วันอาทิตย์ที่ 17 มีนาคม 2013 เวลา 10:35 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ ข่าวหน้า1 - คอลัมน์ : ข่าวหน้า1
"ศุภจี" เผย อินทัช เดินหน้ารุกธุรกิจใหม่ต่อเนื่อง แจง ทีวีดิจิตอล อยู่ระหว่างการศึกษาร่วมประมูลช่องราย ขณะที่ " อินเว้นท์"เตรียมร่วมลงทุนอีก 3 บริษัท หลังใส่เงินก้อนแรกในอุ๊คบี ล่าสุดเตรียมส่ง "ไทยคม 6 "
ศุภจี สุธรรมพันธ์ศุภจี สุธรรมพันธ์ขึ้นท้องฟ้าภายในไตรมาส 3 ชี้ตัวดาวเทียมคืบหน้าไปแล้ว 80% ส่วนไทยคม 7 ยิงต้นปี 57 ยันยังไม่เพิ่มสัดส่วนหุ้น 51% ชี้กระบวนการที่ผ่านมาทำถูกต้องทุกขั้นตอน
นางศุภจี สุธรรมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สำหรับนโยบายของ อินทัช (บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ยังคงมุ่งเน้นธุรกิจใหม่อย่างต่อเนื่อง คือ ธุรกิจดิจิตอลทีวี และ การเข้าไปร่วมลงทุนในลักษณะเวนเจอร์แคปปิตอล หรือ "อินเว้นท์" ส่วนกรณีที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ( กสทช.) เตรียมเปิดประมูลทีวีดิจิตอลภายในเดือนกรกฎาคมนี้ อินทัช มีความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูล แต่จะเป็นช่องรายการใดขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้เนื่องจากอยู่ระหว่างการศึกษา อีกทั้งเงื่อนไขของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์(กสท.) ยังไม่สรุปขั้นตอนสุดท้าย แม้จะมีการปรับช่องรายการธุรกิจทั้งหมดจำนวน 24 ช่องรายการ
เหตุผลที่อินทัช ต้องการเข้าประมูลทีวีดิจิตอลนั้น เพื่อต่อยอดธุรกิจผ่านช่องทางเครือข่ายในกลุ่มบริษัท คือ ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ให้บริการโดย เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ที่มีจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประมาณ 40 ล้านราย เครือข่ายโทรศัพท์บ้านผ่านบริการของอินเตอร์เน็ตที่ให้บริการโดย บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และ ดีทีวี ที่ให้บริการทีวีผ่านจานดาวเทียม
"ที่มีข่าวลือว่า อินทัช เป็นคนผลักดันเรื่องทีวีดิจิตอล ขอบอกว่า อินทัช ไม่เคยมีธงในเรื่องนี้เพียงแต่เราสนใจ หาก อินทัชมีธุรกิจทีวีก็จะให้บริการผ่านไทยคม ส่งสัญญาณผ่านมือถือ ผ่านข่ายสายโทรศัพท์ที่ให้บริการโดย ซีเอส ล็อกซอินโฟ เปรียบเทียบก็คือเมื่อเราซื้อรายการมาถ่ายทอดผ่านช่องทางทีวี มือถือ และ อินเตอร์เน็ต ทำให้บริการครบวงจรครอบคลุมผู้ใช้บริการ"
ส่วนโครงการอินเว้นท์ (InVent) ซึ่งเป็นโครงการร่วมลงทุนกับนักพัฒนาภายในประเทศ อินทัช มีแผนจะเข้าไปร่วมลงทุนกับบริษัทในประเทศไทยอีกจำนวน 3 บริษัท แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดในขณะนี้ได้ โดยก่อนหน้านี้ อินทัช ได้เข้าไปซื้อหุ้นในบริษัท อุ๊คบี จำกัด (OOKBEE) ผู้พัฒนาแอพพลิเคชันและแพลตฟอร์มสิ่งตีพิมพ์ดิจิตอล (Digital Publication Platform) และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)โดย อินทัช ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนทั้งสิ้นด้วยกัน 33,400 หุ้น ในวงเงิน 57.48 ล้านบาท หรือ คิดเป็นส่วนแบ่งหุ้น 25.03 % ของทุนจดทะเบียน
