ขอออกตัวก่อนว่า ผมไม่ได้ตั้งใจจะมาอวยนักการเมือง
แต่ผมมองว่ารมต.ท่านนี้ ไม่ได้เป็นนักการเมือง ที่มาเล่นการเมือง
เค้า เคยเป็นนักวิชาการ ทำงานเบื้องหลัง
เป็นคนมีความสามารถคนหนึ่ง
ปิดทองหลังพระ ในกระทรวงคมนาคม มาหลายสมัย
เลยแอบรู้สึกเชื่อมั่นเล็กๆ เพราะผมสัมผัสได้ถึงความจริงใจของรมต.คนนี้ครับ
แต่อยากให้เปิดใจดู ถ้าท่านใด ไม่ชอบอย่างไร ก็ขออภัยมา ณที่นี้ครับ
วันนี้ ก็เลยอยากให้ ทุกคนมารู้จัก ประวัติของเค้า จากบทสัมภาษณ์นี้ครับ
(อยากให้ลองอ่านให้จบ ตอนท้ายๆ อ่านแล้วรู้สึกน่ารักดี เรื่องแม่ ลูก ห้าๆๆ)
หมายเหตุ บทสัมภาษณ์นี้เป็นของเก่า ตำแหน่งปัจจุบันของดร.ชัชชาติ ตอนนี้ เป็น รมว.การแล้วนะครับ ไม่ใช่รมช.
-------------------------------------------------------
จากนักวิชาการสู่รัฐมนตรี "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ขอพิสูจน์ตัวเองด้วยผลงาน
------------------------------------------------------
เชื่อว่าวินาทีนี้ น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักชื่อของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่กี่เดือน
ผลโพลในหลายสำนักยังระบุว่า เขาเป็นรัฐมนตรีที่ถูกลืม หรือคนส่วนใหญ่ไม่รู้จักเลย
แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ เพราะวันนี้ "ชัชชาติ" ถือว่าเป็นรัฐมนตรีที่ "นายกฯหญิง" ให้ความไว้วางใจที่สุดคนหนึ่ง
อันจะเห็นได้จากการที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์มอบหมายหน้าที่สำคัญๆ ให้หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นโฆษกคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกกรอบแนวความคิดเพื่อออกแบบก่อสร้างระบบ การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย และงานสำคัญๆ ของกระทรวงคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง โครงการพัฒนาระบบการขนส่งของประเทศ ฯลฯ
และเมื่อปลายสัปดาห์ผ่านมานั้น ชื่อของ "ชัชชาติ" ก็ได้เป็นหนึ่งในแคนดิเดตผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.ในส่วนของพรรคเพื่อไทย
นอกจากนี้ ล่าสุด "นายกฯหญิง" ยังสั่งการให้เขาเข้ามาดูแลเรื่องการจราจร ในพื้นที่กรุงเทพมหานครอย่างบูรณาการ ร่วมหลายหน่วยงาน ซึ่งถือเป็นงานหินอีกงานที่จะพิสูจน์ความสามารถของคนผู้นี้
"ชัชชาติ" ได้เล่าให้ฟังว่า "ผมเกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2509 เป็นลูกคนสุดท้องของ พล.ต.อ.เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ส่วนคุณแม่ชื่อ จิตต์จรุง สิทธิพันธุ์
