สรุป!! โทรคมนาคมและการสือสาร (เพิ่มเติม) ประจำวัน 14/03/2556

( ข้อจำกัดด้านข้อความ ข่าวที่เหลือ UP ผ่าน ช่องทางอื่นแทนครับ )

1....  โครตหน้าเลือด!! DTACเห็นดีเห็นงามกับAISเก็บค่าเลขหมายวันละ1บาท(หากไม่ใช้เกิน30วัน)//กสทช.เติมเงินทุกครั้งต้องได้อีก30วัน
2....  ตะลึงiPhone5ระเบิด(นำเข้าไทยกสทช.ไม่ตรวจก่อนอ้างตรวจแล้วที่USA)AISส่งเครื่องให้Appleตรวจ กสทช.ขอผล4วัน/AISเปลื่ยนเครื่อง
3....  DTAC (คุย!!) ติดตั้ง 3G 2100 Q3( ใช้เวลาสั่นๆติดที่เดิม850 ) // สร้างความเชื่อมั่นลดราคา3Gคลื่น850และ2100 15%ทันที






_______________________________________________________


(เพิ่มเติม)
1....  (เกาะติดประมูลRadio TV) กสทช.ตัดสินใจเลือกคลื่น VHF ในการออกอากาศแทน FM/AM คาดได้ 20-30 สถานี/จังหวัด
2....  TOT เร่งกูการสือสารทั้งระบบจ.เลย คือ อ.ภูเรือ อ.ด่านซ้าย และอ.นาแห้ว (หลังไฟไหม้ป่า)ไฟเบอร์ออฟติกที่ขาดเป็นระยะทางกว่า 1 กม.
3....  AIS ให้ลูกค้าลงทะเบียน ไปสู่ AIS 3G 2100 ใหม่แล้ว
4....  อุ๊บส์!!(กสทช.รู้แล้วค่าเฉลี่ย ค่าบริการ3Gต้องเท่าไร) มีขู่ ลดไม่จริง ถอดใบอนุญาติ
5....   (เกาะติดตัวประกัน18ล้าน) จะบ้าตายกสทช.งง ลูกค้า18ล้านคนเป็นของCATหรือไม(กลับไปดูสป.นะ)//หมอลี่ กสทช. ชี้ คนไทยจะไม่มีวันเห็น SIM ดับแน่นอน



TOT เร่งกูการสือสารทั้งระบบจ.เลย คือ อ.ภูเรือ อ.ด่านซ้าย และอ.นาแห้ว (หลังไฟไหม้ป่า)ไฟเบอร์ออฟติกที่ขาดเป็นระยะทางกว่า 1 กม.

ประเด็นหลัก




นายศุภศักดิ์ สุริยงค์ หัวหน้าชุดปฏิบัติการตอนนอก บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) จ.เลย กล่าวว่า ได้เร่งเชื่อมต่อสายเคเบิลไฟเบอร์ออฟติกที่ขาดเป็นระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร โดยทำการเชื่อมต่อสายเคเบิลใยแก้วนำแสงซึ่งเป็นสัญญาณโทรศัพท์ และอินเตอร์เน็ต ที่ระบบล่มใช้งานไม่ได้รวม 5,000 คู่สาย

สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=173993:-3-&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524


________________________________________________________



AIS ให้ลูกค้าลงทะเบียน ไปสู่ AIS 3G 2100 ใหม่แล้ว


ประเด็นหลัก

โดยผู้ที่สนใจต้องกดลงทะเบียนไปที่หมายเลข *988*เลขบัตรประชาชนของเจ้าของหมายเลข# หรือกด *988 แล้วกดโทรออก

ทั้งนี้ ทีมงาน MXPhone คาดหมายว่า การลงทะเบียนในครั้งนี้ จะเป็นการจัดลำดับผู้ที่ใช้งาน AIS แบบเดิม พร้อมที่จะเปลี่ยนใช้งาน AIS 3G ใหม่ โดยขั้นตอนต่อไป หากระบบ AIS 3G ใหม่ พร้อมใช้งาน AIS จะทำการ Number Port ไปยัง เครือข่ายใหม่ ที่เป็นระบบ AIS 3G 2100MHz ของบริษัทลูก AIS ที่ชื่อว่า บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด

สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.mxphone.net/140313-new-ais-3g-open-system-for-register/

