การตั้งชื่อทีมฟุตบอลในไทยลีก มีกฎเกณฑ์อะไรรึเปล่า ?

กระทู้คำถาม
คือสงสัยเฉยๆครับว่า การตั้งชื่อทีมในประเทศไทย ไม่ว่าจะพรีเมียร์หรือ ดิวิชั่น 1 ภูมิภาคใดๆ ก็แล้วแต่ เค้ามีกฎเกณฑ์อะไรรึเปล่าครับ หรือว่าไม่มี ?

คือผมเห็นด้วยเรื่อง เอาชื่อจังหวัดมาตั้ง เหมือนสากลทั่วโลก เป็นหลัก เช่น กรุงเทพ บุรีรัม ชลบุรี เชียงใหม่ ก็ว่ากันไป แต่ที่สงสัยคือ ชื่อต่อท้าย เช่น ซิตี้ / ยูไนเต็ด / หรือ มีคำว่า เอฟซี ขึ้นหน้าหรือต่อท้าย ซึ่งจะดูเป็นสไตล์อังกฤษเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีบางทีม ใช้คำต่อท้ายจากชื่อจังหวัด เป็น วอริเออร์ มั่ง ( ฟอเรสต์ก็มีนะ แบบอังกฤษเด๊ะ ) อันนี้เค้ามีกฎหรือแล้วแต่ใจอยากตั้งครับ

2  ในจังหวัดที่มีมากกว่า 1 ทีม เช่น กรุงเทพฯ ก็จะมี บางกอก ยูไนเต็ด บางกอก เอฟซี หรือ เมืองทอง บางกอกกลาส ฯลฯ โดยเฉพาะชื่อสปอนเซอร์นี่ มิตรผล เอ็ม150 ต่างๆ นี่ ต่างประเทศเค้ามีเยอะมั้ยครับ ( ผมเคยได้ยิน ซัมซุง ฮุนได ของเกาหลี)

แค่ถามดูประดับความรู้ครับ เผื่อมีตังค์จะตั้งทีมมั่ง เอ๊ย เผื่อเจอนายทุน จะตั้งทีมมั่ง แห่ะๆ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ไม่ว่าทีมนั้นจะเป็นสายจังหวัดมาก่อน หรือเป็นสายเอกชนมาตั้งแต่แรกก็เถอะ อยากตั้งว่าอะไรก็ตั้งครับ แต่ส่วนใหญ่จะอิงกับสิ่งที่เกี่ยวข้องกับทีม เช่น
1.พวกสถานที่ตั้งของสโมสร
- 1.1 ระดับจังหวัด
  1.1.1 พวกใช้ชื่อจังหวัดตรงๆ เช่น พวก ชลบุรี เอฟซี , บุรีรัมย์ ยูไนเต็ด , เชียงราย ยูไนเต็ด ,  สงขลา ยูไนเต็ด

ในระดับสากล เช่น แมนเชสเตอร์ ยูไนเต็ด , ลิเวอร์พูล , โครินเธียนส์ , Barcelona , เอฟซี โซล , เอฟซี โตเกียว

   1.1.2 พวกใช่ชื่อที่บ่งบอกถึงจังหวัด หรือแผลงมาจากชื่อจังหวัด แต่บ่งบอกถึงความเป็นจังหวัด เช่น เมืองกาญจน์ ยูไนเต็ด , นครศรี เฮอริเทจ , นรา ยูไนเต็ด หรือสมัยก่อนก็มี โคราช สตริงเรย์

ในระดับสากลก็เช่น โรม่า มาจาก โรม , ฟีออเรนตินา มาจาก ฟอเรนซ์

- 1.2 ระดับภูมิภาค คือใช้พวกชื่อภูมิภาคนั้นๆมาตั้ง เช่น อีสาน ยูไนเต็ด

ในระดับสากลเช่น โบรุสเซีย ดอร์ทมุน , วาเลนเซีย , มูร์เซีย

- 1.3 ระดับท้องถิ่น
   1.3.1 ท้องถิ่นในรูปแบบการปกครอง อำเภอ ตำบล เทศบาล ก็พวก พัทยา ยูไนเต็ด , แหลมฉบัง ซิตี้ , พานทอง เอฟซี , กบินทร์ ยูไนเต็ด , ปลวกแดง เอฟซี , หัวหิน ซิตี้ ก่อนหน้านี้ก็มี เทศบาลเมืองปราจิณ
  