"ส่วนประวัติการศึกษานั้น ผมเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วมาต่อ ม.4-ม.6 ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และสอบเข้าได้ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธาและได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 ต่อมาได้รับทุนอานันทมหิดลเรียนต่อระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมโครงสร้างจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์
"ตอนเด็กคุณพ่อจะงานเยอะมาก ก็จะไม่ได้สอบอะไรมากมาย แต่เน้นการเรียนเป็นหลัก พ่อบอกว่าไม่มีอะไรจะให้ ก็ให้ความรู้แล้วกัน เรียนหนักไม่ใช่ว่าฉลาดนะ อาศัยความขยันมากกว่า" ชัชชาติเล่าชีวิตวัยเด็กอย่างสบายอารมณ์
"ชัชชาติ" เล่าให้ฟังอีกว่า เขามีพี่สาวหนึ่งคน และพี่ชายฝาแฝดอีกหนึ่งคน เมื่อจะเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย ได้มีคำสั่งจากคุณพ่อเลยว่า ไม่ให้เรียนเหมือนกัน โดยพี่สาวคนโตเรียนด้านสถาปัตย์ พี่ชายฝาแฝดนั้นเป็นหมอ ส่วนตัวเขาเลือกที่จะเป็นวิศวกร
"ตอนแรกก็เห่อ อยากเป็นหมอเหมือนกัน แต่พอโตขึ้นหน่อยก็ไม่ค่อยชอบเลือด ไม่ชอบวิชาชีววิทยา เลยเอาเป็นวิศวะ แต่จำได้เลยตอนที่ได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล และในหลวงท่านโปรดเกล้าฯให้เข้าเฝ้าฯ ช่วงนั้น ดร.คณิตศร ชำนาญเวช ท่านเรียนจบกลับมาพอดี ท่านก็ให้ความเมตตากับเรามาก และในหลวงก็ตรัสว่าไปเรียนก็อย่าไปเครียดมาก ให้พักผ่อนมากๆ และไม่ได้บังคับให้ต้องกลับมารับราชการ เพราะอยู่ที่ไหนก็ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติได้เหมือนกัน" ชัชชาติกล่าวอย่างภาคภูมิใจ
หลังจากเป็นดอกเตอร์ทางวิศวกรรมศาสตร์ "ชัชชาติ" ได้ทำงานเพื่อหาประสบการณ์ด้านวิศวกรรมที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา อยู่ประมาณ 2 ปี และเมื่อเห็นตำแหน่งอาจารย์ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าง เขาจึงคิดที่จะกลับบ้าน ต่อมาก็มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ในที่สุด
"ย้อนกลับไปก่อนมาอยู่ที่จุฬาฯ คือเรารู้สึกเองว่า เรียนมาจนถึงปริญญาเอกก็ควรที่จะเอาความรู้ไปขยายต่อ และเมื่อกลับมาก็ได้ทำประโยชน์หลายอย่าง ได้สอนวิชาวิศวโยธา ผลงานที่ภูมิใจตอนอยู่คณะก็คือ ได้ตั้งไฟร์แล็บ (Fire Lab) เพราะเห็นว่าเรื่องไฟไหม้เป็นเรื่องใหญ่ของเมืองไทย ที่ผ่านมาไม่มีใครตั้งไฟร์แล็บ เมื่อเราตั้งทำให้มีมาตรฐานเรื่องของอุบัติเหตุอัคคีภัย คือมีอาจารย์ท่านหนึ่งเขาทำไว้ ผมก็เข้ามารับช่วงต่อ ตอนนี้ก็เหมือนกับเป็นแล็บชั้นนำของประเทศก็ว่าได้ นอกจากนี้ระหว่างนั้นผมก็เป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรอื่นบ้าง คือก็ต้องทำงานนอกเหมือนกัน เพราะว่าเงินเดือนอาจารย์มันไม่ค่อยเยอะ อย่างที่แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ก็เป็นบอร์ด"
