คน genereation สมัยนี้เปลี่ยนงานบ่อยกว่าคนสมัยก่อน เป็นเรื่องดี หรือ ไม่ดีฮะ ( financial freedom คือปัจจัยหลัก )

เข้ามาไม่กี่ปี ก็เปลี่ยนงานละ

ประสบการณ์ 1 ปี สมัยนี้เรียกใช้ได้

สมัยก่อน 5 ปี นี่ยังบอกว่าน้อยไปเลย

แต่ผมว่าโดยส่วนใหญ่ความคิดแนวๆนี้ ส่วนใหญ่เกิดกับคนเมืองกรุงน่ะ

และตั้งแต่พวกงานแนวๆ MLM มาเปิดตลาดเยอะใน 10 ปีที่ผ่านมา ก็เลยปลูกฝังคำว่า "financial freedom"

กุต้องรวยเร็วไว้ก่อน กุเกษียณ อายุ 40 เว้ย นายคอยดู

หรือ ถ้าจะหางานประจำทำ ก็จะอ้างว่า " ดูดิ ได้เดือนแค่นี้ ไม่พอหรอก โด่! ไปทำธุรกิจเครือข่าย เดือนนึงก็ได้มากกว่าและ"

ยกตัวอย่างเฉยๆ นะฮะ ว่าเดี๋ยวนี้วิธีคิดในการทำงาน มันเปลี่ยนไป คนสมัยก่อน ไม่เน้นเรื่องเงินมากนัก แต่สมัยนี้ เงินไม่ดี ตูไม่ทำ

ยังไงผมก็ต้องบอกเลย ว่าแนวความคิดแบบ "financial freedom" มันถูกปลูกฝังเยอะในคนสมัยนี้

ส่วนสุดท้ายแล้ว คนที่มีความสามารถ ที่ทำให้ตัวเองเกษียณได้เร้ว ไม่รู้จะถึง 15% ของทั้งหมดหรือเปล่า แต่ก็เข้าใจว่าคนทุกคนก็มีความฝัน

หาทางให้ตัวเองสบาย ตรงนี้เข้าใจ

เพียงแต่ผมมีความรู้สึกว่า คนสมัยก่อนเขาไม่ได้ คิดถึง financial freedom กันมากมายนัก เหมือนเขามีความสุขกับการงานดี ไปเรื่อยๆ ไม่ต้องรีบที่จะประสบความสำเร็จอะไรมากมายนัก

สุดท้ายนี้ ผมก็คงไม่สรุปอะไรนะครับ เหมือนเป็นการพูดไปเรื่อยเจื้อยเฉยๆว่า คนสมัยนี้มีความคิดที่อยากสบายมากกว่าคนสมัยก่อน พยายามหาลู่ทางให้ทำงานน้อยๆ แต่ได้เงินเยอะๆ

ก็ลองดูครับ ว่าคิดกันยังไง คิดว่าต่อไปมันจะมีผลกระทบอะไรกับสังคมไทยในอนาคตบ้างหรือเปล่า มันจะเปลี่ยนหน้าตาของประเทศชาติไปทางไหน

เมื่อคนเริ่มคิดว่า "financial freedom" เป็นสิ่งสำคัญอันดับที่ 1 ของชีวิต

ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่ามันจะมีผลกระทบอะไรมั้ย แต่สิ่งที่ผมรู้สึกชัดเจนคือ มันบ่งบอกวัยรุ่น จากนี้ไป จะมีแต่ขี้เกียจ กับ ขี้เกียจขึ้นเรื่อยๆ เพราะไม่มีใครอยากทำงาน แต่อย่างที่ผมบอกนะครับ ว่าน่าจะเฉพาะกับสังคมเมืองกรุง ผมว่าคนต่างจังหวัดเขาก็ยังไม่ได้รับความคิด "อยากรวย" แบบนี้มากสักเท่าไรนัก
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 13
เปลี่ยนงานบ่อย มีเป้าหมายชีีวิตสูง เพราะคนมีมุมมองที่กว้างขึ้น ข่าวสารดีขึ้น เห็นโอกาสมากขึ้น

