (ราคา 40,500 บาท) ผ่อนก็ได้ 10 เดือน ไม่มีดอกเบี้ย เ
ท่าที่หมอยืนยันไปก็คือ ขณะนี้ไม่มี ข้อพิสูจน์ใดๆทั้งสิ้นว่า การรักษาคีเลชั่นมีประโยชน์จริง
การรักษาด้วยคีเลชั่น จุดประสงค์ก็คือ การขจัดโลหะหนักที่เป็นพิษออกจากร่างกาย โดยเปลี่ยนทำให้ละลายน้ำได้ เพื่อขับออกทางไตและตับ มีประวัติยาวนานตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อรักษาผู้ถูกก๊าซพิษที่มีสารหนู (arsenic) ออก หลังจากนั้นมียาคีเลชั่นหลายชนิดเพื่อใช้รักษาโรคที่เกิดจากการสะสมของธาตุเหล็ก (ในโรคเลือดกรรมพันธุ์ธาลาสซีเมีย) ปรอท ตะกั่ว ยูเรเนียม พลูโตเนี่ยม ในเวลาต่อมา มีผู้ผันแปรเจตนาเดิมมาใช้ในการรักษาโรคหัวใจที่มีเส้นเลือดตีบ แม้กระทั่งโรคออทิสติก โดยอ้างว่าโรคออทิสติกเกิดจากสารปรอทที่ปนเปื้อนในวัคซีน (thiomerosal) ซึ่งไม่เป็นความจริง
สำหรับการใช้กับโรคหัวใจในประเทศไทย มีการโฆษณาโจ๋งครึ่มถึงการรักษาคีเลชั่นเพื่อฟื้นฟูหลอดเลือดในหน้าหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เนต จากโรงพยาบาลเอกชน สถานพยาบาล คลีนิค โดยเฉพาะที่น่าหดหู่ก็คือ มีสมาคมการแพทย์คีเลชั่นไทย สำนักแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เป็นตัวตั้งตัวตีด้วย รวมทั้งมีศูนย์คีเลชั่นแบบนำร่อง ในจังหวัดต่างๆ
ในประเทศที่เจริญแล้ว เช่น สหรัฐและมีปัญหาเกี่ยวกับการรักษาด้วยทางเลือกใหม่ (Alternative medicine) จะมีหน่วยงานและสถาบันของรัฐทำหน้าที่ในการค้นหาหลักฐานข้อมูลความเป็นจริง ว่ามีประโยชน์ ประสิทธิภาพดีจริงหรือไม่ และมีข้อเสียที่ต้องระวังหรือไม่ รวมทั้งถ้าพิสูจน์ไม่ได้ตามที่กล่าวอ้าง สมควรต้องออกกฎระเบียบห้ามการใช้ ห้ามโฆษณา โดยไม่เป็นเสียเอง โอบอุ้ม อาหารเสริม ยาผีบอก การรักษาที่ไม่ได้พิสูจน์ และยังส่งเสริมการใช้เสียอีกเช่นนี้
การศึกษาโดย Knudtson และคณะ ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมแพทย์ของสหรัฐ (JAMA) คศ.2002 โดยการศึกษาคนไข้ที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบ 2 กลุ่มๆละ 40 ราย โดยกลุ่มแรกให้การรักษาด้วยEDTA คีเลชั่น และอีกกลุ่มให้ยาหลอกสัปดาห์ละ 2 ครั้งไปนาน 15 สัปดาห์ และต่อด้วยเดือนละครั้งไปนานอีก 3 เดือน รวม 33 ครั้ง ปรากฏว่า ไม่มีผลแตกต่างกัน โดยการดูจากระยะเวลาของการออกกำลังจนกระทั่งคลื่นหัวใจแสดงลักษณะของการขาดเลือด ประสิทธิภาพของการออกกำลัง และคุณภาพชีวิต
