คุณแม่ : คุณหมอคะ น้องตูน(นามสมมติ) ดื้อมากเลยค่ะ สั่งอะไรไม่ยอมทำเลย
ตอนนี้อยู่อนุบาลสองแล้ว ไม่ยอมช่วยเหลือตัวเองเลย ทั้งที่ที่โรงเรียนเค้าก็ทำได้
หมอ : เวลาออกคำสั่งแล้วลูกไม่ทำตาม แม่ทำยังไงครับ
คุณแม่ : ก็ต้องเตือนซ้ำๆเป็นสิบรอบน่ะค่ะ พูดจนปากฉีกถึงรูหูแล้วก็ยังไม่ทำ
จนกว่าแม่จะเป็นนางยักษ์นั่นแหละถึงจะยอมทำได้
บางทีแม่โมโหก็ต้องลงท้ายด้วยการตีเลยค่ะ กว่าจะได้ผล
หมอ : คุณแม่ออกคำสั่งกับลูกด้วยวิธีนี้ มีผลอะไรตามมาบ้างครับ
คุณแม่ : แม่เหนื่อยมากค่ะ บางครั้งก็รู้สึกผิดกับลูกนะคะ ที่เราทำรุนแรงไป แต่ก็ไม่รู้จะทำยังไงค่ะ
ส่วนน้องตูนก็หน้างอ ยอมทำแบบเสียไม่ได้ คงไม่พอใจแม่อยู่เหมือนกันค่ะ
หมอ : ดูเหมือนวิธีเดิมๆที่คุณแม่ใช้คงไม่ได้ผล และยิ่งทำให้ทั้งแม่กับลูกรู้สึกแย่ด้วย
แม่คงต้องปรับกลยุทธ์ใหม่แล้วล่ะครับ
.........................................................................................................
..........................................................................
.............................................
..............................
กลยุทธ์ที่ผมบอกคุณแม่น้องตูน คือ กฎ 1 – 2 – action
1 คือ เตือนครั้งที่ 1 ตอนใกล้หมดเวลาที่กำหนด
2 คือ เตือนครั้งที่ 2 ตอนหมดเวลาที่กำหนด
Action คือ ใช้การกระทำเข้าช่วยแทนการใช้คำพูดเพียงอย่างเดียว
ด้วยการพาลูกไปทำตามสิ่งที่เราบอก
จะใช้กฎดังกล่าวได้ต้องมีข้อตกลงหรือตารางเวลาที่เรากำหนดกับลูกไว้ล่วงหน้า
เช่น เวลา 17.30-18.00 เป็นเวลาที่ลูกจะเล่นได้อย่างอิสระ หลังจากนั้น ตอน 18.00 เป็นเวลากินข้าว ฯลฯ
....................................................
ตัวอย่าง
แม่ : น้องตูน...อีก 5 นาที เข็มยาวจะอยู่ที่เลข 12
จะหมดเวลาเล่น tablet แล้วนะลูก
ต้องเตรียมตัวเก็บแล้วนะครับ แล้วต้องไปกินข้าวเย็นกัน (1)
----------------------------(ผ่านไป 5 นาที ณ เวลา 18.00น.)----------------------------------
แม่ : น้องตูน (เสียงเข้มขึ้น)...หมดเวลาแล้ว.. วาง tablet แล้วมากินข้าวได้แล้วครับ (2)
น้องตูน : อีกเดี๋ยวน่าแม่..เกมกำลังมันส์เลย
----------------------(น้องตั้มยังคงเล่น tablet ต่อไป)------------------------------------------
แม่ : เอาล่ะ ลูกต้องหยุดเล่นตอนนี้ ตามข้อตกลงของเรานะ
(แม่พูดเสียงเข้ม สีหน้าจริงจัง พร้อมกับปลด tablet ออกจากมือน้องตูนอย่างนุ่มนวล)
.....................แม่จูงมือน้องตูนไปที่โต๊ะอาหารทันที............
