ที่มา: หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก วันอาทิตย์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2556
อุไรวรรณ นอร์มา
ที่มา: ข้อมูล บีบีซี ซีเอ็นเอ็น
นางดาลาล ซีเบน คุณแม่ชาวปาเลสไตน์วัย 32 ปี ให้กำเนิดทารกเพศชายนามว่า มูฮันนานด์ ที่โรงพยาบาลอัล อาราเบีย ในเมืองนาบลุส เขตเวสต์แบงก์ รัฐปาเลสไตน์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา
สำหรับผู้เป็นแม่ มูฮันนานด์เป็นของขวัญจากพระเจ้า แม้มีลูกสาวอยู่แล้ว 2 คน แต่ต้องถือว่าสมาชิกใหม่ล่าสุดของครอบครัวเป็นเหมือนตัวแทนของบิดาโดยแท้ ทั้งลูกชายคนนี้ยังเป็นจุดสนใจของสื่อทั่วโลก เพราะถือกำเนิดจากน้ำเชื้อของพ่อที่ถูกลอบนำออกจากเรือนจำที่มีการรักษาความปลอดภยสุดเข้มงวดในอิสราเอล
นายอัมมาร์ ซีเบน วัย 37 ปี พ่อของมูฮันนานด์ ต้องคดีความมั่นคงที่อยู่ระหว่างรับโทษจำคุก 32 ปีในเรือนจำฮาดาริม ทางตอนกลางของอิสราเอล ฐานมีส่วนร่วมกับการลอบวางระเบิดโจมตีในนครเยรูซาเล็มเมื่อปี 2540
ตอนที่สามี ซึ่งเป็นสมาชิกขบวนการฮามาส ถูกจับกุม นางดาลาลอายุเพียง 18 ปี และมีลูกสาววัยขวบครึ่งด้วยกันแล้วหนึ่งคน ชื่อบาชาร์ และตั้งครรภ์ 5 เดือนลูกสาวคนที่สอง ที่ต่อมาชื่อว่า บิสซาน ขณะนี้ลูกสาวคนโตอายุ 16 ปีแล้ว ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เด็กชายมูฮันนานด์คือฝันที่เป็นจริงของครอบครัว
ดาลาลไม่ใช่ภรรยานักโทษปาเลสไตน์คนแรกที่ตั้งครรภ์ด้วยการลอบนำอสุจิออกจากเรือนจำอิสราเอล
นพ.ซาลิม อาบู ไคซาราน หัวหน้าศูนย์ไอวีเอฟ ราซาน ในเมืองนาบลุส เขตเวสต์แบงค์ ที่ช่วยทำเด็กหลอดแก้ว กล่าวว่า ปัจจุบันน่าจะมีสตรีอย่างน้อย 10 คนแล้วที่ตั้งครรภ์ด้วยวิธีการเช่นนี้ พวกเธอจะไม่ปริปากบอกใครๆ ว่ากระบวนการลอบนำอสุจิออกจากเรือนจำอย่างเหมาะสมและให้ทันเวลาใช้การได้สำหรับการผสมเทียมทำได้อย่างไร
"ผมไม่รู้ว่าพวกเธอทำได้อย่างไร และผมไม่อยากรู้ ผมไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวการเมือง สิ่งที่กำลังทำอยู่นี้มาจากเหตุผลด้านมนุษยธรรมล้วนๆ ทุกคนให้ความสนใจนักโทษ แต่สตรีเหล่านั้นทุกข์ทรมานไม่น้อยไปกว่ากัน"
แพทย์กล่าวว่า ภรรยานำอสุจิของสามีมาส่งให้คลินิกโดยใส่ในขวดเล็กๆ หรือถ้วยพลาสติก บางทีก็กลางวัน บางทีก็กลางคืน
อสุจิอยู่ได้ 48 ชั่วโมง ก่อนถูกนำไปแช่แข็งรอการทำเด็กหลอดแก้ว (ไอวีเอฟ) ปกติ ผู้เป็นภรรยาสามารถนำไปส่งในเวลาที่น้อยกว่านั้น แต่บางครั้งอสุจิไม่ได้อยู่ในสภาพที่ดีพอ ก็ต้องทิ้งไปและบอกให้พยายามใหม่