ชัชชาติเล่าต่อว่า "ผมเริ่มเป็นอาจารย์ตอนอายุประมาณ 28 ปีและต่อจากนั้นก็ได้ทำงานด้านบริหารบ้าง จนช่วงหลังได้เข้าไปเป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายจัดการทรัพย์สิน รับหน้าที่นี้อยู่ประมาณ 7 ปี งานของผมช่วงนั้นก็ดูแลพื้นที่ของจุฬาฯ เพราะจุฬาฯมีพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ ดูการก่อสร้าง ดูมาบุญครอง สยามสแควร์"
ส่วนจุดที่ทำให้ "ชัชชาติ" เริ่มที่จะมีมุมมองทางด้านการเมืองเพิ่มขึ้นเกิดขึ้นเมื่อตอนที่มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553
"ตอนที่เสื้อแดงชุมนุม ผมก็อยู่ในพื้นที่ ก็เดินไปเดินมาแถวนั้น เราก็คุยกับผู้ชุมนุมเหมือนกัน ต้องพยายามผูกไมตรี ซื้อข้าวซื้ออะไรไปให้เขา แต่ตอนที่ไฟไหม้ ตอนนั้นทหารเขากั้นพื้นที่ไว้ เราก็เอะใจแล้วว่าต้องมีอะไรแน่เลย พอขับรถขึ้นทางด่วนเท่านั้นแหละ มองลงมาเห็นควัน ก็รู้สึกเสียใจ เพราะดูแลทรัพย์สินให้จุฬาฯไม่ได้
"แต่ก่อนหน้านี้ผมได้มีโอกาสเข้ามาช่วยงานกระทรวงคมนาคม สมัยท่านพงษ์ศักดิ์ (รักตพงศ์ไพศาล อดีตรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม) มาช่วยส่วนของด้านวิชาการเทคนิค แต่ก็ไม่ได้มีตำแหน่งอะไรนะ ส่วนสมัยท่านสันติ (พร้อมพัฒน์ อดีตรัฐมนตรีคมนาคม) ก็ได้เข้าไปช่วยอ่านเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่ามีประเด็นใดบ้างที่ต้องกังวล และมีวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้มีอะไรลึกซึ้งมากไปกว่าการเข้ามาให้ความช่วยเหลือฝ่ายการเมืองในเรื่องของวิชาการและด้านเทคนิคต่างๆ ที่มุมมองของนักการเมืองจะเห็นต่างจากนักวิชาการ"
หลังจากนั้น "ชัชชาติ" ก็ยังคงทำงานในตำแหน่ง "นักวิชาการ" ต่อไป จนเมื่อต้นปี 2555 ก็กลับเข้ามาสู่ในวังวนของการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
"ก่อนที่ผมจะเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรี ท่านนายกฯยิ่งลักษณ์เป็นคนโทร.มา ผมไม่รู้จักกับท่านโดยตรงหรอก แต่ก็คงมีคนบอกกับท่านว่า ผมเคยช่วยงานในกระทรวงนี้มาก่อน หากถามว่ามีใครไปเรียนท่านนายกฯ ก็คงมีหลายคนมั้ง เพราะท่านสุกำพล (สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) รู้จักกับผม และท่าน พงษ์ศักดิ์ ก็รู้จักกัน คงมีหลายคนเหมือนกัน และพ่อผมก็เป็นตำรวจ คนในวงการก็คงรู้จักกัน ส่วนระยะเวลาในการตัดสินใจ ผมใช้ไม่นานเลย เพราะว่าอย่างน้อยในชีวิตหนึ่งสามารถทำประโยชน์ให้บ้านเมืองได้ เราก็ควรที่จะต้องทำ"
แต่ใช่ว่าการจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีของ "ชัชชาติ" จะง่ายดาย เพราะคนที่เขารักมากที่สุดคนหนึ่ง กลับไม่เห็นด้วย
"ผมต้องบอกเลยนะว่า แม่ผมไม่แฮปปี้กับพรรคเพื่อไทยเท่าไหร่ ตอนที่แม่ผมรู้ว่าจะมาเป็นรัฐมนตรี แม่ไม่ยอม แม่ผมร้องไห้เลย แม่บอกว่าอย่าไปเป็นเลย กลัวลูกติดคุก คือเขาเห็นตัวอย่างมาเยอะ อย่างท่านทักษิณ (ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี) เห็นอะไรแบบนี้ก็เลยกลัว แต่ตอนหลังพอฟีดแบ๊กกลับมา มันไม่ได้เลวมาก เราก็ไม่ได้มั่ว ไม่ทะเลาะกับใคร แม่ก็คงโอเคขึ้นระดับหนึ่ง
