ดิฉันไม่รักแม่เลย แต่ดูแลส่งเสีย ประพฤติทุกอย่างตามที่ลูกกตัญญูทำ แต่ยังไม่สามารถแก้ความรู้สึกได้ทำยังไงดีคะ

ขอบคุณค่ะ
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 35
ถ้าใครเคยอ่านเรื่องของ "ละม่อม" ในนิยายชุด "หลายชีวิต" ของคึกฤทธิ์
จะเข้าใจว่า ชีวิตน่าวังเวงที่ต้องทนอยู่กับบางคนนั้น เป็นอย่างไร ที่เผอิญว่าเป็นแม่
แม่ในเรื่องละม่อมนั้น เป็น "ชีวิตจริง" ยิ่งกว่าแม่ในนิยายพันทิปซะอีก
ละม่อมนั้น น่าเห็นใจกว่าเป็นไหนๆ
ที่จริงต้องพูดว่า นักประพันธ์พันทิปไม่มีอะไรต้อง "น่าเห็นใจ" เลย
เพราะคนที่สำคัญว่าตนมีดี ยืนด้วยแข้ง หาเองทุกอย่าง ฯลฯ
ไม่ต้องการ "ความเห็นใจ" !
แต่ต้องการ ความนับถือ-ยกย่อง-สรรเสริญ จากผู้อื่นว่า ดีเล้ว ชอบเล้ว กตัญญู หญิงเหล็ก ฯลฯ
เพราะอะไร?
เพราะคนที่จับแม่มาสรรเสริญว่า ผิดศีลร้ายแรงเหลือเกิน ผิดชิบผาย รับไม่ด๊ายย
เจ้าตำราจิตวิโคระห์ บอกว่า พรรค์นั้น ไม่มี "ความนับถือ-ยกย่อง-สรรเสริญ" ตนเองหรอก จึงแสวงหา ?!

แม่กูผิดยังไงก็ไม่รู้ไม่บอกหละ ผิดก็แล้วกัน ร้ายยังไงก็ไม่บอก แม่กูผิดก็แล้วกัน!
กูไม่ได้วิเศษอะไรหรอก แต่ถ้ากูถูกจับคลุมถุงชน กูจะไม่งี่เง่าอย่างแม่กู
กูก็ไม่ใช่คนดีนักหรอก แต่ถ้ากูได้ผัวอย่างพ่อ กูจะไม่ทำตัวห่าๆ อย่างแม่
กูไม่ใช่หญิงแสนดีไรเลย แต่กูจะรักลูกเท่ากัน ไม่พูดหมาๆ ว่า นี้ลูกกู นี้มันลูกพ่อ
กูไม่ใช่คนดีเด่อะไร แต่ถ้าผัวกูตาย กูจะไม่ทำผิดศีลเสื่อมเสียร้ายแรง เช่น ไม่เอา อย่าให้กูสาธยายเรื่องจกเปรตเลยว้า
กูไม่ใช่นังประเสริฐศรี แต่กูจะไม่ตัดแม่ตัดลูกแค่เพราะลูกบังอาจมาเตือน

สรุปว่ากูก็จะเป็นอย่างนี้แหละ แต่แม่กูเป็นยังไง พวกเมิงก็คงรู้จักกันหมดแล้ว ฮ่าๆๆ สะจาย
ก็ไม่รู้ว่ากูจะถลกหนังแม่ออกอากาศทำไม แต่ทำแล้วมันสะใจ อร่อยดีว่ะ เหมือนขี้เรื้อนเกาขอบแผล
กูไม่ได้จะมาขอวิธีรักษาขี้เรื้อนนะเฟ้ย กูยังพิศมัยที่จะเกาอยู่ ก็บอกแล้วว่ามันอร่อย
แต่เกาอย่างไรจะได้ชื่อว่าหญิงเหล็ก กตัญญู คุณทำดีที่สุดแล้ว น่าเห็นใจจัง ฯลฯ

ไม่ได้จะเข้ามาเก็บคำสอนประเภท ให้แบกพ่อแม่ไว้บนบ่า ขี้เยี่ยวบนบ่าหนึ่งร้อยปี นะโว้ย!
ขี้เยี่ยวบนบ่าหนึ่งร้อยปี! วีรเวรของแม่กูก็เป็นขี้หมาไปเลยน่ะซิ ไม่เอาด้วยหรอก

