อำเภอแม่สอด เป็นอำเภอหนึ่งทางตอนกลางของจังหวัดตาก ได้รับการจัดตั้งเป็นอำเภอมาตั้งแต่ พ.ศ. 2441 ตัวอำเภออยู่ในที่ราบระหว่างภูเขาระหว่างเทือกเขาถนนธงชัยทิวเขาในฝั่งประเทศไทย อีกส่วนหนึ่งเป็นทิวเขาฝั่งประเทศพม่า อำเภอแม่สอดมีพื้นที่ประมาณ 1,986 ตารางกิโลเมตร ประชากรมีทั้งชาวเขาและคนที่อพยพจากอำเภอเมืองตากเข้าไปตั้งถิ่นฐานอยู่ รวมทั้งชาวพม่าที่มีภรรยาและบุตรเป็นคนไทยด้วย อำเภอแม่สอดอยู่ห่างจากอำเภอเมืองตาก 86 กิโลเมตร
แม่สอดเป็นอำเภอที่มีการค้าระหว่างประเทศไทยกับพม่า เนื่องจากเป็นอำเภอที่อยู่ติดชายแดน และเป็นที่ตั้งจุดผ่านแดนถาวรด่านพรมแดนแม่สอด เชื่อมโยงเมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ประวัติความเป็นมาของอำเภอแม่สอดนั้นยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจะเป็นเมืองฉอดของขุนสามชนที่เคยยกทัพไปตีกรุงสุโขทัยหรือไม่ ยังไม่มีผู้ใดพิสูจน์ได้ เมื่อดูตามสภาพบ้านเมืองของอำเภอแม่สอดนั้น ไม่พบว่ามีสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่มีอายุอยู่ในยุคของสุโขทัยได้เลย ฉะนั้นจึงน่าเชื่อได้ว่าไม่ใช่เมืองเดียวกัน และขณะนี้ได้มีนักโบราณคดีพบซากเมืองโบราณอยู่ในป่าทึบในท้องที่อำเภอแม่ระมาด ซึ่งอาจจะเป็นเมืองฉอดตามศิลาจารึกกรุงสุโขทัยได้
**
ข้อมูลจากวิกิพีเดีย **
ม่อนพูนสุดา
ม่อนพูนสุดา
เป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามมากอีกแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากม่อนครูบาใส 200 เมตร ชื่อม่อนตั้งขึ้นตามชื่อของ นักถ่ายภาพชั้นครูของเมืองไทย คือ อาจารย์พูน เกษจำรัส และภรรยาของท่านชื่อ สุดา เพื่อเป็นเกียรติแด่ อาจารย์พูน ในฐานะที่เป็นผู้เดินทางมาถ่ายภาพบนหม่อนนี้เป็นคนแรก
ผมและเพื่อนๆเจ้าถิ่นที่เป็นไกด์พาชมสถานที่
น้ำตกอะไรไม่ทราบเหมือนกันจำได้ว่าอยู่ข้างๆทาง
และยังจำได้อีกว่าหินในธารน้ำตกแห่งนี้บ้างก้อนด้านหนึ่งเป็นผงสีทองคล้ายทองคำแต่คงไม่ใช่เพราะงั้นไม่เหลือให้เห็นแล้วแน่ๆ
สะพานข้ามแม่น้ำเมยที่เป็นแม่น้ำกั้นระหว่างไทยและพม่ายุคนั้นมีแค่นี้ไม่เหมือนปัจจุบันที่เห็นเป็นสะพานใหญ่โตสร้างตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด
ตลาดริมเมย เป็นชุมชนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมยในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตรงข้ามกับอำเภอเมียวดีของประเทศพม่า เป็นตลาดค้าขายสินค้าพื้นเมืองมากมายทั้งของไทยและพม่า เช่น หน่อไม้แห้ง ปลาแห้ง ปลาหัวยุ่ง เห็ดหอม ถั่ว เครื่องหนัง ผ้าซาติน ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นตลาดการค้าอัญมณี เช่น หยก ทับทิม และพลอยสีที่มาจากพม่า การเดินทาง สามารถขึ้นรถสองแถวจากตลาดอำเภอแม่สอดไปตลาดริมเมยทุกวัน