"ถามว่าชีวิตเปลี่ยนไหม ผมว่าเปลี่ยนนะ หน้าที่ต่างกัน เป็นรัฐมนตรีก็มีผลกระทบต่อหลายๆ ด้านมาก แต่ก็พยายามทำให้เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด เพราะตำแหน่งการเมืองมันชั่วคราว แต่ก็ยังใช้ชีวิตปกติ
รถนำอาจจะมีบ้างในเวลาราชการ แต่ชีวิตก็เหมือนเดิม การพาลูกไปเที่ยว การไปไหนมาไหนก็เหมือนเดิม ตอนเช้าก็ยังไปวิ่งสวนลุมพินีเหมือนเดิม"
ส่วนเรื่องที่มีกระแสข่าวว่า พรรคเพื่อไทยจะเสนอชื่อเขาลงชิงในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนั้น "ชัชชาติ"
บอกว่า "ตอนที่แม่รู้ข่าวนี้ แม่บอกว่าลงไปเถอะผู้ว่าฯ แต่แม่จะเลือกประชาธิปัตย์ (หัวเราะ) คือก็ดีนะ เป็นความน่ารักของประชาธิปไตย เรื่องผู้ว่าฯกทม.ถ้าปฏิเสธได้ก็จะปฏิเสธ สุดท้ายต้องเอาประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก คือเราเตรียมงานไว้เยอะ แต่ยังไม่ได้ทำ เราไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง
ซึ่งก็ทำให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะหากมีการติดตำแหน่ง ก็จะกลัว กลัวว่าจะโดนออก ตำแหน่งทางการเมืองคิดว่าชั่วคราว ในพรรคมีคนเก่งๆ อีกเยอะ แต่ก็ต้องทำงานให้หนักขึ้น เพื่อเป็นการพิสูจน์ตัวเองให้ได้
หน้า 8,มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2555
http://www.matichon.co.th/
มารู้จัก รมต.(โลกลืม) เจ้าของโปรเจค 2.2ล้านๆ
แต่ผมมองว่ารมต.ท่านนี้ ไม่ได้เป็นนักการเมือง ที่มาเล่นการเมือง
เค้า เคยเป็นนักวิชาการ ทำงานเบื้องหลัง
เป็นคนมีความสามารถคนหนึ่ง
ปิดทองหลังพระ ในกระทรวงคมนาคม มาหลายสมัย
เลยแอบรู้สึกเชื่อมั่นเล็กๆ เพราะผมสัมผัสได้ถึงความจริงใจของรมต.คนนี้ครับ
แต่อยากให้เปิดใจดู ถ้าท่านใด ไม่ชอบอย่างไร ก็ขออภัยมา ณที่นี้ครับ
วันนี้ ก็เลยอยากให้ ทุกคนมารู้จัก ประวัติของเค้า จากบทสัมภาษณ์นี้ครับ
(อยากให้ลองอ่านให้จบ ตอนท้ายๆ อ่านแล้วรู้สึกน่ารักดี เรื่องแม่ ลูก ห้าๆๆ)
หมายเหตุ บทสัมภาษณ์นี้เป็นของเก่า ตำแหน่งปัจจุบันของดร.ชัชชาติ ตอนนี้ เป็น รมว.การแล้วนะครับ ไม่ใช่รมช.
-------------------------------------------------------
จากนักวิชาการสู่รัฐมนตรี "ชัชชาติ สิทธิพันธุ์" ขอพิสูจน์ตัวเองด้วยผลงาน
------------------------------------------------------
เชื่อว่าวินาทีนี้ น้อยคนนักที่จะไม่รู้จักชื่อของ ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในรัฐบาลของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ทั้งที่ก่อนหน้านี้ไม่กี่เดือน