คือกูไม่เอา เข้าใจมั้ย กูมีคำตอบอยู่แล้ว
กูจะทำไงก๊ะแม่กู กูก็รับคำของพ่อกู กูก็แถมของกูลงไป พ่อกูไม่ว่าร้อก ถ้าพ่อลุกขึ้นมาอ่านกระทู้ อย่างดีพ่อกูก็อึ้งๆ หน่อยแล้วก็นอนต่อ
โอ๊ย วินวินทุกฝ่าย ดีจัง
สรุปว่า กูเข้ามาเนี้ย คือกูจะมาเกาขอบแผลให้ดู เข้าใจกันยากจริง อหิวาต์เอ๊ย!
. . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . . .
โอเค ! มาถูกที่ !
จะหาพันธุ์เดียวกัน หรือจะเอา ถูกใจ หลงรัก ซึ้ง ทึ่ง ห่าเหว ฯ มีทั้งนั้น

ที่นี่แหละ ชุมนุมสุมหัวกันอยู่ใน "ห้อง" นี้แหละ !
ความคิดเห็นที่ 7
[๒๗๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวการกระทำตอบแทนไม่ได้ง่ายแก่
ท่านทั้ง ๒ ท่านทั้ง ๒ คือใคร คือ มารดา ๑ บิดา ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บุตร
พึงประคับประคองมารดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง พึงประคับประคองบิดาด้วยบ่าข้างหนึ่ง
เขามีอายุ มีชีวิตอยู่ตลอดร้อยปี และเขาพึงปฏิบัติท่านทั้ง ๒ นั้นด้วยการอบกลิ่น
การนวด การให้อาบน้ำ และการดัด และท่านทั้ง ๒ นั้น พึงถ่ายอุจจาระ
ปัสสาวะบนบ่าทั้งสองของเขานั่นแหละ ดูกรภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนั้น
ยังไม่ชื่อว่าอันบุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ดูกรภิกษุทั้งหลาย
อนึ่ง บุตรพึงสถาปนามารดาบิดาในราชสมบัติ อันเป็นอิสราธิปัตย์ ในแผ่นดิน
ใหญ่อันมีรตนะ ๗ ประการมากหลายนี้ การกระทำกิจอย่างนั้น ยังไม่ชื่อว่าอัน
บุตรทำแล้วหรือทำตอบแทนแล้วแก่มารดาบิดาเลย ข้อนั้นเพราะเหตุไร เพราะ
มารดาบิดามีอุปการะมาก บำรุงเลี้ยง แสดงโลกนี้แก่บุตรทั้งหลาย ส่วนบุตร
คนใดยังมารดาบิดาผู้ไม่มีศรัทธา ให้สมาทานตั้งมั่นในศรัทธาสัมปทา ยังมารดา
บิดาผู้ทุศีล ให้สมาทานตั้งมั่นในศีลสัมปทา ยังมารดาบิดาผู้มีความตระหนี่ ให้
สมาทานตั้งมั่นในจาคสัมปทา ยังมารดาบิดาทรามปัญญา ให้สมาทานตั้งมั่นใน
ปัญญาสัมปทา ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยเหตุมีประมาณเท่านี้แล การกระทำอย่างนั้น
ย่อมชื่อว่าอันบุตรนั้นทำแล้ว และทำตอบแทนแล้ว แก่มารดาบิดา ฯ

   เนื้อความพระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๐  บรรทัดที่ ๑๖๑๗ - ๑๘๔๐.  หน้าที่  ๗๐ - ๗๙.
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka_item/v.php?B=20&A=1617&Z=1840&pagebreak=0
            ศึกษาอรรถกถานี้ ได้ที่ :-
http://www.84000.org/tipitaka/attha/attha.php?b=20&i=277


