จากการประชุมระดมความคิดเรื่องกรอบแนวทางการปฎิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในวันนี้ (10 มี.ค.) ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ โดยมี นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช รมช.ศึกษาธิการ ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช ทองโรจน์ ในฐานะประธานคณะกรรมการปฎิรูปหลักสูตรและตำราการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พร้อมนักการศึกษาร่วมประชุมประมาณ 50คน
ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช กล่าวว่า คณะกรรมการปฎิรูปหลักสูตรฯ ตั้งเป้า 6 เดือนจากนีี้จะร่างกรอบแนวทางการปฎิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เสร็จ แต่ยังไม่สามารถที่จะนำมาใช้ได้ทันที เพราะต้องดูในรายละเอียดต่างๆ อีกครั้งส่วนสาระสำคัญที่จะปรับแน่นอนเป็นเรื่องการลดชั่วโมงเรียนในชั้นของนักเรียนแต่ระดับชั้นลง เนื่องจากพบว่าเวลาเรียนของเด็กไทยในแต่ละช่วงชั้นต่อปีมากเกินไป เช่น ประถมศึกษาเรียน ประมาณ1,000ชั่วโมง มัธยมศึกษาเรียนประมาณ 1,200 ชั่วโมง เป็นต้น
ศ.(พิเศษ)ภาวิช กล่าวต่อไปว่า เมื่อเปรียบเทียบชั่วโมงเรียนของนักเรียนไทยกับประเทศอื่นพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนชั่วโมงเรียนต่อปีสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศในแถบแอฟริกา ซึ่งเรียนประมาณ 1,400 ชั่วโมงต่อปี แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กกลับต่ำลงเรื่อย ๆ ขณะที่ประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์สูง อย่าง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มีชั่วโมงเรียนต่ำกว่า 1,000 ชั่วโมงต่อปี โดยเฉพาะฮ่องกง ซึ่งประสบความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษาอย่างมาก มีชั่วโมงเรียนต่อปีแค่ 790 ชั่วโมง ส่วนยูเนสโกกำหนดชั่วโมงเรียนของนักเรียนที่เหมาะสม 800 ชั่วโมงต่อปี
"การลดชั่วโมงเรียนที่ว่านั้น ไม่ใช่จะทำให้เวลาเรียนของเด็กลดลง แต่ลดการเรียนในชั้นเรียนเท่านั้น ส่วนเวลาที่เหลือให้เด็กได้เรียนรู้นอกห้องเรียน อาทิ การให้นักเรียนทำกิจกรรม หรือทำโครงงานต่างๆ ซึ่งครูจะต้องช่วงเสนอแนะด้วย ผมขอย้ำว่าการฎิรูปครั้งนี้ไม่ใช้จะทำเฉพาะการปฎิรูปหลักสูตรอย่างเดียว เพราะคงจะไม่สามารถทำให้แก้ไขปัญหาการศึกษาที่ป่วยหนักได้เลย แต่จะต้องปฎิรูปเรื่องอื่นๆควบคู่ไปด้วย ทั้งการปฎิรูปครู เร่งสร้างความเข้มแข็ง ปฎิรูปไอซีทีเพื่อการศึกษาและปฎิรูปโครงสร้าง" ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช กล่าว
ด้่าน นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)จะปรับลดชั่วโมงเรียนทุกช่วงชั้นแน่นอน เพราะนักเรียนประเทศอื่นไม่ได้เรียนมากอย่างนักเรียนไทย แต่กลับมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีกว่า อีกทััั้งต้องเปลี่ยนทัศนคติของสังคมไทยที่คิดว่าเรียนมากจะรู้มากซึ่งไม่จริง แม้เด็กบางคนเรียนมากแต่กลับคิด วิเคราะห์ ไม่ได้หรือไม่มีทักษะอื่นเลย ดังนั้นคงต้องมาทบททวนหาชั่วโมงที่เหมาะสมกับเด็กไทยว่าควรจะเป็นเท่าไหร่
ด้าน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลััย กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่ ศธ.จะปรับลดชั่วโมงเรียนลง เพราะทุกวันนี้เด็กไทยเรียนมากเกินไป และเมื่อเด็กต้องเรียนในชั้นเรียนมาก จึงไม่มีเวลาไปเรียนรู้ทักษะอื่นๆ อย่างไรก็ตามศธ.ต้องกล้ายกเลิกหลักสูตฉบับปัจจุบันเลย ยกร่างหลักสูตรใหม่ขึ้นมาใช้แทน เพราะใช้มานาน มีจุดบกพร่องและไม่ทันสมัยแล้ว..
