เมื่อเดือนที่ผ่านมา ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นสามารถจับภาพความคิดของปลาม้าลาย (zebrafish) ลงในวิดีโอได้ ในตอนนี้คุณสามารถชมสมองทั้งก้อนของตัวอ่อนปลาม้าลาย สว่างขึ้นในขณะที่แต่ละนิวรอนของมันยิงกระแสประสาท
ผลงานนี้เป็นเรื่องเด่นใน Nature Methods ของสัปดาห์นี้ ได้ให้ภาพที่สมบูรณ์ที่สุดของกิจกรรมสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังในปัจจุบันนี้ โดยใช้ Light Sheet Microscopy นักวิจัยจาก HHMI Janelia Farm Research Campus สามารถบันทึกการสว่างวาบของกิจกรรมสมองของปลาทุกๆ 1.3 วินาที แสดงให้เห็นนิวรอน 80% จากทั้งหมด 100,000 เซลล์
ระบบการสร้างภาพนี้ได้รับการพัฒนาโดยผู้นิพนธ์ Philipp Keller และ Misha Ahrens ไม่สามารถแยกแยะระหว่างนิวรอนที่ยิงออกไปหนเดียว กับนิวรอนที่ยิงหลายๆหนในช่วงเวลาสั้นๆได้ แต่มันได้แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมของระบบประสาทเคลื่อนไหวไปทั่วสมองได้อย่างไร โดยหวังว่ามันทำให้นักวิจัยสามารถวิเคราะห์ได้ดีขึ้นว่าส่วนต่างๆของสมองทำงานด้วยกันเพื่อเคลื่อนไหวร่างกายไปพร้อมกัน หรือประมวลผลการรับสัมผัสได้อย่างไร
การมองเห็นภายในสมองของปลาม้าลายต้องใช้พันธุวิศวกรรมเพื่อทำให้โปรตีนเรืองแสงขึ้นเมื่อเซลล์ประสาททำงาน โดยกล้องจุลทรรศน์ยิงระนาบของแสงผ่านสมองของปลาโดยมีตัวตรวจจับบันทึกผลไว้ เทคนิคนี้ทำงานค่อนข้างง่ายดายภายในเอมบริโอของปลาม้าลายเนื่องจากมันโปร่งใส แต่คงซับซ้อนขึ้นอีกหน่อยในการปรับใช้กับสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คงจำเป็นต้องมีการผ่าตัดและเราคงไม่สามารถเห็นสมองได้มากเท่านี้ในครั้งเดียว
http://www.popsci.com/science/article/2013-03/watch-neuron-activity-flash-through-fishs-brain
http://blogs.discovermagazine.com/d-brief/?p=218#.UUk3YhxplIc
นักวิทยาศาสตร์จับภาพการทำงานของสมองปลาลงวิดีโอ
เมื่อเดือนที่ผ่านมา ทีมนักวิทยาศาสตร์ชาวญี่ปุ่นสามารถจับภาพความคิดของปลาม้าลาย (zebrafish) ลงในวิดีโอได้ ในตอนนี้คุณสามารถชมสมองทั้งก้อนของตัวอ่อนปลาม้าลาย สว่างขึ้นในขณะที่แต่ละนิวรอนของมันยิงกระแสประสาท
ผลงานนี้เป็นเรื่องเด่นใน Nature Methods ของสัปดาห์นี้ ได้ให้ภาพที่สมบูรณ์ที่สุดของกิจกรรมสมองของสัตว์มีกระดูกสันหลังในปัจจุบันนี้ โดยใช้ Light Sheet Microscopy นักวิจัยจาก HHMI Janelia Farm Research Campus สามารถบันทึกการสว่างวาบของกิจกรรมสมองของปลาทุกๆ 1.3 วินาที แสดงให้เห็นนิวรอน 80% จากทั้งหมด 100,000 เซลล์
ระบบการสร้างภาพนี้ได้รับการพัฒนาโดยผู้นิพนธ์ Philipp Keller และ Misha Ahrens ไม่สามารถแยกแยะระหว่างนิวรอนที่ยิงออกไปหนเดียว กับนิวรอนที่ยิงหลายๆหนในช่วงเวลาสั้นๆได้ แต่มันได้แสดงให้เห็นว่ากิจกรรมของระบบประสาทเคลื่อนไหวไปทั่วสมองได้อย่างไร โดยหวังว่ามันทำให้นักวิจัยสามารถวิเคราะห์ได้ดีขึ้นว่าส่วนต่างๆของสมองทำงานด้วยกันเพื่อเคลื่อนไหวร่างกายไปพร้อมกัน หรือประมวลผลการรับสัมผัสได้อย่างไร
การมองเห็นภายในสมองของปลาม้าลายต้องใช้พันธุวิศวกรรมเพื่อทำให้โปรตีนเรืองแสงขึ้นเมื่อเซลล์ประสาททำงาน โดยกล้องจุลทรรศน์ยิงระนาบของแสงผ่านสมองของปลาโดยมีตัวตรวจจับบันทึกผลไว้ เทคนิคนี้ทำงานค่อนข้างง่ายดายภายในเอมบริโอของปลาม้าลายเนื่องจากมันโปร่งใส แต่คงซับซ้อนขึ้นอีกหน่อยในการปรับใช้กับสมองของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม คงจำเป็นต้องมีการผ่าตัดและเราคงไม่สามารถเห็นสมองได้มากเท่านี้ในครั้งเดียว
http://www.popsci.com/science/article/2013-03/watch-neuron-activity-flash-through-fishs-brain
http://blogs.discovermagazine.com/d-brief/?p=218#.UUk3YhxplIc