สำนวนแปล ๒ สำนวน --- แปลพระสูตรเดียวกัน ---- ผล เมื่อสอบกับ จูฬสุญญตสูตร ตรงกันหรือไม่?

ปรารภกระทู้ http://ppantip.com/topic/30247558

สำนวนแปล ที่ ๑
-ขนฺธ สํ ๑๗/๑๐๑/๑๕๓ อริยสัจจากพระโอษฐ์ หน้า ๖๑๗ พุทธทาสภิกขุ

พระอรหันต์ทั้งหลาย ท่านมีความสุขหนอ  
ตัณหาของท่านไม่มี
ท่านถอนอัสมิมานะหมดสิ้นแล้ว
ท่านทำลายข่ายแห่งโมหะได้แล้ว
ท่านถึงความไม่หวั่นไหวแล้ว
จิตของท่านนั้นไม่ขุ่นมัว
ไม่มีอะไรฉาบไล้ท่าน ให้ติดอยู่ในโลก
ท่านเป็นเสมือนพรหม  ผู้ไม่มีอาสวะ รอบรู้ซึ่งเบญจขันธ์
มีสัทธรรมเจ็ด เป็นที่โคจร (สัทธา หิริ โอตตัปปะ สุตะ วิริยะ สติ ปัญญา - พระพุทธภาษิต ๒๓/๑๔๗/๘๔)
เป็นสัปบุรุษ ที่ได้รับการยกย่องสรรเสริญ
เป็นบุตรที่เกิดแต่ อกพระพุทธเจ้า  (แปลว่า?)
ถึงพร้อมแล้วด้วย รัตนเจ็ดประการ  (คือ โพชฌงค์ ๗ ของ พระอรหันต์ -อเสขะ)
ผ่านการศึกษาในสิกขาทั้ง ๓
เป็นมหาวีระ
เที่ยวไปในที่ต่างๆ
ปราศจากเวรภัยโดยสิ้นเชิง
ถึงพร้อมแล้วด้วยองค์ทั้งสิบ  (แห่งสัมมัตตะ ๑๐)
เป็นมหานาค ผู้มีจิตตั้งมั่นแล้ว (แบบ อเสขะ)
นี่แหละคือ ผู้ประเสริฐในโลกละ
ตัณหาของท่านไม่มี
อเสขญาณ  เกิดขึ้นแก่ท่าน
ประชุมแห่งกายนี้  มีแก่ ท่านเป็นครั้งสุดท้าย  
ไม่ต้องอาสัยปัจจัยจากใครอื่น ในสาระแห่งพรหมจรรย์ (นี้ - ธรรม วินัย จากพระโอษฐ์)
ไม่หวั่นไหว(ภาย)ใน เพราะวิธา (ชั้นแห่ง มานะ ๓) ทั้งหลาย
พ้นวิเศษแล้ว จากการต้องมี ภพ ใหม่  
บรรลุแล้วตามลำดับซึ่ง ทันตภูมิ   (ดู มูลปริยายสูตร + ฉวิโสธนสูตรประกอบด้วย)
ท่าน ชนะโลกแล้ว ทั้งเบื้องบน  เบื้องขวาง และเบื้องล่าง  
นันทิ (ความเพลิน เพราะ อวิชชา + เพราะอวิชฺชาคโต) ของท่าน  ไม่มี
ท่านประกาศธรรมในลักษณะบันลือสีหนาท (ดู มูลปริยายสูตร + ฉวิโสธนสูตรประกอบด้วย)
ท่านเป็น ผู้รู้ในโลก อย่างไม่มีผู้รู้อื่น ยิ่งกว่า
ดังนี้  แล


สำนวนแปลที่ ๒
http://www.84000.org/tipitaka/pitaka2/v.php?B=17&A=1877&Z=1906
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๗  พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๙
สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค


๔. อรหันตสูตรที่ ๑
ว่าด้วยพระอรหันต์เป็นผู้เลิศในโลก
             [๑๕๒] พระนครสาวัตถี ฯลฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย รูปไม่เที่ยง ฯลฯ เวทนาไม่เที่ยง
ฯลฯ สัญญาไม่เที่ยง ฯลฯ สังขารไม่เที่ยง ฯลฯ วิญญาณไม่เที่ยง สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นเป็น
ทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์ สิ่งนั้นเป็นอนัตตา สิ่งใดเป็นอนัตตา สิ่งนั้นควรเห็นตามความเป็นจริง
ด้วยปัญญาอันชอบ อย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่เป็นเรา นั่นไม่ใช่ตัวตนของเรา. ดูกร
ภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายทั้งในรูป ทั้งในเวทนา
ทั้งในสัญญา ทั้งในสังขาร ทั้งในวิญญาณ เมื่อเบื่อหน่าย ย่อมคลายกำหนัด เพราะคลาย
กำหนัด จิตย่อมหลุดพ้น. เมื่อหลุดพ้นแล้ว ย่อมมีญาณหยั่งรู้ว่า หลุดพ้นแล้ว. ย่อมรู้ชัดว่า
ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้
มี. ดูกรภิกษุทั้งหลาย พระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นผู้เลิศ เป็นผู้ประเสริฐสุดในโลก กว่าสัตตาวาส
และภวัคคภพ.
             พระผู้มีพระภาคผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้ จบลงแล้ว จึงได้ตรัสคาถา
ประพันธ์ต่อไปว่า
             [๑๕๓]     พระอรหันต์ทั้งหลาย มีความสุขหนอ เพราะท่านไม่มีตัณหา
                          ตัดอัสมิมานะได้เด็ดขาด ทำลายข่ายคือโมหะได้แล้ว. พระอรหันต์
                          เหล่านั้น ถึงซึ่งความไม่หวั่นไหว มีจิตไม่ขุ่นมัว ท่านเหล่านั้นไม่แปด
                          เปื้อนแล้ว  ด้วยเครื่องแปดเปื้อนคือตัณหาและทิฏฐิในโลก เป็นผู้
                          ประเสริฐ
ไม่มีอาสวะ. เป็นสัตบุรุษ เป็นพุทธบุตร เป็นพุทธโอรส
                          กำหนดรู้เบญจขันธ์มีสัทธรรม ๗ เป็นโคจร ควรสรรเสริญ. ท่านมหา
                          วีรบุรุษ  ผู้สมบูรณ์ด้วยรัตนะ ๗ ประการ  ศึกษาแล้วในไตรสิกขา
                          ละความกลัวและความขลาดได้เด็ดขาดแล้ว ย่อมท่องเที่ยวไป โดย
                          ลำดับ.  ท่านมหานาคผู้สมบูรณ์ด้วยองค์ ๑๐ ประการ  มีจิตตั้งมั่น
                          ประเสริฐสุดในโลก ท่านเหล่านั้นไม่มีตัณหา. มีอเสขญาณเกิดขึ้นแล้ว
                          มีร่างกายนี้เป็นครั้งสุดท้าย ไม่ต้องอาศัยผู้อื่น ในคุณที่เป็นแก่นสารแห่ง
                          พรหมจรรย์. ท่านเหล่านั้นไม่หวั่นไหวเพราะมานะ หลุดพ้นจากภพใหม่
                          ถึงอรหัตภูมิแล้ว ชนะเด็ดขาดแล้วในโลก.  ท่านเหล่านั้นไม่มีความ
                          เพลิดเพลินอยู่ในส่วนเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องล่าง เป็นพุทธ
                          ผู้ยอดเยี่ยมในโลก ย่อมบันลือสีหนาท.
จบ สูตรที่ ๔.


ประเด็น
สำนวนแปล ๒ สำนวน --- แปลพระสูตรเดียวกัน ---- ผล เมื่อสอบกับ จูฬสุญญตสูตร ตรงกันหรือไม่? (ตามที่ท่านเข้าใจ)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่