สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ยอดเงินที่มีการลงข่าวประชาสัมพันธ์ต่าง ๆ ที่เห็นกันมายาวนาน รวมถึงล่าสุดกับพี่มากพระขโนงนั้น เขาเรียกว่า ยอด box office ครับ
คือที่เกิดขึ้นจากการขายตั๋วหนังทั้งสิ้นครับ เป็นยอดเต็ม ๆ ยังไม่ได้มีการหักค่าใช้จ่ายหรือส่วนแบ่งใด ๆ คือ ถ้าเค้าลงประกาศว่าได้ 150 ล้าน
นั่นหมายถึงยอดรายได้ทั้งหมดที่เกิดจากการจำหน่ายบัตรชมภาพยนตร์ครับ
สำหรับยอดที่แสดงให้เห็นนั้นเป็นยอดของโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพเสียส่วนใหญ่นะครับ ยังไม่รวมของต่างจังหวัดที่เป็นลักษณะของการขายขาด
หรือที่เรียกว่าสายหนังนั่นแหละครับ หมายความว่า หาก พี่มากพระโขนงบอกว่าขณะนี้ได้ยอด 180 ล้าน นั่นยังไม่รวมยอดขายสายหนังตจว.
ซึ่งอาจจะมียอดอีกประมาณ 20 ล้าน อะไรประมาณนี้ก็ได้ครับ ดังนั้นยอดสรุปจริงๆ ก็จะมีให้เห็นหลังจากหนังปิดโปรแกรมฉาย
ส่วนที่เห็นในข่าวกันทุกวันนี้ คือยอดจากการขายตั๋วที่เกิดขึ้นในกรุงเทพและโรงภาพยนตร์ที่อยู่ในข่ายการแบ่งรายได้เท่านั้นครับ ไม่รวมสายหนัง
และเป็นยอด 100 เปอร์เซนต์ของการขายตั๋วยังไม่มีการแบ่งรายได้ค่าใช้จ่ายใด ๆ ครับ
ส่วนตั๋วหนัง 1 ใบ โรงได้เท่าไหร่ ค่ายหนังได้เท่าไหร่ ก็แล้วแต่ตกลงครับ ถ้าหนังใหญ่อำนาจการต่อรองก็จะอยู่ที่ค่ายหนัง อย่าง ทรานส์ฟอร์เมอร์ส
ส่วนแบ่งอาจจะเป็น 60 : 40 คือค่ายหนังได้ 60 เปอร์เซนต์ โรงหน้งได้ 40 เปอร์เซนต์ ในสัปดาห์แรก สัปดาห์ต่อไปอาจจะเป็น 50 : 50 ก็แล้วแต่ตกลงครับ ถ้าเป็นหนังเล็กก็สลับกันครับ โรงหนังก็จะได้ส่วนแบ่งมากกว่า เพราะค่ายหนังคงไม่ได้สามารถต่อรองอะไรได้มาก ถ้าอยากเอาหนังเข้าฉาย
สำหรับรายได้ของโรงภาพยนตร์ ปัจจุบันน่าจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนครับ
1. รายได้จากการจำหน่ายบัตรชมภาพยนตร์ ก็คือขายตั๋วหนังนั่นแหละ
2. รายได้จากจำหน่ายน้ำอาหารเครื่องดื่ม Concession
3. รายได้จากการให้เช่าพื้นที่ศูนย์ในการจำหน่ายสินค้าหรือกิจกรรมต่าง ๆ
4. รายได้จากการขายสื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์ทุกรูปแบบ
ผลกำไรของโรงภาพยนตร์เอง ขึ้นอยู่กับภาพยนตร์ที่เข้าฉายด้วยครับ ใน 1 ปี 4 ไตรมาสนั้น ไตรมาสแรกส่วนใหญ่จะแย่ที่สุดครับ คือ 3 เดือนแรก
ของปี จะไม่มีภาพยนตร์ใหญ่หรือดี ๆ เข้าฉายเลย ทำให้รายได้ค่อนข้างจะน้อย แต่ในปีนี้โชคดีครับ ปิดท้ายไตรมาสแรก พี่มากพระขโนง กับ จีไอโจ
