ผมใช้บริการเช่าซื้อรถยนต์อยู่ 2 ธนาคาร คันแรก ธ.สีเหลือง คันที่สอง ธ.สีส้ม
ที่มีปัญหา ก็คือ ธ.สีส้ม ผมมีข้อสงสัยบางอย่างกับธนาคารนี้ คือ ระบบเงินฝาก กับระบบสินเชื่อเช่าซื้อเค้าใช้กันคนละระบบ
ถ้าลูกค้าจ่ายเงินค่าสินเชื่องวดรถยนต์ ในวันที่ 1 ของเดือนนี้ ลูกค้าก็ถอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์ เช่น 20000 บาท ในวันที่ 1 หน้าเคาร์เตอร์ธนาคารก็ให้เซ็นใบถอนเงินออมทรัพย์ พร้อมกับใบเสร็จชำระค่างวดรถยนต์ประทับตราในวันที่ 1 มันก็คือจบ เราก็เดินออกมาจากหน้าเคาร์เตอร์ธนาคาร
สัก อาทิตย์ 2 อาทิตย์ ก็จะมีใบเสร็จค่างวดรถยนต์ ส่งทางไปรษณีย์มาให้ลูกค้า จะสังเกตุได้ว่า วันที่ในใบเสร็จจะไม่ใช่วันที่ลูกค้าชำระ จะประมาณวันที่ 10 ขึ้นไป ช้าเร็วบ้างในแต่ละเดือนก็จะไม่เท่ากัน ก็ไม่ได้ใส่ใจ จนมาสังเกตุตรงที่ว่า มีพนักงานจากฝ่ายติดตามหนี้ โทรมาว่าลูกค้ายังไม่ได้ชำระเงิน ผมก็บอกว่า ชำระแล้วครับ เค้าก็ถามว่าชำระที่ไหน ผมก็บอกว่า ชำระหน้าเคาร์เตอร์ธนาคารที่มีโลโก้ของธนาคารสีส้ม เค้าก็บอกว่าขอให้แฟ็กซ์ส่งใบเสร็จให้เค้าหน่อย ผมก็ส่งให้เค้านะ แต่ถ้าถามทุกๆเดือน ก็มันยังไงอยู่
มันเลยเกิดเป็นคำถามในใจผมว่า
1.ถ้าลูกค้าจ่ายเงินโดยถอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์ในวันที่ 1 ของเดือน เพื่อชำระสินเชื่อธนาคาร ในระบบบัญชี มันคือ
Dr : เงินสดในบัญชีลูกค้า
Cr : บัญชีสินเชื่อ
แต่ทำไม ธนาคารนี้ ถึงต้องเข้าบัญชีตั้งพัก คือ
Cr : บัญชีตั้งพัก
แล้วอีก3 วัน 5 วัน หรือบางทีก็ 10 วัน มาล้างบัญชีตั้งพัก แล้วค่อยมาเข้าบัญชีค่างวดในวันที่นึกอยากจะตัด โดยมือของพนักงาน
ผมสงสัยว่า บัญชีค่างวดรถมันมีกี่แสน กี่ล้านบัญชี ทำวิธีการแบบนี้คือตัดบัญชีลูกค้าไม่ตรงวัน ธนาคารก็ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยค้างจ่ายบัญชีออมทรัพย์ของลูกค้าได้กี่ราย เอาเงินไปหมุนได้ขนาดไหน เพราะคุณเอาเงินลูกค้าไปตั้งแต่วันที่ 1 คุณก็ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยออมทรัพย์ อีก 3 วัน 5 วัน คุณมาตัด ผมถามว่า ในบัญชีตั้งพัก คุณจ่ายดอกเบี้ยออมทรัพย์ให้ลูกค้าไหม...?