ผลโพลในหลายสำนักยังระบุว่า เขาเป็นรัฐมนตรีที่ถูกลืม หรือคนส่วนใหญ่ไม่รู้จักเลย
แต่อะไรก็เกิดขึ้นได้ เพราะวันนี้ "ชัชชาติ" ถือว่าเป็นรัฐมนตรีที่ "นายกฯหญิง" ให้ความไว้วางใจที่สุดคนหนึ่ง
อันจะเห็นได้จากการที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์มอบหมายหน้าที่สำคัญๆ ให้หลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นโฆษกคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกกรอบแนวความคิดเพื่อออกแบบก่อสร้างระบบ การบริหารจัดการน้ำอย่างยั่งยืน และระบบแก้ไขปัญหาอุทกภัยของประเทศไทย และงานสำคัญๆ ของกระทรวงคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง โครงการพัฒนาระบบการขนส่งของประเทศ ฯลฯ
และเมื่อปลายสัปดาห์ผ่านมานั้น ชื่อของ "ชัชชาติ" ก็ได้เป็นหนึ่งในแคนดิเดตผู้สมัครผู้ว่าฯกทม.ในส่วนของพรรคเพื่อไทย
นอกจากนี้ ล่าสุด "นายกฯหญิง" ยังสั่งการให้เขาเข้ามาดูแลเรื่องการจราจร ในพื้นที่กรุงเทพมหานครอย่างบูรณาการ ร่วมหลายหน่วยงาน ซึ่งถือเป็นงานหินอีกงานที่จะพิสูจน์ความสามารถของคนผู้นี้
"ชัชชาติ" ได้เล่าให้ฟังว่า "ผมเกิดเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2509 เป็นลูกคนสุดท้องของ พล.ต.อ.เสน่ห์ สิทธิพันธุ์ อดีตผู้บัญชาการตำรวจนครบาล (ผบช.น.) ส่วนคุณแม่ชื่อ จิตต์จรุง สิทธิพันธุ์
"ส่วนประวัติการศึกษานั้น ผมเรียนชั้นประถมที่โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แล้วมาต่อ ม.4-ม.6 ที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และสอบเข้าได้ที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ปริญญาตรีสาขาวิศวกรรมโยธาและได้รับเกียรตินิยมอันดับ 1 ต่อมาได้รับทุนอานันทมหิดลเรียนต่อระดับปริญญาโท สาขาวิศวกรรมโครงสร้างจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ และระดับปริญญาเอก ที่มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ เออร์แบนา-แชมเปญจน์
"ตอนเด็กคุณพ่อจะงานเยอะมาก ก็จะไม่ได้สอบอะไรมากมาย แต่เน้นการเรียนเป็นหลัก พ่อบอกว่าไม่มีอะไรจะให้ ก็ให้ความรู้แล้วกัน เรียนหนักไม่ใช่ว่าฉลาดนะ อาศัยความขยันมากกว่า" ชัชชาติเล่าชีวิตวัยเด็กอย่างสบายอารมณ์
"ชัชชาติ" เล่าให้ฟังอีกว่า เขามีพี่สาวหนึ่งคน และพี่ชายฝาแฝดอีกหนึ่งคน เมื่อจะเข้าเรียนต่อมหาวิทยาลัย ได้มีคำสั่งจากคุณพ่อเลยว่า ไม่ให้เรียนเหมือนกัน โดยพี่สาวคนโตเรียนด้านสถาปัตย์ พี่ชายฝาแฝดนั้นเป็นหมอ ส่วนตัวเขาเลือกที่จะเป็นวิศวกร
"ตอนแรกก็เห่อ อยากเป็นหมอเหมือนกัน แต่พอโตขึ้นหน่อยก็ไม่ค่อยชอบเลือด ไม่ชอบวิชาชีววิทยา เลยเอาเป็นวิศวะ แต่จำได้เลยตอนที่ได้รับพระราชทานทุนอานันทมหิดล และในหลวงท่านโปรดเกล้าฯให้เข้าเฝ้าฯ ช่วงนั้น ดร.คณิตศร ชำนาญเวช ท่านเรียนจบกลับมาพอดี ท่านก็ให้ความเมตตากับเรามาก และในหลวงก็ตรัสว่าไปเรียนก็อย่าไปเครียดมาก ให้พักผ่อนมากๆ และไม่ได้บังคับให้ต้องกลับมารับราชการ เพราะอยู่ที่ไหนก็ทำประโยชน์ให้ประเทศชาติได้เหมือนกัน" ชัชชาติกล่าวอย่างภาคภูมิใจ