มาพอดี ก็เลยทำให้มีรายได้เป็นกอบเป็นกำขึ้นมา ผลประกอบการก็เลยดีขึ้นกัน ไตรมาส 2 กับ 3 นั้นจะค่อนข้างดีครับ เพราะว่าทุกปีหนังฟอร์มยักษ์
ก็จะเริ่มเข้าฉาย อย่างในปีนี้เอง เดือนพฤษภาคม ก็คือว่าเป็นเดือนทองของโรงหนังเลย เพราะหนังใหญ่เข้าฉายกันเต็ม ๆ 3 เรื่อง ไอรอนแมน 3
สตาร์เทรค 2 และ ฟาสท์ 6 ดังนั้นรายได้ในส่วนของโรงภาพยนตร์นั้น ขึ้นอยู่กับภาพยนตร์ที่เข้าฉายด้วยครับ
ทุกหัวข้อของรายได้ที่แจ้งให้ทราบข้างต้น ก็จะขึ้นอยู่กับภาพยนตร์ด้วย ภาพยนตร์ดี ภาพยนตร์ดัง ของกินก็ขายได้เยอะ ลูกค้าก็จมาเช่าพื้นที่
ทำกิจกรรม เหมารอบฉาย ขายของกันเยอะ ลูกค้าก็จะมาซื้อสื่อโฆษณากันเยอะ อย่างสินค้าตัวไหนซื้อสื่อช่วงนี้ก็ถือว่าโชคดีครับ เพราะคนแน่นโรงภาพยนตร์ตลอด
นั่นแหละครับ คร่าว ๆ ของรายได้ของโรงภาพยนตร์ แต่เน้นย้ำไว้หน่อยนะครับ จงภูมิใจเถอะครับ ประเทศไทยเราโชคดี ได้ชมภาพยนตร์ดี ๆ
พร้อม ๆ กับต่างประเทศ ในราคาที่ถูกมากนะครับ และก็เป็นโรงภาพยนตร์ที่ดี เรียกว่าระดับต้น ๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ โรงภาพยนตร์ในต่างประเทศ
ตั๋วหนัง 300 บาทขึ้นไป เก้าอี้เน่า ๆ โรงเน่า ๆ เยอะครับ ในหลายประเทศ เข้าใจครับว่าค่าครองชีพต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามโรงภาพยนตร์
ประเทศไทยเราก็เป็นโรงภาพยนตร์ที่ถูกและบริการดีที่สุดแล้วล่ะครับ
สำหรับราคาตั๋วหนังที่ต่างกันมีการแบ่งรายได้ที่ต่างกันหรือเปล่า ใช่ครับ ก็แบ่งตามราคาตั๋วหนัง เว้นเสียแต่ว่าที่นั่งพิเศษบางอย่างที่รวมเอาบริการต่าง ๆ เอาไว้ด้วย ก็จะมีการหักสัดส่วนค่าบริการต่าง ๆ ก่อน เช่นค่าอาหารเครื่องดื่มสำหรับพวกโรงหนังวีไอพี ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงต่าง ๆ ของโรงภาพยนตร์และค่ายภาพยนตร์ครับ
และการที่โรงภาพยนตร์ในเครือเดียวกันมีการแยก brand ของโรงภาพยนตร์ที่แตกต่างกัน ทั้ง เมเจอร์ อีจีวี พารากอน เอสพลานาด เอสเอฟซี เอสเอฟ เอ็กซ์ เอสเอฟเวิล์ด นั่นก็เป็นเรื่องของการตลาดครับ เพื่อเป็นการแยกกลุ่มลูกค้าและบริการ ทำเลของโรงภาพยนตร์ ศูนย์การค้าที่ตั้ง ทุกอย่างทำเพื่อแบ่งกลุ่มของลูกค้า เพราะแต่ละกลุ่มลูกค้ามีความต้องการไม่เหมือนกัน กลุ่มที่มีรายได้สูง ก็สามารถจะจ่ายได้ราคาสูงและเลือกดูโรงภาพยนตร์ที่อยู่ในทำเลที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของตัวเอง บริการและราคาก็สูงตามไปด้วยครับ ง่าย ๆ เหมือนคนถือกระเป๋าแบรนด์เนม กับ กระเป๋าทั่วไปนั่นแหละครับ