2.ผมสงสัยอีกข้อคือ ข้อมูลของลูกค้าที่ชำระคุณจะต้องรายงานเครดิตบูโรในแต่ละเดือน คุณเอาวันที่ ที่ลูกค้าจ่ายหน้าเคาร์เตอร์จริงๆ แล้วได้ใบเสร็จจากพนักงานธนาคารคุณหน้าเคาร์เตอร์ธนาคารไปรายงาน หรือ เอาวันที่ ที่ทางลิสซิ่งตัดแบบ manual ไปรายงานในเครดิตบูโร
ผมสงสัยวิธีการทำงานของธนาคาร ใครพอมีความรู้ตอบผมได้ไหมครับ
ที่มีปัญหา ก็คือ ธ.สีส้ม ผมมีข้อสงสัยบางอย่างกับธนาคารนี้ คือ ระบบเงินฝาก กับระบบสินเชื่อเช่าซื้อเค้าใช้กันคนละระบบ
ถ้าลูกค้าจ่ายเงินค่าสินเชื่องวดรถยนต์ ในวันที่ 1 ของเดือนนี้ ลูกค้าก็ถอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์ เช่น 20000 บาท ในวันที่ 1 หน้าเคาร์เตอร์ธนาคารก็ให้เซ็นใบถอนเงินออมทรัพย์ พร้อมกับใบเสร็จชำระค่างวดรถยนต์ประทับตราในวันที่ 1 มันก็คือจบ เราก็เดินออกมาจากหน้าเคาร์เตอร์ธนาคาร
สัก อาทิตย์ 2 อาทิตย์ ก็จะมีใบเสร็จค่างวดรถยนต์ ส่งทางไปรษณีย์มาให้ลูกค้า จะสังเกตุได้ว่า วันที่ในใบเสร็จจะไม่ใช่วันที่ลูกค้าชำระ จะประมาณวันที่ 10 ขึ้นไป ช้าเร็วบ้างในแต่ละเดือนก็จะไม่เท่ากัน ก็ไม่ได้ใส่ใจ จนมาสังเกตุตรงที่ว่า มีพนักงานจากฝ่ายติดตามหนี้ โทรมาว่าลูกค้ายังไม่ได้ชำระเงิน ผมก็บอกว่า ชำระแล้วครับ เค้าก็ถามว่าชำระที่ไหน ผมก็บอกว่า ชำระหน้าเคาร์เตอร์ธนาคารที่มีโลโก้ของธนาคารสีส้ม เค้าก็บอกว่าขอให้แฟ็กซ์ส่งใบเสร็จให้เค้าหน่อย ผมก็ส่งให้เค้านะ แต่ถ้าถามทุกๆเดือน ก็มันยังไงอยู่
มันเลยเกิดเป็นคำถามในใจผมว่า
1.ถ้าลูกค้าจ่ายเงินโดยถอนเงินจากบัญชีออมทรัพย์ในวันที่ 1 ของเดือน เพื่อชำระสินเชื่อธนาคาร ในระบบบัญชี มันคือ
Dr : เงินสดในบัญชีลูกค้า
Cr : บัญชีสินเชื่อ
แต่ทำไม ธนาคารนี้ ถึงต้องเข้าบัญชีตั้งพัก คือ
Cr : บัญชีตั้งพัก
แล้วอีก3 วัน 5 วัน หรือบางทีก็ 10 วัน มาล้างบัญชีตั้งพัก แล้วค่อยมาเข้าบัญชีค่างวดในวันที่นึกอยากจะตัด โดยมือของพนักงาน
ผมสงสัยว่า บัญชีค่างวดรถมันมีกี่แสน กี่ล้านบัญชี ทำวิธีการแบบนี้คือตัดบัญชีลูกค้าไม่ตรงวัน ธนาคารก็ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยค้างจ่ายบัญชีออมทรัพย์ของลูกค้าได้กี่ราย เอาเงินไปหมุนได้ขนาดไหน เพราะคุณเอาเงินลูกค้าไปตั้งแต่วันที่ 1 คุณก็ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ยออมทรัพย์ อีก 3 วัน 5 วัน คุณมาตัด ผมถามว่า ในบัญชีตั้งพัก คุณจ่ายดอกเบี้ยออมทรัพย์ให้ลูกค้าไหม...?
2.ผมสงสัยอีกข้อคือ ข้อมูลของลูกค้าที่ชำระคุณจะต้องรายงานเครดิตบูโรในแต่ละเดือน คุณเอาวันที่ ที่ลูกค้าจ่ายหน้าเคาร์เตอร์จริงๆ แล้วได้ใบเสร็จจากพนักงานธนาคารคุณหน้าเคาร์เตอร์ธนาคารไปรายงาน หรือ เอาวันที่ ที่ทางลิสซิ่งตัดแบบ manual ไปรายงานในเครดิตบูโร