นอกจากนี้นางศุภจี ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับความคืบหน้าการสร้างดาวเทียมไทยคม 6 ในขณะนี้การก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้ว 80% จะยิงขึ้นสู่ท้องฟ้าในไตรมาสที่ 3นี้ ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับไทยคม 5 ตำแหน่งวงโคจร 78.5 องศาตะวันออก โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 4.74 พันล้านบาท (คิดจากอัตราแลกเปลี่ยน 29.64 บาท) โดยมอบหมายให้บริษัท ออบิทอล ไซเอนซ์ส คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ จรวดส่งฟอลคอน 9 ของบริษัท สเปซ เอ็กซพลอเรชั่น เทคโนโลยีส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีจำนวนช่องสัญญาณทั้งสิ้น 26 ทรานสพอนเดอร์ โดยแบ่งเป็นช่องสัญญาณซี-แบนด์ จำนวน 18 ทรานสพอนเดอร์ และช่องสัญญาณเคยู-แบนด์ จำนวน 8 ทรานสพอนเดอร์ สัญญาณครอบคลุมพื้นที่ 3 แห่ง คือ ประเทศไทย, อินเดีย,ปากีสถาน และ แอฟริกา เป็นต้น
ส่วนดาวเทียมไทยคม 7 จะทำการยิงขึ้นสู่ท้องฟ้าในต้นปี 2557 สร้างโดยบริษัทสเปซ ซิสเต็มส/ลอเรล (Space Systems/Loral) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งไทยคม และ เอเชียแซท จะให้บริการโดยใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมของตนบนดาวเทียมดวงใหม่ภายใต้ชื่อว่า "ดาวเทียมเอเชียแซท 6" และ "ดาวเทียมไทยคม 7" ตามลำดับ
"ไทยคม 7 จะเป็นการก่อสร้างร่วมกันกับเอเชีย แซท จำนวนทรานสพอนเดอร์มีถึง 14 ช่องทรานสพอนเดอร์ความร่วมมือระหว่าง 2 บริษัทในครั้งนี้ จะช่วยรักษาสิทธิ์ของประเทศไทยในตำแหน่งวงโคจรที่ 120 องศาตะวันออก และจะทำให้มีช่องสัญญาณเพิ่มเติมสำหรับให้บริการช่องสัญญาณโทรทัศน์ โทรคมนาคมและบรอดแบนด์ทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก"
ส่วนกรณีที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ให้แก้ไขสัญญา บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) จำนวน 3 ข้อหลังจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้มีการพิพากษายึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเอื้อผลประโยชน์จนร่ำรวยผิดปกติ และ กระทรวงไอซีที มีการตั้งคณะกรรมการมาตรา 22 และ หนึ่งในนั้นมีเรื่องของการปรับสัดส่วนหุ้นโดยให้ อินทัช ปรับสัดส่วนหุ้นมาอยู่ในส่วนเดิม คือ 51% จากเดิมอยู่ที่ 41%
"เรายืนยันว่าสิ่งที่เราทำถูกต้องทุกอย่างแม้อดีตผู้ก่อตั้ง(หมายถึงอดีตนายกฯทักษิณ) ขายหุ้นให้กับเทมาเสก 1.ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย เป็นอย่างไร 2. ทำความเสียหายให้รัฐหรือไม่ และ 3. เอื้อประโยชน์ให้ไทยคมหรือเปล่า แต่กรณีนี้ไม่ได้เอื้อประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นเดิมเลยเพราะว่าไม่ได้นำหุ้นตัวเองออกไปขายได้เงิน แต่นำทั้งบริษัทระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯเพื่อให้กับประชาชน แทนที่หุ้นจำนวนทั้งหมดอยู่ในตลาด 49% แต่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯถึง 51% เพราะนั่นเราคิดว่าเราทำถูกต้องและบริษัทก็ยึดหลักสัญญาและกฎหมาย"
ส่วนกรณีการคืนเงินประกัน 6.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเบื้องต้นมีข้อสรุปออกมาแล้วจากสำนักงานอัยการสูงสุด การดำเนินการของ ไทยคม ไม่ถือว่ามีความผิดเพราะได้นำเงินไปจัดสร้างดาวเทียมและเป็นผลประโยชน์ต่อภาครัฐ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,827 วันที่ 17 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2556
