สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
เป็นชาวธรรมศาสตร์ครับ และมีจุดยืนตรงข้ามกะฝ่ายเสื้อแดงที่ละเมิด จวบจ้วง สถาบัน แต่กลับมีความคิดว่าเรื่องสถาบันเป็นเรื่องที่วิจารณ์ได้ครับ และไม่เห็นด้วยกับฝ่ายที่อ้างว่าจงรักภักดีแล้วไปไล่คนนั้นคนนี้ให้ออกนอกประเทศ เพราะประเทศไทยเป็นของคนไทยทุกคนและความคิดต่างเป็นสิ่งที่ทำให้ประเทศชาติมีการพัฒนา
ที่ผ่านมาคนไทยถูกสอนให้เชื่อฟัง ถูกสอนให้กลัวผี ไม่กล้าพูดเรื่องสถาบัน แต่จริง ๆ แล้วสถาบันกษัตริย์ ก็เหมือนสถาบันศาสนา ไม่ว่าเราจะวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร ถ้าเป็นของดีก็ย่อมดีวันยังค่ำ อย่างเช่น ศาสนาพุทธ ทุกวันนี้ก็อยู่ยืนยงมากว่าสองพันปี ส่วนที่ไม่ดีก็จะเป็นพวกที่แวดล้อมศาสนามากกว่า เช่นพระสงฆ์นอกรีต หรือคนใกล้ชิดพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงแล้วละโมบทำมาหากินกับศาสนา พระพุทธเจ้าสอนว่าอย่าเชื่อเพราะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อย่าเชื่อแม้กระทั่งพระองค์เอง ต้องใช้สติปัญญาคิด
สถาบันกษัตริย์ก็เช่นกัน เป็นสิ่งที่ดี ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ แต่ต้องได้รับฟังความรู้สึกประชาชนว่ามีสิ่งใดที่คิดว่าควรปรับปรุง ถ้าเราจงรักภักดีแบบไม่ลืมหูลืมตาย่อมทำให้แนวโน้มความคิดความอ่านของคนไทยไร้สติไร้เหตุผลให้อารมณ์ความรู้สึกเป็นหลักและจะถูกพวกอาศัยสถาบันหาประโยชน์โดยยัดเยียดฝ่ายตรงข้าม (ที่ไม่ได้แสดงความจงรักภักดีอย่างออกหน้าออกตา) ว่าเป็นพวกไม่จงรักภักดี ทั้ง ๆ ที่ความรักความเคารพต้องมาจากจิตใจข้างใน ไม่ใช่มาจากการที่จะไปบังคับเขาให้เชื่อ
ความจงรักภักดีก็ต้องมีขอบเขตไม่ใช่ใส่อภินิหารย์ลงไป อย่างเช่นผมเองไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าประสูติมาแล้วเดินได้เลย 7 ก้าวบนดอกบัว เป็นต้น ผมก็น่าจะย่อมวิจารณ์ได้ว่าผมไม่อยากจะเชื่อ แต่ผมไม่ได้หมิ่นนะครับ ผมเพียงแสดงความคิดเห็นว่าไม่น่าจะใช่ ดังนั้นคนไทยต้องรู้จักคิดว่าเรื่องใดจริง เรื่องใดไม่จริง เรื่องใดเป็นการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้จงรักภักดีอย่างหลงใหล หรือเรื่องใดมีเหตุมีผลควรเชื่อได้ วิจารณ์กันได้ครับเพราะประชาธิปไตยที่ได้มาโดยบรรพบุรุษเสียเลือดเนื้อแลกมาให้เป็นของประชาชนแล้วต้องรู้จักรักษาไว้