อรรถกถาสูตรที่ ๒               
              ในสูตรที่ ๒ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้.
              บทว่า มาตุ จ ปิตุ จ ได้แก่ มารดาผู้บังเกิดเกล้า ๑ บิดาผู้บังเกิดเกล้า ๑.
              บทว่า เอเกน ภิกฺขเว อํเสน มาตรํ ปริหเรยฺย ความว่า บุตรพึงปรนนิบัติมารดาแบกไว้บนจะงอยบ่าข้างหนึ่ง.
              บทว่า เอเกน อํเสน ปิตรํ ปริหเรยฺย ความว่า บุตรพึงปรนนิบัติบิดาแบกไว้บนจะงอยบ่าข้างหนึ่ง.
              บทว่า วสฺสสตายุโก วสฺสสตาชีวี ความว่า มีอายุถึง ๑๐๐ ปี ทรงชีพอยู่ ๑๐๐ ปี. มีคำอธิบายว่า ถ้าบุตรคิดว่าจักตอบแทนคุณบิดามารดา กระวีกระวาดให้มารดานั่งบนจะงอยบ่าข้างขวา ให้บิดานั่งบนจะงอยบ่าข้างซ้าย มีอายุถึง ๑๐๐ ปี ทรงชีพแบกอยู่ ๑๐๐ ปี.
              บทว่า โส จ เนสํ อุจฺฉาทนปริมทฺทนนฺหาปนสมฺพาหเนน ความว่า บุตรนั้นแลพึงบำรุงบิดามารดาผู้นั่งอยู่บนจะงอยบ่านั่นเอง ด้วยการอบกลิ่นให้ตัวหอม เพื่อบรรเทากลิ่นเหม็น ด้วยการนวดมือเท้า เพื่อบรรเทาเมื่อยขบ เวลาหนาวให้อาบน้ำอุ่น เวลาร้อนให้อาบน้ำเย็น ด้วยการดัดคือ ดึงมือและเท้าเป็นต้น.
              บทว่า เต จ ตตฺเถว ความว่า บิดามารดาทั้งสองก็นั่งถ่ายอุจจาระปัสสาวะอยู่บนนั้นแหละ คือบนจะงอยบ่าทั้งสองของบุตรนั้น.
              บทว่า น เตฺวว ภิกฺขเว ความว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ด้วยอาการปรนนิบัติถึงเพียงนี้ จะเป็นอันบุตรนั้นได้ทำคุณหรือได้ตอบแทนคุณแก่บิดามารดาแล้ว หามิได้เลย.
              บทว่า อิสฺสราธิปจฺเจ รชฺเช พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสหมายถึงความเป็นพระเจ้าจักรพรรดิทีเดียว.
              บทว่า อาปาทกา แปลว่า เป็นผู้ให้เติบโต เป็นผู้ดูแล. เพราะบุตรทั้งหลาย บิดามารดาทำให้เติบโตและดูแลแล้ว.
              บทว่า โปสกา ได้แก่ เป็นผู้เลี้ยงดูโดยให้มือเท้าเติบโต ให้ดื่มโลหิตในหทัย. เพราะบิดามารดาเลี้ยงบุตรอย่างดี ประคบประหงมด้วยข้าวน้ำเป็นต้น.
              บทว่า อิมสฺส โลกสฺส ทสฺเสตาโร ความว่า ถ้าในวันที่บุตรเกิด บิดามารดาจะจับเท้าบุตรเหวี่ยงไปในป่าหรือในเหว บุตรก็จะไม่ได้เห็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ในโลกนี้ แต่เพราะท่านไม่ทำอย่างนี้ ฟูมฟักเลี้ยงดู บุตรจึงเห็นอิฏฐารมณ์และอนิฏฐารมณ์ในโลกนี้ เพราะอาศัยบิดามารดา ฉะนั้น บิดามารดาจึงชื่อว่าเป็นผู้แสดงโลกนี้แก่บุตร.
              บทว่า สมาทเปติ ได้แก่ ให้เชื่อถือ.
              ในพระสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสศรัทธา ศีล จาคะ ปัญญา ผสมกันทั้งโลกิยะและโลกุตระ.
              ภิกษุเช่นพระธรรมเสนาบดีสารีบุตรเถระ พึงทราบว่าชื่อว่ายังบิดามารดาให้ตั้งมั่นอยู่ในคุณธรรมเหล่านั้น.
              จบอรรถกถาสูตรที่ ๒  

---------------------------------------------------
มงคลที่ ๑๑ บำรุงมารดาบิดา & พระคุณของมารดาบิดา  โดยหลวงพ่อเสือ
http://www.larndham.net/cgi-bin/kratoo.pl/009406.htm