http://www.dailynews.co.th/education/189693
ดีครับ
รอวันที่การเรียนสำหรับเด็กไทยเป็นเรื่องสนุกและทำให้เด็กๆ มีความสุขกับการเรียน เด็กจบออกมาแล้วเป็นคนที่มีคุณภาพดีของสังคม
เผยเด็กไทยเรียนมาก1,200ชั่วโมงต่อปี แต่ความรู้น้อย เตรียมลดชั่วโมงเรียนให้เหมาะสม
ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช กล่าวว่า คณะกรรมการปฎิรูปหลักสูตรฯ ตั้งเป้า 6 เดือนจากนีี้จะร่างกรอบแนวทางการปฎิรูปหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เสร็จ แต่ยังไม่สามารถที่จะนำมาใช้ได้ทันที เพราะต้องดูในรายละเอียดต่างๆ อีกครั้งส่วนสาระสำคัญที่จะปรับแน่นอนเป็นเรื่องการลดชั่วโมงเรียนในชั้นของนักเรียนแต่ระดับชั้นลง เนื่องจากพบว่าเวลาเรียนของเด็กไทยในแต่ละช่วงชั้นต่อปีมากเกินไป เช่น ประถมศึกษาเรียน ประมาณ1,000ชั่วโมง มัธยมศึกษาเรียนประมาณ 1,200 ชั่วโมง เป็นต้น
ศ.(พิเศษ)ภาวิช กล่าวต่อไปว่า เมื่อเปรียบเทียบชั่วโมงเรียนของนักเรียนไทยกับประเทศอื่นพบว่า ประเทศไทยมีจำนวนชั่วโมงเรียนต่อปีสูงเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากประเทศในแถบแอฟริกา ซึ่งเรียนประมาณ 1,400 ชั่วโมงต่อปี แต่ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของเด็กกลับต่ำลงเรื่อย ๆ ขณะที่ประเทศที่มีผลสัมฤทธิ์สูง อย่าง เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น มีชั่วโมงเรียนต่ำกว่า 1,000 ชั่วโมงต่อปี โดยเฉพาะฮ่องกง ซึ่งประสบความสำเร็จในการพัฒนาการศึกษาอย่างมาก มีชั่วโมงเรียนต่อปีแค่ 790 ชั่วโมง ส่วนยูเนสโกกำหนดชั่วโมงเรียนของนักเรียนที่เหมาะสม 800 ชั่วโมงต่อปี
"การลดชั่วโมงเรียนที่ว่านั้น ไม่ใช่จะทำให้เวลาเรียนของเด็กลดลง แต่ลดการเรียนในชั้นเรียนเท่านั้น ส่วนเวลาที่เหลือให้เด็กได้เรียนรู้นอกห้องเรียน อาทิ การให้นักเรียนทำกิจกรรม หรือทำโครงงานต่างๆ ซึ่งครูจะต้องช่วงเสนอแนะด้วย ผมขอย้ำว่าการฎิรูปครั้งนี้ไม่ใช้จะทำเฉพาะการปฎิรูปหลักสูตรอย่างเดียว เพราะคงจะไม่สามารถทำให้แก้ไขปัญหาการศึกษาที่ป่วยหนักได้เลย แต่จะต้องปฎิรูปเรื่องอื่นๆควบคู่ไปด้วย ทั้งการปฎิรูปครู เร่งสร้างความเข้มแข็ง ปฎิรูปไอซีทีเพื่อการศึกษาและปฎิรูปโครงสร้าง" ศ.(พิเศษ)ดร.ภาวิช กล่าว
ด้่าน นายพงศ์เทพ เทพกาญจนา รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการ(ศธ.)จะปรับลดชั่วโมงเรียนทุกช่วงชั้นแน่นอน เพราะนักเรียนประเทศอื่นไม่ได้เรียนมากอย่างนักเรียนไทย แต่กลับมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ดีกว่า อีกทััั้งต้องเปลี่ยนทัศนคติของสังคมไทยที่คิดว่าเรียนมากจะรู้มากซึ่งไม่จริง แม้เด็กบางคนเรียนมากแต่กลับคิด วิเคราะห์ ไม่ได้หรือไม่มีทักษะอื่นเลย ดังนั้นคงต้องมาทบททวนหาชั่วโมงที่เหมาะสมกับเด็กไทยว่าควรจะเป็นเท่าไหร่
ด้าน รศ.ดร.สมพงษ์ จิตระดับ อาจารย์คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลััย กล่าวว่า ตนเห็นด้วยที่ ศธ.จะปรับลดชั่วโมงเรียนลง เพราะทุกวันนี้เด็กไทยเรียนมากเกินไป และเมื่อเด็กต้องเรียนในชั้นเรียนมาก จึงไม่มีเวลาไปเรียนรู้ทักษะอื่นๆ อย่างไรก็ตามศธ.ต้องกล้ายกเลิกหลักสูตฉบับปัจจุบันเลย ยกร่างหลักสูตรใหม่ขึ้นมาใช้แทน เพราะใช้มานาน มีจุดบกพร่องและไม่ทันสมัยแล้ว..
http://www.dailynews.co.th/education/189693
ดีครับ
รอวันที่การเรียนสำหรับเด็กไทยเป็นเรื่องสนุกและทำให้เด็กๆ มีความสุขกับการเรียน เด็กจบออกมาแล้วเป็นคนที่มีคุณภาพดีของสังคม