EDTA ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการรักษาทางเลือกใหม่เป็นกรดอมิโน ซึ่งสามารถจับกับตะกั่ว, แมกนีเซียม,สังกะสี, แคลเซียม, ทองแดง โดยการใช้ EDTA หวังว่าจะไปจับกับแคลเซียมที่คล้ายเป็นตะกรัน ในหลอดเลือดที่ตีบ เช่น ในหัวใจ ในสมอง โดยเชื่อว่ามีกลไกทำให้ระดับแคลเซี่ยมในเลือดต่ำก่อน จะได้ไปดึงแคลเซี่ยมที่เกาะอยู่ตามเส้นเลือดออก โดยที่ความเชื่อนี้ไม่มีการพิสูจน์ทางกระบวนการวิทยาศาสตร์ใดๆนอกจากนั้นยังเชื่ออีกว่าเป็นตัวต้านอนุมูลอิสระและยังลดการสะสมของธาตุเหล็กในตัว ทำให้เส้นเลือดขยายตัวยืดตัวได้ดี และอื่นๆอีกมากมาย รายงานที่ผ่านมาของการให้ EDTA คีเลชั่น เป็นการรายงานในผู้ป่วยที่ไม่มีระเบียบวิธีการศึกษาที่รัดกุมดีพอ ประกอบกับคนไข้ รู้สึกดีขึ้นกระชุ่มกระช่วยเองจากจิตใจ (placebo effect)
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาผลของ EDTA คีเลชั่นในผู้ป่วยเส้นเลือดตีบที่ขาตั้งแต่ปีคศ.1994 ในวารสารหลอดเลือด (Circulation) ซึ่งไม่พบว่าก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ สมาคมหัวใจของสหรัฐ (American Heart Association) ปัจจุบันยังคงยืนยันว่าการรักษาด้วยEDTA คีเลชั่น ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้และอาจทำให้ในผู้ที่ได้คีเลชั่นเกิดความนิ่งนอนใจว่าได้รักษาแล้วและหยุดการรักษาหรือป้องกันโรคหัวใจด้วยวิธีมาตรฐานอีก ในสหรัฐเองมีการใช้ EDTA คีเลชั่น โดยไม่ได้รับการรับรองจาก อย.สหรัฐ โดยคิดค่าใช้จ่ายประมาณ ครั้งละ 1,500-3,000บาท และในเดือนแรกต้องทำ คีเลชั่นตั้งแต่ 5-30 ครั้ง โดยเดือนต่อมาทำเดือนละครั้ง ตัวสาร EDTA ก็ไม่ได้ถูกรับรองให้เป็นยามาตรฐานในการรักษาโรคของเส้นเลือด ทั้งนี้ ทั่วในสหรัฐหรือในประเทศยุโรป บริษัทประกันจะไม่รับผิดชอบในการเบิกจ่าย รวมทั้งไม่รับผิดชอบถ้าเกิดผลแทรกซ้อนจากการทำคีเลชั่น
ผลแทรกซ้อนที่พบได้มีตั้งแต่ เกิดไตวาย (renal tubular necrosis) มีการกดการทำงานของไขกระดูก ความดันเลือดตกจนถึงช็อค มีลมบ้าหมู เกิดการเต้นผิดปกติของหัวใจหรือมีปฏิกิริยาแพ้จนไม่หายใจ สำหรับเหตุการณ์เสียชีวิตจาก EDTA คีเลชั่นที่ทำให้ระดับแคลเซี่ยมต่ำ มีตัวอย่างผู้เสียชีวิตในสหรัฐ รัฐเทกชัส เพนชิลเวเนีย และโอเรกอน ระหว่างปี 2003-2005 (Mortality and Morbidity Weekly Report
ฉบับเดือนมีนาคม 2006) มีเด็กชาย อายุ 5 ขวบ ในเดือนสิงหาคม 2005 เป็นโรคออทิสติก และได้รับการรักษาด้วย EDTA คีเลชั่น โดยแท้ที่จริงแล้ว โรคนี้ไม่ได้เกี่ยวกับความผิดปกติของสมองที่เกิดจากการสะสมของปรอทเลย หลังได้คีเลชั่น เด็กหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตในที่สุด จากการที่ระดับแคลเซี่ยมใน เลือดต่ำลง ซึ่งเป็นผลจากคีเลชั่น