"วิธีตอบแทนบุญคุณพ่อแม่

๑. เลี้ยงดูท่านยามชรา เอาใจใส่การกินอยู่หลับนอนของท่านไม่ให้เดือดร้อน เราจะรู้ได้อย่างไรว่าท่านแก่ เช้าวันใหม่ท่านแก่ไปอีกวันแล้ว เรารู้ว่าท่านแก่ทุกวันก็แล้วกัน จะได้ตอบแทนได้ทุกวัน ไม่ต้องดูอายุ
๒. ช่วยเหลือกิจการงานของท่าน ช่วยแบ่งเบาภาระของท่านเพื่อให้ท่านมีโอกาสพักผ่อนเพราะท่านเหนื่อยมามากแล้ว หรือเปิดโอกาสให้ท่านได้เข้าวัดฟังธรรมะ
๓. ไม่ทำตัวให้เสื่อมเสียแก่ชื่อเสียงวงศ์ตระกูลของท่าน รักษาวงศ์ตระกูลที่ท่านให้มา ดำรงอยู่ได้นานๆคือ ทำความดีนั้นเอง
๔. ประพฤติตนดีควรแก่การรับมรดก ไม่ใช่อยู่เพื่อหวังมรดก ไม่เกะกะเหลวไหล ไม่สุรุ่ยสุร่ายผลาญทรัพย์สมบัติที่ท่านมอบให้
๕. เมื่อท่านล่วงลับไปแล้วก็ทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้อย่างสม่ำเสมอ แม้ท่านจะเกิดในภูมิที่สูงกว่าหรือไม่สามารถรับกุศลได้ การระลึกและแผ่เมตตาจิตให้แก่พ่อแม่เป็นมงคลอันประเสริฐ
พระพุทธองค์ตรัสว่า ถ้าบุตรจะพึงวางบิดามารดาไว้บนบ่าสองข้างของตน ประคับประคองท่านให้อยู่บนบ่านั้น ป้อนข้าวป้อนน้ำให้ท่าน ถ่ายอุจจาระปัสสาวะบนบ่านั้นเสร็จ แม้บุตรจะมีอายุถึง ๑๐๐ ปี และปรนนิบัติท่านเช่นนั้นตลอดชีวิต ก็ยังนับว่าตอบแทนบุณคุณท่านยังไม่หมด พระพุทธองค์ตรัสเพื่ออะไร เพื่อจะได้ให้รู้ว่าสิ่งที่เราควรกระทำก่อนจะไปแสวงหานอกบ้านนั้นอยู่ใกล้เราเหลือเกิน แต่เราไม่เคยมองดูคุณค่าอันนี้เลย ทำให้แก่พ่อแม่ พ่อแม่ก็มีวิบากดีที่ได้ลูกดี แต่คนที่ทำมีมงคลชีวิต
วิธีตอบแทนบุญคุณพ่อแม่ให้หมด มี ๕ ประการ คือ
๑. เมื่อท่านยังไม่ศรัทธาในพระพุทธศาสนา ก็พยายามชักนำให้ท่านตั้งอยู่ในศรัทธาให้ได้
๒. ถ้าท่านยังไม่ถึงพร้อมด้วยการให้ทาน ก็พยายามชักนำท่านให้บริจาคทานให้ได้ เริ่มต้นด้วยเราทำแล้วให้ท่านจบ
๓. ถ้าท่านยังไม่มีศีลรักษา ก็พยายามชักนำให้ท่านรักษาศีลให้ได้
๔. ถ้าท่านยังไม่ทำสมาธิ ยังไม่มีความสงบ ก็พยายามชักนำให้ท่านหาความสงบให้ได้
๕ . พยายามส่งเสริมท่านเดินทางสู่มรรค ผล นิพพาน อย่าขวางท่าน
เมื่อท่านถึงมรรค ผล นิพพาน ตอบแทนหมดไหม ? ฉะนั้นอะไรก็แล้วแต่ที่พ่อแม่กำลังทำเพื่อสร้างทางสู่มรรค ผล นิพพาน อย่าขวางท่าน
-อานิสงส์ของการบำรุงบิดามารดา มี ๑๓ ประการ คือ
๑. ทำให้มีความอดทน
๒. ทำให้เป็นคนมีสติรอบคอบ
๓. ทำให้เป็นคนมีเหตุผล
๔. ทำให้พ้นทุกข์ได้
๕. ทำให้พ้นภัยได้
๖. ทำให้ได้ลาภโดยง่าย
๗. ทำให้แคล้วคลาดภัยในยามคับขัน
๘. ทำให้เทวดาลงมาพิทักษ์รักษาผู้ที่ทำ
๙. ทำให้ได้รับการยกย่องสรรเสริญ
๑๐. ทำให้มีความเจริญก้าวหน้า
๑๑. ถ้ามีลูกก็จะได้ลูกที่ดี
๑๒. ทำให้มีความสุข
๑๓. ทำให้เป็นตัวอย่างอันดีแก่อนุชนรุ่นหลัง
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่