มีความคืบหน้าดอนสวรรค์มาเล่าให้ฟังครับ... จะแบ่งเป็นสามโพสต์ในกระทู้นี้ครับ
ภายหลังจากที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครได้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินดอนสวรรค์ไปเมื่อปลายเดือนกันยายน 2555 (ก่อนย้าย) รวมทั้งคณะกรรมาธิการศาสนาฯ ได้สั่งให้คณะอนุกรรมาธิการวัดร้างฯ ยุติการดำเนินการเกี่ยวกับดอนสวรรค์และวัดเลียบ(บุรีรัมย์) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา ก็มีหนังสือจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนกรณีวัดดอนสวรรค์ (ร้าง) ส่งมาให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ตามหนังสือที่ พศ ๓๓๐๕/๐๑๕๖๘ เพื่อให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนครประสานดำเนินการต่อมีดังนี้
๑.ชะลอเรื่องการขอออกโฉนดที่ดิน และการขอเพิกถอนชื่อวัดดอนสวรรค์ (ร้าง) ออกจากทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติกลางและวัดร้างของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติไว้ก่อน จนกว่าจะได้ข้อยุติหรือได้ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่แล้ว จึงจะดำเนินการต่อไป
๒.ประสานสำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด เพื่อตรวจสอบพิสูจน์สภาพความเป็นวัดร้างตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ.๒๔๗๒ รวมทั้งประสานกับสำนักงานที่ดินจังหวัดสกลนครตรวจสอบพิกัดและอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศจากกรมแผนที่ทหาร เพื่อความชัดเจนของจำนวนเนื้อที่ที่แท้จริงของวัดดอนสวรรค์ (ร้าง)
๓.เมื่อดำเนินการตามข้อ ๑. แล้วเสร็จ จึงจะขอเพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเลขที่ ๐๖๒๓ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ และขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะในส่วนที่เป็นที่ดินวัดดอนสวรรค์ (ร้าง)
๔.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร หารือร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดสกลนคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผน และดำเนินการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของวัดในพระพุทธศาสนาซึ่งมีมาแต่โบราณกาลตามราชกิจจานุเบกษาดังกล่าว
ข้อเท็จจริงที่แฝงอยู่ในหนังสือฉบับนี้ก็คือ
ในข้อ ๑. การชะลอเรื่องการขอออกโฉนดที่ดินได้ถูกเพิกถอนโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครเมื่อปลายเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ ไปแล้ว ดังนั้นคำสั่งจึงพุ่งประเด็นไปที่การชะลอการเพิกถอนทะเบียนวัดร้าง นอกเสียจากว่าสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ มีการแอบดำเนินการเพื่อออกโฉนดที่ดินดอนสวรรค์โดยที่ประชาชนไม่รู้
ในข้อ ๒. ข้อเท็จจริงก็คือไม่ต้องมีคำสั่งนี้ก็ได้ เพราะสำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ดได้มาตรวจสอบแล้วตั้งแต่ปลายปี ๒๕๕๕ ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความเห็นกับประชาชนสกลนครด้วยดี รวมทั้งมีกิจกรรมร่วมกันเมื่อคราวกระแสวันสิ้นโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
ในข้อ ๓. จึงเป็นการแสดงเจตนาที่ชัดเจนว่าต้องการโฉนดที่ดินดอนสวรรค์
ในข้อ ๔. เป็นคำสั่งจากราชการส่วนกลางที่มีนัยยะที่โหดร้ายอย่างยิ่ง เพราะส่วนกลางลอยตัวแต่สั่งให้ราชการท้องถิ่นเป็นผู้ชนกับประชาชนโดยลากคณะสงฆ์เข้ามาแปดเปื้อนด้วย
จากหนังสือฉบับนี้ เปรียบเสมือนหนังสือท้ารบกับคนสกลนคร ซึ่งเราได้หลีกเลี่ยงอย่างมากที่สุดแล้วที่จะไม่ฟ้องใคร และก้าวไปด้วยกันทั้งหมดเป็นแนวทางเดียวกันอย่างละมุนละม่อม แต่เมื่อราชการส่วนกลางมีหนังสือที่แทรกแซงมาที่สกลนคร ด้วยวัตถุประสงค์ให้คนสกลนครทะเลาะกันเอง ให้ราชการท้องถิ่นทะเลาะกับประชาชน ให้ประชาชนทะเลาะกับคณะสงฆ์ พวกเราก็คงต้อง “ยกระดับการต่อสู้” ให้เข้มข้นขึ้น... โปรดติดตาม