จ่ายแพงกว่าก็ได้สิ่งที่ดีกว่า บวกกับความพึงพอใจที่ได้แตกต่างของกลุ่มคนที่จ่ายเงินเหล่านั้น
นอกจากนี้แล้วการทำ brand ที่แตกต่างกัน ก็มีผลในเรื่องของการต่อรองการค้าด้วยครับ เช่นถ้าคนละแบรนด์กัน โรงภาพยนตร์แบรนด์นี้อาจจะมีน้ำดำยี่ห้อนี้เป็นสปอนเซอร์ พอไปอีก แบรนด์นึง ก็สามารถเป็นน้ำดำอีกยี่ห้อนึงสปอนเซอร์ได้ ซึ่งก็สามารถหารายได้เข้ามาได้เพิ่มเติมอีก
นอกจากนี้แล้วด้านการลงสื่อโฆษณา สินค้าคนละกลุ่มเป้าหมายก็สามารถจะเลือกลงโฆษณาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้ อย่างรถยนต์ระดับพรีเมี่ยม
ก็จะลงโฆษณาในโรงระดับพรีเมี่ยม ในขณะที่รถกะบะ รถซีดาน อีโค่คาร์ ก็จะลงในโรงอีกระดับนึง เป็นเรื่องของการตลาดและการวางแผนหารายได้ของโรงภาพยนตร์ล้วน ๆ ครับ
คือที่เกิดขึ้นจากการขายตั๋วหนังทั้งสิ้นครับ เป็นยอดเต็ม ๆ ยังไม่ได้มีการหักค่าใช้จ่ายหรือส่วนแบ่งใด ๆ คือ ถ้าเค้าลงประกาศว่าได้ 150 ล้าน
นั่นหมายถึงยอดรายได้ทั้งหมดที่เกิดจากการจำหน่ายบัตรชมภาพยนตร์ครับ
สำหรับยอดที่แสดงให้เห็นนั้นเป็นยอดของโรงภาพยนตร์ในกรุงเทพเสียส่วนใหญ่นะครับ ยังไม่รวมของต่างจังหวัดที่เป็นลักษณะของการขายขาด
หรือที่เรียกว่าสายหนังนั่นแหละครับ หมายความว่า หาก พี่มากพระโขนงบอกว่าขณะนี้ได้ยอด 180 ล้าน นั่นยังไม่รวมยอดขายสายหนังตจว.
ซึ่งอาจจะมียอดอีกประมาณ 20 ล้าน อะไรประมาณนี้ก็ได้ครับ ดังนั้นยอดสรุปจริงๆ ก็จะมีให้เห็นหลังจากหนังปิดโปรแกรมฉาย
ส่วนที่เห็นในข่าวกันทุกวันนี้ คือยอดจากการขายตั๋วที่เกิดขึ้นในกรุงเทพและโรงภาพยนตร์ที่อยู่ในข่ายการแบ่งรายได้เท่านั้นครับ ไม่รวมสายหนัง
และเป็นยอด 100 เปอร์เซนต์ของการขายตั๋วยังไม่มีการแบ่งรายได้ค่าใช้จ่ายใด ๆ ครับ
ส่วนตั๋วหนัง 1 ใบ โรงได้เท่าไหร่ ค่ายหนังได้เท่าไหร่ ก็แล้วแต่ตกลงครับ ถ้าหนังใหญ่อำนาจการต่อรองก็จะอยู่ที่ค่ายหนัง อย่าง ทรานส์ฟอร์เมอร์ส
ส่วนแบ่งอาจจะเป็น 60 : 40 คือค่ายหนังได้ 60 เปอร์เซนต์ โรงหน้งได้ 40 เปอร์เซนต์ ในสัปดาห์แรก สัปดาห์ต่อไปอาจจะเป็น 50 : 50 ก็แล้วแต่ตกลงครับ ถ้าเป็นหนังเล็กก็สลับกันครับ โรงหนังก็จะได้ส่วนแบ่งมากกว่า เพราะค่ายหนังคงไม่ได้สามารถต่อรองอะไรได้มาก ถ้าอยากเอาหนังเข้าฉาย