    1.3.2 ท้องถิ่นในย่านที่ไม่ใช่รูปแบบการปกครองเช่น สถานที่เด่นๆในย่านชุมชน หรือ ชื่อหมู่บ้าน เช่น เมืองทอง ยูไนเต็ด (ชื่อเก่า)

ในระดับสากลก็เช่น ฮอฟเฟ่นไฮมน์

2.ใช้ชื่อขององค์กรแรกเริ่มของสโมสร
- 2.1 ใช้ชื่อขององค์กรตรงๆ เช่น บางกอกกล๊าส , อัสสัมชัญธนบุรี

- 2.2 แผลงชื่อขององค์กร แต่ยังบ่งบอกถึงความเป็นตัวตนขององค์กรเดิม เช่น อาร์มี่ ยูไนเต็ด , แอร์ฟอร์ซ ยูไนเต็ด , จามจุรี ยูไนเต็ด , TTM

ในระดับสากล เช่น อุราวะ เรด ไดมอนด์ (เรดไดมอนด์ เป็นสัญญลักษณ์ ของ มิตซู)

3.รวมๆกัน ระหว่างชื่อองค์กรเอกชน และท้องถิ่น
- 3.1 ชื่อขององค์กรเดิม ผสมกับท้องถิ่นที่ตั้ง เช่น ปตท ระยอง , ปากน้ำโพ NSRU เอฟซี

ในระดับสากล ก็ ไบเออร์ เลเวอร์คูเซ่น

- 3.2 ชื่อของทีมมารวมกับ ผู้สนับสนุน เช่น อุตรดิตถ์ หมอเส็ง , SCG เมืองทอง , อินทรี เพื่อนตำรวจ , ราชบุรี มิตรผล , ศรีราชา ซูซูกิ

ในระดับสากลเช่น จองบุก ฮุนได มอเตอร์

ซึ่ง 3.1 กับ 3.2 จะต่างกันตรงที่ที่มาของชื่อหลักและชื่อรอง

4. ใช้ชื่อที่ตั้ง หรือชื่อองค์กรแรกเริ่มมาผสมกับคำต่างๆ

- 4.1 ผสมกับจุดเด่นของทำเลที่ตั้ง ภูมิภาค หรือในท้องถิ่น เช่น อุทัยธานี ฟอเรสต์

ในระดับสากลเช่น นอตติ้งแฮม ฟอร์เรสต์ , ลิเวอร์ เพลท , โปฮัง สตีลเลอร์

- 4.2 ผสมกับความบ่งบอกถึงทีมกีฬา (นอกเหนือจาก FC) เช่น TOT SC

ในระดับสากลเช่น AC Milan (AC มาจากคำว่าสมาคมฟุตบอล) , Wigan Athletic , Deportivo de La Coruna

- 4.3 ผสมกับสัญลักษณ์ หรือมาสคอตของทีม เช่น อุบลไทเกอร์ สมัยก่อนก็เคยมีทีม ช้างเชียงใหม่ ยูไนเต็ด แต่เทคโอเวอร์เทีมไม่สำเร็จ หรือสมัยโปรลีกก็จะมี ฉะเชิงเทรา ไฟติ้งฟิช (ปลากัด)

ในระดับสากลเช่น ชุนนัม ดราก้อน

- 4.4 ผสมกับคำโปรยต่างๆให้น่าสนใจ เช่น อัสสัมชัญ เดอะแพค

ในระดับสากลเช่น Tottenham Hotspur , เมลเบิร์น วิคตอรี่

อันนี้พอจะแบ่งคราวๆ บางอันไม่ได้ยกตัวอย่างเพราะนึกไม่ออก
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่