พุทธฯ(ชาติ) ประกาศเดินหน้าฮุบดอนสวรรค์
ภายหลังจากที่ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครได้เพิกถอนการออกโฉนดที่ดินดอนสวรรค์ไปเมื่อปลายเดือนกันยายน 2555 (ก่อนย้าย) รวมทั้งคณะกรรมาธิการศาสนาฯ ได้สั่งให้คณะอนุกรรมาธิการวัดร้างฯ ยุติการดำเนินการเกี่ยวกับดอนสวรรค์และวัดเลียบ(บุรีรัมย์) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2556 ที่ผ่านมา ก็มีหนังสือจากสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติเรื่อง แนวทางการแก้ไขปัญหาข้อร้องเรียนกรณีวัดดอนสวรรค์ (ร้าง) ส่งมาให้ผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนคร ตามหนังสือที่ พศ ๓๓๐๕/๐๑๕๖๘ เพื่อให้สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนครประสานดำเนินการต่อมีดังนี้
๑.ชะลอเรื่องการขอออกโฉนดที่ดิน และการขอเพิกถอนชื่อวัดดอนสวรรค์ (ร้าง) ออกจากทะเบียนที่ดินศาสนสมบัติกลางและวัดร้างของสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติไว้ก่อน จนกว่าจะได้ข้อยุติหรือได้ทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่แล้ว จึงจะดำเนินการต่อไป
๒.ประสานสำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ด เพื่อตรวจสอบพิสูจน์สภาพความเป็นวัดร้างตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา พ.ศ.๒๔๗๒ รวมทั้งประสานกับสำนักงานที่ดินจังหวัดสกลนครตรวจสอบพิกัดและอ่านแปลภาพถ่ายทางอากาศจากกรมแผนที่ทหาร เพื่อความชัดเจนของจำนวนเนื้อที่ที่แท้จริงของวัดดอนสวรรค์ (ร้าง)
๓.เมื่อดำเนินการตามข้อ ๑. แล้วเสร็จ จึงจะขอเพิกถอนหนังสือสำคัญสำหรับที่หลวงเลขที่ ๐๖๒๓ วันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๐ และขอออกโฉนดที่ดินเฉพาะในส่วนที่เป็นที่ดินวัดดอนสวรรค์ (ร้าง)
๔.สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดสกลนคร หารือร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดสกลนคร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อจัดทำแผน และดำเนินการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ เพื่อให้เห็นถึงความสำคัญของวัดในพระพุทธศาสนาซึ่งมีมาแต่โบราณกาลตามราชกิจจานุเบกษาดังกล่าว
ข้อเท็จจริงที่แฝงอยู่ในหนังสือฉบับนี้ก็คือ
ในข้อ ๑. การชะลอเรื่องการขอออกโฉนดที่ดินได้ถูกเพิกถอนโดยผู้ว่าราชการจังหวัดสกลนครเมื่อปลายเดือนกันยายน พ.ศ.๒๕๕๕ ไปแล้ว ดังนั้นคำสั่งจึงพุ่งประเด็นไปที่การชะลอการเพิกถอนทะเบียนวัดร้าง นอกเสียจากว่าสำนักงานพระพุทธศาสนาฯ มีการแอบดำเนินการเพื่อออกโฉนดที่ดินดอนสวรรค์โดยที่ประชาชนไม่รู้
ในข้อ ๒. ข้อเท็จจริงก็คือไม่ต้องมีคำสั่งนี้ก็ได้ เพราะสำนักศิลปากรที่ ๑๐ ร้อยเอ็ดได้มาตรวจสอบแล้วตั้งแต่ปลายปี ๒๕๕๕ ซึ่งมีการแลกเปลี่ยนความเห็นกับประชาชนสกลนครด้วยดี รวมทั้งมีกิจกรรมร่วมกันเมื่อคราวกระแสวันสิ้นโลกที่ปราสาทภูเพ็ก
ในข้อ ๓. จึงเป็นการแสดงเจตนาที่ชัดเจนว่าต้องการโฉนดที่ดินดอนสวรรค์
ในข้อ ๔. เป็นคำสั่งจากราชการส่วนกลางที่มีนัยยะที่โหดร้ายอย่างยิ่ง เพราะส่วนกลางลอยตัวแต่สั่งให้ราชการท้องถิ่นเป็นผู้ชนกับประชาชนโดยลากคณะสงฆ์เข้ามาแปดเปื้อนด้วย
จากหนังสือฉบับนี้ เปรียบเสมือนหนังสือท้ารบกับคนสกลนคร ซึ่งเราได้หลีกเลี่ยงอย่างมากที่สุดแล้วที่จะไม่ฟ้องใคร และก้าวไปด้วยกันทั้งหมดเป็นแนวทางเดียวกันอย่างละมุนละม่อม แต่เมื่อราชการส่วนกลางมีหนังสือที่แทรกแซงมาที่สกลนคร ด้วยวัตถุประสงค์ให้คนสกลนครทะเลาะกันเอง ให้ราชการท้องถิ่นทะเลาะกับประชาชน ให้ประชาชนทะเลาะกับคณะสงฆ์ พวกเราก็คงต้อง “ยกระดับการต่อสู้” ให้เข้มข้นขึ้น... โปรดติดตาม