สำหรับรายได้ของโรงภาพยนตร์ ปัจจุบันน่าจะแบ่งออกเป็น 4 ส่วนครับ
1. รายได้จากการจำหน่ายบัตรชมภาพยนตร์ ก็คือขายตั๋วหนังนั่นแหละ
2. รายได้จากจำหน่ายน้ำอาหารเครื่องดื่ม Concession
3. รายได้จากการให้เช่าพื้นที่ศูนย์ในการจำหน่ายสินค้าหรือกิจกรรมต่าง ๆ
4. รายได้จากการขายสื่อโฆษณาในโรงภาพยนตร์ทุกรูปแบบ
ผลกำไรของโรงภาพยนตร์เอง ขึ้นอยู่กับภาพยนตร์ที่เข้าฉายด้วยครับ ใน 1 ปี 4 ไตรมาสนั้น ไตรมาสแรกส่วนใหญ่จะแย่ที่สุดครับ คือ 3 เดือนแรก
ของปี จะไม่มีภาพยนตร์ใหญ่หรือดี ๆ เข้าฉายเลย ทำให้รายได้ค่อนข้างจะน้อย แต่ในปีนี้โชคดีครับ ปิดท้ายไตรมาสแรก พี่มากพระขโนง กับ จีไอโจ
มาพอดี ก็เลยทำให้มีรายได้เป็นกอบเป็นกำขึ้นมา ผลประกอบการก็เลยดีขึ้นกัน ไตรมาส 2 กับ 3 นั้นจะค่อนข้างดีครับ เพราะว่าทุกปีหนังฟอร์มยักษ์
ก็จะเริ่มเข้าฉาย อย่างในปีนี้เอง เดือนพฤษภาคม ก็คือว่าเป็นเดือนทองของโรงหนังเลย เพราะหนังใหญ่เข้าฉายกันเต็ม ๆ 3 เรื่อง ไอรอนแมน 3
สตาร์เทรค 2 และ ฟาสท์ 6 ดังนั้นรายได้ในส่วนของโรงภาพยนตร์นั้น ขึ้นอยู่กับภาพยนตร์ที่เข้าฉายด้วยครับ
ทุกหัวข้อของรายได้ที่แจ้งให้ทราบข้างต้น ก็จะขึ้นอยู่กับภาพยนตร์ด้วย ภาพยนตร์ดี ภาพยนตร์ดัง ของกินก็ขายได้เยอะ ลูกค้าก็จมาเช่าพื้นที่
ทำกิจกรรม เหมารอบฉาย ขายของกันเยอะ ลูกค้าก็จะมาซื้อสื่อโฆษณากันเยอะ อย่างสินค้าตัวไหนซื้อสื่อช่วงนี้ก็ถือว่าโชคดีครับ เพราะคนแน่นโรงภาพยนตร์ตลอด
นั่นแหละครับ คร่าว ๆ ของรายได้ของโรงภาพยนตร์ แต่เน้นย้ำไว้หน่อยนะครับ จงภูมิใจเถอะครับ ประเทศไทยเราโชคดี ได้ชมภาพยนตร์ดี ๆ
พร้อม ๆ กับต่างประเทศ ในราคาที่ถูกมากนะครับ และก็เป็นโรงภาพยนตร์ที่ดี เรียกว่าระดับต้น ๆ ของโลกเลยก็ว่าได้ โรงภาพยนตร์ในต่างประเทศ
ตั๋วหนัง 300 บาทขึ้นไป เก้าอี้เน่า ๆ โรงเน่า ๆ เยอะครับ ในหลายประเทศ เข้าใจครับว่าค่าครองชีพต่างกัน แต่อย่างไรก็ตามโรงภาพยนตร์
ประเทศไทยเราก็เป็นโรงภาพยนตร์ที่ถูกและบริการดีที่สุดแล้วล่ะครับ
สำหรับราคาตั๋วหนังที่ต่างกันมีการแบ่งรายได้ที่ต่างกันหรือเปล่า ใช่ครับ ก็แบ่งตามราคาตั๋วหนัง เว้นเสียแต่ว่าที่นั่งพิเศษบางอย่างที่รวมเอาบริการต่าง ๆ เอาไว้ด้วย ก็จะมีการหักสัดส่วนค่าบริการต่าง ๆ ก่อน เช่นค่าอาหารเครื่องดื่มสำหรับพวกโรงหนังวีไอพี ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงต่าง ๆ ของโรงภาพยนตร์และค่ายภาพยนตร์ครับ