ทุกคนยังไงก็อยากจะรวย อยากชีวิตที่ดี อยู่ระดับบนๆในสังคม

แต่ สมัยก่อน ที่ข่าวสารยังไม่ดี มุมมองยังไม่กว้าง ทุกคนโดนปลูกฝังให้เชื่อว่า ทำงานมีเลี้ยงตัวเองได้จนแก่ พอแล้ว (ไม่คิดเรื่องเงินใช้หลังเกษียณด้วยซ้ำ เพราะเชื่อว่าลูกหลานจะดูแล)
คนที่รู้วิธีอยู่ด้านบนของสังคม มีอยู่หยิบมือ และความรู้เรื่องวิธีการจะก้าวไปอยู่ตรงนั้น ก็ปิดกั้นไว้เพียงคนในกลุ่มหยิบมือนั้น
คนนอกจากนั้น โดนปลูกฝังทุกอย่าง จากทุกด้านว่า อย่าสะเออะ อย่าฝันกลางวัน อยู่เป็นแรงงานให้ฉัน (คนหยิบมือ) ไปเรื่อยๆนี่แหละดี(กับฉัน) แล้ว(ไม่งั้นใครจะทำงานให้ฉัน)

พอข่าวสารดีขึ้น มุมมองโลกทัศน์กว้างขึ้น คนส่วนใหญ่ในสังคมเห็นจุดที่อยากก้าวไป ทุกคนก็พยายามไปให้ถึงโดยทุ่มความรู้ความสามารถที่มีทั้งหมดไปให้ถึง
ในสังที่คนส่วนใหญ่ก้าวเดินแบบนั้น และคนแก่หวังพึ่งลูกหลานไม่ได้อีกต่อไปต้องเก็บเงินเพื่อการเกษียณเองแต่แรก ประชากรโลกที่มากขึ้นทุกวัน แต่ทรัพยากรบนโลกมีจำกัดเท่าเดิม แย่งกันกินกันใช้มากขึ้น เอาตัวเองให้รอดก็ยากแล้วไม่ต้องพูดถึงคนอื่น

ในสังคมแบบนั้น ถ้ามีคนนึง ใช้ชีวิตด้วยวิถี โลกเก่า คุณว่าเขาเดินได้กี่น้ำ ?
บอกได้เลยว่า เขาจะไม่มีที่ยืนในสังคมนี้หรอก ถ้าเดินช้ากว่าคนอื่น

จะไม่ดีก็เฉพาะกับคนหยิบมือด้านบน ที่เริ่มคุมคนมาทำงานสร้างฝันให้ตัวเองยากขึ้น
แต่มันก็ยุติธรรมไม่ใช่รึ ? ทุกๆคนมีสิทธิ์จะสร้างฝันด้วยความสามารถทุกอย่างที่ตัวเองมีเหมือนๆกัน
ไม่ใช่ใช้อำนาจลี้ลับ ในการบีบให้เขาเป็นทาสของคนหยิบมือไปตลอด

ถ้าจะแย้งว่า คำว่าทาสนั้นแรงไป ผมว่าไม่
ลักษณะมันคล้ายกันมาก อยากจะหลุดจากการเป็นหนูถีบจักรยังไง ตะกายให้สูงเท่าไหร่ แรงกดจากคนข้างบนที่กลัวเสียประโยชน์ก็มากขึ้นเท่านั้น
อย่าสะเออะขึ้นมา อยู่ข้างล่างไปน่ะดีแล้ว กูจะได้สบาย
อาจจะดีกว่ายุคทาสตรงที่มันไม่ได้ทำร้ายร่างกายเฆียนโบยกันตรงๆ แต่ใช้การเฆียนโบยกักขังที่ตัวความมั่งคั่งของคนๆนั้นแทน
ความคิดเห็นที่ 29
จะโทษเด็กอย่างเดียวไม่ได้หรอก ต้องโทษบริษัทด้วย ทำไมหน่ะหรือ?