'ศุภจี'ย้ำชัดอินทัชชิงทีวีดิจิตอล
"ศุภจี" เผย อินทัช เดินหน้ารุกธุรกิจใหม่ต่อเนื่อง แจง ทีวีดิจิตอล อยู่ระหว่างการศึกษาร่วมประมูลช่องราย ขณะที่ " อินเว้นท์"เตรียมร่วมลงทุนอีก 3 บริษัท หลังใส่เงินก้อนแรกในอุ๊คบี ล่าสุดเตรียมส่ง "ไทยคม 6 "
ศุภจี สุธรรมพันธ์ศุภจี สุธรรมพันธ์ขึ้นท้องฟ้าภายในไตรมาส 3 ชี้ตัวดาวเทียมคืบหน้าไปแล้ว 80% ส่วนไทยคม 7 ยิงต้นปี 57 ยันยังไม่เพิ่มสัดส่วนหุ้น 51% ชี้กระบวนการที่ผ่านมาทำถูกต้องทุกขั้นตอน
นางศุภจี สุธรรมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า สำหรับนโยบายของ อินทัช (บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ยังคงมุ่งเน้นธุรกิจใหม่อย่างต่อเนื่อง คือ ธุรกิจดิจิตอลทีวี และ การเข้าไปร่วมลงทุนในลักษณะเวนเจอร์แคปปิตอล หรือ "อินเว้นท์" ส่วนกรณีที่ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ( กสทช.) เตรียมเปิดประมูลทีวีดิจิตอลภายในเดือนกรกฎาคมนี้ อินทัช มีความสนใจที่จะเข้าร่วมประมูล แต่จะเป็นช่องรายการใดขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยได้เนื่องจากอยู่ระหว่างการศึกษา อีกทั้งเงื่อนไขของ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์(กสท.) ยังไม่สรุปขั้นตอนสุดท้าย แม้จะมีการปรับช่องรายการธุรกิจทั้งหมดจำนวน 24 ช่องรายการ
เหตุผลที่อินทัช ต้องการเข้าประมูลทีวีดิจิตอลนั้น เพื่อต่อยอดธุรกิจผ่านช่องทางเครือข่ายในกลุ่มบริษัท คือ ธุรกิจโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ให้บริการโดย เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) ที่มีจำนวนผู้ใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประมาณ 40 ล้านราย เครือข่ายโทรศัพท์บ้านผ่านบริการของอินเตอร์เน็ตที่ให้บริการโดย บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) และ ดีทีวี ที่ให้บริการทีวีผ่านจานดาวเทียม
"ที่มีข่าวลือว่า อินทัช เป็นคนผลักดันเรื่องทีวีดิจิตอล ขอบอกว่า อินทัช ไม่เคยมีธงในเรื่องนี้เพียงแต่เราสนใจ หาก อินทัชมีธุรกิจทีวีก็จะให้บริการผ่านไทยคม ส่งสัญญาณผ่านมือถือ ผ่านข่ายสายโทรศัพท์ที่ให้บริการโดย ซีเอส ล็อกซอินโฟ เปรียบเทียบก็คือเมื่อเราซื้อรายการมาถ่ายทอดผ่านช่องทางทีวี มือถือ และ อินเตอร์เน็ต ทำให้บริการครบวงจรครอบคลุมผู้ใช้บริการ"
ส่วนโครงการอินเว้นท์ (InVent) ซึ่งเป็นโครงการร่วมลงทุนกับนักพัฒนาภายในประเทศ อินทัช มีแผนจะเข้าไปร่วมลงทุนกับบริษัทในประเทศไทยอีกจำนวน 3 บริษัท แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยรายละเอียดในขณะนี้ได้ โดยก่อนหน้านี้ อินทัช ได้เข้าไปซื้อหุ้นในบริษัท อุ๊คบี จำกัด (OOKBEE) ผู้พัฒนาแอพพลิเคชันและแพลตฟอร์มสิ่งตีพิมพ์ดิจิตอล (Digital Publication Platform) และหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-book)โดย อินทัช ได้เข้าซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนจำนวนทั้งสิ้นด้วยกัน 33,400 หุ้น ในวงเงิน 57.48 ล้านบาท หรือ คิดเป็นส่วนแบ่งหุ้น 25.03 % ของทุนจดทะเบียน