ในเดือนสิงหาคม 2003 สตรีอายุ 53ปี ซึ่งไม่ได้มีโรคเส้นเลือดหัวใจหรือโรคอื่นๆ ได้รับการดีเลชั่น จากคลีนิคบำบัดธรรมชาติ เพื่อขจัดโลหะหนักในร่างกาย โดยความเชื่อว่าจะทำให้สุขภาพดีขึ้น หลังจากทำการบำบัดได้ประมาณ 10-15 นาที ไม่รู้สึกตัว และเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งผลการชัณสูตร พบว่า เกิดจากการที่หัวใจเต้นผิดปกติ อันเป็นผลจากการที่แคลเซี่ยมต่ำจากการให้คีเลชั่นและระดับต่ำลงถึง 3.8 ม.ก/เดซิลิตร (ค่าปกติ 4.5-5.3) แม้ว่าจะได้รับการฉีดแคลเซี่ยมระหว่างนำส่งโรงพยาบาล และขณะทำการปั้มหัวใจช่วยชีวิตที่ห้องฉุกเฉินก็ตาม
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2005 เด็กหญิงวัย 2 ขวบ ได้รับการรักษาด้วย EDTA คีเลชั่น เนื่องจากตรวจพบว่าน่าจะมีตะกั่วสะสมในตัวจนเกิดโลหิตจาง หลังจากได้คีเลชั่น เด็กหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตในที่สุดจากแคลเซี่ยมต่ำ
ไม่ใช่แต่เพียงสมาคมโรคหัวใจในสหรัฐอเมริกาทั้งสองสมาคม(American Heart Association และ American College of Cardiology) เท่านั้นที่ไม่ยอมรับวิธีการรักษาด้วย EDTA คีเลชั่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) สหรัฐ สมาคมแพทย์สหรัฐ (American College of Physicians และ American Medical Association) สถาบันสุขภาพ หัวใจ ปอด และเลือด (National Heart, Lung,Blood Institute, National Institutes of Health) ต่างก็ประสานเป็นเสียงเดียวว่าไม่เห็นด้วยกับการรักษาคีเลชั่นที่ไม่ได้ถูกรับรองเช่นนี้
ถึงกระนั้นก็ตาม เนื่องจากมีการใช้อย่างแพร่หลายผิด ๆ ในสหรัฐ (รวมกระทั่งโดยเฉพาะในเมืองไทยด้วย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขก็เป็นเสียเองด้วย)
ในเดือนสิงหาคม 2002 สถาบันสุขภาพสหรัฐ (National Institute of Health) โดย ศูนย์การรักษาทางเลือก (National Center for Complementary and Alternative Medicine) และ สถาบันโรคหัวใจ ปอด และเลือด ได้ประกาศทำการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยด้วยการรักษา EDTA คีเลชั่น โดยจะมีผู้ป่วยในการศึกษา 2,372 ราย ในผู้ป่วยที่อายุ 50 ปีขึ้นไปและเคยมีหัวใจวาย ทั้งนี้โดยที่มีสถาบันหรือโรงพยาบาล ในการศึกษานี้ประมาณ 100 แห่งทั่วประเทศ การศึกษาดังกล่าวเริ่มแล้วตั้งแต่ เดือน มีนาคม 2003 และจะเสร็จสิ้นในปี 2010