ถ้าบริษัทมีคนที่มีความสามารถอยู่แล้ว ทำไมคุณไม่ให้เงินเดือนเค้าให้สูงหน่อยละ
คนที่เค้าย้ายงานเพราะว่า ถ้าเค้าทำที่ใหม่ ได้เงินมากกว่าหลายK หรืออาจจะเท่าตัวเลย
เป็นคุณ คุณจะไม่ย้ายเหรอ?? ไหนจะสวัสดิการอีก

กรณีเด็กลาออกไปเรียนโท ก็อีกประเด็น ผมถามหน่อยว่าคุณไม่อยากให้เค้าออก
แต่ตำแหน่งใหญ่ๆโตๆในบริษัทคุณกลับรับแต่วุฒิป.โท เด็กก็ต้องมองว่า จบตรีมันไม่พอ
เค้าก็ต้องต่อโทเพื่ออนาคต ถ้าถามว่าแล้วทำไมไม่เรียนไปต่อโทไปด้วย
มันไม่ง่ายนะครับ มีหลายปัจจัย ทั้งตัวงานเองที่อาจจะกินเวลาทำให้แบ่งเวลายาก การเดินทางที่ไกล
ความยากของแต่ละสาขาแต่ละมหาลัย

ผมมองว่าทุกคนทำเพื่อตัวเองทั้งนั้นแหละ ทุกคนอยากสบาย ถ้าเห็นโอกาสที่อื่นมันกว้างกว่า
มันก็น่าลอง น่าเปลี่ยน เด็กมองจากอะไร?? พ่อแม่ไงครับ พ่อผมทำงานธนาคารที่เดียวมา30กว่าปี
ได้เงินเดือนแสนเดียว รีไทร์มาได้เงินก้อน5-6ล้าน(พ่อผมเป็นพนักงานดีเด่น ได้รางวัลเยอะแยะ
ทำตามเป้าธนาคารได้) ผมมองว่า ถ้าพ่อผมทำบริษัทอื่นที่
สวัสดิการดีกว่านี้ ที่ดังกว่านี้ คงไปได้ไกลกว่านี้ แต่ไม่ย้ายเพราะยึดติด

อาผมตอนนี้ทำบริษัทฝรั่งที่นึง ผมคุยกับอา อายุ48 ถ้าอาเกษียณอายุตอน55 ได้เงินก้อนจากบริษัทไม่ต่ำกว่า20ล้าน
อายุงานประมาณ30ปีเท่ากัน เงินเดือนปัจจุบันรับอยู่3แสนกว่า เห็นมั้ยว่ามันต่างเยอะนะ
(พ่อกับอา จบคนละสาขานะ แต่ผมมองว่า มันก็ไม่ควรต่างกันขนาดนั้น)

ตอนนี้ผมทำบริษัทเดียวกับอา แต่ถามว่าผมจะทำยาวๆ30ปีเลยเหรอ??
บอกไม่ได้ ดูcareer pathก่อน แต่อย่างน้อยผมก็ มาอยู่บริษัทที่ดีแล้ว
แต่ถ้าเจอที่ดีกว่า มันก็น่าสนใจหนิครับ
คนเราจึงย้ายงานเพื่อเปิดโอกาสดีๆให้ตัวเอง เพราะตนเป็นที่พึ่งแห่งตน
ความคิดเห็นที่ 18
เท่าที่สังเกตกลุ่มที่ย้ายงานบ่อยจะมีอัตราเงินเดือนที่สูงกว่าพวกที่อยู่บริษัทเดิมเป็นเวลานานๆ (สังเกตจากคนรอบตัวผมนะครับ) ซึ่งผมว่าบริษัทต้องพิจารณาอัตราการเพิ่มเงินเดือนและสภาพแวดล้อมของตัวเองด้วยครับไม่ใช่โทษแต่พนักงาน ผมไม่ค่อยเห็นด้วยกับมุมมองที่ว่าพนักงานทำงานได้ด้วยไม่นานแล้วลาออกนั้นผิดหรือมีความอดทนไม่พอ เพราะผมไม่เชื่อว่าคนที่เปลี่ยนงานไปบริษัทใหม่จะหวังให้ได้รับงานที่เบาลง แต่เขาน่าจะหวังให้เงินเดือนที่ได้นั้นมากขึ้นหรือไม่ก็คุ้มกับงานที่ได้รับมากกว่า มันไม่ใช่ความผิดของพนักงานครับ แต่ก็ไม่ใช่ความผิดเช่นกันที่บริษัทอยากจะได้พนักงานที่ทำงานไปด้วยนานๆ

