คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
อธิบายบทความง่าย ๆ ครับ มีคนกลุ่มหนึ่งพยายามลุ้นให้อดีตนายก อภิสิทธ์ ขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศในข้อหาคอร์รัปชั่น โดยอ้างว่าไทยเป็นภาคีสมาชิกสนธิสัญญาต่อต้านคอร์รัปชั่น
ลุ้นไม่ขึ้นหรอกครับ
เพราะจริงอยู่ไทยลงนามและให้สัตยาบันเป็นภาคีสมาชิกสนธิสัญญาต่อต้านคอร์รัปชั่นแ้ล้ว แต่ในสนธิสัญญาต่อต้านคอร์รัปชั่น (United Nations Convention against Corruption) ก่อภาระผูกพันเพียงแค่ให้ประเทศภาคีนั้นกำหนดให้การคอร์รัปชั่นมีความผิดตามกฎหมายภายในของประเทศและให้ร่วมมือกันกับรัฐภาคีอื่นในการต่อต้านการคอร์รัปชั่น ไม่มีบทบัญญัติใดที่ให้อำนาจ ICC ในการเข้ามาบังคับตามสนธิสัญญา
International Criminal Court มีเขตอำนาจแค่เรื่องคดีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คดีอาชญากรรมต่อมนุษย์ชาติ คดีอาชญากรสงคราม และคดีการกระทำด้วยความก้าวร้าว (Crime of aggression - the use of armed force by a State against the sovereignty, territorial integrity or political independence of another State) ดังนั้น ICC จึงไม่มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นภายในประเทศภาคี
และประการที่สำคัญที่สุด ประเทศไทยนั้นเพียงแต่ลงนามในธรรมนูญกรุงโรม (Rome Statute of the International Criminal Court) แต่ยังไม่ให้สัตยาบัน ดังนั้นศาลอาญาระหว่างประเทศจึงไม่มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีในประเทศไทย เหตุผลที่ไทยไม่ให้สัตยาบันนั้นเพราะธรรมนูญกรุงโรม ข้อ 27 กำหนดว่า ให้ใช้ธรรมนูญบังคับแก่บุคคลทุกคนอย่างเสมอหน้ากัน และไม่มีใครจะอ้างอำนาจหน้าที่ทางราชการ โดยเฉพาะในฐานะประมุขแห่งรัฐ มาคุ้มกันตนให้พ้นจากความรับผิดทางอาญาได้ รัฐบาลไทยจึงไม่ยอมให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม เพราะ ข้อ 27 ดังกล่าวจะมีผลให้พระมหากษัตริย์ไทยอ้างความคุ้มกันตามกฎหมายไทยมิได้ครับ
สรุปครับ แม้จะเกิดการคอร์รับชั่นจริงตามที่บทความนำเสนอ ก็ขึ้นศาล ICC ไม่ได้ครับ เพราะศาล ICC ไม่มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีในประเทศไทย เนื่องจากไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันในธรรมนูญกรุงโรม...
ลุ้นไม่ขึ้นหรอกครับ
เพราะจริงอยู่ไทยลงนามและให้สัตยาบันเป็นภาคีสมาชิกสนธิสัญญาต่อต้านคอร์รัปชั่นแ้ล้ว แต่ในสนธิสัญญาต่อต้านคอร์รัปชั่น (United Nations Convention against Corruption) ก่อภาระผูกพันเพียงแค่ให้ประเทศภาคีนั้นกำหนดให้การคอร์รัปชั่นมีความผิดตามกฎหมายภายในของประเทศและให้ร่วมมือกันกับรัฐภาคีอื่นในการต่อต้านการคอร์รัปชั่น ไม่มีบทบัญญัติใดที่ให้อำนาจ ICC ในการเข้ามาบังคับตามสนธิสัญญา
International Criminal Court มีเขตอำนาจแค่เรื่องคดีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ คดีอาชญากรรมต่อมนุษย์ชาติ คดีอาชญากรสงคราม และคดีการกระทำด้วยความก้าวร้าว (Crime of aggression - the use of armed force by a State against the sovereignty, territorial integrity or political independence of another State) ดังนั้น ICC จึงไม่มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นภายในประเทศภาคี
และประการที่สำคัญที่สุด ประเทศไทยนั้นเพียงแต่ลงนามในธรรมนูญกรุงโรม (Rome Statute of the International Criminal Court) แต่ยังไม่ให้สัตยาบัน ดังนั้นศาลอาญาระหว่างประเทศจึงไม่มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีในประเทศไทย เหตุผลที่ไทยไม่ให้สัตยาบันนั้นเพราะธรรมนูญกรุงโรม ข้อ 27 กำหนดว่า ให้ใช้ธรรมนูญบังคับแก่บุคคลทุกคนอย่างเสมอหน้ากัน และไม่มีใครจะอ้างอำนาจหน้าที่ทางราชการ โดยเฉพาะในฐานะประมุขแห่งรัฐ มาคุ้มกันตนให้พ้นจากความรับผิดทางอาญาได้ รัฐบาลไทยจึงไม่ยอมให้สัตยาบันธรรมนูญกรุงโรม เพราะ ข้อ 27 ดังกล่าวจะมีผลให้พระมหากษัตริย์ไทยอ้างความคุ้มกันตามกฎหมายไทยมิได้ครับ
สรุปครับ แม้จะเกิดการคอร์รับชั่นจริงตามที่บทความนำเสนอ ก็ขึ้นศาล ICC ไม่ได้ครับ เพราะศาล ICC ไม่มีเขตอำนาจในการพิจารณาคดีในประเทศไทย เนื่องจากไทยยังไม่ได้ให้สัตยาบันในธรรมนูญกรุงโรม...
แสดงความคิดเห็น
ศาลอาญาระหว่างประเทศ (ไอซีซี) กับรถไฟ (เจ้าปัญหา)
ในท่ามกลางกระแสความห่วงใยในงบประมาณ 2.2 ล้านบาท
รวมทั้งจับตาเรื่องการ คอรัปชั่น พ่วงไปที่ รบ.ชุดคุณอภิสิทธิได้ไปลงนามใน
Intergovernmental Agreement on th Trans-Asian Railway กำหนดให้สร้างทางรถไฟ
และระบบรถไฟในระบบ standard gate 1,435 ม เชื่อมต่อชายแดนทุกประเทศ
แต่การสร้างราง1 เมตร โดยรบ.ชุดนี้ ตามโครงการเงินกู้2.2ล้าน อาจส่อเจตนาทุจริต
พร้อมทั้งบอกว่าอีก2 เดือนข้างหน้า เลขาธิการ JIG จะเยือน ปทท.
สามารถรวบรวมหลักฐานส่งให้สอบสวนได้ รบ.นี้อาจต้องขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ
..เกิดข้อสงสัยว่าบ้านเราได้ดำเนินการสร้างไปแล้วหรือ
หากยัง และมีการแก้ไขสัญญาฯ ต้องยื่นให้ศาลอาญาระหว่างประเทศสอบสวนเสียก่อนใช่หรือไม่?