_______________________________________________



(เกาะติดประมูลRadio TV) กสทช.ตัดสินใจเลือกคลื่น VHF ในการออกอากาศแทน FM/AM คาดได้ 20-30 สถานี/จังหวัด

ประเด็นหลัก


ไม่ใช่มีแค่ "จอสี่เหลี่ยม" มีอีกบริการที่เข้าถึงง่ายและราคาถูกกว่ามาก แต่อาจโดนมองข้ามไปทั้ง ๆ ที่ชีวิตในวัยรุ่นของคนส่วนใหญ่ต้องผ่านช่วงเวลาที่มีรายการวิทยุคลื่นโปรด ดีเจ.คนโปรดด้วยกันทั้งนั้นและ "วิทยุ" กำลังจะโกดิจิทัลเช่นกัน โดยกสทช. จะนำ "วิทยุดิจิทัล" เข้ามาใช้ในประเทศไทยในปีหน้า เพื่อให้การรับฟังวิทยุที่สุดจะธรรมดา ยกระดับขึ้นมาอีกขั้น



คลื่น "วิทยุ" เมื่อใช้การส่งสัญญาณแบบดิจิทัลจะมีความคมชัดของเสียงมากขึ้น ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายของผู้ประกอบการจากเดิมแต่ละเจ้าต้องมีตัวแปลงสัญญาณ, ตัวส่งสัญญาณ และเสากระจายสัญญาณของตนเอง ระบบใหม่จะใช้เพียงเสาสัญญาณ และตัวส่งเพียงจุดเดียวกระจายข่าวสารไปถึงผู้ฟังได้ เทคโนโลยีนี้ยังพัฒนาให้มีความฉลาดมากขึ้นทำให้การส่งภาพเคลื่อนไหวเล็ก ๆ เช่น กรณีรายงานสภาพอากาศ ก็ทำได้จากเดิมส่งได้แค่ข้อความเท่านั้น

"พ.อ.นที ศุกลรัตน์" รองประธาน กสทช. และประธานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง และกิจการโทรทัศน์ (กสท.) กล่าวว่า

"วิทยุดิจิทัลคือความจำเป็น เพราะปัจจุบันไทยมีวิทยุชุมชนจำนวนมาก คลื่นเหล่านั้นรบกวนคลื่นวิทยุที่ทำตลาดเชิงพาณิชย์ ทำให้ผู้ฟังไม่สามารถรับสารได้ชัดเจน ดิจิทัลแก้ปัญหานี้ได้ผ่านการยกคลื่นเชิงพาณิชย์ไปไว้บนเทคโนโลยีนี้แล้วนำกลุ่มวิทยุชุมชนเข้ามาจัดระเบียบ และให้ออกอากาศบนระบบแอนะล็อกที่ว่างอยู่"

เทคโนโลโยที่ "กสท." เลือกใช้ คือ "DAB+" เป็นหนึ่งในตัวเลือกใช้กันแพร่หลายในแถบยุโรป และออกอากาศบนความถี่ใหม่ ไม่ใช่ความถี่ AM/FM เดิม เมื่อนำมาใช้จริงแล้ว ระบบวิทยุดิจิทัลจะวิ่งอยู่บนคลื่น VHF ที่ไม่อีกกี่ปีก็จะว่างเพราะโทรทัศน์ที่ใช้อยู่ย้ายไปคลื่น UHF แต่ละโครงข่ายออกอากาศได้กว่า 10 สถานีพร้อมกัน เมื่อคำนวณคลื่นที่ว่างอยู่ทั้งหมดก็จะได้ 20-30 สถานี/จังหวัด

หลังจากนี้จะมีการทดลองออกอากาศโดย "กสท." ไปก่อน ใช้ช่วงความถี่ที่ว่าง หรือ White Space ของคลื่น VHF บริเวณรอยต่อของช่องฟรีทีวีมาจัดเป็นพื้นที่ทดลอง รวมถึงออกอากาศเชิงธุรกิจ เมื่อขั้นตอนและประกาศต่าง ๆ เสร็จสมบูรณ์แล้ว คาดว่าจะแบ่งใบอนุญาตคล้ายกับกรณีทีวีดิจิทัล คือ มีผู้ให้บริการโครงข่าย, สิ่งอำนวยความสะดวก และรายการวิทยุ รวมถึงจะมีรายการในรูปแบบบริการระดับประเทศ, ภูมิภาค และท้องถิ่นอีกด้วย


