ดูหนังเรื่องFLIGHTมา แล้วมีเรื่องสงสัยเกี่ยวกับเครื่องบินน่ะค่ะ (สปอยล์20%เฉพาะเครื่องบิน)

ตัวหนังสนุกดีนะคะ เปิดเรื่องไวมาก ฉากบนเครื่องก็ดูลงทุนและสมจริงดี
แต่เรามีข้อสงสัยเกี่ยวกับการขับเครื่องบินของพระเอกน่ะค่ะ
เพราะช่วงที่เครื่องบินเกิดขัดข้อง แล้วพระเอกต้องประคับประคองเครื่องเพื่อไม่ให้ลงจอดในที่ชุมชนหรือเพื่อลดแรงกระแทกก็แล้วแต่
พระเอกใช้วิธีขับเครื่องแบบกลับหัวน่ะค่ะ ก่อนร่อนลงจอดในสนามหญ้าที่เป็นลานกว้าง
โดยบนเครื่องมีผู้บาดเจ็บหลายราย แต่เสียชีวิตไม่เยอะค่ะ

ขอถามสองข้อนะคะ
1. การขับเครื่องบินแบบกลับหัวเช่นในหนังเรื่องนี้ สามารถทำได้ไหมคะ เพราะต้องอยู่ในสถาพนั้นชั่วระยะหนึ่งก่อนเครื่องจะร่อนลงน่ะค่ะ
2. ทำไมสายออกซิเจ่น หรือเครื่องช่วยหายใจ ถึงไม่หล่นลงมาจากด้านบนเหนือที่นั่งเหมือนในหนังฝรั่งหลายๆเรื่องคะ?
(เราเองขึ้นเครื่องบินอยู่เกือบๆ10ครั้งนะคะ แต่ไม่เคยเกิดภาวะฉุึกเฉินเช่นในหนังค่ะ เลยไม่ทราบเกี่ยวกับระบบตรงนี้ แต่ในตัวหนัง ด้านบนที่เก็บสัมภาระก็เปิดอ้าออกนะคะ)

ขอบคุณล่วงหน้าค่ะ สำหรับคำตอบ อมยิ้ม17
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
ตอบตามที่เรียนมานะครับ

แรงที่กระทำต่อเครื่องมี 4 ทิศทางคือ

thrust >>>
drag <<<
lift ^
weight

สาเหตุที่เครื่องหัวปัก ควบคุมไม่ได้ เกิดจากชิ้นส่วน stabilizer ที่ควบคุมการก้ม เงยของเครื่อง บริเวณแพนหางชำรุด ทำให้เครื่องอยู่ในสภาพหัวปัก การที่กัปตันแก้ไขคือ

1. กางล้อ กาง flap เพื่อเพิ่ม drag ลดความเร็วการตกของเครื่อง
2. กาง spoiler และเร่งเครื่องยนต์สุดใขณะที่กลับหัว เพื่อสร้าง lift และเพิ่ม thrust เพื่อต้าน weight ที่เพิ่มขึ้นขณะเอียงปีเพื่อกลับหัว

ถามว่าเครื่องบินพาณิชย์ทำได้ไหม ตอบว่าไม่ทราบครับเพราะไม่เคยมีการทดสอบ performance ในการบินกลับหัว แต่โดยทฤษฎีเป็นไปได้ยาก เพราะปีะของเครื่องบินพาณิชย์เป็น asymmetric เพื่อสร้าง lift ในการบินท่าปกติ แต่ท่าเป็นเครื่องบินผาดแผลงที่ออกแบบมา และมีน้ำหนักเบาสามารถทำได้ครับ

ส่วนทำไม oxygen mask ไม่ตกลงมา เพราะเครื่องบินเสียการควบคุม แต่ระบบความดันในห้องโดยสารไม่ได้มีปัญหาครับ หน้ากากมีไว้ใช้กรณี cabin pressure มากกว่า 10000 feet  ซึ่งปริมาณการดูดซับ O2 ของร่างกายจะลดลง เกิด Hypoxia หรือร่างกายและสมองขาด O2 ได้ จึงต้องมี O2 Mask ช่วยเพิ่มปริมาณ O2 ให้เราครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่