เพราะฉะนั้น ใครที่อยากกระชุ่มกระชวย ล้างตะกรันในเส้นเลือดหรือหวังจะช่วยโรคหัวใจที่เป็นอยู่แล้ว กรุณาอดใจรอสักนิดว่า คีเลชั่นดีจริง หรือ มั่วนิ่ม โดยเฉพาะถ้าดูราคาในเมืองไทยที่แอบเปิดบริการ (อย่างโจ๋งครึ่ม) เหล่านี้ยังแพงกว่าของสหรัฐอีกนะครับแถมท้าย กระทรวงสาธารณสุข สถาบันวิจัย ราชวิทยาลัย สมาคมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไม่ช่วยกันคุ้มครองคนไข้กันบ้างหรือครับ เขามีสิทธิ์ทราบข้อเท็จจริง ทั้งผลดี ผลร้าย ความเป็นไปได้ในการรักษาที่ไม่มีหลักฐานเหล่านี้มากพอจะตัดสินใจที่จะเสียทรัพย์ เสียโอกาส เพื่อเป็นหนูทดลองตามคำโฆษณาที่ยังไม่พิสูจน์หรือไม่
<img src=http://www.bloggang.com/emo/emo15.gif>
การรักษาด้วยคีเลชั่น......ดีจริงหรือมั่วนิ่ม ? ล่าสุดสรุบแล้วในวารสารแพทยสมาคมสหรัฐ 27 มีนาคม 2556 ว่า ..ไม่ดี
https://www.facebook.com/thiravat.hemachudha/posts/360019414114493
การรักษาด้วยคีเลชั่น......ดีจริงหรือมั่วนิ่ม
ล่าสุดสรุบแล้วในวารสารแพทยสมาคมสหรัฐ 27 มีนาคม 2556 ว่าไม่ดี
www.cueid.org
ภายในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา หมอถูกถามด้วยคำถามเดียวกันจากเพื่อน 2 รายและคนไข้ 1 ราย ว่าจะไปรักษาคีเลชั่น (chelation) ดีไหม
เพื่อนคนแรกอายุเท่าหมอ (นั่นคือ....ยังไม่แก่นัก) สุขภาพแข็งแรง แต่ได้ยินว่าทำแล้วกระชุ่มกระชวย
เพื่อนคนที่สอง เคยมีอัมพฤกษ์ และเส้นเลือดหัวใจมี แคลเซียมเกาะหนา
ส่วนคนไข้เป็นโรคกรรมพันธุ์สมองส่วนท้ายทอยเหี่ยว ซึ่งไม่มีทางรักษาในปัจจุบันได้รับข้อเสนอให้ใช้สเตมเซลล์ (stem cell) ซึ่งเคยเรียนให้ทราบหลายครั้งแล้วว่าขณะนี้นอกจากโรคเลือดอย่างอื่น ๆ ยังมั่วนิ่มทั้งหมด (สมาคมนานาชาติการค้นคว้าสเตมเซลล์ Guidelines for the clinical translation of stem cells 3 ธันวาคม 2008) โดยสเตมเซลล์ 10 เข็มราคา 250,000 บาท แถมทำคีเลชั่นให้อีก 10 ครั้ง (ราคา 40,500 บาท) ผ่อนก็ได้ 10 เดือน ไม่มีดอกเบี้ย เ
ท่าที่หมอยืนยันไปก็คือ ขณะนี้ไม่มี ข้อพิสูจน์ใดๆทั้งสิ้นว่า การรักษาคีเลชั่นมีประโยชน์จริง
การรักษาด้วยคีเลชั่น จุดประสงค์ก็คือ การขจัดโลหะหนักที่เป็นพิษออกจากร่างกาย โดยเปลี่ยนทำให้ละลายน้ำได้ เพื่อขับออกทางไตและตับ มีประวัติยาวนานตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 1 เพื่อรักษาผู้ถูกก๊าซพิษที่มีสารหนู (arsenic) ออก หลังจากนั้นมียาคีเลชั่นหลายชนิดเพื่อใช้รักษาโรคที่เกิดจากการสะสมของธาตุเหล็ก (ในโรคเลือดกรรมพันธุ์ธาลาสซีเมีย) ปรอท ตะกั่ว ยูเรเนียม พลูโตเนี่ยม ในเวลาต่อมา มีผู้ผันแปรเจตนาเดิมมาใช้ในการรักษาโรคหัวใจที่มีเส้นเลือดตีบ แม้กระทั่งโรคออทิสติก โดยอ้างว่าโรคออทิสติกเกิดจากสารปรอทที่ปนเปื้อนในวัคซีน (thiomerosal) ซึ่งไม่เป็นความจริง