ประเด็นของการใช้กฎ1 – 2 – action คือ พ่อแม่ต้องหนักแน่น จริงจังในสิ่งที่เราบอกกับลูก
โดยไม่จำเป็นต้องใช้อารมณ์เกรี้ยวกราด
หากวิธีการออกคำสั่งของเราคือ ใช้คำพูดเตือนไปเรื่อยๆ
ถ้าลูกยังไม่ทำ เราก็ยังบ่นไปเรื่อยๆ สุดท้ายลูกก็ไม่ทำ เราก็ทำให้ลูกเอง หรือปล่อยไป
หรือเราอาจลงโทษด้วยความรุนแรงเพราะความโมโห
วิธีการดังกล่าว ทำให้ลูกเรียนรู้ว่า ไม่ต้องทำตามหรอก
เพราะสุดท้ายพ่อแม่ก็ทำเอง เค้า จะทำให้เหนื่อยทำไม
หรือไม่ก็รอให้เราพูดหลายๆรอบ ค่อยไปทำก็ได้
ยิ่งนานไป เด็กจะยิ่งรู้สึกว่า คำพูดเราไม่ศักดิ์สิทธิ์ และไม่เชื่อถือคำพูดเราในที่สุด
เพราะพ่อแม่ไม่เห็นจะให้เค้าทำตามที่บอกเลย
การเตือนด้วยคำพูดเพียงสองครั้ง เพื่อให้เด็กเรียนรู้ว่าไม่ควรโอ้เอ้
และตัดวงจรความโมโหของเราเอง
เพราะยิ่งเตือนมากขึ้น เราจะยิ่งอารมณ์เสียมากขึ้น และอาจเผลอลงโทษลูกด้วยความรุนแรงได้
หากเราหนักแน่น จริงจัง สม่ำเสมอ ลูกจะรู้สึกเชื่อถือ ยำเกรงในตัวพ่อแม่
เพราะรู้ว่าคำสั่งใดที่พ่อแม่บอก พ่อแม่เอาจริงและไม่ปล่อยผ่านแน่ เด็กจะเชื่อฟังและว่าง่ายขึ้น
เพราะรู้ว่าไม่ว่าเค้าจะดึงดันยังไง สุดท้ายพ่อแม่ก็ต้องให้เค้าทำอยู่ดี
...................................
ที่มาของภาพ :
http://heidistjohn.com/blog/2012/08/31/the-importance-of-discipline/
...ตอนหน้าจะเล่าวิธีต่อว่าถ้าลูกยังดื้อดึงไม่ยอมทำตาม จะต้องทำอย่างไรต่อไปครับ....
= = คุมลูกให้อยู่หมัด ด้วยกฎ 1 – 2 – action = =
ตอนนี้อยู่อนุบาลสองแล้ว ไม่ยอมช่วยเหลือตัวเองเลย ทั้งที่ที่โรงเรียนเค้าก็ทำได้
หมอ : เวลาออกคำสั่งแล้วลูกไม่ทำตาม แม่ทำยังไงครับ
คุณแม่ : ก็ต้องเตือนซ้ำๆเป็นสิบรอบน่ะค่ะ พูดจนปากฉีกถึงรูหูแล้วก็ยังไม่ทำ
จนกว่าแม่จะเป็นนางยักษ์นั่นแหละถึงจะยอมทำได้
บางทีแม่โมโหก็ต้องลงท้ายด้วยการตีเลยค่ะ กว่าจะได้ผล
หมอ : คุณแม่ออกคำสั่งกับลูกด้วยวิธีนี้ มีผลอะไรตามมาบ้างครับ
คุณแม่ : แม่เหนื่อยมากค่ะ บางครั้งก็รู้สึกผิดกับลูกนะคะ ที่เราทำรุนแรงไป แต่ก็ไม่รู้จะทำยังไงค่ะ
ส่วนน้องตูนก็หน้างอ ยอมทำแบบเสียไม่ได้ คงไม่พอใจแม่อยู่เหมือนกันค่ะ
หมอ : ดูเหมือนวิธีเดิมๆที่คุณแม่ใช้คงไม่ได้ผล และยิ่งทำให้ทั้งแม่กับลูกรู้สึกแย่ด้วย
แม่คงต้องปรับกลยุทธ์ใหม่แล้วล่ะครับ
.........................................................................................................
..........................................................................
.............................................
..............................