"พ.อ.นที" ย้ำว่า ที่เลือก DAB+ ตามประเทศแถบยุโรปมาทดลองก่อนไม่ใช่ว่าดีกว่าระบบอื่น แต่เพราะเทคโนโลยี
อื่น ๆ จะออกอากาศบนคลื่นความถี่เดิมจึงไม่สามารถแก้ปัญหาได้แค่ทำให้เสียงชัดขึ้นเท่านั้น


ในบ้านเราเองคงต้องดูกันต่อไปว่า "วิทยุดิจิทัล" จะเดินหน้าไปได้เร็วสักแค่ไหน เพราะถ้าเทียบกับประเทศในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน ทั้งอินโดนีเซีย และมาเลเซียเริ่มต้นไปก่อนหน้านี้พักใหญ่แล้ว โดยในมาเลเซียเริ่มออกอากาศจริงไปแล้วกว่า 15 สถานี สำหรับในไทย "กสท." จะใช้วิธีเข้าไปคุยกับผู้ผลิตรถยนต์ เพื่อให้ติดตั้งระบบวิทยุที่รับคลื่นดิจิทัลได้ด้วย เพราะในรถยนต์เป็นอีกพื้นที่ที่ประชาชนใช้วิทยุมากที่สุด


สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1363237962&grpid=03&catid=06&subcatid=0603

______________________________________________


(เกาะติดตัวประกัน18ล้าน) จะบ้าตายกสทช.งง ลูกค้า18ล้านคนเป็นของCATหรือไม(กลับไปดูสป.นะ)//หมอลี่ กสทช. ชี้ คนไทยจะไม่มีวันเห็น SIM ดับแน่นอน

ประเด็นหลัก


นายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม กล่าวว่า ทางออกที่ดีที่สุดในการรองรับกรณีการสิ้นสุดสัมปทานของคลื่น 1800 เมกะเฮิรตซ์ ของบริษัททรูมูฟและบริษัทดิจิตอลโฟนในวันที่ 15 ก.ย.56 นี้ ก็คือ กสทช.ต้องเร่งจัดการประมูลคลื่นเพื่อให้เกิดบริการรายใหม่เข้าสู่ตลาด ซึ่งจะเป็นทางเลือกของผู้บริโภคต่อไป ควบคู่กับการเร่งรัดให้ผู้ประกอบการขยายขีดความสามารถการโอนย้ายค่าย รองรับผู้ใช้บริการที่ไม่ต้องการเสียสิทธิ์ในเลขหมายเดิม



“ถึงอย่างไรซิมก็ต้องดับ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง การขยายเวลาจึงไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาอะไรแก่ผู้บริโภค แต่แน่นอนว่าจะช่วยผู้ประกอบการให้หารายได้กันต่อไป ปัญหาก็คือในการขยายเวลาบริการก็เท่ากับการไปขยายเวลาการใช้คลื่นความถี่และขยายอายุการอนุญาต รวมทั้งขยายอายุสัมปทานด้วย ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องขัดกฎหมาย ขัดเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญที่กำหนดให้กิจการโทรคมนาคมไทยต้องหลุดพ้นจากยุคสัมปทานเสียที” นายประวิทย์ กล่าว



  น.พ.ประวิทย์ กล่าวถึงความคืบหน้าในเรื่องสัญญาสัมปทานคลื่นความถี่ 1800 MHzระหว่างบริษัท กสท โทรคมนาคม กับบริษัท ทรูมูฟ และบริษัท ดิจิตอลโฟน (ดีพีซี) ที่จะสิ้นสุดสัญญาในวันที่ 15 ก.ย.2556 นั้น ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปใดๆว่า ใครจะบริหารคลื่นความถี่ต่อหลังวันสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน แล้วลูกค้าควรจะทำอย่างไรในช่วงการเปลี่ยนผ่าน (ทรานซิซั่น พีเรียด) จากบอร์ดกทค.ที่เคยออกมาพูดว่าจะให้กสท เป็นผู้ดูแลลูกค้าต่อหลังวันหมดสัญญาในวันที่ 15 ก.ย. 56 อีก 1 ปี
      
       'ที่ประชุมได้ส่งเรื่องให้สำนักงาน กสทช.กลับไปดูรายละเอียดในประเด็นข้อกฏหมาย และในแง่การให้บริการ ว่า กสท จะสามารถเป็นผู้ให้บริการได้หรือไม่ และเลขหมายที่กสทมีอยู่ราว 17 ล้านเลขหมาย จะต้องคืนไปที่ใคร'
      