สำหรับการใช้กับโรคหัวใจในประเทศไทย มีการโฆษณาโจ๋งครึ่มถึงการรักษาคีเลชั่นเพื่อฟื้นฟูหลอดเลือดในหน้าหนังสือพิมพ์ อินเตอร์เนต จากโรงพยาบาลเอกชน สถานพยาบาล คลีนิค โดยเฉพาะที่น่าหดหู่ก็คือ มีสมาคมการแพทย์คีเลชั่นไทย สำนักแพทย์ทางเลือก กรมพัฒนาแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข เป็นตัวตั้งตัวตีด้วย รวมทั้งมีศูนย์คีเลชั่นแบบนำร่อง ในจังหวัดต่างๆ
ในประเทศที่เจริญแล้ว เช่น สหรัฐและมีปัญหาเกี่ยวกับการรักษาด้วยทางเลือกใหม่ (Alternative medicine) จะมีหน่วยงานและสถาบันของรัฐทำหน้าที่ในการค้นหาหลักฐานข้อมูลความเป็นจริง ว่ามีประโยชน์ ประสิทธิภาพดีจริงหรือไม่ และมีข้อเสียที่ต้องระวังหรือไม่ รวมทั้งถ้าพิสูจน์ไม่ได้ตามที่กล่าวอ้าง สมควรต้องออกกฎระเบียบห้ามการใช้ ห้ามโฆษณา โดยไม่เป็นเสียเอง โอบอุ้ม อาหารเสริม ยาผีบอก การรักษาที่ไม่ได้พิสูจน์ และยังส่งเสริมการใช้เสียอีกเช่นนี้
การศึกษาโดย Knudtson และคณะ ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมแพทย์ของสหรัฐ (JAMA) คศ.2002 โดยการศึกษาคนไข้ที่มีเส้นเลือดหัวใจตีบ 2 กลุ่มๆละ 40 ราย โดยกลุ่มแรกให้การรักษาด้วยEDTA คีเลชั่น และอีกกลุ่มให้ยาหลอกสัปดาห์ละ 2 ครั้งไปนาน 15 สัปดาห์ และต่อด้วยเดือนละครั้งไปนานอีก 3 เดือน รวม 33 ครั้ง ปรากฏว่า ไม่มีผลแตกต่างกัน โดยการดูจากระยะเวลาของการออกกำลังจนกระทั่งคลื่นหัวใจแสดงลักษณะของการขาดเลือด ประสิทธิภาพของการออกกำลัง และคุณภาพชีวิต
EDTA ซึ่งเป็นที่นิยมใช้ในการรักษาทางเลือกใหม่เป็นกรดอมิโน ซึ่งสามารถจับกับตะกั่ว, แมกนีเซียม,สังกะสี, แคลเซียม, ทองแดง โดยการใช้ EDTA หวังว่าจะไปจับกับแคลเซียมที่คล้ายเป็นตะกรัน ในหลอดเลือดที่ตีบ เช่น ในหัวใจ ในสมอง โดยเชื่อว่ามีกลไกทำให้ระดับแคลเซี่ยมในเลือดต่ำก่อน จะได้ไปดึงแคลเซี่ยมที่เกาะอยู่ตามเส้นเลือดออก โดยที่ความเชื่อนี้ไม่มีการพิสูจน์ทางกระบวนการวิทยาศาสตร์ใดๆนอกจากนั้นยังเชื่ออีกว่าเป็นตัวต้านอนุมูลอิสระและยังลดการสะสมของธาตุเหล็กในตัว ทำให้เส้นเลือดขยายตัวยืดตัวได้ดี และอื่นๆอีกมากมาย รายงานที่ผ่านมาของการให้ EDTA คีเลชั่น เป็นการรายงานในผู้ป่วยที่ไม่มีระเบียบวิธีการศึกษาที่รัดกุมดีพอ ประกอบกับคนไข้ รู้สึกดีขึ้นกระชุ่มกระช่วยเองจากจิตใจ (placebo effect)