     ผมจะเปลียบเทียบคน 2 กลุ่มให้ดูครับ
     1 กลุ่มที่ย้ายงาน เพราะเชื่อว่าการย้ายจะนำมาซึ่งความสำเร็จและผลประโยชน์ที่จะได้รับมากขึ้น ผมตอบเลยว่าไม่ผิด
     2 กลุ่มที่ไม่ย้ายงาน เพราะเชื่อว่าการไม่ย้ายจะนำมาซึ่งความสำเร็จและผลประโยชน์ที่จะได้รับมากขึ้น ผมตอบเลยว่าไม่ผิด

     ต่างคนต่างก็ตั้งอยู่บนพื้นฐานของผลประโยชน์ครับไม่ควรไปดูถูกกลุ่มคนที่เปลี่ยนงาน
     1 หากมีพนักงานคนหนึ่งทำงานมา 10 ปี แต่ฝีมือไม่พัฒนา เงินเดือนไม่เหมาะสมกับฝีมือ บริษัทจะไล่ออกนี่ผิดมั้ย ผมตอบเลยว่าไม่ผิด
     2 หากมีพนักงานคนหนึ่งทำงานมา   1 ปี แต่ฝีมือดี           เงินดือนไม่เหมาะสมกับฝีมือ เขาลาออกนี่ผิดมั้ย        ผมตอบเลยว่าไม่ผิด