สถาบันกษัตริย์ไทยมีมายาวนานและทำประโยชน์ให้บ้านเมืองตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช จนปัจจุบันอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ บทบาทก็อาจจะต้องเปลี่ยนไป (หรือไม่ ก็ลองให้ความเห็นดู) อะไรมันเกินไปไม่พอดีก็ต้องเปลี่ยน อะไรมันทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำเช่นคนที่อยู่ใกล้ชิดสถาบันกษัตริย์จะได้เปรียบคนเดินดินหรือประชาชนทั่วไปก็ต้องเปลี่ยนกฏระเบียบ เป็นต้น เพราะตอนนี้เราเป็นประชาธิปไตยควรจะเสมอภาคกันมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เราไม่ควรกลับถอยหลังเข้าไปสู่ลัทธิบูชาปัจเจกบุคคลอีกต่อไป อย่างประเทศจีนสมัยเผด็จการสุด ๆ ทุกคนก็คงจะถูกบังคับ หรือมีสื่อสารมวลชนให้รับข่าวสารด้านเดียวทำให้ทุกคนมองเหมา เจอ ตุง เป็น เทวดา เป็นเทพเจ้า แต่ต่อมา ประเทศเปิดมากขึ้น ก็ยอมรับกันว่า เหมา เจ๋อ ตุง วิจารณ์ได้ว่ามีส่วนดี 70 ส่วนไม่ดี 30 ปัจจุบันจีนก็เปลี่ยนทัศนคติไม่บูชาเหมา เจ๋อ ตง กันแล้ว เพราะข้อเสียของลัทธิบูชานิยมก็คือความลุ่มหลง และการใช้ประโยชน์จากคนที่ถูกบูชาโดยคนใกล้ชิดทำลายคนอื่นที่เป็นฝ่ายตรงข้ามและไม่มีโอกาสได้ใกล้ชิดเหมือนตนเอง
นี่ก็เป็นแค่ความคิดเห็นของศิษย์เก่า มธ คนหนึ่ง มองว่า อาจารย์สมศักดิ์ แกจะน่าตำหนิก็คงในเรื่องการพูดจาที่ไม่มีศิลปะในการนำเสนอ และความมีอคติต่อสถาบันอยู่ แต่เนื้อหาที่แกพูดผมกลับคิดว่าน่าขบคิดนะ
ที่ผ่านมาคนไทยถูกสอนให้เชื่อฟัง ถูกสอนให้กลัวผี ไม่กล้าพูดเรื่องสถาบัน แต่จริง ๆ แล้วสถาบันกษัตริย์ ก็เหมือนสถาบันศาสนา ไม่ว่าเราจะวิพากษ์วิจารณ์อย่างไร ถ้าเป็นของดีก็ย่อมดีวันยังค่ำ อย่างเช่น ศาสนาพุทธ ทุกวันนี้ก็อยู่ยืนยงมากว่าสองพันปี ส่วนที่ไม่ดีก็จะเป็นพวกที่แวดล้อมศาสนามากกว่า เช่นพระสงฆ์นอกรีต หรือคนใกล้ชิดพระสงฆ์ที่มีชื่อเสียงแล้วละโมบทำมาหากินกับศาสนา พระพุทธเจ้าสอนว่าอย่าเชื่อเพราะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ อย่าเชื่อแม้กระทั่งพระองค์เอง ต้องใช้สติปัญญาคิด
สถาบันกษัตริย์ก็เช่นกัน เป็นสิ่งที่ดี ตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้ แต่ต้องได้รับฟังความรู้สึกประชาชนว่ามีสิ่งใดที่คิดว่าควรปรับปรุง ถ้าเราจงรักภักดีแบบไม่ลืมหูลืมตาย่อมทำให้แนวโน้มความคิดความอ่านของคนไทยไร้สติไร้เหตุผลให้อารมณ์ความรู้สึกเป็นหลักและจะถูกพวกอาศัยสถาบันหาประโยชน์โดยยัดเยียดฝ่ายตรงข้าม (ที่ไม่ได้แสดงความจงรักภักดีอย่างออกหน้าออกตา) ว่าเป็นพวกไม่จงรักภักดี ทั้ง ๆ ที่ความรักความเคารพต้องมาจากจิตใจข้างใน ไม่ใช่มาจากการที่จะไปบังคับเขาให้เชื่อ