นอกจากนี้ยังมีการศึกษาผลของ EDTA คีเลชั่นในผู้ป่วยเส้นเลือดตีบที่ขาตั้งแต่ปีคศ.1994 ในวารสารหลอดเลือด (Circulation) ซึ่งไม่พบว่าก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ สมาคมหัวใจของสหรัฐ (American Heart Association) ปัจจุบันยังคงยืนยันว่าการรักษาด้วยEDTA คีเลชั่น ยังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนการใช้และอาจทำให้ในผู้ที่ได้คีเลชั่นเกิดความนิ่งนอนใจว่าได้รักษาแล้วและหยุดการรักษาหรือป้องกันโรคหัวใจด้วยวิธีมาตรฐานอีก ในสหรัฐเองมีการใช้ EDTA คีเลชั่น โดยไม่ได้รับการรับรองจาก อย.สหรัฐ โดยคิดค่าใช้จ่ายประมาณ ครั้งละ 1,500-3,000บาท และในเดือนแรกต้องทำ คีเลชั่นตั้งแต่ 5-30 ครั้ง โดยเดือนต่อมาทำเดือนละครั้ง ตัวสาร EDTA ก็ไม่ได้ถูกรับรองให้เป็นยามาตรฐานในการรักษาโรคของเส้นเลือด ทั้งนี้ ทั่วในสหรัฐหรือในประเทศยุโรป บริษัทประกันจะไม่รับผิดชอบในการเบิกจ่าย รวมทั้งไม่รับผิดชอบถ้าเกิดผลแทรกซ้อนจากการทำคีเลชั่น
ผลแทรกซ้อนที่พบได้มีตั้งแต่ เกิดไตวาย (renal tubular necrosis) มีการกดการทำงานของไขกระดูก ความดันเลือดตกจนถึงช็อค มีลมบ้าหมู เกิดการเต้นผิดปกติของหัวใจหรือมีปฏิกิริยาแพ้จนไม่หายใจ สำหรับเหตุการณ์เสียชีวิตจาก EDTA คีเลชั่นที่ทำให้ระดับแคลเซี่ยมต่ำ มีตัวอย่างผู้เสียชีวิตในสหรัฐ รัฐเทกชัส เพนชิลเวเนีย และโอเรกอน ระหว่างปี 2003-2005 (Mortality and Morbidity Weekly Report
ฉบับเดือนมีนาคม 2006) มีเด็กชาย อายุ 5 ขวบ ในเดือนสิงหาคม 2005 เป็นโรคออทิสติก และได้รับการรักษาด้วย EDTA คีเลชั่น โดยแท้ที่จริงแล้ว โรคนี้ไม่ได้เกี่ยวกับความผิดปกติของสมองที่เกิดจากการสะสมของปรอทเลย หลังได้คีเลชั่น เด็กหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตในที่สุด จากการที่ระดับแคลเซี่ยมใน เลือดต่ำลง ซึ่งเป็นผลจากคีเลชั่น
ในเดือนสิงหาคม 2003 สตรีอายุ 53ปี ซึ่งไม่ได้มีโรคเส้นเลือดหัวใจหรือโรคอื่นๆ ได้รับการดีเลชั่น จากคลีนิคบำบัดธรรมชาติ เพื่อขจัดโลหะหนักในร่างกาย โดยความเชื่อว่าจะทำให้สุขภาพดีขึ้น หลังจากทำการบำบัดได้ประมาณ 10-15 นาที ไม่รู้สึกตัว และเสียชีวิตในที่สุด ซึ่งผลการชัณสูตร พบว่า เกิดจากการที่หัวใจเต้นผิดปกติ อันเป็นผลจากการที่แคลเซี่ยมต่ำจากการให้คีเลชั่นและระดับต่ำลงถึง 3.8 ม.ก/เดซิลิตร (ค่าปกติ 4.5-5.3) แม้ว่าจะได้รับการฉีดแคลเซี่ยมระหว่างนำส่งโรงพยาบาล และขณะทำการปั้มหัวใจช่วยชีวิตที่ห้องฉุกเฉินก็ตาม