       อย่างไรก็ตามบอร์ดยังเป็นกังวลว่าหากกทค.ขยายระยะเวลาให้กสท เป็นผู้ดูแลต่ออีก 1 ปี จะผิดกฏหมายหรือไม่ ซึ่งกสท เองก็ต้องการให้บริการต่อไป อีก 13 ปี อย่างแน่นอน โดยก่อนหน้านี้คณะอนุกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของ กสทช. ก็เคยออกมาชี้ชัดแล้วว่าเมื่อสัมปทานสิ้นสุดลง สิทธิในการใช้งานคลื่นความถี่ก็ถือว่าสิ้นสุดลงด้วย และสิทธิในการใช้งานคลื่นความถี่ย่อมต้องกลับคืนไปยังสาธารณะ โดย กสทช. หรือ กทค. มีหน้าที่ในการเข้าไปบริหารจัดการคลื่นความถี่ดังกล่าว

สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.ryt9.com/s/bmnd/1609265
http://www.ryt9.com/s/bmnd/1609265
http://www.ryt9.com/s/nnd/1609163
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9560000031175



_____________________________________________


อุ๊บส์!!(กสทช.รู้แล้วค่าเฉลี่ย ค่าบริการ3Gต้องเท่าไร) มีขู่ ลดไม่จริง ถอดใบอนุญาติ

ประเด็นหลัก


นายประวิทย์ ลี่สภาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจ การโทรคมนาคมแห่งชาติ หรือ กสทช. ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในกิจการโทรคมนาคม เปิด เผยว่า ที่ประชุม กทค. เมื่อวันที่ 13 มี.ค.ที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาค่าเฉลี่ยอัตราค่าบริการ 3G บนคลื่น 2.1GHz ที่สำนักงานได้คิดค่าเฉลี่ยและเสนอเข้ามา โดยที่ประชุมเห็นชอบในการคำนวณดังกล่าว แต่ทั้งนี้ ที่ประชุมเห็นว่า ผลค่าเฉลี่ยดังกล่าวยังไม่สมควรเปิดเผยตอนนี้ เนื่องจากเกรงว่าผู้ประกอบการจะใช้ช่องว่างในการคิดอัตราค่าบริการในส่วนอื่นเพิ่ม และลดในบางส่วนลง เพราะผู้ประกอบการให้บริการแบบคิดค่าเฉลี่ยรวม หมายถึงคิดรวมทั้งการให้บริการเสียง ข้อความ ข้อความรูปภาพ และค่าบริการอินเทอร์เน็ต



ทั้งนี้ กสทช.จะใช้วิธีนำค่าเฉลี่ยดังกล่าวไปตรวจสอบอัตราค่าบริการของผู้ประกอบการทุกโปรโมชั่น ที่เป็นการให้บริการ 3G บนคลื่น 2.1GHz และหากตรวจสอบพบว่า ค่าบริการดังกล่าว เกินกว่าเงื่อนไขที่กำหนด ในเบื้องต้นจะเป็นการตักเตือน ปรับ พักการใช้งาน และเพิกถอนตามลำดับ

"เหตุผลที่ต้องใช้วิธีดังกล่าว เนื่องจากแพ็กเกจค่าบริการ 3G บนคลื่น 2.1GHz นั้น ผู้ประกอบการยังไม่เปิดเผยอัตราค่าใช้บริการ ซึ่งต้องให้มีการเปิดใช้บริการก่อน แล้วทาง กสทช.จึงจะตรวจสอบได้ หลังจากนั้นเมื่อมีแพ็กเกจต่อมา ก็ให้ผู้ประกอบการส่งรายละเอียดของแพ็กเกจเข้ามา แล้วทาง กสทช.จะพิจารณาอีกครั้ง" นายประวิทย์ กล่าว





สำนักข่าวที่อ้างอิงในประเด็นนี้
http://www.manager.co.th/Home/ViewNews.aspx?NewsID=9560000031112&Keyword=%a1%ca%b7
http://www.ryt9.com/s/tpd/1609068
http://www.ryt9.com/s/nnd/1609160
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ  3G 4G Mobile Operator สมาร์ทโฟน โทรศัพท์มือถือ
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่