แพทย์ที่ศูนย์ไม่มีทางพิสูจน์ว่าใช่อสุจิจากสามีของพวกเธอในเรือนจำจริงหรือไม่ แต่ก่อนจะรับทำเด็กหลอดแก้ว คลินิกจะสอบถามครอบครัวของฝ่ายสามีและภรรยาก่อน และต้องการครอบครัวทั้งสองฝ่ายลงนามในเอกสารว่า อสุจิเป็นของสามีในเรือนจำ
นอกจากนี้ ทางคลินิกจะไม่รับผสมเทียมให้แก่ภรรยาที่มีบุตรหลายคนอยู่แล้ว หรือสามีกำลังรับโทษสั้นๆ
จากนั้นแพทย์จะแนะนำให้ว่าที่คุณแม่กระจายข่าวว่า พวกเธอเตรียมทำอะไร เพราะเมื่อคนทั้งหมู่บ้านรู้ว่าสามีของเธออยู่ในคุก 10-15 ปี คงแตกตื่นกันเป็นแน่ถ้าอยู่ดีๆ เธอตั้งครรภ์ออกไปเดินบนถนน และเพื่อหลีกเลี่ยงการนินทาตราหน้าว่าพวกเธอนอกใจสามีที่กำลังอยู่ในคุก
"เราเป็นสังคมชายเป็นใหญ่ สังคมโลกตะวันออก ผู้หญิงของเรา หากสามีติดคุก พวกเธอไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากรอจนสามีได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ เธอจะไม่มีโอกาสมีทายาท หรือมีลูกเพิ่ม หากสามีติดคุกตลอดชีวิต และหากสามีออกจากเรือนจำตอนที่ภรรยาอายุมากเกินไปที่จะตั้งครรภ์ สามีอาจตีจากไปหาผู้หญิงคนใหม่ที่มีลูกได้ ซึ่งฉันเคยเห็นกรณีหลังเกิดมาแล้ว"
ทางคลินิกจึงให้บริการนี้แก่ภรรยานักโทษโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพราะถือว่าช่วยเพื่อนมนุษย์ โดยในกรณีของดาลาล คลินิกยังช่วยคัดเพศให้ด้วย เพราะครอบครัวต้องการเด็กชาย
ในทางเทคนิค ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำเด็กหลอดแก้วในสหรัฐคนหนึ่งเชื่อว่า วิธีการนี้เป็นไปได้ เพราะอสุจิอยู่ได้หลายชั่วโมงนอกร่างกายหากอยู่ในภาชนะสะอาดๆ และในอุณหภูมิห้อง ความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้วใช้อสุจิไม่กี่ตัวที่สมบูรณ์เท่านั้น
แต่โฆษกทัณฑสถานอิสราเอลแสดงท่าทีสงสัยหลังทราบข่าวการให้กำเนิดบุตรด้วยอสุจินักโทษปาเลสไตน์ จะเป็นไปได้อย่างไรเมื่อมาตรการรักษาความปลอดภัยของเรือนจำระหว่างญาติไปเยี่ยมเข้มงวดมาก ไม่อนุญาตให้มีการสัมผัสติดต่อทางกายระหว่างนักโทษคดีความมั่นคงกับครอบครัวอย่างเด็ดขาด
แต่มาห์มูด ฮัสวัน ทนายความปาเลสไตน์ที่เคยไปเยี่ยมเยือนนักโทษ กล่าวว่า จริงอยู่ที่เป็นเรื่องยาก แต่ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะลอบนำอสุจิออกจากเรือนจำอิสราเอล แม้มีกระจกแก้วกั้นกลางระหว่างนักโทษกับผู้ไปเยี่ยม แต่ลูกที่อายุต่ำกว่า 8 ขวบได้รับอนุญาตให้กอดพ่อได้ อีกทั้งผู้คุมเรือนจำเองก็อาจเกิดความสงสาร จงใจหันมองไปทางอื่นก็ได้นาทีนั้น "หากคุณแอบนำมือถือเข้าไปในห้องขังได้ คุณก็สามารถนำอสุจิออกมาได้"