ความจงรักภักดีก็ต้องมีขอบเขตไม่ใช่ใส่อภินิหารย์ลงไป อย่างเช่นผมเองไม่เชื่อว่าพระพุทธเจ้าประสูติมาแล้วเดินได้เลย 7 ก้าวบนดอกบัว เป็นต้น ผมก็น่าจะย่อมวิจารณ์ได้ว่าผมไม่อยากจะเชื่อ แต่ผมไม่ได้หมิ่นนะครับ ผมเพียงแสดงความคิดเห็นว่าไม่น่าจะใช่ ดังนั้นคนไทยต้องรู้จักคิดว่าเรื่องใดจริง เรื่องใดไม่จริง เรื่องใดเป็นการโฆษณาชวนเชื่อเพื่อให้จงรักภักดีอย่างหลงใหล หรือเรื่องใดมีเหตุมีผลควรเชื่อได้ วิจารณ์กันได้ครับเพราะประชาธิปไตยที่ได้มาโดยบรรพบุรุษเสียเลือดเนื้อแลกมาให้เป็นของประชาชนแล้วต้องรู้จักรักษาไว้
สถาบันกษัตริย์ไทยมีมายาวนานและทำประโยชน์ให้บ้านเมืองตั้งแต่สมัยสมบูรณาญาสิทธิราช จนปัจจุบันอยู่ภายใต้รัฐธรรมนูญ บทบาทก็อาจจะต้องเปลี่ยนไป (หรือไม่ ก็ลองให้ความเห็นดู) อะไรมันเกินไปไม่พอดีก็ต้องเปลี่ยน อะไรมันทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำเช่นคนที่อยู่ใกล้ชิดสถาบันกษัตริย์จะได้เปรียบคนเดินดินหรือประชาชนทั่วไปก็ต้องเปลี่ยนกฏระเบียบ เป็นต้น เพราะตอนนี้เราเป็นประชาธิปไตยควรจะเสมอภาคกันมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เราไม่ควรกลับถอยหลังเข้าไปสู่ลัทธิบูชาปัจเจกบุคคลอีกต่อไป อย่างประเทศจีนสมัยเผด็จการสุด ๆ ทุกคนก็คงจะถูกบังคับ หรือมีสื่อสารมวลชนให้รับข่าวสารด้านเดียวทำให้ทุกคนมองเหมา เจอ ตุง เป็น เทวดา เป็นเทพเจ้า แต่ต่อมา ประเทศเปิดมากขึ้น ก็ยอมรับกันว่า เหมา เจ๋อ ตุง วิจารณ์ได้ว่ามีส่วนดี 70 ส่วนไม่ดี 30 ปัจจุบันจีนก็เปลี่ยนทัศนคติไม่บูชาเหมา เจ๋อ ตง กันแล้ว เพราะข้อเสียของลัทธิบูชานิยมก็คือความลุ่มหลง และการใช้ประโยชน์จากคนที่ถูกบูชาโดยคนใกล้ชิดทำลายคนอื่นที่เป็นฝ่ายตรงข้ามและไม่มีโอกาสได้ใกล้ชิดเหมือนตนเอง
นี่ก็เป็นแค่ความคิดเห็นของศิษย์เก่า มธ คนหนึ่ง มองว่า อาจารย์สมศักดิ์ แกจะน่าตำหนิก็คงในเรื่องการพูดจาที่ไม่มีศิลปะในการนำเสนอ และความมีอคติต่อสถาบันอยู่ แต่เนื้อหาที่แกพูดผมกลับคิดว่าน่าขบคิดนะ
ความคิดเห็นที่ 10
แกมีปมของแกตั้งแต่ 6 ตุลาที่นักศึกษา มธ.ถูกปราบปรามถูกฆ่าอย่างทารุณ จากคนที่คลั่งสถาบันคลั่งชาติ
ถ้าคุณเกิดไม่ทัน ไม่เคยรับรู้ถึงเหตุการณ์จริง สถานการณ์ขนาดนั้น ไม่เข้าใจหรอก
จริงๆสมเจียมแกก็ไม่ได้อคติสถาบันอะไรมาก แต่แกกลัวว่าเหตุการณ์นั้นจะกลับมาอีก
ถ้าคนไทยบางส่วนยังคลั่งสถาบันแบบสุดโต่ง โดยคิดว่าฆ่าคนคิดต่างจากตนไม่ผิด
ถ้าคุณเกิดไม่ทัน ไม่เคยรับรู้ถึงเหตุการณ์จริง สถานการณ์ขนาดนั้น ไม่เข้าใจหรอก
จริงๆสมเจียมแกก็ไม่ได้อคติสถาบันอะไรมาก แต่แกกลัวว่าเหตุการณ์นั้นจะกลับมาอีก
ถ้าคนไทยบางส่วนยังคลั่งสถาบันแบบสุดโต่ง โดยคิดว่าฆ่าคนคิดต่างจากตนไม่ผิด
แสดงความคิดเห็น
ชาวธรรมศารตร์อยู่ไหนกะเรื่องคุงสมศักดิ์