กลยุทธ์ที่ผมบอกคุณแม่น้องตูน คือ กฎ 1 – 2 – action
1 คือ เตือนครั้งที่ 1 ตอนใกล้หมดเวลาที่กำหนด
2 คือ เตือนครั้งที่ 2 ตอนหมดเวลาที่กำหนด
Action คือ ใช้การกระทำเข้าช่วยแทนการใช้คำพูดเพียงอย่างเดียว
ด้วยการพาลูกไปทำตามสิ่งที่เราบอก
จะใช้กฎดังกล่าวได้ต้องมีข้อตกลงหรือตารางเวลาที่เรากำหนดกับลูกไว้ล่วงหน้า
เช่น เวลา 17.30-18.00 เป็นเวลาที่ลูกจะเล่นได้อย่างอิสระ หลังจากนั้น ตอน 18.00 เป็นเวลากินข้าว ฯลฯ
....................................................
ตัวอย่าง
แม่ : น้องตูน...อีก 5 นาที เข็มยาวจะอยู่ที่เลข 12
จะหมดเวลาเล่น tablet แล้วนะลูก
ต้องเตรียมตัวเก็บแล้วนะครับ แล้วต้องไปกินข้าวเย็นกัน (1)
----------------------------(ผ่านไป 5 นาที ณ เวลา 18.00น.)----------------------------------
แม่ : น้องตูน (เสียงเข้มขึ้น)...หมดเวลาแล้ว.. วาง tablet แล้วมากินข้าวได้แล้วครับ (2)
น้องตูน : อีกเดี๋ยวน่าแม่..เกมกำลังมันส์เลย
----------------------(น้องตั้มยังคงเล่น tablet ต่อไป)------------------------------------------
แม่ : เอาล่ะ ลูกต้องหยุดเล่นตอนนี้ ตามข้อตกลงของเรานะ
(แม่พูดเสียงเข้ม สีหน้าจริงจัง พร้อมกับปลด tablet ออกจากมือน้องตูนอย่างนุ่มนวล)
.....................แม่จูงมือน้องตูนไปที่โต๊ะอาหารทันที............
ประเด็นของการใช้กฎ1 – 2 – action คือ พ่อแม่ต้องหนักแน่น จริงจังในสิ่งที่เราบอกกับลูก
โดยไม่จำเป็นต้องใช้อารมณ์เกรี้ยวกราด
หากวิธีการออกคำสั่งของเราคือ ใช้คำพูดเตือนไปเรื่อยๆ
ถ้าลูกยังไม่ทำ เราก็ยังบ่นไปเรื่อยๆ สุดท้ายลูกก็ไม่ทำ เราก็ทำให้ลูกเอง หรือปล่อยไป
หรือเราอาจลงโทษด้วยความรุนแรงเพราะความโมโห
วิธีการดังกล่าว ทำให้ลูกเรียนรู้ว่า ไม่ต้องทำตามหรอก
เพราะสุดท้ายพ่อแม่ก็ทำเอง เค้า จะทำให้เหนื่อยทำไม
หรือไม่ก็รอให้เราพูดหลายๆรอบ ค่อยไปทำก็ได้
ยิ่งนานไป เด็กจะยิ่งรู้สึกว่า คำพูดเราไม่ศักดิ์สิทธิ์ และไม่เชื่อถือคำพูดเราในที่สุด
เพราะพ่อแม่ไม่เห็นจะให้เค้าทำตามที่บอกเลย
การเตือนด้วยคำพูดเพียงสองครั้ง เพื่อให้เด็กเรียนรู้ว่าไม่ควรโอ้เอ้
และตัดวงจรความโมโหของเราเอง
เพราะยิ่งเตือนมากขึ้น เราจะยิ่งอารมณ์เสียมากขึ้น และอาจเผลอลงโทษลูกด้วยความรุนแรงได้
หากเราหนักแน่น จริงจัง สม่ำเสมอ ลูกจะรู้สึกเชื่อถือ ยำเกรงในตัวพ่อแม่
เพราะรู้ว่าคำสั่งใดที่พ่อแม่บอก พ่อแม่เอาจริงและไม่ปล่อยผ่านแน่ เด็กจะเชื่อฟังและว่าง่ายขึ้น
เพราะรู้ว่าไม่ว่าเค้าจะดึงดันยังไง สุดท้ายพ่อแม่ก็ต้องให้เค้าทำอยู่ดี
...................................
ที่มาของภาพ : http://heidistjohn.com/blog/2012/08/31/the-importance-of-discipline/
...ตอนหน้าจะเล่าวิธีต่อว่าถ้าลูกยังดื้อดึงไม่ยอมทำตาม จะต้องทำอย่างไรต่อไปครับ....