หลังจากเป็นดอกเตอร์ทางวิศวกรรมศาสตร์ "ชัชชาติ" ได้ทำงานเพื่อหาประสบการณ์ด้านวิศวกรรมที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกา อยู่ประมาณ 2 ปี และเมื่อเห็นตำแหน่งอาจารย์ในคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยว่าง เขาจึงคิดที่จะกลับบ้าน ต่อมาก็มีตำแหน่งทางวิชาการเป็นรองศาสตราจารย์ในที่สุด
"ย้อนกลับไปก่อนมาอยู่ที่จุฬาฯ คือเรารู้สึกเองว่า เรียนมาจนถึงปริญญาเอกก็ควรที่จะเอาความรู้ไปขยายต่อ และเมื่อกลับมาก็ได้ทำประโยชน์หลายอย่าง ได้สอนวิชาวิศวโยธา ผลงานที่ภูมิใจตอนอยู่คณะก็คือ ได้ตั้งไฟร์แล็บ (Fire Lab) เพราะเห็นว่าเรื่องไฟไหม้เป็นเรื่องใหญ่ของเมืองไทย ที่ผ่านมาไม่มีใครตั้งไฟร์แล็บ เมื่อเราตั้งทำให้มีมาตรฐานเรื่องของอุบัติเหตุอัคคีภัย คือมีอาจารย์ท่านหนึ่งเขาทำไว้ ผมก็เข้ามารับช่วงต่อ ตอนนี้ก็เหมือนกับเป็นแล็บชั้นนำของประเทศก็ว่าได้ นอกจากนี้ระหว่างนั้นผมก็เป็นที่ปรึกษาให้กับองค์กรอื่นบ้าง คือก็ต้องทำงานนอกเหมือนกัน เพราะว่าเงินเดือนอาจารย์มันไม่ค่อยเยอะ อย่างที่แลนด์แอนด์เฮ้าส์ ก็เป็นบอร์ด"
ชัชชาติเล่าต่อว่า "ผมเริ่มเป็นอาจารย์ตอนอายุประมาณ 28 ปีและต่อจากนั้นก็ได้ทำงานด้านบริหารบ้าง จนช่วงหลังได้เข้าไปเป็นผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายจัดการทรัพย์สิน รับหน้าที่นี้อยู่ประมาณ 7 ปี งานของผมช่วงนั้นก็ดูแลพื้นที่ของจุฬาฯ เพราะจุฬาฯมีพื้นที่ค่อนข้างใหญ่ ดูการก่อสร้าง ดูมาบุญครอง สยามสแควร์"
ส่วนจุดที่ทำให้ "ชัชชาติ" เริ่มที่จะมีมุมมองทางด้านการเมืองเพิ่มขึ้นเกิดขึ้นเมื่อตอนที่มีการชุมนุมของกลุ่มคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553
"ตอนที่เสื้อแดงชุมนุม ผมก็อยู่ในพื้นที่ ก็เดินไปเดินมาแถวนั้น เราก็คุยกับผู้ชุมนุมเหมือนกัน ต้องพยายามผูกไมตรี ซื้อข้าวซื้ออะไรไปให้เขา แต่ตอนที่ไฟไหม้ ตอนนั้นทหารเขากั้นพื้นที่ไว้ เราก็เอะใจแล้วว่าต้องมีอะไรแน่เลย พอขับรถขึ้นทางด่วนเท่านั้นแหละ มองลงมาเห็นควัน ก็รู้สึกเสียใจ เพราะดูแลทรัพย์สินให้จุฬาฯไม่ได้
"แต่ก่อนหน้านี้ผมได้มีโอกาสเข้ามาช่วยงานกระทรวงคมนาคม สมัยท่านพงษ์ศักดิ์ (รักตพงศ์ไพศาล อดีตรัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม) มาช่วยส่วนของด้านวิชาการเทคนิค แต่ก็ไม่ได้มีตำแหน่งอะไรนะ ส่วนสมัยท่านสันติ (พร้อมพัฒน์ อดีตรัฐมนตรีคมนาคม) ก็ได้เข้าไปช่วยอ่านเรื่องเข้าคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่ามีประเด็นใดบ้างที่ต้องกังวล และมีวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้น แต่ก็ไม่ได้มีอะไรลึกซึ้งมากไปกว่าการเข้ามาให้ความช่วยเหลือฝ่ายการเมืองในเรื่องของวิชาการและด้านเทคนิคต่างๆ ที่มุมมองของนักการเมืองจะเห็นต่างจากนักวิชาการ"
