ตอบโจทย์ : ยังมีคนไทยใจรักชาติรักสถาบันฯ จริงหรือ ...รศ.ประพันธ์พงศ์ เวชชาชีวะ ..แนวหน้าออนไลน์

กระทู้สนทนา
ความจริงไม่อยากเขียนเรื่องเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์
เพราะมีความคิดอยู่เสมอว่าสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นของสูง
สำหรับตัวผู้เขียนและคนในสกุล “เวชชาชีวะ” เพราะพวกเราได้รับ
พระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็กพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
พระราชทานนามสกุลโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับตัวผู้เขียนเติบโต
และได้รับการศึกษาจากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โรงเรียนวชิราวุธมีบทเพลงประจำโรงเรียนที่ไม่เคยลืมเลย แม้เวลาล่วงเลยมา
กว่าเกือบ 60ปีแล้วก็ตามว่า “...รู้รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ เป็นฉัตรชัย ...”
แต่สิ่งที่ทำให้ต้องเขียนบทความนี้ ก็เพราะเมื่อคืนวันที่ 18 มีนาคมนี้
โดยไม่ตั้งใจได้เปิดโทรทัศน์สถานี Thai PBS รายการ”ตอบโจทย์” ซึ่งมี
ผู้ร่วมรายการ คือ นายสุลักษณ์  ศิวรักษ์ ผู้ที่อ้างตัวว่าจงรักภักดี
กับนายสมศักดิ์  เจียมธีรสกุล อาจารย์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ผู้เขียนไม่มีความอดทนพอที่จะฟังจนจบ เพราะสิ่งที่ผู้สนทนาทั้งสอง
กล่าวถึงสถาบันพระมหากษัตริย์ ทั้งคู่อ้างว่า เพื่อรักษาสถาบัน
และต้องการเปลี่ยนแปลงบทบาทของสถาบัน แต่กลับกลายเป็นว่า
ทั้งสองมีความเหมือนกันคือ ไม่พอใจในสถานภาพของสถาบันในปัจจุบัน
แต่คนหนึ่ง คือ นายสมศักดิ์ ต้องการให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน
ขณะที่นายสุลักษณ์ ต้องการเปลี่ยนแปลงเช่นกัน แต่ค่อยๆเปลี่ยนไม่ใช่
ทำในปัจจุบัน แต่ผลก็เหมือนกันต่างฝ่ายต่างยกเหตุผลทางประวัติศาสตร์
สมัยจอมพล สฤษดิ์  ธนะรัชต์ บ้าง สถาบันพระมหากษัตริย์ของต่างประเทศ
เช่น อังกฤษ และประเทศในกลุ่มสแกนดิเนเวีย คือ เดนมาร์ก สวีเดน
และนอรเวย์บ้าง
โดยเฉพาะนายสุลักษณ์ ได้กล่าวถึงสถาบันกษัตริย์ประเทศสวีเดน
ซึ่งผู้เขียนได้มีโอกาสไปเรียนจบปริญญาโททางสังคมศาสตร์ด้วยทุนส่วนตัว
สิ่งที่นายสุลักษณ์ กล่าวอ้างเป็นความจริงเพียงบางส่วนเท่านั้น กล่าวคือ
ประมาณปี ค.ศ. 1946 ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์เรื่องสถาบันกษัตริย์ทำนองว่า
ล้าสมัยและมีการออกเสียงประชามติว่าประเทศสวีเดนจะเป็นสาธารณรัฐหรือ
มีพระมหากษัตริย์ ผลปรากฏว่าสถาบันกษัตริย์ของสวีเดนยังคงอยู่ต่อไป
ตราบเท่าที่พระมหากษัตริย์ในขณะนั้น มีองค์รัชทายาทสืบต่อราชบัลลังค์
ปัญหาเรื่องสถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศสวีเดนก็คงดำรงอยู่จนทุกวันนี้
รวมทั้งประเทศนอรเวย์ และประเทศเดนมาร์ก ด้วย