ปัจจุบันมีนักโทษปาเลสไตน์ในเรือนจำอิสราเอลราว 4,500 คนที่ถูกจำคุกฐานกระทำความผิดตั้งแต่ปาก้อนหินจนถึงสังหารชาวอิสราเอล
นายอิสซา การากา รัฐมนตรีเรือนจำปาเลสไตน์ กล่าวว่า นักโทษอิสราเอลได้สิทธิมากมาย ได้รับอนุญาตให้ออกจากเรือนจำไปเยี่ยมบ้าน อยู่กับภรรยาได้ แม้แต่นายยิกาล อามีร์ ชาวยิวหัวรุนแรงสุดโต่งที่ถูกจำคุกตลอดชีวิตฐานลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรียิคซัค ราบิน แห่งอิสราเอล ขณะพยายามเดินหน้ากระบวนการสันติภาพกับปาเลสไตน์เมื่อปี 2538 ก็ยังได้รับอนุญาตห้แต่งงานได้ และได้ไปเยี่ยมบ้านอยู่ฉันท์สามีภรรยาเป็นระยะๆ เมื่อปี 2549 จนที่สุดให้กำเนิดบุตรชายคนหนึ่งเมื่อปี 2550
นพ.อาบู ไคราซาน เชื่อว่า ชาวปาเลสไตน์ก็ควรได้รับสิทธิเดียวกันนี้ สิทธิที่จะมีลูก สิทธิที่จะเป็นพ่อแม่คน เป็นสิทธิมนุษยชนสากล แต่กว่าคำขอนี้จะเป็นจริง นักโทษปาเลสไตน์คงต้องหาทางลักลอบนำอสุจิออกจากเรือนจำไปให้ภรรยาต่อไป และในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า จะมีเด็กถือกำเนิดด้วยวิธีการนี้อีกจำนวนหนึ่ง
ภรรยานักโทษปาเลสไตน์ได้แต่หวังว่า วันหนึ่งการลอบนำอสุจิออกจากเรือนจำจะไม่จำเป็นอีกต่อไป เมื่ออิสราเอลเปลี่ยนใจยอมให้สามีได้รับอนุญาตให้กลับเยี่ยมบ้านได้ แม้แต่ฆาตกรสังหารอดีตนายกฯ ราบินยังมีลูกได้ขณะอยู่ในเรือนจำ ทำไมชาวปาเลสไตน์จึงถูกตัดสิทธินั้น
น้ำเชื้อจากกรงขัง ความหวังภรรยานักโทษปาเลสไตน์
อุไรวรรณ นอร์มา
ที่มา: ข้อมูล บีบีซี ซีเอ็นเอ็น
นางดาลาล ซีเบน คุณแม่ชาวปาเลสไตน์วัย 32 ปี ให้กำเนิดทารกเพศชายนามว่า มูฮันนานด์ ที่โรงพยาบาลอัล อาราเบีย ในเมืองนาบลุส เขตเวสต์แบงก์ รัฐปาเลสไตน์ เมื่อเดือนสิงหาคม 2555 ที่ผ่านมา
สำหรับผู้เป็นแม่ มูฮันนานด์เป็นของขวัญจากพระเจ้า แม้มีลูกสาวอยู่แล้ว 2 คน แต่ต้องถือว่าสมาชิกใหม่ล่าสุดของครอบครัวเป็นเหมือนตัวแทนของบิดาโดยแท้ ทั้งลูกชายคนนี้ยังเป็นจุดสนใจของสื่อทั่วโลก เพราะถือกำเนิดจากน้ำเชื้อของพ่อที่ถูกลอบนำออกจากเรือนจำที่มีการรักษาความปลอดภยสุดเข้มงวดในอิสราเอล
นายอัมมาร์ ซีเบน วัย 37 ปี พ่อของมูฮันนานด์ ต้องคดีความมั่นคงที่อยู่ระหว่างรับโทษจำคุก 32 ปีในเรือนจำฮาดาริม ทางตอนกลางของอิสราเอล ฐานมีส่วนร่วมกับการลอบวางระเบิดโจมตีในนครเยรูซาเล็มเมื่อปี 2540
ตอนที่สามี ซึ่งเป็นสมาชิกขบวนการฮามาส ถูกจับกุม นางดาลาลอายุเพียง 18 ปี และมีลูกสาววัยขวบครึ่งด้วยกันแล้วหนึ่งคน ชื่อบาชาร์ และตั้งครรภ์ 5 เดือนลูกสาวคนที่สอง ที่ต่อมาชื่อว่า บิสซาน ขณะนี้ลูกสาวคนโตอายุ 16 ปีแล้ว ทุกคนพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า เด็กชายมูฮันนานด์คือฝันที่เป็นจริงของครอบครัว