นอกจากนี้นางศุภจี ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับความคืบหน้าการสร้างดาวเทียมไทยคม 6 ในขณะนี้การก่อสร้างแล้วเสร็จไปแล้ว 80% จะยิงขึ้นสู่ท้องฟ้าในไตรมาสที่ 3นี้ ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกับไทยคม 5 ตำแหน่งวงโคจร 78.5 องศาตะวันออก โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 160 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 4.74 พันล้านบาท (คิดจากอัตราแลกเปลี่ยน 29.64 บาท) โดยมอบหมายให้บริษัท ออบิทอล ไซเอนซ์ส คอร์ปอเรชั่น จำกัด และ จรวดส่งฟอลคอน 9 ของบริษัท สเปซ เอ็กซพลอเรชั่น เทคโนโลยีส์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด มีจำนวนช่องสัญญาณทั้งสิ้น 26 ทรานสพอนเดอร์ โดยแบ่งเป็นช่องสัญญาณซี-แบนด์ จำนวน 18 ทรานสพอนเดอร์ และช่องสัญญาณเคยู-แบนด์ จำนวน 8 ทรานสพอนเดอร์ สัญญาณครอบคลุมพื้นที่ 3 แห่ง คือ ประเทศไทย, อินเดีย,ปากีสถาน และ แอฟริกา เป็นต้น
ส่วนดาวเทียมไทยคม 7 จะทำการยิงขึ้นสู่ท้องฟ้าในต้นปี 2557 สร้างโดยบริษัทสเปซ ซิสเต็มส/ลอเรล (Space Systems/Loral) แห่งประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งไทยคม และ เอเชียแซท จะให้บริการโดยใช้ช่องสัญญาณดาวเทียมของตนบนดาวเทียมดวงใหม่ภายใต้ชื่อว่า "ดาวเทียมเอเชียแซท 6" และ "ดาวเทียมไทยคม 7" ตามลำดับ
"ไทยคม 7 จะเป็นการก่อสร้างร่วมกันกับเอเชีย แซท จำนวนทรานสพอนเดอร์มีถึง 14 ช่องทรานสพอนเดอร์ความร่วมมือระหว่าง 2 บริษัทในครั้งนี้ จะช่วยรักษาสิทธิ์ของประเทศไทยในตำแหน่งวงโคจรที่ 120 องศาตะวันออก และจะทำให้มีช่องสัญญาณเพิ่มเติมสำหรับให้บริการช่องสัญญาณโทรทัศน์ โทรคมนาคมและบรอดแบนด์ทั่วภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก"
ส่วนกรณีที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที ให้แก้ไขสัญญา บริษัท ไทยคม จำกัด (มหาชน) จำนวน 3 ข้อหลังจากศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้มีการพิพากษายึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเอื้อผลประโยชน์จนร่ำรวยผิดปกติ และ กระทรวงไอซีที มีการตั้งคณะกรรมการมาตรา 22 และ หนึ่งในนั้นมีเรื่องของการปรับสัดส่วนหุ้นโดยให้ อินทัช ปรับสัดส่วนหุ้นมาอยู่ในส่วนเดิม คือ 51% จากเดิมอยู่ที่ 41%
"เรายืนยันว่าสิ่งที่เราทำถูกต้องทุกอย่างแม้อดีตผู้ก่อตั้ง(หมายถึงอดีตนายกฯทักษิณ) ขายหุ้นให้กับเทมาเสก 1.ข้อเท็จจริง ข้อกฎหมาย เป็นอย่างไร 2. ทำความเสียหายให้รัฐหรือไม่ และ 3. เอื้อประโยชน์ให้ไทยคมหรือเปล่า แต่กรณีนี้ไม่ได้เอื้อประโยชน์ต่อผู้ถือหุ้นเดิมเลยเพราะว่าไม่ได้นำหุ้นตัวเองออกไปขายได้เงิน แต่นำทั้งบริษัทระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯเพื่อให้กับประชาชน แทนที่หุ้นจำนวนทั้งหมดอยู่ในตลาด 49% แต่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ฯถึง 51% เพราะนั่นเราคิดว่าเราทำถูกต้องและบริษัทก็ยึดหลักสัญญาและกฎหมาย"
ส่วนกรณีการคืนเงินประกัน 6.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในเบื้องต้นมีข้อสรุปออกมาแล้วจากสำนักงานอัยการสูงสุด การดำเนินการของ ไทยคม ไม่ถือว่ามีความผิดเพราะได้นำเงินไปจัดสร้างดาวเทียมและเป็นผลประโยชน์ต่อภาครัฐ
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 33 ฉบับที่ 2,827 วันที่ 17 - 20 มีนาคม พ.ศ. 2556