และการที่โรงภาพยนตร์ในเครือเดียวกันมีการแยก brand ของโรงภาพยนตร์ที่แตกต่างกัน ทั้ง เมเจอร์ อีจีวี พารากอน เอสพลานาด เอสเอฟซี เอสเอฟ เอ็กซ์ เอสเอฟเวิล์ด นั่นก็เป็นเรื่องของการตลาดครับ เพื่อเป็นการแยกกลุ่มลูกค้าและบริการ ทำเลของโรงภาพยนตร์ ศูนย์การค้าที่ตั้ง ทุกอย่างทำเพื่อแบ่งกลุ่มของลูกค้า เพราะแต่ละกลุ่มลูกค้ามีความต้องการไม่เหมือนกัน กลุ่มที่มีรายได้สูง ก็สามารถจะจ่ายได้ราคาสูงและเลือกดูโรงภาพยนตร์ที่อยู่ในทำเลที่เหมาะสมกับการใช้ชีวิตของตัวเอง บริการและราคาก็สูงตามไปด้วยครับ ง่าย ๆ เหมือนคนถือกระเป๋าแบรนด์เนม กับ กระเป๋าทั่วไปนั่นแหละครับ
จ่ายแพงกว่าก็ได้สิ่งที่ดีกว่า บวกกับความพึงพอใจที่ได้แตกต่างของกลุ่มคนที่จ่ายเงินเหล่านั้น
นอกจากนี้แล้วการทำ brand ที่แตกต่างกัน ก็มีผลในเรื่องของการต่อรองการค้าด้วยครับ เช่นถ้าคนละแบรนด์กัน โรงภาพยนตร์แบรนด์นี้อาจจะมีน้ำดำยี่ห้อนี้เป็นสปอนเซอร์ พอไปอีก แบรนด์นึง ก็สามารถเป็นน้ำดำอีกยี่ห้อนึงสปอนเซอร์ได้ ซึ่งก็สามารถหารายได้เข้ามาได้เพิ่มเติมอีก
นอกจากนี้แล้วด้านการลงสื่อโฆษณา สินค้าคนละกลุ่มเป้าหมายก็สามารถจะเลือกลงโฆษณาให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายได้ อย่างรถยนต์ระดับพรีเมี่ยม
ก็จะลงโฆษณาในโรงระดับพรีเมี่ยม ในขณะที่รถกะบะ รถซีดาน อีโค่คาร์ ก็จะลงในโรงอีกระดับนึง เป็นเรื่องของการตลาดและการวางแผนหารายได้ของโรงภาพยนตร์ล้วน ๆ ครับ
แสดงความคิดเห็น
อยากทราบกำไรของโรงหนังจากตั๋ว 1 ใบ
พยายามหาจาก google แล้วหาไม่ได้จริงๆครับ
เลยอยากตั้งคำถามไร้สาระ 2-3 คำถาม มาถามชาวสินธร และเฉลิมไทยว่า
1.ตั๋วหนังที่จำหน่าย 1 ใบ major ได้กำไรกี่บาท
2.major กับ EGV ได้กำไรจากตั๋วหนัง 1 ใบ เท่ากันหรือเปล่า แล้วโรงหนังในพารากอน,house,สกาล่า,ลิโด้ ได้กำไรต่างจากนี้มากหรือเปล่า
3.สัดส่วนรายได้ของการขาย popcorn และค่าเช่าที่ในโรงหนัง มีรายได้ใกล้เคียงค่าชมภาพยนต์หรือเปล่า
4.ทำไมเครือ major ที่รวมกับเครือ EGV แล้ว ทำไมยังแยก brand major,EGV,SF, เซ็นจูรี่
5.ในระยะยาว major น่าลงทุนหรือเปล่า ตลาดจะขยายได้แค่ไหน อีกนานแค่ไหนจะมีหนังรายได้ดีแบบพี่มากมาอีก
6.การที่ตั๋วโครตแพง และรายได้ 300 บาท ทำให้ major น่าสนใจหรือเปล่าครับ
ขอบคุณสำหรับคำตอบครับ