ดาลาลไม่ใช่ภรรยานักโทษปาเลสไตน์คนแรกที่ตั้งครรภ์ด้วยการลอบนำอสุจิออกจากเรือนจำอิสราเอล
นพ.ซาลิม อาบู ไคซาราน หัวหน้าศูนย์ไอวีเอฟ ราซาน ในเมืองนาบลุส เขตเวสต์แบงค์ ที่ช่วยทำเด็กหลอดแก้ว กล่าวว่า ปัจจุบันน่าจะมีสตรีอย่างน้อย 10 คนแล้วที่ตั้งครรภ์ด้วยวิธีการเช่นนี้ พวกเธอจะไม่ปริปากบอกใครๆ ว่ากระบวนการลอบนำอสุจิออกจากเรือนจำอย่างเหมาะสมและให้ทันเวลาใช้การได้สำหรับการผสมเทียมทำได้อย่างไร
"ผมไม่รู้ว่าพวกเธอทำได้อย่างไร และผมไม่อยากรู้ ผมไม่อยากเข้าไปยุ่งเกี่ยวการเมือง สิ่งที่กำลังทำอยู่นี้มาจากเหตุผลด้านมนุษยธรรมล้วนๆ ทุกคนให้ความสนใจนักโทษ แต่สตรีเหล่านั้นทุกข์ทรมานไม่น้อยไปกว่ากัน"
แพทย์กล่าวว่า ภรรยานำอสุจิของสามีมาส่งให้คลินิกโดยใส่ในขวดเล็กๆ หรือถ้วยพลาสติก บางทีก็กลางวัน บางทีก็กลางคืน
อสุจิอยู่ได้ 48 ชั่วโมง ก่อนถูกนำไปแช่แข็งรอการทำเด็กหลอดแก้ว (ไอวีเอฟ) ปกติ ผู้เป็นภรรยาสามารถนำไปส่งในเวลาที่น้อยกว่านั้น แต่บางครั้งอสุจิไม่ได้อยู่ในสภาพที่ดีพอ ก็ต้องทิ้งไปและบอกให้พยายามใหม่
แพทย์ที่ศูนย์ไม่มีทางพิสูจน์ว่าใช่อสุจิจากสามีของพวกเธอในเรือนจำจริงหรือไม่ แต่ก่อนจะรับทำเด็กหลอดแก้ว คลินิกจะสอบถามครอบครัวของฝ่ายสามีและภรรยาก่อน และต้องการครอบครัวทั้งสองฝ่ายลงนามในเอกสารว่า อสุจิเป็นของสามีในเรือนจำ
นอกจากนี้ ทางคลินิกจะไม่รับผสมเทียมให้แก่ภรรยาที่มีบุตรหลายคนอยู่แล้ว หรือสามีกำลังรับโทษสั้นๆ
จากนั้นแพทย์จะแนะนำให้ว่าที่คุณแม่กระจายข่าวว่า พวกเธอเตรียมทำอะไร เพราะเมื่อคนทั้งหมู่บ้านรู้ว่าสามีของเธออยู่ในคุก 10-15 ปี คงแตกตื่นกันเป็นแน่ถ้าอยู่ดีๆ เธอตั้งครรภ์ออกไปเดินบนถนน และเพื่อหลีกเลี่ยงการนินทาตราหน้าว่าพวกเธอนอกใจสามีที่กำลังอยู่ในคุก
"เราเป็นสังคมชายเป็นใหญ่ สังคมโลกตะวันออก ผู้หญิงของเรา หากสามีติดคุก พวกเธอไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากรอจนสามีได้รับการปล่อยตัวเป็นอิสระ เธอจะไม่มีโอกาสมีทายาท หรือมีลูกเพิ่ม หากสามีติดคุกตลอดชีวิต และหากสามีออกจากเรือนจำตอนที่ภรรยาอายุมากเกินไปที่จะตั้งครรภ์ สามีอาจตีจากไปหาผู้หญิงคนใหม่ที่มีลูกได้ ซึ่งฉันเคยเห็นกรณีหลังเกิดมาแล้ว"
ทางคลินิกจึงให้บริการนี้แก่ภรรยานักโทษโดยไม่คิดค่าใช้จ่าย เพราะถือว่าช่วยเพื่อนมนุษย์ โดยในกรณีของดาลาล คลินิกยังช่วยคัดเพศให้ด้วย เพราะครอบครัวต้องการเด็กชาย
