สอบถามเกี่ยวกับการยื่นแบบ ภงด.90 ผ่านอินเตอร์เน็ต

เรียนขอคำปรึกษาครับ

สืบเนื่องจากกระทู้นี้ http://ppantip.com/topic/30182985
เมื่อวันก่อนได้ยื่นทางอินเตอร์เน็ตเป็นครั้งแรก ได้กรอกแบบ ภงด90

ยื่นเงินได้ประเภท 40(4)
-เงินปันผล
-ดอกเบี้ย
ยื่นเงินได้ประเภท 40(8)
-กิจการ หักเหมาค่าใช้จ่าย 70%

ขอคำปรึกษาดังนี้

1. กิจการที่ให้เลือกกรอกทางเน็ต เงินได้ประเภท 40(8) ไม่มีให้เลือกตรงกับประเภทที่ทำกิจการ(ปีก่อนหน้าจะไปยื่นที่เขตจะมีช่องว่างให้ระบุ___ในแบบ) เลยเลือกประเภทที่(หักเหมา 70%)ใกล้เคียง แบบนี้ถ้าทางสรรพากรตรวจประวัติเก่า ประเภทกิจการไม่ตรงกับปีก่อนที่เคยยื่นผ่านเขต จะเป็นปัญหาอะไรหรือไม่

1.1 พอพิมพ์แบบที่ยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตออกมา ตรงช่อง หักค่าใช้จ่ายร้อยละ ทำไมมีเครื่องหมายถูกตรงช่อง (จริง) ทั้งที่ตอนแรกเลือกแบบเหมา 70%

2. เงินได้ประเภท 40(4) ได้บังเอิญไปลงดอกเบี้ยที่ได้จากเงินประกันใน พอร์ต Cash Account ลงไป แต่ลืมนึกไปว่ามีดอกเบี้ยจากเงินฝากธนาคารที่ไม่ได้ถูกหักภาษี เพราะไม่ถึงเกณท์ 20000- จะต้องนำไปรวมด้วย อย่างนี้สามารถยกเลิกดอกเบี้ยที่ได้จากพอร์ตได้หรือไม่ หรือควรทำเช่นไร เพราะจะมีฝากหลายบัญชี แต่ละบัญชีไม่ถึงเกณท์หักภาษี เกรงจะรวบรวมได้ไม่ครบ

2.1 ดอกเบี้ยในพอร์ต Cash Account มีเงินสดค้ำประกันไว้ 30000 บาท ได้ดอกเบี้ยมา 148.87 ทำไมถึงถูกหักภาษี ณ.ที่จ่าย 22.33 ทั้งๆที่ดอกเบี้ยรับไม่ถึงสองหมื่นบาท

3. จากปัญหาข้อ 1และ2 สามารถแก้ไขได้อย่างไรบ้างครับ

ขอบคุณครับ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
1. ถ้าผลลัพท์ออกมาตรงกับความเป็นจริง แม้จะเลือกประเภทกิจการที่แตกต่างไป ทางสรรพากรมักจะไม่มีปัญหาที่จุดนี้ครับ
ส่วนการเมื่อพิมพ์แบบที่ยื่นผ่านอินเตอร์เน็ตออกมา ตรงช่อง หักค่าใช้จ่ายร้อยละ ทำไมมีเครื่องหมายถูกตรงช่อง (จริง)
ถ้าปลลัพท์จำนวนเงิน ตรงกับอัตราการเหมา 70% ก็ไม่มีปัญหาครับ ....

2. เงินฝากประเภทออมทรัพย์ ที่ดอกเบี้ยรวมไม่ถึง 20,000 บาท จะเป็นเงินได้ที่ได้รับการยกเว้น ดังนั้นจึงไม่ต้องนำมากรอกรวม
เป็นเงินได้ประเภทดอกเบี้ยที่ได้รับ 40(4) ครับ .... แต่สำหรับ ดอกเบี้ยในพอร์ต Cash Account ไม่ถือเป็นเงินฝากประเภทออมทรัพย์
จึงไม่ได้รับการยกเว้นภาษี ครับ ...

3. สามารถเข้ายื่นแบบ ใหม่ได้ถ้าต้องการ ตราบใดที่สถานะยังเป็นการรอทางสรรพากรอยู่ครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่