คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
การที่ศาลยุติธรรมมี ๓ ชั้น ก็เพื่อตรวจสอบดุลพินิจในการลงโทษหรือคำพิพากษาให้หรือมิให้รับผิดในคดีแพ่งและอาญา ของศาลล่าง
บางทีคำตัดสินของศาลล่าง (มิได้หมายความเฉพาะศาลชั้นต้น) อาจมีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ไม่ครบถ้วน
หรือ มีข้อเท็จจริงที่ต้องฟังให้ยุติก่อนก็ได้...
อย่างคดีอาญาในวันเวรชี้ซึ่งเป็นการที่อัยการส่งตัวจำเลยมาศาลและส่งฟ้องศาลในครั้งแรกนั้น
บางทีจำเลยยังไม่ทันตั้งตัว ยังไม่มีเหตุผลอื่นมาประกอบให้ศาลลงโทษสถานเบา นอกจากรับสารภาพ
การที่มีศาลอุทธรณ์ และ ศาลฎีกา อีกนั้น
ก็เปิดโอกาสให้จำเลยแสดงเอกสารและเหตุผลอื่นให้ศาลสูงลงโทษน้อยลง หรือ ลดโทษลงไปอีกนั่นเอง
หากไม่มีศาลสูง บางทีการรับสารภาพหรือการถูกลงโทษในศาลล่างเพียงศาลเดียว อาจเกิดข้อผิดพลาดได้
และผู้ที่เป็นพิพากษาของศาลล่าง จะไม่ถูกตรวจสอบคำพิพากษาจากศาลสูงเลย
เรียกว่าศาลล่างลงอย่างไร ก็แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว หากศาลท่านนั้นมีอคติกับจำเลยหรือคู่ความบางคน
สุดท้ายกระบวนการยุติธรรมก็ไม่อาจช่วยเหลือคนบริสุทธิ์ หรือคนที่ถูกเอาเปรียบได้จริง
เอาง่ายๆถ้าอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอยู่ที่คนๆเดียว คุณว่ามันถูกต้องหรือยุติธรรมแค่ไหน
หากไม่มีใครเข้ามาตรวจสอบอำนาจนั้นได้เลย..
อย่าลืมนะครับ ผู้พิพากษาแต่ละคน ก็คือคนทั่วๆไปนี่เองมี รัก โลภ โกรธ กลัว ทั้งนั้น ถ้ามีอคติเมื่อใด เมื่อนั้นทุกอย่างพังครับ
เพราะการสอบคัดเลือกผู้พิพากษานั้น เค้าคัดคนเก่งโดยมิได้คัดคนดี..
ใครเก่งก็สอบได้ แต่คนดีมีคุณธรรมอาจเรียนไม่เก่ง ก็จะไม่ได้เข้ามาสู่ตำแหน่งพวกนี้..
ดังนั้นหากเป็นแค่คนเก่งแต่ไม่ใช่คนดี หรือ มีใจอคติ คุณว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยจะเป็นเช่นไร
บางทีคำตัดสินของศาลล่าง (มิได้หมายความเฉพาะศาลชั้นต้น) อาจมีข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่ไม่ครบถ้วน
หรือ มีข้อเท็จจริงที่ต้องฟังให้ยุติก่อนก็ได้...
อย่างคดีอาญาในวันเวรชี้ซึ่งเป็นการที่อัยการส่งตัวจำเลยมาศาลและส่งฟ้องศาลในครั้งแรกนั้น
บางทีจำเลยยังไม่ทันตั้งตัว ยังไม่มีเหตุผลอื่นมาประกอบให้ศาลลงโทษสถานเบา นอกจากรับสารภาพ
การที่มีศาลอุทธรณ์ และ ศาลฎีกา อีกนั้น
ก็เปิดโอกาสให้จำเลยแสดงเอกสารและเหตุผลอื่นให้ศาลสูงลงโทษน้อยลง หรือ ลดโทษลงไปอีกนั่นเอง
หากไม่มีศาลสูง บางทีการรับสารภาพหรือการถูกลงโทษในศาลล่างเพียงศาลเดียว อาจเกิดข้อผิดพลาดได้
และผู้ที่เป็นพิพากษาของศาลล่าง จะไม่ถูกตรวจสอบคำพิพากษาจากศาลสูงเลย
เรียกว่าศาลล่างลงอย่างไร ก็แก้ไขอะไรไม่ได้แล้ว หากศาลท่านนั้นมีอคติกับจำเลยหรือคู่ความบางคน
สุดท้ายกระบวนการยุติธรรมก็ไม่อาจช่วยเหลือคนบริสุทธิ์ หรือคนที่ถูกเอาเปรียบได้จริง
เอาง่ายๆถ้าอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอยู่ที่คนๆเดียว คุณว่ามันถูกต้องหรือยุติธรรมแค่ไหน
หากไม่มีใครเข้ามาตรวจสอบอำนาจนั้นได้เลย..
อย่าลืมนะครับ ผู้พิพากษาแต่ละคน ก็คือคนทั่วๆไปนี่เองมี รัก โลภ โกรธ กลัว ทั้งนั้น ถ้ามีอคติเมื่อใด เมื่อนั้นทุกอย่างพังครับ
เพราะการสอบคัดเลือกผู้พิพากษานั้น เค้าคัดคนเก่งโดยมิได้คัดคนดี..
ใครเก่งก็สอบได้ แต่คนดีมีคุณธรรมอาจเรียนไม่เก่ง ก็จะไม่ได้เข้ามาสู่ตำแหน่งพวกนี้..
ดังนั้นหากเป็นแค่คนเก่งแต่ไม่ใช่คนดี หรือ มีใจอคติ คุณว่ากระบวนการยุติธรรมของไทยจะเป็นเช่นไร
แสดงความคิดเห็น
ทำไมศาลยุติธรรมมี 3 ชั้นครับ