ในทางเทคนิค ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำเด็กหลอดแก้วในสหรัฐคนหนึ่งเชื่อว่า วิธีการนี้เป็นไปได้ เพราะอสุจิอยู่ได้หลายชั่วโมงนอกร่างกายหากอยู่ในภาชนะสะอาดๆ และในอุณหภูมิห้อง ความสำเร็จของการทำเด็กหลอดแก้วใช้อสุจิไม่กี่ตัวที่สมบูรณ์เท่านั้น
แต่โฆษกทัณฑสถานอิสราเอลแสดงท่าทีสงสัยหลังทราบข่าวการให้กำเนิดบุตรด้วยอสุจินักโทษปาเลสไตน์ จะเป็นไปได้อย่างไรเมื่อมาตรการรักษาความปลอดภัยของเรือนจำระหว่างญาติไปเยี่ยมเข้มงวดมาก ไม่อนุญาตให้มีการสัมผัสติดต่อทางกายระหว่างนักโทษคดีความมั่นคงกับครอบครัวอย่างเด็ดขาด
แต่มาห์มูด ฮัสวัน ทนายความปาเลสไตน์ที่เคยไปเยี่ยมเยือนนักโทษ กล่าวว่า จริงอยู่ที่เป็นเรื่องยาก แต่ไม่ใช่ว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะลอบนำอสุจิออกจากเรือนจำอิสราเอล แม้มีกระจกแก้วกั้นกลางระหว่างนักโทษกับผู้ไปเยี่ยม แต่ลูกที่อายุต่ำกว่า 8 ขวบได้รับอนุญาตให้กอดพ่อได้ อีกทั้งผู้คุมเรือนจำเองก็อาจเกิดความสงสาร จงใจหันมองไปทางอื่นก็ได้นาทีนั้น "หากคุณแอบนำมือถือเข้าไปในห้องขังได้ คุณก็สามารถนำอสุจิออกมาได้"
ปัจจุบันมีนักโทษปาเลสไตน์ในเรือนจำอิสราเอลราว 4,500 คนที่ถูกจำคุกฐานกระทำความผิดตั้งแต่ปาก้อนหินจนถึงสังหารชาวอิสราเอล
นายอิสซา การากา รัฐมนตรีเรือนจำปาเลสไตน์ กล่าวว่า นักโทษอิสราเอลได้สิทธิมากมาย ได้รับอนุญาตให้ออกจากเรือนจำไปเยี่ยมบ้าน อยู่กับภรรยาได้ แม้แต่นายยิกาล อามีร์ ชาวยิวหัวรุนแรงสุดโต่งที่ถูกจำคุกตลอดชีวิตฐานลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรียิคซัค ราบิน แห่งอิสราเอล ขณะพยายามเดินหน้ากระบวนการสันติภาพกับปาเลสไตน์เมื่อปี 2538 ก็ยังได้รับอนุญาตห้แต่งงานได้ และได้ไปเยี่ยมบ้านอยู่ฉันท์สามีภรรยาเป็นระยะๆ เมื่อปี 2549 จนที่สุดให้กำเนิดบุตรชายคนหนึ่งเมื่อปี 2550
นพ.อาบู ไคราซาน เชื่อว่า ชาวปาเลสไตน์ก็ควรได้รับสิทธิเดียวกันนี้ สิทธิที่จะมีลูก สิทธิที่จะเป็นพ่อแม่คน เป็นสิทธิมนุษยชนสากล แต่กว่าคำขอนี้จะเป็นจริง นักโทษปาเลสไตน์คงต้องหาทางลักลอบนำอสุจิออกจากเรือนจำไปให้ภรรยาต่อไป และในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า จะมีเด็กถือกำเนิดด้วยวิธีการนี้อีกจำนวนหนึ่ง
ภรรยานักโทษปาเลสไตน์ได้แต่หวังว่า วันหนึ่งการลอบนำอสุจิออกจากเรือนจำจะไม่จำเป็นอีกต่อไป เมื่ออิสราเอลเปลี่ยนใจยอมให้สามีได้รับอนุญาตให้กลับเยี่ยมบ้านได้ แม้แต่ฆาตกรสังหารอดีตนายกฯ ราบินยังมีลูกได้ขณะอยู่ในเรือนจำ ทำไมชาวปาเลสไตน์จึงถูกตัดสิทธินั้น