อย่างไรก็ดี สถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศในยุโรปจะมีความแตกต่าง
กว่าของประเทศไทย เนื่องจากขนบธรรมเนียมประเพณีอาจแตกต่างกัน
แต่พระมหากษัตริย์ของประเทศเหล่านี้คล้ายกับของเราก็คือ
พระมหากษัตริย์มีพระมหากรุณาธิคุณต่อประชาชนของประเทศนั้นๆ
เพราะพระมหากษัตริย์ที่กล่าวถึงและพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเรา
ไม่เคยทอดทิ้งประชาชนเลยสถาบันกษัตริย์มิได้เป็นอุปสรรคในการปกครอง
ระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะสถาบันกษัตริย์ในกลุ่มสแกนดิเนเวีย
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เคยมีบางคนบางกลุ่มเหมือนกับคนไทย
ที่สนทนาในรายการตอบโจทย์ เมื่อวันที่ 18 นี้
และยิ่งกว่านั้นในสวีเดนมีการออกเสียงประชามตินั่นเป็นอดีต
แต่ปัจจุบันประชาชนในประเทศเหล่านั้น กลับยกย่องเชิดชูกษัตริย์ของเขา
และเมื่อครั้งที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชและ
สมเด็จพระราชินี เสด็จเยือนประเทศสวีเดนทำให้เมื่อคนสวีเดนพบคนไทยอื่น ๆ
รวมทั้งผู้เขียนได้แสดงความชื่นชมในสองพระองค์อย่างเห็นได้ชัด

สุดท้ายนี้ ความจริงอยากเล่าเรื่อง สถาบันพระมหากษัตริย์ของประเทศ
ในกลุ่มสแกนดิเนเวียเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจว่า มิได้เป็นไปตามที่นายสุลักษณ์  
ศิวรักษ์ ได้กล่าวในการสนทนากับ นายสมศักดิ์  เจียมธีรสกุล
และอยากจะบอกว่าสิ่งที่ทั้งสองคนสนทนาในเมื่อคืนนั้น ทำให้ผู้เขียน
ไม่อาจทนฟังได้ และเข้าใจว่าคนไทยที่มีหัวใจรักชาติก็คงรับไม่ได้เช่นกัน

http://www.naewna.com/politic/columnist/5881


ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา พิธีกรรายการตอบโจทย์

ภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ทำหน้าที่ของสื่อ มวลชนบนพื้นฐานจรรยาบรรณ

ทั้งบทบาทของตัวเอง และสื่อ โดยเฉพาะสื่อสาธารณะที่ก่อกำเนิดจากภาษีประชาชน

คำตอบของสังคมก็คือ การคืนจอของรายการ "ตอบโจทย์ประเทศไทย ตอน 5"

ตอนสุดท้ายในประเด็น "สถาบันพระมหากษัตริย์ ภายใต้รัฐธรรมนูญ"

ตอนที่สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส สั่งงดออกอากาศ ขณะประชาชนนับล้านเฝ้ารอ

นำสู่ประกาศยุติการทำรายการของ กองบรรณาธิการตอบโจทย์

ถ้อยแถลงระบุ เพื่อแสดงจุดยืนต่อวิชาชีพสื่อสารมวลชน ต่อการข่มขู่ คุก คาม
และการแทรกแซงการทำงานจากภายใน อย่างไม่เป็นมืออาชีพ ซึ่งสุ่มเสี่ยง
ต่อการขัดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

จึงขอยุติการทำรายการตอบโจทย์ประเทศไทย เนื่องจากไม่สามารถตอบโจทย์
ได้อีกต่อไป ว่ายังจะรักษาความเชื่อมั่นในเสรีภาพของสื่อสารมวลชน ซึ่งได้รับ
การคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญไว้ได้อย่างไร

"ยินดีเลือกที่จะสละรายการ เพื่อรักษาหลักการ"

บัณฑิตคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

หันเหสู่วงการสื่อ เริ่มต้นจากเป็นนักข่าว (ศิษย์เก่าเครือผู้จัดการ) หลังร่วม
เหตุการณ์พฤษภาทมิฬ

ก่อตั้งนิตยสาร โอเพ่น-OPEN เป็นทางเลือกที่แตกต่าง

แจ้งเกิดรายการตอบโจทย์ประเทศ ไทย ช่องไทยพีบีเอส

จัดรายการกระตุกต่อมสังคมไทย

http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNMk16YzVNVE00Tmc9PQ==&sectionid=

อ่านบทความของ อ.จ.ประพันธ์พงศ์  จบก็รู้เลยว่า  รายการนี้ ไม่สามารถกระตุกต่อม ... อ.จ.  ได้  ...
ไม่ทราบว่าอ.จ. ยังสอนหนังสืออยู่ไหม ... ถ้าได้สอนที่ดียวกับ อ.จ. สมศักดิ์ น่าจะดีกว่า นะคะ  
มิฉะนั้น ลูกศิษย์น่าจะถูกครอบงำ  ความคิด แบบมองมองเหรียญด้านเดียว  ไม่ยอมรับคคห.ที่แตกต่าง  
ซึ่งเป็นอันตรายมาก กับสังคมปัจจุบัน .... ยิ้ม



สาวแว่น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่