ขอบคุณทุกท่านที่แวะชมครับ
>>>>>>> [ เจาะเวลาหาอดีต ตอน : อ.แม่สอด จ.ตาก 2534 ] <<<<<<<
แม่สอดเป็นอำเภอที่มีการค้าระหว่างประเทศไทยกับพม่า เนื่องจากเป็นอำเภอที่อยู่ติดชายแดน และเป็นที่ตั้งจุดผ่านแดนถาวรด่านพรมแดนแม่สอด เชื่อมโยงเมืองเมียวดี รัฐกะเหรี่ยง ประเทศพม่า ประวัติความเป็นมาของอำเภอแม่สอดนั้นยังไม่ปรากฏแน่ชัดว่าจะเป็นเมืองฉอดของขุนสามชนที่เคยยกทัพไปตีกรุงสุโขทัยหรือไม่ ยังไม่มีผู้ใดพิสูจน์ได้ เมื่อดูตามสภาพบ้านเมืองของอำเภอแม่สอดนั้น ไม่พบว่ามีสิ่งก่อสร้างที่เก่าแก่มีอายุอยู่ในยุคของสุโขทัยได้เลย ฉะนั้นจึงน่าเชื่อได้ว่าไม่ใช่เมืองเดียวกัน และขณะนี้ได้มีนักโบราณคดีพบซากเมืองโบราณอยู่ในป่าทึบในท้องที่อำเภอแม่ระมาด ซึ่งอาจจะเป็นเมืองฉอดตามศิลาจารึกกรุงสุโขทัยได้
** ข้อมูลจากวิกิพีเดีย **
ม่อนพูนสุดา
ม่อนพูนสุดา
เป็นจุดชมทะเลหมอกที่สวยงามมากอีกแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากม่อนครูบาใส 200 เมตร ชื่อม่อนตั้งขึ้นตามชื่อของ นักถ่ายภาพชั้นครูของเมืองไทย คือ อาจารย์พูน เกษจำรัส และภรรยาของท่านชื่อ สุดา เพื่อเป็นเกียรติแด่ อาจารย์พูน ในฐานะที่เป็นผู้เดินทางมาถ่ายภาพบนหม่อนนี้เป็นคนแรก
ผมและเพื่อนๆเจ้าถิ่นที่เป็นไกด์พาชมสถานที่
น้ำตกอะไรไม่ทราบเหมือนกันจำได้ว่าอยู่ข้างๆทาง
และยังจำได้อีกว่าหินในธารน้ำตกแห่งนี้บ้างก้อนด้านหนึ่งเป็นผงสีทองคล้ายทองคำแต่คงไม่ใช่เพราะงั้นไม่เหลือให้เห็นแล้วแน่ๆ
สะพานข้ามแม่น้ำเมยที่เป็นแม่น้ำกั้นระหว่างไทยและพม่ายุคนั้นมีแค่นี้ไม่เหมือนปัจจุบันที่เห็นเป็นสะพานใหญ่โตสร้างตามมติคณะรัฐมนตรี เพื่อจัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษแม่สอด
ตลาดริมเมย เป็นชุมชนบริเวณริมฝั่งแม่น้ำเมยในอำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ตรงข้ามกับอำเภอเมียวดีของประเทศพม่า เป็นตลาดค้าขายสินค้าพื้นเมืองมากมายทั้งของไทยและพม่า เช่น หน่อไม้แห้ง ปลาแห้ง ปลาหัวยุ่ง เห็ดหอม ถั่ว เครื่องหนัง ผ้าซาติน ฯลฯ นอกจากนี้ยังเป็นตลาดการค้าอัญมณี เช่น หยก ทับทิม และพลอยสีที่มาจากพม่า การเดินทาง สามารถขึ้นรถสองแถวจากตลาดอำเภอแม่สอดไปตลาดริมเมยทุกวัน
ขอบคุณทุกท่านที่แวะชมครับ