     ผมมองว่าไม่มีใครถูกใครผิดนะครับ เป็นแค่เรื่องของผลประโยชน์ที่ต่างฝ่ายต่างได้รับซึ่งกันและกัน
     หากเปรียบเทียบกับคนสมัยก่อนผมมองว่าคนสมัยนี้มีลักษณะของความกล้าได้กล้าเสียมากกว่าคนสมัยก่อนครับ แต่คนสมัยก่อนส่วนมากจะมีลักษณะอยู่ติดที่เป็นถิ่นฐาน มีความรู้สึกที่ว่าจงรักภักดี มีความเป็นบุญเป็นคุณครับเลยไม่คิดจะย้ายหรือเกรงใจจนไม่กล้าย้าย และที่สำคัญมีความกลัวในความไม่มั่นคงครับ (พูดถึงภาพรวมครับ) ซึ่งค่อนข้างตรงข้ามกับคนสมัยนี้
ความคิดเห็นที่ 16
จากใจเด็ก gen y นะคะ
ไม่มีใครอยากเปลี่ยนงานหรอกค่ะ งานสมัยนี้หายากจะตาย เปลี่ยนงานที มันหมายถึงต้องเปลี่ยนสังคม สภาพแวดล้อม เปลี่ยนที่อยู่ แล้วจะไปเจออะไรอีกก็ไม่รู้
ถ้าเข้าไป เจอหัวหน้าที่เห็นเราเป็นทาส ไม่มองเป็นคน เป็นมนุษย์ ไม่พอใจอะไรที่ไหนมาก็ไม่รู้ แต่กลับมาระบายอารมณ์ใส่เรา
อยู่ไม่ไหวเหมือนกันนะคะ เสียสุขภาพจิต
หรืออยู่ไปวันๆ แบบมองหาอนาคตไม่เจอ (มีจริงๆนะ ขอไม่บอกรายละเอียดแล้วกัน) ถ้าเจอที่ใหม่ที่เปิดโอกาสให้เรามากกว่า แล้วทำไมจะไม่ไปล่ะคะ
คนรุ่นเก่า ชอบบอกว่าเด็กรุ่นเราชอบเปลี่ยนงาน ไม่มีน้ำอดน้ำทน
เด็กรุ่นเรา ก็เคยคุยกันว่า ถ้าอะไรๆมันห่วย แล้วมีที่ใหม่ที่(ดูแล้วน่าจะ)ดีกว่า ทำไมเราต้องทนอยู่ที่เดิม ให้เค้าโขกสับ เอาเปรียบล่ะ?
เด็กรุ่นเรา ไม่ได้อยากได้อะไรกันมากมายหรอกค่ะ แค่ขอให้มองเราเป็นคนบ้าง ว่าเราก็เหนื่อยเป็น มีอารมณ์ความรู้สึกเหมือนกัน จ่ายค่าจ้างให้สมน้ำสมเนื้อกับงานที่ให้ทำ (เพื่อนเราเจอให้ทำโอถึง 3-4 ทุ่ม ทุกวัน แต่โอฟรีนะคะ เหอะๆๆ) ฟังความคิดเห็นเราบ้าง ไม่ใช่ว่า ชั้นอาวุโสกว่า ชั้นต้องถูกเสมอ แกหุบปาก แล้วก็ทำตามไป แค่นี้ก็ไม่มีใครอยากออกแล้วล่ะค่ะ
ขออภัยถ้าไม่สุภาพนะคะ รุ่นเราหลายๆคนคิดแบบนี้จริงๆ
ความคิดเห็นที่ 31
ตรงๆเลยนะครับ จากคนรุ่น GEN Y
คนสมัยนี้มันฉลาดขึ้นครับ ข่าวสาร ความรู้ มันรับได้จากสื่อต่างๆ มากมาย สะดวกมากกว่าสมัยก่อนเยอะครับ
ความคิดมันเลยตามกันทันกับคนระดับสูง ถ้าพวกเขาเห็นว่าตนเองเสียผลประโยชน์ไม่ว่าจะเรื่องใดก็ตาม
พวกเขาก็พร้อมจะรักษาผลประโยชน์ ไม่ให้ใครมาเอาเปรียบ ด้วยวิธีการอะไรก็แล้วแต่

บวกกับกาลเวลาที่เปลี่ยน วัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป(น่าจะได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตก) สมัยนี้ไม่จำเป็นว่า ข้าอายุเยอะกว่าเอ็ง ทำงานก่อนเอ็ง
ต้องได้เลื่อนขั้นก่อนเอ็ง เข้าใหม่ต้องเจียมตัว ต้องอ่อนน้อม เคาคพ ยำเกรง ต่อผู้ที่มีอายุเยอะกว่า สั่งอะไรต้องทำตาม
มันไม่ใช่ครับ สมัยนี้วัดกันที่ผลงานเลยครับ ถ้าพวกเขาเหล่านั้น ผลงานดี แต่ไม่ได้รับอะไรที่มันสมน้ำสมเนื้อ เขาก็ไม่ยอม ไม่สน ไม่แคร์

สรุปง่ายๆ คือ คนรุ่นนี้จะไม่มองถึงเรื่องใจเขาใจเรา เรื่องทดแทนบุญคุณ หรือตอบแทนบุญคุณ เขาจะคิดถึงแต่เป้าหมายชีวิตของตัวเอง
หากมีโอกาสจะโบยบิน จะไม่รีรอเลย ทุกอย่างต้องแฟร์ๆ ยุติธรรม หรือ win win กันทั้งสองฝ่ายนั้นล่ะ ถึงจะทำงานร่วมกันได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่