นิด้าเผยผลวิจัยฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน หากสูดดมต่อเนื่อง 1 เดือนเท่ากับสูบบุหรี่ 75 มวน

นิด้าเผยผลวิจัยฝุ่นละอองในพื้นที่ภาคเหนือตอนบน พบ จ.แม่ฮ่องสอนและเชียงราย มีฝุ่นละอองเกินมาตรฐานถึง 5 เท่า หากสูดดมต่อเนื่อง 1 เดือนเท่ากับสูบุหรี่ 75 มวน

ศูนย์วิจัยและพัฒนาการป้องกันและจัดการภัยพิบัติของสถาบันพัฒนบัณฑิตบริหารศาสตร์ (นิด้า) เผยผลวิจัยศึกษาฝุ่นละอองในอากาศหลังเกิดวิกฤตหมกควันในภาคเหนือตอนบนที่เกิดจากการเผาป่า ขยะ มลพิษจากเครื่องยนต์และเครื่องจักรขนาดใหญ่ ทำให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของคนในพื้นที่

จากการเก็บปริมาณตัวอย่างพบฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอนที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพสูงเกินเกณฑ์มาตรฐานทุกจังหวัด โดยเฉพาะ จ.เชียงราย แม่ฮ่องสอน มีฝุ่นละอองเพิ่มขึ้น 5 เท่าเมื่อเทียบกับช่วงปลายปี 2555 ซึ่งจากการตรวจสอบวัดความเข้มข้นของของสารก่อมะเร็งในฝุ่นพบว่าประชากรใน จ.แม่ฮ่องสอนและลำพูนมีความเสี่ยงได้รับสารมะเร็งจากการสูดดมหมอกควันมากที่สุด

โดยที่จ.แม่ฮ่องสอน ได้รับผลกระทบหนักเนื่องจากสภาพพื้นที่เป็นแอ่งกระทะ และภูเขาล้อมรอบ ทำให้ระบายอากาศได้ยาก โดยจากการศึกษาเปรียบเทียบในการสูดดมฝุ่นละอองที่เชียงใหม่พบว่าแค่หายใจอย่างเดียวภายในเวลา 1เดือนเท่ากับสูบบุหรี่ไป75 มวน ซึ่งเป็นปัจจัยที่ทำให้เห็นว่าทำไมคนในพื้นที่ภาคเหนือจึงมีผู้ป่วยโรคมะเร็งปอดมากที่สุด

ทั้งนี้หากเราได้รับฝุ่นละอองประมาณ120 ลูกบาศก์เมตร หรือ PM10 ร่างกายจะมีอาการตั้งแต่ไอ จามมีน้ำมูก ไปจนถึงการอักเสบของไซนัส เจ็บคอ ไอ มีเสมหะ อาจมีอาการของระบบทางเดินหายใจส่วนล่างได้แก่ หายใจลำบาก เจ็บหน้าอก ซึ่งการป้องกันเบื้องต้นควรใส่หน้ากากอนามัยป้องกันฝุ่นละอองและลดความเสี่ยงต่อโรค ระบบทางเดินหายใจ

อย่างไรก็ตามเรียกร้องให้ภาครัฐเร่งรณรงค์และสร้างการมีส่วนร่วมให้ประชาชนหยุดเผาป่าหรือขยะในที่โล่งแจ้ง ลดการสร้างมลพิษให้น้อยลงและเพิ่มโทษโดยให้เจ้าหน้าที่เข้มงวดในการบังคับใช้กฎหมายเพื่อลดการเผาป่า รวมทั้งเร่งสร้างความเข้าใจถึงอันตรายจากการสูดดมสารก่อมะเร็งดังกล่าวด้วย
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  เที่ยวไทย ภาคเหนือ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม สุขภาพกาย
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่