ในเดือนกุมภาพันธ์ 2005 เด็กหญิงวัย 2 ขวบ ได้รับการรักษาด้วย EDTA คีเลชั่น เนื่องจากตรวจพบว่าน่าจะมีตะกั่วสะสมในตัวจนเกิดโลหิตจาง หลังจากได้คีเลชั่น เด็กหัวใจหยุดเต้น และเสียชีวิตในที่สุดจากแคลเซี่ยมต่ำ
ไม่ใช่แต่เพียงสมาคมโรคหัวใจในสหรัฐอเมริกาทั้งสองสมาคม(American Heart Association และ American College of Cardiology) เท่านั้นที่ไม่ยอมรับวิธีการรักษาด้วย EDTA คีเลชั่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (FDA) สหรัฐ สมาคมแพทย์สหรัฐ (American College of Physicians และ American Medical Association) สถาบันสุขภาพ หัวใจ ปอด และเลือด (National Heart, Lung,Blood Institute, National Institutes of Health) ต่างก็ประสานเป็นเสียงเดียวว่าไม่เห็นด้วยกับการรักษาคีเลชั่นที่ไม่ได้ถูกรับรองเช่นนี้
ถึงกระนั้นก็ตาม เนื่องจากมีการใช้อย่างแพร่หลายผิด ๆ ในสหรัฐ (รวมกระทั่งโดยเฉพาะในเมืองไทยด้วย ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขก็เป็นเสียเองด้วย)
ในเดือนสิงหาคม 2002 สถาบันสุขภาพสหรัฐ (National Institute of Health) โดย ศูนย์การรักษาทางเลือก (National Center for Complementary and Alternative Medicine) และ สถาบันโรคหัวใจ ปอด และเลือด ได้ประกาศทำการศึกษาถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยด้วยการรักษา EDTA คีเลชั่น โดยจะมีผู้ป่วยในการศึกษา 2,372 ราย ในผู้ป่วยที่อายุ 50 ปีขึ้นไปและเคยมีหัวใจวาย ทั้งนี้โดยที่มีสถาบันหรือโรงพยาบาล ในการศึกษานี้ประมาณ 100 แห่งทั่วประเทศ การศึกษาดังกล่าวเริ่มแล้วตั้งแต่ เดือน มีนาคม 2003 และจะเสร็จสิ้นในปี 2010
เพราะฉะนั้น ใครที่อยากกระชุ่มกระชวย ล้างตะกรันในเส้นเลือดหรือหวังจะช่วยโรคหัวใจที่เป็นอยู่แล้ว กรุณาอดใจรอสักนิดว่า คีเลชั่นดีจริง หรือ มั่วนิ่ม โดยเฉพาะถ้าดูราคาในเมืองไทยที่แอบเปิดบริการ (อย่างโจ๋งครึ่ม) เหล่านี้ยังแพงกว่าของสหรัฐอีกนะครับแถมท้าย กระทรวงสาธารณสุข สถาบันวิจัย ราชวิทยาลัย สมาคมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญไม่ช่วยกันคุ้มครองคนไข้กันบ้างหรือครับ เขามีสิทธิ์ทราบข้อเท็จจริง ทั้งผลดี ผลร้าย ความเป็นไปได้ในการรักษาที่ไม่มีหลักฐานเหล่านี้มากพอจะตัดสินใจที่จะเสียทรัพย์ เสียโอกาส เพื่อเป็นหนูทดลองตามคำโฆษณาที่ยังไม่พิสูจน์หรือไม่
<img src=http://www.bloggang.com/emo/emo15.gif>