หลังจากนั้น "ชัชชาติ" ก็ยังคงทำงานในตำแหน่ง "นักวิชาการ" ต่อไป จนเมื่อต้นปี 2555 ก็กลับเข้ามาสู่ในวังวนของการเมืองอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
"ก่อนที่ผมจะเข้ามารับตำแหน่งรัฐมนตรี ท่านนายกฯยิ่งลักษณ์เป็นคนโทร.มา ผมไม่รู้จักกับท่านโดยตรงหรอก แต่ก็คงมีคนบอกกับท่านว่า ผมเคยช่วยงานในกระทรวงนี้มาก่อน หากถามว่ามีใครไปเรียนท่านนายกฯ ก็คงมีหลายคนมั้ง เพราะท่านสุกำพล (สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม) รู้จักกับผม และท่าน พงษ์ศักดิ์ ก็รู้จักกัน คงมีหลายคนเหมือนกัน และพ่อผมก็เป็นตำรวจ คนในวงการก็คงรู้จักกัน ส่วนระยะเวลาในการตัดสินใจ ผมใช้ไม่นานเลย เพราะว่าอย่างน้อยในชีวิตหนึ่งสามารถทำประโยชน์ให้บ้านเมืองได้ เราก็ควรที่จะต้องทำ"
แต่ใช่ว่าการจะเข้ามาเป็นรัฐมนตรีของ "ชัชชาติ" จะง่ายดาย เพราะคนที่เขารักมากที่สุดคนหนึ่ง กลับไม่เห็นด้วย
"ผมต้องบอกเลยนะว่า แม่ผมไม่แฮปปี้กับพรรคเพื่อไทยเท่าไหร่ ตอนที่แม่ผมรู้ว่าจะมาเป็นรัฐมนตรี แม่ไม่ยอม แม่ผมร้องไห้เลย แม่บอกว่าอย่าไปเป็นเลย กลัวลูกติดคุก คือเขาเห็นตัวอย่างมาเยอะ อย่างท่านทักษิณ (ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี) เห็นอะไรแบบนี้ก็เลยกลัว แต่ตอนหลังพอฟีดแบ๊กกลับมา มันไม่ได้เลวมาก เราก็ไม่ได้มั่ว ไม่ทะเลาะกับใคร แม่ก็คงโอเคขึ้นระดับหนึ่ง
"ถามว่าชีวิตเปลี่ยนไหม ผมว่าเปลี่ยนนะ หน้าที่ต่างกัน เป็นรัฐมนตรีก็มีผลกระทบต่อหลายๆ ด้านมาก แต่ก็พยายามทำให้เปลี่ยนแปลงน้อยที่สุด เพราะตำแหน่งการเมืองมันชั่วคราว แต่ก็ยังใช้ชีวิตปกติ
รถนำอาจจะมีบ้างในเวลาราชการ แต่ชีวิตก็เหมือนเดิม การพาลูกไปเที่ยว การไปไหนมาไหนก็เหมือนเดิม ตอนเช้าก็ยังไปวิ่งสวนลุมพินีเหมือนเดิม"
ส่วนเรื่องที่มีกระแสข่าวว่า พรรคเพื่อไทยจะเสนอชื่อเขาลงชิงในตำแหน่งผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครนั้น "ชัชชาติ"
บอกว่า "ตอนที่แม่รู้ข่าวนี้ แม่บอกว่าลงไปเถอะผู้ว่าฯ แต่แม่จะเลือกประชาธิปัตย์ (หัวเราะ) คือก็ดีนะ เป็นความน่ารักของประชาธิปไตย เรื่องผู้ว่าฯกทม.ถ้าปฏิเสธได้ก็จะปฏิเสธ สุดท้ายต้องเอาประโยชน์ของส่วนรวมเป็นหลัก คือเราเตรียมงานไว้เยอะ แต่ยังไม่ได้ทำ เราไม่ได้ยึดติดกับตำแหน่ง
ซึ่งก็ทำให้สามารถทำงานได้ง่ายขึ้น เพราะหากมีการติดตำแหน่ง ก็จะกลัว กลัวว่าจะโดนออก ตำแหน่งทางการเมืองคิดว่าชั่วคราว ในพรรคมีคนเก่งๆ อีกเยอะ แต่ก็ต้องทำงานให้หนักขึ้น เพื่อเป็นการพิสูจน์ตัวเองให้ได้
หน้า 8,มติชนรายวัน ฉบับวันอาทิตย์ที่ 23 กันยายน 2555
http://www.matichon.co.th/